เลือก ประกัน สุขภาพ แบบ ไหน ดี

เมื่อพูดถึงประกันสุขภาพ สำหรับใครที่ยังไม่เคยทำมาก่อนอาจจะเจอกับปัญหาว่า ไม่รู้ว่าจะเลือกทำประกันตัวไหนดี ถึงจะคุ้มค่าและครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงยามเจ็บป่วย ซึ่งวิธีการทำประกันสุขภาพให้ได้รับความคุ้มครองอย่างครอบคลุม ที่ทาง AIA แนะนำ คือ การเลือกทำ “ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย” คู่กับ “ประกันโรคร้ายแรง” เพื่อให้ตอบโจทย์ทุกการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น เรามาดูกันว่าการมีประกันทั้งสองแบบนี้ต่างกันอย่างไร แล้วการมีทั้งประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายและประกันโรคร้ายแรงคู่กันดีกว่าอย่างไร

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครองครอบคลุม สะดวก ไม่ซับซ้อน รองรับค่ารักษาที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล

ประกันสุขภาพแบบแรกที่แนะนำให้ทุกคนมี คือ "ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย" เนื่องจากประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจะให้วงเงินในการเคลมค่อนข้างสูงตั้งแต่หลักแสนถึงหลักล้าน ช่วยเหมาจ่ายค่ารักษาให้หลายรายการ อาจมีการจำกัดวงเงินเพียงบางรายการเท่านั้น ขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ที่เลือก รูปแบบการจ่ายผลประโยชน์จึงเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย เข้าโรงพยาบาลแต่ละครั้งก็สะดวกสบาย ไม่ต้องสำรองจ่าย

ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจึงเป็นประกันที่ทุกคนควรมีไว้ เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าการเจ็บป่วยในแต่ละครั้งจะเป็นโรคอะไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไร แล้วยิ่งเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีทางการเแพทย์พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ยิ่งทำให้ค่ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การมีหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมเผื่อไว้เป็นจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าการเข้าโรงพยาบาลแต่ละครั้งจะมีเบาะรองรับภาระค่าใช้จ่ายให้เราได้

ประกันโรคร้ายแรง ค่าเบี้ยฯ ต่ำ ความคุ้มครองสูง อีกหนึ่งสัญญาเพิ่มเติมที่ทุกคนต้องมี

นอกจากประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่ทุกคนต้องมีติดตัวไว้แล้ว ประกันอีกหนึ่งประเภทที่ควรมีคู่กันไว้เสมอก็ คือ "ประกันโรคร้ายแรง”

เพราะ การจ่ายเงินของประกันโรคร้ายแรงจะแตกต่างจากประกันสุขภาพเหมาจ่าย โดยหากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง ทางบริษัทประกันจะ จ่ายเงินก้อน  ให้แก่ผู้เอาประกันโดยตรง ซึ่งเราสามารถบริหารค่าใช้จ่ายได้เอง

เนื่องจากหากได้รับการวินิฉัยว่าป่วยเป็นโรคร้ายแรงเเล้ว ทั้งการทำงาน อาหารการกิน ความถี่ในการเข้า-ออกโรงพยาบาล ไปจนถึงคนรอบตัวที่ต้องมาดูแลอย่างใกล้ชิด ก็ต้องเปลี่ยนไปทั้งหมด และอาจไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนเดิม รายจ่ายจึงไม่ได้มีแค่ค่ารักษาตัวในโรงพยาบาลเท่านั้น ดังนั้นในวันที่เกิดวิกฤติขึ้นมาอย่างไม่ทันตั้งตัว การมีเงินก้อนจากประกันโรคร้ายแรงติดตัวจึงเป็นกำลังเสริมสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้การเงินติดขัดได้เป็นอย่างดี

ดังนั้นไม่ว่าจะเอาเงินก้อนนี้ไปสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันในช่วงที่พักฟื้น เอาไว้เป็นค่ากายภาพบำบัดและฟื้นฟูตัวเองหลังการรักษา หรือจะนำไปใช้หมุนจ่ายค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในบ้านที่จำเป็น เช่น การผ่อนรถ ผ่อนบ้าน หรือการจ่ายค่าเทอมลูกก็สามารถทำได้ ซึ่งต่างจากประกันสุขภาพที่จะครอบคลุมเพียงค่ารักษาที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลเท่านั้น

