สงครามการค้า จีน สหรัฐ ผลกระทบต่อไทย 2565

สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ยุติ หุ้นกลุ่มไหนได้อานิสงค์


เผยแพร่ 27 พ.ค. 2565 ,15:49น.




สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ กับจีน จากการตั้งกำแพงภาษี คาดการณ์ว่า ก.ค.นี้จะหมดอายุ จับตาหุ้นไทยดีดรับข่าว หลังพบสถิติดัชนีปรับขึ้นเฉลี่ย 10 % ต่อรอบ

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ กำลังพิจารณาลดความตึงเครียดของสงครามการค้ากับจีน หรือผ่อนผันกำแพงภาษีสินค้าจีนที่รัฐบาลโดนัลด์ทรัมป์ เคยตั้งไว้ เมื่อกลางปี 2561 ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง  ตลาดหุ้นอาจเกิดปรากฎการณ์ Reverse Trade War ขึ้นมาได้

ไทยส่งออกโต 9.9% ขณะที่ราคาพลังงาน ปุ๋ยโลก ทำไทยขาดดุลการค้าสูง

เปิดหุ้นไทย 4 กลุ่ม รับกระแสบวก ผ่อนคลายสงครามการค้า สหรัฐฯ - จีน

จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง พบว่า ช่วงที่สหรัฐฯ เริ่มกำหนดกำแพงภาษีตั้งแต่รอบที่ 1 จนถึงรอบที่ 4 พบว่าในทุกๆ รอบ SET Index จะปรับตัวลดลงไปอย่างมีนัยสำคัญ รวมประมาณ  30%

สงครามการค้า จีน สหรัฐ ผลกระทบต่อไทย 2565

ดังนั้น หากการยกเลิกกำแพงภาษีเกิดขึ้นได้จริง ก็น่าจะจะเห็นการดีดตัวกลับขึ้นมาได้ เฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยกำลังแสวงหาตัวช่วยเพื่อพยุงไม่ให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยมีการคาดาดการณ์ว่า การยกเลิกกำแพงภาษีจะหมดอายุลงใน 6 ก.ค. 65 นี้ 

หากย้อนรอยเหตุการณ์ในอดีตสหรัฐฯ เคยปรับเพิ่มกำแพงภาษีสินค้าจากจีน ตั้งแต่ช่วงกลางๆ ปี 2018 และ มีการเพิ่มรายการสินค้าขึ้นมา 4 รอบ วงเงินรวมราวๆ 3.5 แสนล้านเหรียญ โดยทุกๆ รอบที่มีการประกาศขึ้นกำแพงภาษี มักจะกดดันให้ตลาดหุ้นโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยผันผวน และจากการทำการศึกษาความสัมพันธ์ของ Trade War กับตลาดหุ้นไทย พบว่า นักลงทุนให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มาก สะท้อนได้จากเวลาที่มีการตั้งกำแพงภาษีเพิ่มขึ้นในแต่ละรอบ SET Index มักจะปรับตัวลงแรงเสมอ 

“LINE MAN Wongnai” หนุน พนง.LGBTQ+ ให้สวัสดิการแต่งงาน 2 หมื่นบาท

ราคาทองวันนี้ ปิดตลาดขึ้น 100 บาท ตามต่างประเทศ-ค่าบาทอ่อน

จากข้อมูลจะพบว่า

  • การขึ้นภาษีรอบที่ 1 – 2 วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท ส่งต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. 61 โดยดัชนีปรับตัวลงเฉลี่ย -10.4%
  • ขณะที่การปรับขึ้นภาษีรอบที่ 3 วงเงิน 2.0 แสนล้านบาท ส่งต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือน ต.ค. - ธ.ค. 61 โดยดัชนีปรับลดลงเฉลี่ย -11%
  • และการขึ้นภาษีรอบที่ 4 วงเงิน 1.1 แสนล้านบาท ส่งต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือน ส.ค. - ธ.ค. 62  โดยดัชนี ปรับตัวลงเฉลี่ย -8.1%
สงครามการค้า จีน สหรัฐ ผลกระทบต่อไทย 2565

สิ่งที่เกิดขึ้นจากการตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐในทุกๆ รอบ จะพบว่า ตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบ โดยจะปรับลดลงเฉลี่ย ประมาณ 10% ต่อรอบ บริษทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส ระบุว่า หากดูเป็นราย Sector พบว่า 3  Sector ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ คือ กลุ่ม STEEL (เหล็ก และ ผลิตภัณฑ์โลหะ) ปรับตัวลง -16% และ กลุ่ม MEDIA (สื่อและสิ่งพิมพ์) -15% ตามมาด้วย กลุ่ม PKG (บรรจุภัณฑ์) -14%

