ลูก ไม่ เชื่อฟัง ทํา ไง ดี

ลูก ไม่ เชื่อฟัง ทํา ไง ดี

 4 เคล็ด(ไม่)ลับทำ ให้ลูกเชื่อฟัง มากขึ้น

 

          แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนอยากทำ ให้ลูกเชื่อฟัง เพราะคุณพ่อคุณแม่คงเคยมีความรู้สึกว่า ทำไมเวลาเราพูดอะไรไป ลูกไม่เชื่อฟัง เราเท่าไหร่ แต่ถ้าหากเป็นคนอื่น เช่นคุณครูพูด ลูกมักจะ เชื่อฟัง คุณครูมากกว่าคุณพ่อคุณแม่ .. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กวัยที่เพิ่งจะเข้าเรียน เด็ก ๆ จะเชื่อคุณครูมากเป็นพิเศษแตกต่างจากเวลาที่เขาอยู่บ้าน

 

         ปัญหาการไม่เชื่อฟัง อาจดูเป็นอะไรที่ไม่ร้ายแรง แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถรับมือ หรือปรับพฤติกรรมนี้ได้ด้วยตัวผู้ปกครองเอง จะทำให้พฤติกรรมนี้เริ่มหนักขึ้นอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเมื่อลูกเข้าวัย 8-12 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยแห่งการมีอิสระในการตัดสินใจ คำสอนของพ่อแม่บางอย่างอาจเข้าถึงตัวลูกได้ยาก เพราะเด็กในวัยนี้จะเริ่มมีความคิด และบุคลิกภาพเป็นของตัวเองชัดเจน มองโลกและตัดสินใจแบบของตัวเอง โดยไม่ต้องผ่านการมองจากผู้ใหญ่ .. ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักถึงสิ่งที่ต้องสอนลูกก่อนที่ลูกจะไม่เชื่อฟัง
 

ลูก ไม่ เชื่อฟัง ทํา ไง ดี

 

          ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการสอนให้ลูกน้อยเข้าใจและเชื่อฟังในแบบที่พ่อแม่ต้องการ โดยที่พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องขึ้นเสียงใส่ลูก ซึ่งถือเป็นวิธีที่ได้ผลกว่าวิธีที่ใช้ความรุนแรง

 

วันนี้เรามี 4 เคล็ดลับ มาแบ่งปันกันจากลูกไม่เชื่อฟัง สู่การ ให้ลูกเชื่อฟัง มากขึ้น!

 

☁️1. หาสาเหตุของการไม่เชื่อฟัง

พูดคุยและหาคำตอบสาเหตุที่ลูกไม่เชื่อฟัง และบอกรักลูก ให้ลูกเชื่อมั่นว่ามีพ่อแม่อยู่ข้าง ๆ เสมอ นอกจากนี้ควรสังเกตทัศนคติ วิธีคิด และการพูดของลูก เพื่อที่จะเข้าใจลูกมากขึ้น

 

☁️2. สอนด้วยน้ำเสียงที่ดี และสายตาแห่งความรัก

ใช้คำพูดง่าย ๆ เพื่อให้ลูกทบทวนในสิ่งที่ทำผิด และใช้น้ำเสียงที่หนักแน่นแต่ไม่ดุดัน นอกจากคำพูดกับน้ำเสียงแล้ว ภาษากายก็มีส่วนสำคัญในการช่วยให้ลูกรับฟังมากขึ้น มองลูกด้วยสายตาแห่งความรัก และตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพูด

 

☁️3. สอนด้วยการมีข้อตกลงร่วมกัน

หากลูกรักชอบต่อต้านเสมอ คุณพ่อคุณแม่ลองให้ข้อเสนอ เป็นข้อตกลงร่วมกัน เพื่อลดการโต้เถียงหรือการชวนทะเลาะลงได้

 

☁️4. เป็นแบบอย่างให้ลูกเห็น

เด็ก ๆ มักเรียนรู้จากการกระทำได้ดีกว่าคำพูด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นมากกว่าการออกคำสั่งว่าลูกควรทำอะไร หรือไม่ควรทำอะไร