อีกทั้งค่าเบี้ยประกันโรคร้ายแรงก็ไม่แพงเมื่อเทียบกับความคุ้มครองที่ได้รับ จึงสามารถเข้าถึงได้ง่าย และสามารถเลือกซื้อแผนประกันที่เหมาะสมกับงบประมาณที่จำกัดได้ การซื้อประกันโรคร้ายแรงติดปลายนวมไว้จึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยงทางการเงินที่เราจะได้รับหากป่วยเป็นโรคร้ายแรง

หลายคนอาจมองว่า การทำประกันคือ การจ่ายเงินเพื่ออนาคตที่ยังมาไม่ถึง บางคนมองว่าการทำประกัน คือ การซื้อความมั่นคงให้กับคนที่อยู่ข้างหลัง ซึ่งหากตัวเองไม่มีภาระที่ต้องห่วงกังวล การทำประกันอาจไม่จำเป็น

แต่เราลืมไปหรือเปล่าว่า เราทุกคนต่อให้แข็งแรงแค่ไหน แต่ก็มีโอกาสเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้เสมอ และประกันนี่แหละที่จะช่วยคุ้มครองเรา ให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ

ข้อดีของการทำประกันสุขภาพ

อันดับแรก คือ การแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในยามที่เราเจ็บป่วย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินเก็บ หรือ ไม่ต้องควักกระเป๋าเอาเงินที่เก็บไว้มาทั้งชีวิตเพี่อรักษาโรคเพียงครั้งเดียว เพราะเราต่างทราบกันดีว่า การเข้าถึงการดูแลอย่างดี ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และแม้ว่าบางคนจะมีสวัสดิการในการรักษาพยาบาลอยู่แล้ว แต่บางครั้งสวัสดิการเหล่านั้นก็ไม่ครอบคลุมการรักษา หรือไม่สามารถมอบความสะดวกสบาย และใช้ได้ทันการ การทำประกันสุขภาพให้เพียงพอต่อการคุ้มครองย่อมเป็นทางออกที่ดีที่สุด

หรือสำหรับบางคนที่สุขภาพดี ก็ไม่แน่ว่าอาจเกิดเหตุไม่คาดฝัน ทั้งจากอุบัติเหตุ และโรคร้ายแรงได้เช่นกัน การมีประกันสุขภาพที่ครอบคุ้มความคุ้มครองให้อย่างเหมาะสม ก็จะทำให้เราอุ่นใจยิ่งขึ้น

ประกันสุขภาพแบบไหนดี มาดูวิธีเลือกกัน

เลือก ประกัน สุขภาพ แบบ ไหน ดี

การเลือกประกันสุขภาพสามารถพิจารณาได้จากหลายแง่มุมต่อไปนี้

1. เลือกตามความคุ้มครองที่ต้องการ

ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD : In Patient Department)

เป็นการให้ความคุ้มครองในกรณีที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลา 6 ชั่วโมงขึ้นไป หรือต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล (admit) ประกันสุขภาพผู้ป่วยในจะครอบคลุมหลายด้าน อาทิ ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงพยาบาล ค่าแพทย์ ค่าห้องผ่าตัด และค่า X-ray ประกันสุขภาพแบบนี้ตอบโจทย์ผู้ที่กังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลที่สูง หรือโรคที่ต้องใช้เวลารักษาพักฟื้นที่ค่อนข้างยาว

สำหรับใครที่ต้องการทำประกันสุขภาพผู้ป่วยใน ควรเลือกแบบเหมาจ่าย เนื่องจากมีเงื่อนไขน้อยและมีการกำหนดวงเงินเหมาจ่ายต่อปี ทำให้เสียค่าส่วนต่างค่ารักษาน้อยกว่าแบบเก่า หรือแบบรายบรรทัด ที่ระบุรายละเอียดความคุ้มครองแบบตายตัว มีวงเงินจำกัดทุกค่าใช้จ่าย ซึ่งจะทำให้มีส่วนต่างที่ต้องจ่ายเองมากกว่าแบบเหมาจ่าย

ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD : Out Patient Department)

เป็นการให้ความคุ้มครองกรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ไม่ได้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ส่วนมากมักเป็นอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย จะมีค่าใช้จ่าย เช่น ค่ายา ค่าแพทย์และค่าบริการทางการแพทย์ ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกส่วนมากมักรวมอยู่กับประกันสุขภาพผู้ป่วยใน แต่ผู้เอาประกันสามารถเลือกไม่ซื้อความคุ้มครองนี้ได้ ควรศึกษารายละเอียดส่วนนี้ให้ดีก่อนตัดสินใจ หรือพิจารณาร่วมกับสิทธิประกันสุขภาพจากที่ทำงานที่เรามีอยู่เดิม