แต่จะมีเพียงกลุ่มหุ้น Defensive (หุ้นที่มีมูลค่าและเงินปันผลคงที่) และ กลุ่มแบงก์ เท่านั้นที่ยังถือว่าไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว   (ช่วงนั้น Fed ขึ้นดอกเบี้ย และลดขนาดงบดุล)

อย่างไรก็ตามหากว่า การยกเลิกกำแพงภาษี ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้กลุ่มที่จะด้รับผลดี  คือ กลุ่มชิ้นส่วนฯ โดยเฉพาะหุ้น  KCE, HANA และกลุ่มอาหาร  โดยเฉพาะหุ้น CPF TFG GFPT TVO รวมถึงกลุ่มยานยนต์ อย่างหุ้น SAT, STANLY 

นอกจากนี้หุ้นกลุ่มแบงก์ ที่คาดว่าจะได้รับอานิสงค์จากปัจจัยดังกล่าวด้วยเช่นกัน เนื่องจากคาดว่าการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตามมา ในขณะที่ดอกเบี้ยก็อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยหุ้นที่ได้รับผลบวก เช่น BBL SCB KBANK

ที่มา : บริษทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส

ที่ปรึกษาอนามัยโลกคาด “ฝีดาษลิง” อาจระบาดหนักเพราะ “เพศสัมพันธ์”

โควิด 10 จังหวัดสูงสุด ปอดอักเสบต่ำกว่าพัน กทม. 1,986 ราย

อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline

ล่าสุดสหรัฐฯ ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าให้จีน 352 รายการ จากสินค้าที่ยื่นเรื่องต่ออายุ 549 รายการ โดยขยายเวลาให้ถึงสิ้นปี 2565 (ประกาศเมื่อวันที่ 23 มี.ค.2565) ล้วนเป็นภาพต่อเนื่องจากยกเว้นภาษีมาตั้งแต่ช่วงสงครามการค้าภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์ โดยสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นต่อห่วงโซ่การผลิตและสินค้าที่ไม่สามารถหาจากที่อื่นมาทดแทนได้ อาทิ เครื่องจักรกล ส่วนประกอบการผลิต สินค้าอุปโภคบริโภค ชิ้นส่วนจอโทรทัศน์ เป้สะพายหลัง รถจักรยาน และหมอน

ท่ามกลางการยกระดับความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน นอกจากจะส่งผลให้ทั่วโลกรวมทั้งสหรัฐฯ เผชิญวิกฤตราคาพลังงานและปัจจัยการผลิตเร่งตัวสูง ยังมีประเด็นความอ่อนไหวต่อการแสดงออกถึงการเป็นพันธมิตรกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ซึ่งในบางกรณีจะได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรตามมาจากการเลือกข้าง โดยจุดยืนของจีนนั้น ยังคงวางตัวเป็นกลางและแสดงออกถึงการต่อต้านสงคราม และในขณะเดียวกันก็ไม่ได้เข้าร่วมมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียตามที่ชาติตะวันตกดำเนินการอยู่ ดังนั้น การยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าให้จีน 352 รายการดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า สหรัฐฯ แม้ว่ายังยึดนโยบายสงครามการค้ากับจีนอยู่ แต่ยังไม่ใช่จังหวะเวลาที่เหมาะสมในการเปิดประเด็นสงครามการค้ากับจีนเพิ่มเติมในเวลานี้

ความตกลงการค้าสหรัฐฯ-จีนเฟสที่ 1 เมื่อวันที่ 15 ม.ค.2563 เป็นจุดเริ่มต้นในการหาทางเดินร่วมกันของทั้งสองประเทศ โดยสหรัฐฯ กำหนดเงื่อนไขให้จีนปฏิบัติตามภายในระยะเวลา 2 ปี  อาทิ การกำหนดให้จีนแก้กฎหมายด้านสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา ให้จีนปกป้องธุรกิจสหรัฐฯ ในการถ่ายโอนเทคโนโลยี ประเด็นด้านอัตราแลกเปลี่ยน การเปิดตลาดภาคบริการการเงินของจีน และข้อกำหนดที่จีนต้องนำเข้าสินค้าและบริหารจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ อย่างไรก็ตาม ตลอดช่วงเวลา 1 ม.ค.2563 ถึง 31 ธ.ค.2564 จีนทำตามข้อตกลงในการนำเข้าสินค้าและบริการจากสหรัฐฯ ได้เพียง 2.86 แสนล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 57% ของเป้าหมายที่ 502.4 แสนล้านดอลลาร์ฯ (ข้อกำหนดคิดจากมูลค่าฐานในปี 2560 ที่ 3.02 แสนล้านดอลลาร์ฯ และบวกเพิ่มอีก 2 แสนล้านดอลลาร์ฯ)

