พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ชุดที่ 1 จํานวน 131 ข้อ

ข้อสอบพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน 2551

1.พระราชบัญญัตินี้ ได้รับคำแนะคำและยินยอมจากผู้ใด
     ก.นายกรัฐมนตรี    ค.  สภาผู้แทนราษฎร
     ข.สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ง.  รัฐสภา
ตอบ  ข. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

2.พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
   ก.25 มีนาคม 2551                      ค.25 มกราคม 2551
   ข.25 ธันวาคม 2551                     ง.23 มกราคม 2551
ตอบ  ค. 25 มกราคม 2551

3.พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บังคับใช้เมื่อใด
    ก.24 มกราคม 2551                 ค.26 มีนาคม 2551
    ข.26 ธันวาคม 2551                 ง.26 มกราคม 2551
ตอบ  ง. 26 มกราคม 2551

4.พระราชบัญญัติก่อนฉบับปัจจุบันคือ
     ก.พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
     ข.พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2537
     ค.พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2538
     ง.พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2544
ตอบ   ก. พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

(เป็นตัวกฎหมายที่ใช้บังคับ) (ส่วนฉบับที่ 2-4 เป็นฉบับแก้ไขปรับปรุง)

5.ส่วนราชการ” หมายความว่า
     ก.ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
     ข.ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
     ค.ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม
     ง.ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากอง
ตอบ   ค. ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม

6.ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
     ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย              ค.รองนายกรัฐมนตรี
     ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม                 ง.นายกรัฐมนตรี
ตอบ   ง. นายกรัฐมนตรี

7.ผู้ใดเป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน“ก.พ.”
     ก.ปลัดกระทรวงการคลัง
     ข.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
     ค.นายกรัฐมนตรี
     ง.นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ตอบ  ง. นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

8.ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการสำนักงาน ก.พ. และขึ้นตรงต่อใคร
     ก.เลขาธิการ ก.พ. / นายกรัฐมนตรี
     ข.ปลัดกระทรวงการคลัง/นายกรัฐมนตรี
     ค.เลขาธิการ ก.พ. / รองนายกรัฐมนตรี
     ง.เลขาธิการ ก.พ. /รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ตอบ    ก. เลขาธิการ ก.พ. / นายกรัฐมนตรี

9.คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ดำรงตำแหน่งได้คราวละกี่ปี
     ก.4 ปี                                         ค. 2  ปี
     ข.3  ปี                                        ง.  5  ปี
ตอบ   ข. 3 ปี

10.ให้มีคณะกรรมการใด เพื่อเป็นองค์กรบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการกระทรวง กรม จังหวัด ส่วนราชการอื่น
     ก.อ.ก.พ. กระทรวง
     ข.อ.ก.พ. สามัญ
     ค.อ.ก.พ. กรม
     ง.อ.ก.พ. จังหวัด
ตอบ   ข. อ.ก.พ. สามัญ

(ส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้ อ.ก.พ. กระทรวง, อ.ก.พ. กรม, อ.ก.พ. จังหวัด และคณะอนุกรรมการสามัญประจำส่วนราชการอื่นนอกจากส่วนราชการข้างต้น)

11.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ อ.ก.พ.กรม (ข้อนี้ผมตอบผิด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ)
      ก.ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการในกรมนั้นซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกิน 4 คน
      ข.ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารและการจัดการและด้านกฎหมาย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในความสามารถมาแล้ว และมิได้เป็นข้าราชการในกรมนั้นจำนวนไม่เกินสามคน
      ค.อ.ก.พ. กรม ประกอบด้วยอธิบดี เป็นประธาน รองอธิบดีที่อธิบดีมอบหมายหนึ่งคน เป็นรองประธาน
      ง.อ.ก.พ. กรม มีหน้าที่พิจารณาการเกลี่ยอัตรากำลังระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ ภายในกรม
ตอบ    ก. ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการในกรมนั้นซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว จำนวนไม่เกิน 4 คน (ต้องเป็น 6)

12.“ก.พ.ค.” หมายถึงหน่วยงาน
     ก.คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม            ค.คณะอนุกรรมการสามัญ
     ข.คณะอนุกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม        ง.คณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม
ตอบ    ก. คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม

13.ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ“ก.พ.ค.”
     ก.รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอัยการพิเศษประจำเขตหรือเทียบเท่า
     ข.มีสัญชาติไทย
     ค.เป็นหรือเคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา

     ง. มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี           ( ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี )
ตอบ     ง. มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี           ( ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปี )

14.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ“ก.พ.ค.” มีอายุไม่เกินเท่าใด
      ก.ไม่เกิน 50 ปี             ค.ไม่เกิน 70 ปี
      ข.ไม่เกิน 60 ปี             ง.ไม่เกิน 65 ปี
ตอบ    ค. ไม่เกิน 70 ปี

15.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ“ก.พ.ค.” ดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
     ก.5 ปี                              ค. 6 ปี วาระเดียว
     ข.6 ปี                              ง. 4  ปี วาระเดียว
ตอบ   ค. 6 ปี วาระเดียว

คลังแนวข้อสอบเก่าจากรุ่นพี่อีกมากมาย และตัวอย่างแนวข้อสอบจากสนามสอบจริง

คลิ๊กอ่านได้ที่นี่