ประกันโรคร้ายแรง

เป็นประกันสุขภาพที่คุ้มครองกรณีเจ็บป่วยด้วยโรคที่รุนแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดในสมองแตก โรคหัวใจ ฯลฯ โรคเหล่านี้จะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทั้งจากค่าเครื่องมือ ค่ายา และค่ารักษาอย่างต่อเนื่อง การเลือกทำประกันประเภทนี้ เราอาจพิจารณาจากความเสี่ยงด้านสุขภาพของเราเอง เช่น จากการทำงาน หรือจากกรรมพันธุ์

ลักษณะพิเศษของประกันโรคร้ายแรง คือ จะมอบเงินชดเชยเป็นเงินก้อนเมื่อตรวจพบโรคที่ระบุไว้ในสัญญา ทำให้เรามีเงินก้อนไว้ดูแลตัวเองเพิ่มเติมจากประกันสุขภาพ หรือจากเงินเก็บที่เราสำรองเอาไว้ อย่างไรก็ดี ประกันโรคร้ายแรงมีเงื่อนไขในการจ่ายเงินค่อนข้างมาก แนะนำให้ศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนซื้อประกัน

เลือก ประกัน สุขภาพ แบบ ไหน ดี


ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA : Personal Accident)

เป็นการให้ความคุ้มครองความเสียหายจากอุบัติเหตุในหลายกรณี ทั้งการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ การทุพพลภาพโดยสิ้นเชิง รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลทั้งในกรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก เป็นการซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ทั้งความจำเป็นเมื่ออายุมากขึ้น หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการทำงาน ข้อสังเกตเล็กน้อย คือ ประกันอุบัติเหตุจะคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุทั่วไปเท่านั้น หากต้องการความคุ้มครองที่มากขึ้น เช่น จากการฆาตกรรม ก่อจลาจล หรือการประท้วง ก็ต้องซื้อสัญญาแนบท้ายร่วมด้วย

ประกันชดเชยรายได้

เป็นการทำประกันเพื่อคุ้มครองรายได้ระหว่างการเจ็บป่วยที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยผู้เอาประกันจะได้รับสินไหมทดแทนรายวันตามที่ตกลงไว้ในกรมธรรม์ และจะไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลตลอดการพักรักษาตัว ประกันชดเชยรายได้เหมาะสำหรับผู้ที่จะขาดรายได้หากต้องหยุดงาน เช่น กลุ่มอาชีพค้าขาย ฟรีแลนซ์ และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเพิ่มเติมความคุ้มครองจากประกันสุขภาพผู้ป่วยใน ทำให้ได้รับความคุ้มครองทั้งส่วนของค่ารักษาพยาบาล และหมดกังวลเรื่องการขาดรายได้ระหว่างเจ็บป่วย

2. เลือกตามทุนประกันและค่ารักษาพยาบาล

ไม่ว่าจะเลือกประกันสุขภาพแบบไหนก็ควรพิจารณาทุนประกันที่เหมาะสมด้วย โดยอาจประเมินจากค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ประจำว่าควรเลือกประกันสุขภาพที่มีทุนประกันประมาณเท่าไหร่ และอย่าลืมเผื่อวงเงินค่ารักษาที่อาจแพงขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ดี แผนประกันที่ให้วงเงินคุ้มครองสูง ก็จะต้องจ่ายเบี้ยประกันที่สูงเช่นกัน จึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ และดูจากความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่องทุกปีด้วย

3. เลือกจากเบี้ยประกันที่เหมาะสม

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายมีหลายปัจจัย ทั้งเงื่อนไขความคุ้มครอง วงเงินเอาประกัน รวมทั้งคุณสมบัติของผู้เอาประกัน เช่น เพศ อายุ ประวัติสุขภาพ หลายคนจึงเลือกวางแผนทำประกันสุขภาพเอาไว้ตั้งแต่อายุยังน้อย และไม่มีประวัติการรักษาโรคที่ร้ายแรง เพื่อให้ได้ความคุ้มครองครบถ้วน และจ่ายเบี้ยประกันไม่สูงมาก

4. ตรวจสอบสิทธิประโยชน์อื่น ๆ

เช่น ตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลคู่สัญญาว่ามีโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ประจำหรือไม่ จะได้ไม่ต้องสำรองจ่าย หากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนั้น ๆ หรืออาจพิจารณาเลือกประกันสุขภาพที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์สองต่อ เป็นต้น

เลือก ประกัน สุขภาพ แบบ ไหน ดี


แนะนำประกันสุขภาพ เลือกได้ครบ ตอบโจทย์ทุกความคุ้มครอง

สำหรับใครที่มีแผนทำประกันสุขภาพอยู่ในใจ และกำลังมองหาประกันที่ใช่ ขอแนะนำประกันสุขภาพ 3 สไตล์จากกรุงไทย ที่มีไว้รับรองว่าครบเครื่องทุกความต้องการ

ประกันสุขภาพตัวเดียวที่ตอบโจทย์ทุกความคุ้มครอง ทั้งความคุ้มครองกรณีผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก ค่าชดเชยรายวัน และโรคร้ายแรง พร้อมทั้งสัญญาเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่เราเลือกได้ตามใจ ปรับเปลี่ยนได้หลากหลาย แถมความสะดวกสบายจากบัตรประกันสุขภาพ (Care Card) ที่สามารถใช้ได้กับโรงพยาบาลในเครือ ทำให้ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล

เหนือกว่าด้วยความคุ้มครองที่คุ้มค่า ทั้งการรักษาแบบผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก พร้อมเหมาจ่ายทั้งผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล และค่าบริการทั่วไป ที่สำคัญ ไม่ต้องสำรองจ่าย เพราะมีบัตรประกันสุขภาพ (Care Card) ไว้อำนวยความสะดวก และเบี้ยประกันก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย

ความคุ้มครองแบบ 3 in 1 ทั้งโรคมะเร็ง กล้ามเนื้อหัวใจ และหลอดเลือดสมองแตก จ่ายเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 1.16 บาท ต่อวัน แต่คุ้มครองด้วยวงเงินสูงสุดถึง 300,000 บาท สมัครง่ายผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับเพิ่มความคุ้มครองจากโรคร้ายแรง

เพราะสุขภาพ คือ เรื่องที่เราทุกคนไม่ควรมองข้าม การทำประกันสุขภาพจะทำให้เราได้รับการดูแลอย่างดี และเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากภาระค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง สำหรับใครที่วางแผนการเงินเป็นอย่างดี อย่าลืมมีประกันสุขภาพติดไว้ด้วย เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นคง และพร้อมให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ

ซื้อประกันสุขภาพของอะไรดี

10 ประกันสุขภาพ ที่ไหนดี เคลมง่าย คุ้มครองครอบคลุม ลดหย่อนภาษีได้.

ประกันสุขภาพที่ไหนดี 2023

10 ประกันสุขภาพ ที่ไหนดี คุ้มครองครบ ค่าเบี้ยกันเอง เหมาะกับทุกช่วงอายุ ปี 2023.
ประกันสุขภาพ FWD..
ประกันสุขภาพ Rabbit Finance..
ประกันสุขภาพ MSIG..
ประกันสุขภาพ TQM..
ประกันสุขภาพ AIA..
ประกันสุขภาพ ไทยประกันชีวิต.
ประกันสุขภาพทีเอ็มบี.
ประกันสุขภาพ กรุงไทย แอกซ่า.

ประกันสุขภาพมีกี่ระดับ

การประกันสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การประกันภัยอุบัติเหตุ และสุขภาพหมู่และการ ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพรายบุคคล ทั้ง 2 ประเภท ให้ความคุ้มครองที่เหมือนกัน โดยแบ่งความคุ้มครองหลักออกได้เป็น 7 หมวด ได้แก่

ประกันสุขภาพ AIA มีแบบไหนบ้าง

1. AIA H&S ประกันสุขภาพคุ้มค่า ในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ ... .
2. AIA H&S EXTRA ประกันสุขภาพ แบบมี OPD. ... .
3. AIA HEALTH HAPPY ประกันสุขภาพเหมาจ่าย แบบ “เหมา เบิ้ล คุ้ม” ... .
4. AIA HEALTH PLUS ประกันสุขภาพเหมาจ่ายสำหรับมนุษย์เงินเดือน ... .
5. AIA INFINITE CARE คุ้มครองสูง ครอบคลุมทั่วโลก ดูแลทุกระดับการรักษา.