น้ํามูกไหลเป็นน้ําใสๆ ไม่หยุด จาม

  1. หน้าหลัก
  2. บทความสุขภาพ
  3. ไม่แพ้..แม้อากาศเปลี่ยน (โรคแพ้อากาศ – Allergic Rhinitis)

น้ํามูกไหลเป็นน้ําใสๆ ไม่หยุด จาม

HIGHLIGHTS:

  • ผู้เป็นโรคภูมิแพ้อากาศจะมีการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ที่หายใจเข้าไปค่อนข้างสูงและไวกว่าคนปกติ
  • อาการของโรคภูมิแพ้อากาศที่พบบ่อยคือ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม คันจมูก บางรายอาจปวดศีรษะ  หูอื้อ เจ็บหูด้านหลัง  รู้สึกมึนและอ่อนเพลียหลังตื่นนอน   รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนจากโรค เช่น ไซนัส นอนกรน และหูชั้นกลางอักเสบ
  • วิธีดูแลรักษาโรคภูมิแพ้อากาศที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้อาการแพ้กำเริบ

โรคแพ้อากาศหรือโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เนื่องจากร่างกายใช้จมูกเพื่อกรองฝุ่นและสิ่งแปลกปลอม รวมทั้งยังช่วยปรับอุณหภูมิอากาศก่อนเข้าสู่หลอดลมและระบบทางเดินหายใจ เมื่อเยื่อบุโพรงจมูกสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้และอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ จนเกิดการระคายเคืองส่งผลให้โพรงจมูกอักเสบ มีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูก เป็นต้น

ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศจะมีการตอบสนองต่อกลิ่นหรืออากาศที่หายใจเข้าไปค่อนข้างสูงและไวกว่าคนปกติโดยเฉพาะกับเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น ควัน ขนสัตว์ ซึ่งโรคภูมิแพ้ชนิดนี้ถือเป็นโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยที่สุด

อาการ

อาการของโรคภูมิแพ้อากาศที่พบบ่อย คือ น้ำมูกไหลโดยน้ำมูกมีสีใส จาม คันในจมูก คัดจมูก เสียงขึ้นจมูก หากมีอาการมากอาจหายใจติดขัดทางจมูกจนต้องอ้าปากหายใจ มีเสมหะไหลลงคอ กระแอมบ่อยเพราะมีเสมหะติดคอ แต่จะไม่มีอาการไข้ร่วมด้วยบางครั้งอาจมีอาการคันตา มีอาการเรื้อรังเป็นๆ หายๆ มักเป็นในช่วงเช้าและกลางคืน

นอกจากนี้ บางรายยังมีอาการปวดศีรษะ หูอื้อ เจ็บหูด้านหลัง รู้สึกมึนและอ่อนเพลียหลังตื่นนอน รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนจากโรค เช่นไซนัสอักเสบ นอนกรน และหูชั้นกลางอักเสบ

การวินิจฉัย

  • การซักประวัติอย่างละเอียดโดยจะพบอาการจาม น้ำมูกไหล คัน คัดจมูกบ่อย เสมหะลงคอ
  • การตรวจร่างกาย
    – ตรวจในโพรงจมูกเพื่อดูอาการบวมและสีของเยื่อบุโพรงจมูก สีของน้ำมูก
    – ตรวจตุ่มนูนแดงกระจายที่ผนังคอที่เกิดจากการระคายเคืองเรื้อรังของผนังคอจากการที่น้ำมูกไหลลงคอหรือจากการหายใจทางปาก 
    – ตรวจลักษณะขอบตาล่างว่ามีสีคล้ำหรือไม่ เพราะสาเหตุมาจากการคัดจมูกเป็นเวลานานจนมีการคั่งของหลอดเลือดดำบริเวณใต้ตา
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Prick Test) หรือ การตรวจเลือดหา specific IgE ต่อสารก่อภูมิแพ้

การรักษา

การรักษาโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ควรเริ่มจากต้นเหตุ โดยหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และดูแลสุขภาพให้แข็งแรงรวมถึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค โดยแพทย์มีแนวทางการรักษาหลากหลายวิธี

  • รับประทานยา เพื่อลดอาการแพ้ ลดน้ำมูก รวมทั้งยาที่ลดอาการคัดจมูก ซึ่งควรรับประทานภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อป้องกันผลข้างเคียงของยา หรือการใช้ยาร่วมกับยาชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอื่น
  • ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก เพื่อช่วยลดการอักเสบของโพรงจมูก ทั้งนี้ควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและสั่งยาเท่านั้น
  • ฉีดวัคซีนภูมิแพ้ (Allergen Immunotherapy) หรือการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดโดยแพทย์ฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกายครั้งละน้อยๆ หลาย ๆ ครั้งโดยจะเพิ่มขนาดขึ้นตามลำดับจนกว่าอาการแพ้ของผู้ป่วยจะทุเลาลง ส่วนใหญ่แนะนำในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล และต้องรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด

พญ. บัณฑิตา บำรุงเชาว์เกษม

อนุสาขากุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

ดูประวัติ

ความหมาย น้ำมูกไหล

Share:

น้ำมูกไหล เป็นอาการที่มีของเหลวไหลออกมาจากโพรงจมูก ซึ่งของเหลวดังกล่าวอาจมีลักษณะต่างกัน เช่น เหลว ใส ข้นเหนียว รวมถึงมีสีที่ต่างกัน โดยลักษณะเหล่านี้อาจขึ้นอยู่กับความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย แต่ส่วนมากจะเกี่ยวกับของกับระบบทางเดินหายใจ

แม้ว่าน้ำมูกไหลเป็นอาการทั่วไปที่พบได้บ่อยในหลายโรค เช่น โรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบ โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น แต่บางครั้งอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นได้เช่นกัน ซึ่งการรักษาอาการน้ำมูกไหลทำได้โดยการดูแลตนเองและการใช้ยา

น้ํามูกไหลเป็นน้ําใสๆ ไม่หยุด จาม

อาการน้ำมูกไหล

น้ำมูกที่ไหลออกมาจากโพรงจมูกอาจแตกต่างไปตามโรคที่เป็นสาเหตุ ในเบื้องต้นจะพบว่าลักษณะของน้ำมูกเปลี่ยนแปลงไป อาจมีลักษณะเหลวหรือข้นขึ้น รวมถึงสีของน้ำมูลอาจแตกต่างกัน เช่น สีใส สีขาว สีเหลือง สีเขียว สีชมพู สีแดง สีน้ำตาล สีดำ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจเกิดขึ้นร่วมด้วย อย่างอาการคัดจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หรือเจ็บคอ

แม้ว่าน้ำมูกไหลจะเป็นอาการไม่ร้ายแรง แต่หากเป็นติดต่อกันนานเกิน 10 วัน หรือพบอาการอื่น ๆ อย่างมีไข้สูง น้ำมูกมีสีเหลืองหรือสีเขียวร่วมกับมีไข้ มีเลือดออกหรือน้ำมูกใสไหลติดต่อกันหลังเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดบริเวณศีรษะ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือการบาดเจ็บภายในศีรษะ สำหรับทารกควรพาไปพบแพทย์ทันทีเมื่อพบว่าเด็กมีน้ำมูกไหล คัดจมูก และมีไข้

สาเหตุของน้ำมูกไหล

โดยทั่วไปร่างกายมนุษย์มีกลไกการป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมนอกร่างกาย อย่างฝุ่น เกสรดอกไม้ สารเคมี หรือเชื้อโรค เนื่องจากสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการระคายหรืออักเสบ เมื่อสมองรับรู้ว่าโพรงจมูกกำลังรับสิ่งแปลกปลอมเข้ามาก็จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตของเหลวขึ้นภายในโพรงจมูก เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย เมื่อร่างกายหลั่งของเหลวมากขึ้นก็จะทำให้น้ำมูกไหลในที่สุด 

โรคที่อาจเป็นสาเหตุให้น้ำมูกไหลแบ่งได้ดังนี้

โรคระบบทางเดินหายใจ

การหลั่งน้ำมูกเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจ โดยอาจเป็นผลจากความผิดปกติหรือโรคต่อไปนี้ เช่น 

  • โรคภูมิแพ้
  • โรคไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง
  • โรคหวัดและโรคไข้หวัดใหญ่
  • ผนังกั้นช่องจมูกคด (Deviated Septum)
  • ริดสีดวงจมูก
  • โรคหืด
  • โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ (Non-Allergic Rhinitis)
  • ต่อมอะดีนอยด์โต

โรคและภาวะอื่น

โรคและภาวะบางอย่างอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายบางส่วนและกระตุ้นให้น้ำมูลไหลได้ เช่น 

  • ภาวะน้ำไขสันหลังรั่ว
  • ภาวะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
  • การตั้งครรภ์
  • โรคหลอดเลือดอักเสบ อย่างโรคหลอดเลือดอักเสบ GPA (Granulomatosis With Polyangiitis) 

สาเหตุอื่น

นอกจากปัญหาสุขภาพแล้ว อาจมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการนี้ เช่น

  • อากาศแห้งหรือโพรงจมูกแห้ง
  • มีสิ่งแปลกปลอมภายในจมูก
  • การสูบบุหรี่
  • การบาดเจ็บหรือระคายเคืองภายในโพรงจมูก
  • การรับประทานอาหารที่รสชาติเผ็ดร้อน
  • การใช้ยาพ่นจมูกมากเกินไป
  • ผลข้างเคียงจากยา โดยเฉพาะกลุ่มยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ยาต้านเศร้า และยากันชัก

อย่างไรก็ตาม อาจมีโรคหรือสาเหตุนอกเหนือจากที่กล่าวมาทำให้เกิดน้ำมูกไหลได้เช่นกัน หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น น้ำมูลไหลต่อเนื่องกันนาน หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกวิธี

การวินิจฉัยอาการน้ำมูกไหล

น้ำมูกไหลเป็นอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน โดยแพทย์อาจตรวจร่างกายและสอบถามประวัติการเจ็บป่วย โรคประจำตัว ยาที่ใช้ อาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมด้วย ตลอดจนถึงสาเหตุอื่นที่อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าว หากข้อมูลข้างต้นนั้นไม่เพียงพอสำหรับวินิจฉัย แพทย์อาจส่งผู้ป่วยเข้ารับการตรวจพิเศษเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุ

การรักษาน้ำมูกไหล

ในเบื้องต้นอาการนี้อาจรักษาได้ด้วยการดูแลตนเอง เช่น นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ใช้น้ำเกลือสวนล้างจมูก ใช้เครื่องทำความชื้นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในโพรงจมูก งดใช้ยาพ่นจมูก สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นควัน ละอองฝุ่น และเกสร เป็นต้น

กรณีที่ต้องการใช้ยาควรปรึกษาเภสัชกรถึงวิธีใช้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ ซึ่งเภสัชกรอาจจ่ายยาตามอาการที่พบ อย่างยาลดน้ำมูกและยาแก้แพ้ หากอาการไม่รุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการซื้อยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อมารับประทานเอง เนื่องจากอาจส่งผลกระทบในระยะยาว และถ้าพบว่าตนเองป่วยด้วยโรค ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกต้อง 

ภาวะแทรกซ้อนของน้ำมูกไหล

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการดังกล่าวอาจไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่อาจสร้างความรำคาญใจและส่งผลต่อบุคลิกภาพ โดยเฉพาะน้ำมูกที่ไหลออกมาอยู่บ่อย ๆ  อย่างไรก็ตาม หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นจากโรค ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงสอบถามวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน

การป้องกันน้ำมูกไหล

น้ำมูลไหลสามารถป้องกันด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุและรักษาสุขอนามัยที่ดี ดังนี้ 

  • หากมีอาการแพ้ฝุ่นละอองและเกสรดอกไม้ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีสารก่อภูมิแพ้ดังกล่าวและสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันสารก่อภูมิแพ้ 
  • หากทราบว่าตนเองแพ้สัตว์เลี้ยง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเข้าใกล้สัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมว 
  • น้ำมูกไหลที่มีสาเหตุมาจากการระคายเคือง ควรหาว่าการระคายเคืองในโพรงจมูกนั้นเกิดจากอะไร หากโพรงจมูกแห้งก็ควรใช้เครื่องทำความชื้นหรือใช้ไอน้ำร้อนเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น 
  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรค 
  • รักษาความสะอาดพื้นที่ภายในบ้านและสิ่งของอยู่เสมอ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือนที่มีผ้าเป็นส่วนประกอบ อย่างที่นอน โซฟา และผ้าม่าน เนื่องจากฝุ่นมักเกาะติดและสะสมได้ง่าย
  • สำหรับโรคอื่น ๆ ควรเริ่มต้นจากการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

ทำไมจามแล้วน้ำมูกต้องไหล

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้หรือที่เรียกกันว่า “แพ้อากาศ” เป็นโรคที่เกิดจากเยื่อบุจมูกมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ โดยเฉพาะสารก่อภูมิแพ้ เกิดอาการคัน น้ำมูกไหล จาม และคัดจมูก สารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยคือ ไรฝุ่น แมลงสาบ รังแคแมว สุนัข เกสรละอองหญ้าและเชื้อรา

น้ำมูกใสๆเกิดจากอะไร

1. สีใส น้ำมูกหรือเสมหะที่ใส มักประกอบด้วยน้ำ, แอนติบอดีที่ต่อต้านเชื้อโรค, เกลือ และโปรตีน ส่วนใหญ่มักจะไหลลงคอ และเรามักจะกลืนลงไปในกระเพาะ ซึ่งสาเหตุเกิดจาก หวัด (เยื่อบุจมูกอักเสบ) หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรืออาจเกิดจากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ ไวรัสมากระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก ทำให้มีน้ำมูกใสๆ ...

จามไม่หยุดเกิดจากอะไร

สิ่งกระตุ้นจากสภาพแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะทางอากาศต่าง ๆ สภาพอากาศแห้งหรือเย็น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ละอองเกสรดอกไม้ เชื้อรา สะเก็ดผิวหนังของสัตว์ และการรับประทานอาหารรสเผ็ด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยจามอย่างต่อเนื่องและจามบ่อย

ขี้มูกเหนียวเกิดจากอะไร

- น้ำมูกเหนียวข้น หากน้ำมูกมีลักษณะเหนียวข้น หรือมีความหนืดมากกว่าน้ำใสๆ อาจเริ่มเป็นสัญญาณบอกว่าร่างกายของเราเริ่มมีอาการแพ้อะไรบางอย่างเกิดขึ้น เช่น แพ้เกสรดอกไม้ หรืออาหารบางชนิด - น้ำมูกเหนียวข้น มีสีเขียว หรือเหลือง