จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หมายถึง

วิชาชีพบัญชีเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญต่อกิจการงานในทุกภาคส่วนของรัฐและเอกชน ไปจนถึงองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรต่างๆ เพราะงานบัญชีคืองานที่ทำหน้าที่ในการจดบันทึก และทำเอกสารเพื่อเสนอรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผนแนวทางการทำงาน และใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานที่สำคัญต่างๆ ดังนั้น นักบัญชีจึงเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและการดำเนินงานต่างๆ

คำว่า การบัญชีได้ถูกกำหนดคำจำกัดความจากสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย(ปัจจุบันคือ สภาวิชาชีพบัญชี) ซึ่งสามารถกล่าวโดยสรุปว่า งานบัญชีคือการเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลเหตุการณ์หรือรายการดำเนินการต่างๆทางด้านการเงิน จากนั้นจึงทำการจำแนกหมวดหมู่รายการออกให้เป็นระเบียบและสรุปข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเงินต่างๆที่เกิดขึ้นและนำเสนอออกมาเป็นรายงานเพื่อให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้งานต่อไป ซึ่งในการดำเนินงานทางธุรกิจมีเหตุการณ์ทางการเงินต่างๆเกิดขึ้นมากมาย และมีข้อมูลที่ซับซ้อน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนการจัดทำบัญชีที่เป็นระเบียบและดำเนินงานโดยนักบัญชีที่มีความรู้ความสามารถและมีจริยธรรมที่ดี มีความโปร่งใสและซื่อสัตย์สุจริตเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติงาน

ทำไมการจัดทำบัญชีจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของธุรกิจและบริษัทต่างๆ

การจัดทำบัญชีเป็นการจดบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ทางด้านการเงินต่างๆโดยลำดับการเกิดก่อนหลังอย่างถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายที่ว่าด้วยการบัญชี จากนั้นจึงทำการจำแนกประเภทรายการต่างๆออกมาและจัดทำเป็นรายงานออกมาเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจและองค์กรเป็นรอบระยะเวลาหนึ่งๆ ดังนั้นจึงมีความสำคัญในการวางแผนการดำเนินงานของธุรกิจ เพราะเป็นการแสดงสถิติต่างๆทางการเงินและผลประกอบการว่าในช่วงเวลานั้น กิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าไหร่ และมีสินทรัพย์/หนี้สิน ในขณะนั้นเป็นจำนวนมากน้อยแค่ไหน

ข้อมูลทางบัญชีเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบายการดำเนินงานของบริษัท ทำให้การบริหารกิจการงานต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด เพราะบางครั้งการตัดสินใจดำเนินธุรกิจผิดพลาดเพียงแค่ครั้งเดียวก็อาจส่งผลให้กิจการมีปัญหาหรืออาจจะส่งผลต่อเนื่องให้บริษัทล้มละลายได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างสะดวกและง่ายดาย ช่วยลดขั้นตอนการทำงานลงไปได้อีกมาก

ข้อมูลบัญชีเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ดำเนินงานหลายฝ่ายด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย

·        เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น เพื่อให้ทราบถึงสถานะทางการเงินของกิจการ และใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนและการดำเนินกิจการต่างๆ

·        ผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กร ที่ต้องนำข้อมูลทางบัญชีเพื่อใช้ในการดำเนินงานต่างๆภายในบริษัท และนำไปเป็นข้อมูลในการกำหนดทิศทางและแผนในการดำเนินงาน

·        เจ้าหนี้ ใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจในการให้กู้ยืมเงินหรือให้เครดิตในการดำเนินกิจการ

·        นักลงทุน ใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อประเมินสถานะทางการเงินของบริษัทและความมั่นคงเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน

·        หน่วยงานรัฐบาล อย่างกรมสรรพากร ที่ใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อพิจารณาในการเก็บภาษี

จะเห็นว่าข้อมูลบัญชีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญกับหลายฝ่าย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่นักบัญชีจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการทำบัญชี และมีความซื่อสัตย์ เที่ยงตรง และยึดแนวทางการทำงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด

จรรยาบรรณวิชาชีพของนักบัญชี

นอกเหนือจากความรู้ความสามารถทางด้านบัญชีแล้ว ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับบัญชีจะต้องมีพฤติกรรมในการประกอบวิชาชีพที่เป็นไปตาม“พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.  2547 ที่กำหนดให้ผู้สอบบัญชีและผู้มีวิชาชีพทางบัญชีต้องมีความโปร่งใสในการทำงาน มีความเป็นอิสระในการใช้ดุลยพินิจในการทำงานและสามารถปฏิบัติงานภายใต้กรอบวิชาชีพได้โดยอิสระไม่อยู่ภายใต้การบังคับ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีความซื่อตรงต่อวิชาชีพ โดยไม่เห็นแก่ความสัมพันธ์หรือเหตุการณ์ใดๆ พิจารณาหลักฐานต่างๆโดยปราศจากอคติ ปฏิบัติงานทางบัญชีด้วยความซื่อสัตย์ ไม่คดโกง และทำงานตามหลักฐานที่เป็นจริง

ความสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี

แม้ว่าจะมีกรอบทางกฎหมายที่กำหนดแนวทางในการทำงานของนักวิชาชีพบัญชี แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือความซื่อสัตย์และเที่ยงตรงในการทำงานของนักบัญชีเอง เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า บัญชีมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจการขององค์กรและธุรกิจต่างๆ และมีหลายฝ่ายที่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลบัญชี การตกแต่งตัวเลขหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการทำบัญชีจึงมีผลกระทบอย่างมหาศาล

การจัดทำบัญชีที่ไม่โปร่งใส มีการตกแต่งตัวเลข หรือละเลยการบันทึกข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ  อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการลงทุนและการดำเนินการทางธุรกิจ และส่งผลให้บริษัทเกิดปัญหากับสภาพคล่องทางด้านการเงิน และอาจทำให้บริษัทถึงกับล้มละลายได้ และผลที่ตามมาก็กระทบกันเป็นวงกว้าง ทั้งตัวเจ้าของกิจการที่ขาดทุนหรือสูญเสียเงินจากการดำเนินงานผิดพลาดเป็นจำนวนมากจนอาจถึงขั้นปิดบริษัท  ผู้บริหารและพนักงานที่ต้องออกจากงานเมื่อบริษัทปิดกิจการ นักลงทุนและเจ้าหนี้ที่ต้องสูญเสียเงินในการลงทุนและเงินให้กู้ ไปจนถึงสรรพากรที่ไม่สามารถเก็บภาษีได้ เนื่องจากบริษัทล้มเลิกกิจการ จนทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียรายได้ที่จะนำไปพัฒนาประเทศ

ดังนั้นความสำคัญของวิชาชีพบัญชีจึงมีมากกว่าการปฏิบัติตามกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรม และจริยธรรมในการประกอบอาชีพอีกด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่จะทำให้เกิดความเสียหาย และช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับบุคลากรของบริษัทและผู้เกี่ยวข้อง และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติให้ดียิ่งๆขึ้นไป

จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมีกี่ข้อ

1. ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต 2. ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน 3. ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับ 4. ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติหน้าที่ให้

ข้อใดคือโทษของการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

(๑) ตักเตือนเป็นหนังสือ (๒) ภาคทัณฑ์ (๓) พักใช้ใบอนุญาต พักการขึ้นทะเบียน หรือห้ามการประกอบวิชาชีพบัญชีด้านที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณโดยมีกำหนดเวลา แต่ไม่เกินสามปี (๔) เพิกถอนใบอนุญาต เพิกถอนการขึ้นทะเบียนหรือสั่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

เพราะเหตุใดนักบัญชีจึงต้องมีจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

เนื่องจากวิชาชีพบัญชีเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องข้อมูลทางการเงินของกิจการ นักบัญชีจะเก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกรายการ สรุปข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบของรายงานทางการเงินรวมไปถึงงานตรวจสอบและแสดงความเห็นต่อรายงานทางการเงิน ผู้ใช้ข้อมูลมีหลากหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ข้อมูลภายในองค์กรและภายนอกองค์กรเพื่อนำข้อมูลrไปใช้ในการตัดสินใจที่ ...

จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีมีอะไรบ้าง

ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องรักษาจรรยาบรรณ เช่น 1. ต้องรักษาความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต 2. ต้องปฏิบัติงานด้วยความรู้ ความสามารถของวิชาชีพ 3. ไม่ตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถและไม่ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกิน 300 รายต่อปี