คุณลักษณะของอาชีพด้านจริยธรรม

จริยธรรม (Ethics)
            คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น"จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ" จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควร ประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว

ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้
             ๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
             ๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
            ๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
            ๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
            ๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้

โครงสร้างของแนวคิดด้านจริยธรรม จะประกอบด้วยคุณธรรมหลายประการ ซึ่งส่วนมากมาจากคำสอนทางศาสนา ดังนี้
            ๑. ความรับผิดชอบ (Accountability) คือ ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพัน ด้วยความพากเพียร และความ ละเอียดรอบคอบยอมรับผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ทั้งพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ ให้ดียิ่งขึ้น
            ๒. ความซื่อสัตย์ (Honesty) คือ การประพฤติอย่างเหมาะสม และตรงต่อความเป็นจริง ประพฤติ ปฏิบัติ อย่างตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
             ๓. ความมีเหตุผล (Rationality) คือ ความสามารถในการใช้ปัญญา ในการประพฤติปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง พิสูจน์ให้ ประจักษ์ ไม่หลงงมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และความยึดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจผิดได้
            ๔. ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) คือ ความรู้สำนึกในอุปการคุณหรือบุญคุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา
            ๕. ความมีระเบียบวินัย (Disciplined) คือ การควบคุมความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาท ข้อ บังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม
            ๖. ความเสียสละ (Sacrifice) คือ การละความเห็นแก่ตัว การให้ปันแก่บุคคลที่ควรให้ด้วยกำลังกาย กำลังสติปัญญา รวมทั้ง การรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตนเอง
            ๗. การประหยัด (Thrifty) คือ การใช้สิ่งของพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ให้มีส่วนเกินมากนัก รวมทั้งการ รู้จักระมัดระวัง รู้จักยับยั้งความต้องการให้อยู่ในกรอบและขอบเขตที่พอเหมาะ
            ๘. ความอุตสาหะ (Diligence) คือ ความพยายามอย่างเข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน
            ๙. ความสามัคคี (Harmony) คือ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความพร้อมเพรียงร่วมมือกันกระทำกิจการให้สำเร็จลุล่วง ด้วยดี โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
            ๑๐. ความเมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion) คือ ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีสุข กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
            ๑๑. ความยุติธรรม (Justice) คือ การปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียง

ที่มา : http://www.jariyatam.com/ethics-01
ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/ethics/01.html

รองศาสตราจารย์ สุพัตรา สุภาพ ได้กล่าวถึงค่านิยมสังคมเมืองและค่านิยมสังคมชนบทของสังคมไทยไว้ค่อนข้างชัดเจน โดยแบ่งค่านิยมออกเป็นค่านิยมของคนในสังคมเมืองและสังคมชนบทซึ่งลักษณะค่านิยมทั้งสองลักษณะ จัดได้ว่าเป็นลักษณะของค่านิยมที่ทำให้เกิดมีอิทธิพลต่อค่านิยมที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นชัดเจนในตาราง

จริยธรรมเป็นมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาคือ ความประพฤติ และธรรม คือเครื่องจักรรักษาความประพฤติ การประกอบอาชีพใดๆ ก็ตามผู้ประกอบอาชีพจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมภายนอกเสมอ ทั้งนี้จะต้องไม่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ผิด หากประกอบอาชีพโดยไร้จริยธรรมผลเสียหายจะตกอยู่กับสังคมและประเทศชาติ ฉะนั้นจริยธรรมจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ความสำคัญของจริยธรรมในการประกอบอาชีพ มีดังนี้

1.             ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพแต่ละสาขาได้ใช้วิชาชีพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

2.             ช่วยควบคุมและส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความสำนึกใจหน้าที่และมีความรับผิดชอบในงานของตน

3.             ช่วยส่งเสริมและควบคุมการผลิต และการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องของปลอดภัยและการบริการที่ดี

4.             ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค และไม่เห็นแก่ตัว ทั้งนี้ต้องยึดหลักโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคเสมอ

5.             ช่วยให้วงการธุรกิจของผู้ประกอบอาชีพมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีความเอื้อเฟื้อต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้นอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานทุกประเภทและเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม ดังนั้นคำว่าอาชีพจึงครอบคลุมไปถึงงานที่ใครๆ ก็ทำได้โดยไม่ต้องอาศัยการฝึกหัดมาก่อน เช่น งานที่ต้องใช้แรงงาน (manual works) และเป็นงานที่ผู้กระทำจะต้องได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษหรือเป็นงานที่ใช้ทักษะและการฝึกหัดขั้นสูง (technic works)