นับตั้งแต่สงครามการค้าเริ่มขึ้นในปี 2561 จนกระทั่งผ่านมาแล้ว 4 ปี สหรัฐฯ ยังคงเก็บภาษีสินค้าจีนรวมมีมูลค่ากว่า 3.6 แสนล้านดอลลาร์ฯ (มูลค่า ณ ปี 2560) ด้วยอัตราภาษี 7.5% และ 25% ในขณะที่ยังมีสินค้าสำเร็จรูปสำหรับการบริโภคอีกราว 1.6 แสนดอลลาร์ฯ (List 4b ตามภาพ) ที่ยังไม่ถูกเก็บภาษี อย่างไรก็ดี ระหว่างช่วงเวลาของสงครามการค้าไล่เรียงมาจนถึงช่วงวิกฤตโควิด-19 สหรัฐฯ ได้มีการถอดสินค้าบางรายการที่จำเป็นในภาคอุตสาหกรรมและการอุปโภคบริโภค รวมถึงสินค้าในการกู้วิกฤตโควิดหลายชนิดออกจากรายการเก็บภาษีรวม 549 รายการ จากที่เคยเก็บในอัตรา 7.5% และ 25% มาเป็นการยกเว้นภาษี โดยในการพิจารณารอบนี้ (23 มี.ค. 65) ได้ต่ออายุรายการสินค้ายกเว้นภาษีจำนวน 325 รายการ ในขณะที่สินค้า List 4b ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

การต่ออายุการยกเว้นภาษีครั้งนี้นับเป็นจังหวะพอดีที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญภาวะเงินเฟ้อระดับสูงที่สุดในรอบเกือบ 40 ปี ที่ 7.9% (ก.พ.2565) ซึ่งอาจจะเป็นการช่วยบรรเทาผลกระทบผู้บริโภคจากแรงกดดันเงินเฟ้อท่ามกลางวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของเฟด ในขณะที่อีกด้านหนึ่งนั้น การขึ้นภาษีก็ไม่ได้ช่วยให้สหรัฐฯ ลดการขาดดุลการค้ากับจีนได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในปี 2564 ที่ผ่านมาการสหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้น 14.5% มาอยู่ที่ 355.3 พันล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2564 (จากปี 2561 ที่เริ่มสงครามการค้าเป็นระดับสูงสุดที่ 418.2 พันล้านดอลลาร์ฯ)

อย่างไรก็ดี ในเวลานี้ที่สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังคงสร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลก สหรัฐฯ คงไม่นำเรื่องสงครามการค้ากับจีนเข้ามาเป็นประเด็นในเวลานี้ อีกทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างต้องเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าที่กำลังเผชิญวิกฤตเงินเฟ้อเร่งตัวสูง และควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดรุนแรงอยู่ แต่ถ้าหากสถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลายทั้งคู่อาจกลับมาเจรจาความตกลงในระยะถัดไป ซึ่งเชื่อว่าในยุคของนายโจ ไบเดน จะยังคงให้น้ำหนักกับการกีดกันจีนจากเทคโนโลยีสำคัญโดยเพิ่มความแรงกดดันด้านกฎระเบียบที่เป็นสากลในการโจมตีจีนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการห้ามส่งสินค้าเทคโนโลยีให้บริษัทจีน การตัดบริษัทจีนออกจากตลาดหลักทรัพย์ การใช้มาตรฐานแรงงานระดับสูงมากดดันธุรกิจจีน ขณะที่ประเด็นด้านภาษีคงต้องขึ้นอยู่กับว่าทางฝั่งจีนจะปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขที่สหรัฐฯ ยอมรับได้แค่ไหน

สงครามการค้าอาจหวนกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง ช่วงปลายปี 2565 ที่จะมีการเลือกตั้งกลางเทอมเพื่อเรียกคะแนนความนิยมในตัวประธานาธิบดีกลับมา ซึ่งพรรคเดโมแครตเจอความท้าทายอย่างมากที่อาจเสียฐานเสียงในสภาล่างที่มีเสียงปริ่มน้ำในปัจจุบัน ประกอบกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของนายโจ ไบเดนขณะนี้ไม่สามารถเรียกคะแนนนิยมจากประชาชนได้ดีนัก สะท้อนจากผลสำรวจของรอยเตอร์  ณ วันที่ 29 มี.ค.2565 ระบุว่าประชาชนเห็นด้วยกับนโยบายของนายโจ ไบเดนลดลงมาเรื่อยๆ จนอยู่ที่ 42% (ตอนเริ่มรับตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ที่ 55% ณ วันที่ 21 ม.ค.2565)

Scan QR Code

สงครามการค้า จีน สหรัฐ ผลกระทบต่อไทย 2565

หมายเหตุ

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น บริษัทฯ จะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็น หรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น