เทคนิคการเพิกเฉยขณะที่ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้การควบคุมตนเอง ไม่ใช่การทอดทิ้งลูก และบ่อยครั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้สงบสติอารมณ์ตนเองด้วยเช่นกัน การพยายามโอ๋ลูกอย่างที่พ่อแม่หลายคนชอบทำ นอกจากไม่ช่วยให้เด็กพัฒนาตนเองแล้ว ยังส่งผลเสียต่อพ่อแม่ เพราะเด็กจะมองไม่เห็นความชัดเจนของการเป็นผู้นำและไม่เห็นความเข้มแข็งของเรา โดยเทคนิคเพิกเฉยประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

  • ขั้นที่ 1 สงบสติอารมณ์ เริ่มจากตัวคุณเองต้องอารมณ์เย็นเสียก่อน (เทคนิคนี้ห้ามทำตอนเรามีอารมณ์ เพราะจะกลายเป็นเราทอดทิ้งลูก)
  • ขั้นที่ 2 มองหน้าลูก คุณต้องมองหน้าสบตาลูกให้ได้ และพูดด้วยเสียงนิ่ง สีหน้าเรียบอย่างจริงจัง “แม่จะรอหนูเงียบ เราถึงจะคุยกัน”
  • ขั้นที่ 3 เพิกเฉยลูก ต่อมาให้คุณเพิกเฉยลูก ทั้งคำพูด ท่าที สายตา ไม่พูดซ้ำว่าลูกต้องเงียบ เพราะจะเป็นการเพิกเฉยไม่จริง รวมทั้งไม่เช็ดน้ำตาหรืออุ้ม ถ้าลูกพยายามเข้ามาให้กอดหรือให้อุ้ม ก็ควรลุกขึ้นยืนและหันไปทำอย่างอื่นแทน แต่อย่ามีท่าทีทอดทิ้งลูกไป ต้องเป็นท่าทีว่าเรามีงานอื่นที่ต้องทำ หากเราหวั่นไหวและลูกก็สามารถจับไต๋ได้ ให้เบี่ยงเบนตัวเองออกจากตรงนั้นด้วยการทำงานง่ายๆ ใกล้ตัวแทน เช่น พับผ้า ล้างจาน

กรณีที่ลูกทำร้ายตัวเองหรือทำร้ายคนอื่น รวมทั้งการทำลายข้าวของ อนุญาตให้หยุดเพิกเฉยชั่วคราว ถ้าลูกทำเช่นนั้นให้หันกลับไปจับมือลูกแน่นๆ ประมาณ 10 วินาที และมองหน้าลูกพร้อมพูดด้วยเสียงเรียบนิ่งว่า “ไม่ตีแม่/ไม่โยนของ” แล้วแกะของออกจากมือ จากนั้นปล่อยมือลูกและเฝ้าดูอีกสักครู่ หากลูกลุกขึ้นมาตีหรือโยนของอีกให้ทำซ้ำแบบเดิมจนกว่าลูกจะหยุด แล้วให้กลับไปเพิกเฉยต่อ

  • ขั้นที่ 4 กลับไปหาลูก เมื่อลูกเงียบแล้ว ให้คุณกลับไปหาลูก จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณต้องเข้าไปหาลูกเพื่อตอกย้ำเขาว่า เขาจะได้รับความสนใจก็เมื่อมีพฤติกรรมที่ดี เงียบ และจะถูกเพิกเฉยเมื่อมีพฤติกรรมร้องไห้เอาแต่ใจ โดยควรพูดกับลูกดังนี้
    • “ชม” ให้ชมลูกแบบบรรยายพฤติกรรม เช่น “หนูเงียบแล้ว หนูเก่งค่ะลูก”
    • “คุย” ถามลูกว่า “เมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น” เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกได้ทบทวนเรื่องราวด้วยตัวเองก่อน ซึ่งจะช่วยให้ลูกเข้าใจตัวเองได้ดีกว่าการรอคำสอนอย่างเดียว และยังเป็นการกระตุ้นความฉลาดด้านการเข้าใจตนเองของลูกไปด้วยในตัว แต่หากลูกยังเล็ก และตอบไม่ได้ เราจะต้องเป็นคนค่อยๆ เรียบเรียงเรื่องให้ลูกเข้าใจ เช่น ถ้าลูกเพิ่งจะอายุ 1 ขวบ ขั้นตอนการกลับไปหาลูกจะต้องสั้นและกระชับมาก แต่จะมาโดดเด่นตอนตบบวก เพื่อให้ลูกเชื่อมโยงได้ง่ายขึ้นว่า เวลาที่ร้องไห้งอแงแล้วเงียบ พ่อแม่ถึงจะมาเล่นด้วย
    • “ตบบวก” คือการหากิจกรรมที่ลูกชอบให้เขาทำเพื่อเป็นการปลอบลูก เช่น เล่านิทานให้ฟัง เล่นด้วยกัน แต่ไม่แนะนำให้เป็นสิ่งของ เพราะเด็กอาจเชื่อมโยงการหยุดร้องไห้กับการได้สิ่งของแทน
      โดยทั่วไปเมื่อเริ่มทำเทคนิคเพิกเฉยในครั้งแรก การร้องไห้จะรุนแรงขึ้นและยาวนานกว่าปกติที่ลูกเคยงอแง แต่ไม่ต้องตกใจ เข้าใจผิด คิดว่าเราทำอะไรที่ไม่ถูกต้องหรือเปล่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะลูกรู้สึกได้ว่าพ่อแม่ไม่ง่ายเหมือนเดิม จึงแสดงอาการมากขึ้นเพื่อเรียกร้องให้เรากลับไปตอบสนองเขาแบบเดิม ขอให้อดทนไว้ก่อน อย่าใจอ่อนง่ายๆ เพราะครั้งต่อๆ ไป อาการของเขาจะเบาลงเรื่อยๆ

“จงอย่ากลัวที่จะทำเพิกเฉยเมื่อลูกร้องไห้เอาแต่ใจ แต่จงกลัวที่จะเป็นยักษ์กับลูก เพราะการเพิกเฉยไม่ทิ้งผลข้างเคียงอะไรไว้กับลูก แต่หากตอบสนองลูกด้วยอารมณ์โกรธ ตวาด หรือดุลูกด้วยความรุนแรงก้าวร้าว ลูกจะรับความก้าวร้าวรุนแรงไว้ในหัวใจแบบเต็มๆ การเลี้ยงลูกที่มีภาวะดื้อและต่อต้านเป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่เด็กก็จะสามารถดีขึ้นได้ หากได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมจากคนในครอบครัว ขอให้คุณพ่อคุณแม่ค้นให้พบและปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดู อีกไม่นานเขาก็จะกลับมาเป็นเด็กดีให้คุณพ่อคุณแม่ได้ชื่นใจอย่างแน่นอน”

ลูกดื้อไม่เชื่อฟังทำยังไง

วิธีแก้ สั่งสอนลูก ชี้แนะให้รู้จักขอบเขตที่ชัดเจนของพฤติกรรมที่ทำได้และทำไม่ได้ ตัวอย่างในการสอนลูก เวลาเห็นลูกทำตัวไม่เหมาะสมในเรื่องใดก็ตาม ควรพูดเตือนทันที อย่าปล่อยผ่านไป โดยให้พูดบอก "สั้นๆ ง่ายๆ" ใช้น้ำเสียง สีหน้ากลาง ๆ ไม่ใช้อารมณ์

พูดยังไงให้ลูกเชื่อ

วิธีพูดกับลูก วัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน.
1. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น ... .
2. วิธีพูดกับลูก พูดด้วยความรัก ความอบอุ่น ... .
3. วิธีพูดกับลูก พูดด้วยเหตุผล มากกว่าการบังคับ ... .
4. ฝึกให้ลูกได้คิดเองบ้าง ... .
5. หากิจกรรมทำร่วมกัน ... .
6. เปลี่ยนมาเป็นผู้ฟังที่ดีบ้าง ... .
7. สนใจในสิ่งที่ลูกแสดงออกมา ... .
8. ความพร้อมของลูกก็สำคัญ.

สอนอะไรให้ลูกดี

เริ่มสอนอะไร หากอยากให้ลูกเป็นคนดี.
1.สอนให้พูดสุภาพ สวัสดีครับ / ค่ะ ขอบคุณค่ะ / ครับ คำพื้นฐานที่นอกจากพ่อแม่จะต้องสอนลูกตั้งแต่ลูกเริ่มพูด ... .
2.สอนมารยาทที่ดี ... .
3.สอนให้รู้จักแบ่งปัน ... .
4.รู้จักวัฒนธรรม ประเพณี ... .
5.ปลูกฝังความมีระเบียบ ... .
6.สอนให้ดูแลผู้อื่น ... .
7.สอนให้ระวังตัวเอง ... .
8.สอนการให้กำลังใจ.