9.2.วิธีการสร้างจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

วิธีการที่นำมาใช้สร้างจริยธรรมสามารถทำได้ ดังนี้

1.  การอบรมตามหลักของศาสนา

2.  การปลูกฝังพฤติกรรมที่พึงประสงค์

3.  การสอนให้รู้จักความเมตตาต่อผู้อื่น

4.  การสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์

5.  การใช้อิทธิพลของกลุ่มให้เกิดความคล้อยตาม

6.  การใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์

7.  การจัดสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ในทางที่ดี จริยธรรมที่ผู้ประกอบอาชีพควรประพฤติ

หลักในการยึดถือปฏิบัติของผู้ประกอบอาชีพทั่วไปพึงกระทำเพื่อความเจริญก้าวหน้าในอาชีพของตนและร่วมรับผิดชอบในสังคม ควรมีดังนี้

1.  ความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

2.  การมีจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม

3.  ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในบริการ

4.  การมีจรรยาอาชีพและดำเนินกิจการอย่างมีคุณภาพ

5.  การสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อลูกค้า

6.  การเคารพสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของผู้อื่น

7.  การใช้จริยธรรมในการติดต่อสื่อสาร

8.  การสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน

9.  การสร้างวินัยในการประกอบอาชีพ

10.   การดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

11.   การให้แหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง

12.   การประกอบอาชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร

9.3.จริยธรรมและข้อพึงปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ

เนื่องจากสังคมมีความต้องการความสันติ ความปลอดภัย ความมั่นคง สุขอนามัยสิ่งแวดล้อม การพัฒนา เป็นต้นการอยู่ร่วมกันในสังคมต้องอาศัยความอุปถัมภ์ค้ำจุนเกื้อกูล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความโอบอ้อมอารีต่อกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเพื่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกันในสังคมให้ทุกคนอยู่รอดได้ แต่ปัจจุบันสังคมได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็นสังคมที่มีความรุนแรงเห็นแก่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมธุรกิจที่ต้องการความอยู่รอดอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงไปยังผู้บริโภคและสังคมโดยส่วนรวม

ดังนั้น เพื่อให้สังคมธุรกิจเป็นสังคมที่มีคุณความดี ความยุติธรรม และมีความถูกต้อง สังคมจึงต้องกำหนดมาตรการปกป้องและรักษาให้คงเป็นสังคมที่ดีหรือเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดี โดยปลูกฝังจริยธรรม คือ ความประพฤติหรือปฏิบัติที่ถูกต้องชอบธรรม

9.4.ปัญหาจริยธรรมในวิชาชีพ

ปัญหาจริยธรรมในวิชาชีพ เกิดจากสังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเทคโนโลยีในระดับสูง จึงส่งผลให้สังคมมีความปรารถนาในความมั่นคง ธุรกิจที่ไม่ยอมรับการดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรม จึงแสวงหาช่องว่างทางกฎหมายหรือสังคมเพื่อเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่สลับซับซ้อนตามมา เช่น การว่างงาน การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

คุณลักษณะอาชีพคืออะไร

คุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ คุณลักษณะ (characteristic) หมายถึง ส่วนประกอบหรือองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่ตนเองประกอบอาชีพเพื่องเลี้ยงชีพต่อไป ดังนั้นผู้ที่จะประกอบอาชีพจึงควรมีคุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ ดังนี้ 1.แต่งกายให้สุภาพ สะอาดเรียบร้อย เหมาะสมกับเวลาและโอกาส 2.มีความเชื่อมั่นในอาชีพที่ตนเองทำอยู่เสมอ

คุณลักษณะที่สําคัญในการประกอบอาชีพมีอะไรบ้าง

การมีวินัยในการประกอบอาชีพ.
ความซื่อสัตย์สุจริต.
ความรับผิดชอบในงานอาชีพ.
การมีจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม.
ขยันหมั่นเพียร.
ขยันหมั่นเพียร.
ให้ข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง.
ดำเนินธุรกิจถูกกฎหมาย.

คุณธรรมในการประกอบอาชีพมีอะไรบ้าง

คุณธรรมในการประกอบชีพ หมายถึง การกระทำ ที่เป็นประโยชน์ต่อการ ประกอบ อาชีพ ซึ่งก่อให้เกิดผลผลิต และรายได้โดยไม่เบียดเบียน หรือ ทำให้ ผู้อื่น เดือดร้อน และเป็นที่ยอมรับของสังคม ผู้ประกอบอาชีพทุกคนต้องมีคุณธรรมใน การประกอบอาชีพ เพื่อธำรงศักดิ์ศรีของมนุษย์เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ช่วยเสริมสร้างบุคลิกที่ดี สร้างความสำเร็จ ...

คุณธรรม 5 ประการในการประกอบอาชีพสุจริตมีอะไรบ้าง

ความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อสังคม.
การมีจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม.
ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในบริการ.
การมีจรรยาอาชีพและดำเนินกิจการอย่างมีคุณภาพ.
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อลูกค้า.
การเคารพสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของผู้อื่น.
การใช้จริยธรรมในการติดต่อสื่อสาร.
การสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน.