อารยธรรมจีนที่มีอิทธิพลต่อไทย

“จีนมีความสัมพันธ์กับเมืองไทยมาช้านานไม่ยิ่งหย่อนกว่าทางอินเดีย… ขณะที่ประชาชนในประเทศไทยสัมพันธ์กับอินเดียในทางวัฒนธรรมนั้น ก็มีความสัมพันธ์กับจีนในทางสังคมและเศรษฐกิจ คนจีนเข้ามาค้าขายในดินแดนนี้มาแต่ต้นคริสตกาล การจดบันทึกของชาวจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมาทำให้เราทราบถึงบ้านเมือง แว่นแคว้น การปกครอง ศาสนา และขนบธรรมเนียมของคนในประเทศไทยดีกว่าเอกสารหรือหลักฐานในด้านอื่นๆ" 

ในบทความเรื่อง “จีนในไทย”  โดย  อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้นำเสนอมุมมองความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน จากการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทั้งที่ปรากฏในนิทาน ตำนาน พงศาวดาร ตลอดจนหลักฐานจากการสำรวจและขุดค้น ความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจระหว่างจีนกับดินแดนไทยนั้น เริ่มเห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่ตอนปลายสมัยราชวงศ์ซ้อง ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ลงมา อันเป็นช่วงเวลาที่จีนขยายกิจการค้าขาย แต่งเรือสำเภาเดินทางมายังบ้านเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีการตั้งหลักแหล่งการค้าตามเมืองต่างๆ รวมทั้งได้แต่งงานปะปนกับคนพื้นเมืองด้วย

อารยธรรมจีนที่มีอิทธิพลต่อไทย

ชายชาวจีนและหญิงพื้นเมืองในภาพจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถ วัดตะปอนน้อย จังหวัดจันทบุรี 

จากตำนาน พงศาวดาร และนิทานท้องถิ่นหลายเรื่อง พบว่ามีการกล่าวถึงการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในดินแดนไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยการสร้างกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะการแต่งงานระหว่างชาวจีนกับกลุ่มชนชั้นปกครอง ซึ่งเป็นคนพื้นเมือง ดังเช่น ตำนานพระเจ้าสายน้ำผึ้ง-พระนางสร้อยดอกหมาก  นอกจากนี้ยังมีนิทานพื้นบ้านอีกหลายเรื่อง ที่กล่าวถึงพระราชโอรสหรือพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงจีนที่เข้ามาแต่งงานกับเชื้อสายของกษัตริย์พื้นเมือง

ตำนานพระเจ้าอู่ทอง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทย ใน พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต ได้กล่าวถึงพระโอรสของกษัตริย์ในดินแดนจีนองค์หนึ่ง ได้ถูกเนรเทศออกจากบ้านเมือง จึงเสด็จโดยกองเรือสำเภามาตั้งบ้านเมืองในดินแดนไทยหลายแห่ง แม้เป็นเพียงตำนาน แต่ก็แสดงถึงการคลี่คลายทางสังคม การขยายตัวของบ้านเมืองและรัฐในดินแดนไทย ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ลงมา อันเนื่องมาจากการติดต่อทางการค้ากับจีน

อารยธรรมจีนที่มีอิทธิพลต่อไทย

ตลับดินเผาทรงกลม เคลือบขาว อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส สงขลา 

ทางด้านหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ลงมา พบสินค้าประเภทเครื่องถ้วยชามสมัยราชวงศ์ซ้องแพร่หลายอยู่แทบทุกภาคของประเทศไทย และยังเป็นไปได้ว่ามีการถ่ายทอดอิทธิพลในด้านรูปแบบและเทคนิควิธีการมาจากเครื่องปั้นดินเผาจีนสมัยราชวงศ์ซ้อง เช่น แหล่งเตาเครื่องปั้นดินเผาที่พบในเขตอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งพบเครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบและไม่เคลือบจำนวนมาก เป็นไปได้ว่าได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์ซ้อง ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ได้เกิดแหล่งเครื่องปั้นดินเผาขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น สุโขทัย ศรีสัชนาลัย สันกำแพง เมืองพาน เวียงกาหลง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีลวดลายปูนปั้นและภาพจิตรกรรมประดับศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลจีน เช่น ลวดลายเครือเถา ใบไม้ ดอกไม้ ภูเขา เป็นต้น

อารยธรรมจีนที่มีอิทธิพลต่อไทย

สิงโตศิลาจีน เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส สงขลา

ส่วนสินค้าที่มาจากจีนจะได้รับการยกย่องว่าเป็นของมีค่าและเป็นเครื่องแสดงฐานะ ดังจะเห็นได้จากความนิยมนำเครื่องสังคโลกของจีนมาใช้เป็นผอบบรรจุอัฐิก่อนนำไปไว้ภายในพระสถูปเจดีย์ และการสั่งซื้อ-สั่งทำเครื่องปั้นดินเผาจากจีน เช่น เครื่องลายคราม เครื่องถ้วยเบญจรงค์ เครื่องลายน้ำทอง เป็นต้น

อารยธรรมจีนที่มีอิทธิพลต่อไทย

ตุ๊กตาศิลาจีน สลักเป็นรูปบุคคล ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ 

ส่วนบทบาทของชาวจีนในสมัยอยุธยานั้น นอกจากเป็นพ่อค้าวานิชแล้ว บางคนยังเข้ารับราชการเป็นขุนนาง หรือเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง เช่น แพทย์ งานช่าง ตลอดจนอาชีพทางการเกษตรกรรม เช่น ทำสวน ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงหมู ตลอดจนรับจ้างเป็นกรรมกรในกิจการต่างๆ ด้วย ซึ่งบทบาททางสังคมของชาวจีนดังที่กล่าวมานี้ คงสืบเนื่องมาถึงยุคสมัยต่อมาคือ กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ และถูกหลอมรวมผสมผสานจนเป็นส่วนหนึ่งในสังคมไทยจวบจนปัจจุบัน

อ่านบทความเรื่อง “จีนในไทย” โดย อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ใน วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 (สิงหาคม-กันยายน 2522) หน้า 39-43 ฉบับเต็มใน “10 ปีแรก วารสารเมืองโบราณ” คลิก https://issuu.com/muangboranjournal/docs/0506-2522/40  

             ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่า อารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือการสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อ ประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักรสลับกันไปในบางครั้งก็ถูกปกครอง โดยชนชาติอื่น วัฒนธรรมของจีนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อชาติอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งถ่ายทอดไปทั้งการอพยพการค้าและการยึดครอง
อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ
              1. ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา ( Yang Shao Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะ สำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสานลายเชือกทาบ
              2. ลุ่มน้ำแยงซี ( Yangtze ) บริเวณมณฑลชานตุงพบ วัฒนธรรมหลงซาน ( Lung Shan Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผา มีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียดสีดำขัดมันเงาคุณภาพดีเนื้อบางและแกร่ง เป็นภาชนะ 3 ขา
สมัยประวัติศาสตร์ของจีนแบ่งได้ 4 ยุค
              1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชาง สิ้นสุดสมัยราชวงศ์โจว
              2. ประวัติศาสตร์สมัยจักรวรรดิ เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิ๋น จนถึงปลายราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
              3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มปลายราชวงศ์เช็งจนถึงการปฏิวัติเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม
              4. ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่จีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์จนถึงปัจจุบัน
อารยธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ต่างๆ มีดังนี้
              1. ราชวงศ์ชาง เป็นราชวงศ์แรกของจีน
                            - มีการปกครองแบบนครรัฐ
                            - มีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก พบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนาย โชคชะตาจึงเรียกว่า "กระดูกเสี่ยงทาย"
                            - มีความเชื่อเรื่องการบูชาบรรพบุรุษ
              2. ราชวงศ์โจว
                            - แนวความคิดด้านการปกครอง เชื่อเรื่องกษัตริย์เป็น "โอรสแห่งสวรรค์ สวรรค์มอบอำนาจให้มาปกครองมนุษย์เรียกว่า"อาณัตแห่งสวรรค์
                            - เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน
                            - เกิดลัทธิเต๋า โดยเล่าจื๊อ
                            - คำสอนทั้งสองลัทธิเป็นที่พึ่งทางใจของผู้คน
              3. ราชวงศ์จิ๋นหรือฉิน
                            - มีการใช้เหรียญกษาปณ์ มาตราชั่ง ตวง วัด
                            - จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่สามารถรวมดินแดนของจีนให้เป็นจักรวรรดิเป็นครั้งแรกคือพระเจ้าชิวั่งตี่หรือจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นผู้ให้สร้าง กำแพงเมืองจีน
              4. ราชวงศ์ฮั่น
                            - ลัทธิขงจื๊อ คำสอนถูกนำมาใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
                            - มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการเรียกว่า จอหงวน
                            - เป็นยุคทองด้านการค้าของจีนมีการค้าขายกับอาณาจักรโรมัน อาหรับและอินเดียโดยเส้นทางการค้าที่เรียกว่าเส้นทางสาย ไหม( Silk Rood )
              5. ราชวงศ์สุย
                            - เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก
                            - มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม
              6. ราชวงศ์ถัง
                            - ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน นครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้น
                            - พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระภิกษุ (ถังซำจั๋ง) เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกในชมพูทวีป
                            - เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้
                            - ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง
              7. ราชวงศ์ซ้อง
                            - มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา
                            - รู้จักการใช้เข็มทิศ
                            - รู้จักการใช้ลูกคิด
                            - ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ
                            - รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
              8. ราชวงศ์หยวน
                            - เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรกคือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้
                            - ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส อิตาลี
              9. ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง
                            - วรรณกรรม นิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว
                            - ส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล
                            - สร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
              10. ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง
                            - เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน
                            - เริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง
                            - ปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก
การถ่ายทอดอารยธรรมจีนสู่ดินแดนต่างๆ
              อารยธรรมจีนแผ่ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งในเอเชียและยุโรป อันเป็นผลมาจากการติดต่อทางการทูต การค้า การ ศึกษา ตลอดจนการเผยแผ่ศาสนา อย่างไรก็ตามลักษณะการถ่ายทอดแตกต่างกันออกไป ดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนเป็น เวลานาน เช่น เกาหลี และเวียดนาม จะได้รับอารยธรรมจีนอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านวัฒนธรรม การเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี การ สร้างสรรค์ และการแสดงออกทางศิลปะ ทั้งนี้เพราะราชสำนักจีนจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและบังคับให้ประเทศทั้งสองรับวัฒนธรรมจีน โดยตรง
              ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อารยธรรมจีนได้รับการยอมรับในขอบเขตจำกัดมาก ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ การยอมรับระบบบรรณาการ ของจีน ในเอเชียใต้ ประเทศที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีนอย่างใกล้ชิด คือ อินเดีย พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียแพร่หลายเข้ามาใน จีนจนกระทั่งเป็นศาสนาสำคัญที่ชาวจีนนับถือ นอกจากนี้ศิลปะอินเดียยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะบางอย่างของจีน เช่น ประติมากรรมที่เป็นพระพุทธรูป
              ส่วนภูมิภาคเอเชียกลางและตะวันออกกลางนั้น เนื่องจากบริเวณที่เส้นทางการค้าสานแพรไหมผ่านจึงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางนำ อารยธรรมตะวันตกและจีนมาพบกัน อารยธรรมจีนที่เผยแพร่ไป เช่น การแพทย์ การเลี้ยงไหม กระดาษ การพิมพ์ และดินปืน เป็นต้น ซึ่งชาว อาหรับจะนำไปเผยแพร่แก่ชาวยุโรปอีกต่อหนึ่ง

อิทธิพลของอารยธรรมจีนที่มีต่อไทยมีอะไรบ้าง

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดินแดนไทยได้รับ อารยธรรมจีนมานานแล้ว โดยผ่านทางการค้า การเผยแผ่ ศาสนา การศึกษา อิทธิพลของอารยธรรมจีนที่มีต่อโลก และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประการ ดังนี้ - ด้านศาสนาและความเชื่อ - ด้านอาหาร - ด้านภาษา - ด้านอักษรศิลปวิทยากร - ด้านการแต่งกาย - ด้านวิถีชีวิต ด้านศาสนาและความเชื่อ

อารยธรรมจีนเข้ามาในไทยได้อย่างไร

ชาวจีนรุ่นแรกๆ ที่อพยพเข้ามาในไทยจะเข้ามากับเรือสินค้า และส่วนมากเป็นชาวจีนที่อาศัยทำกินอยู่ในดินแดนทางใต้แถบชายทะเลมาก่อน ต่อมาเมืองกวางโจวมีเมืองท่าใหม่แถบชายทะเลทางใต้ยิ่งทำให้ดินแดนทางใต้มีความสำคัญเพิ่มขึ้นอีก เช่น เมืองท่าจางหลิน ที่ซัวเถาของเมืองแต้จิ๋ว จึงทำให้ชาวจีนกลุ่มภาษาต่างๆ อพยพออกนอกประเทศมากขึ้น (เกาะ ...

อารยธรรมที่โดดเด่นของชาวจีนมีอะไรบ้าง

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอารยธรรมยาวนานที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถค้นคว้าได้บ่งชี้ว่า อารยธรรมจีนมีอายุถึง 5,000 ปี รากฐานที่สำคัญของอารยธรรมจีนคือการสร้างระบบภาษาเขียน และการพัฒนาแนวคิดลัทธิขงจื๊อ เมื่อ ประมาณ ศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. ประวัติศาสตร์จีนมีทั้งช่วงที่เป็นปึกแผ่นและแตกเป็นหลายอาณาจักร ...

อิทธิพลวัฒนธรรมจีนเข้ามาตั้งแต่สมัยใด

วัฒนธรรมจีนได้เข้ามาผสมผสานอยู่ใน สังคมไทยมาอย่างยาวนาน จากหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ พบว่ามีร่องรอยการติดต่อ สัมพันธ์ระหว่างสองดินแดนมาตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ฮั่น (汉朝) หลักฐานเอกสารทาง ประวัติศาสตร์ที่ส าคัญของจีน ได้แก่ “ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นฉบับหลวง” (汉书) แต่งโดย ปันกู้ (班固) เป็นบันทึก ประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ฮั่น ...