การคอมเมนต์ในภาษาไพทอน

        

การคอมเมนต์ในภาษาไพทอน

Show

สื่อวีดิทัศน์การสอน เรื่อง :: คอมเมนต์ในภาษาซี ::

 

——————————————————————————————————————————

        Comment เป็นส่วนของโปรแกรมที่คอมไพเลอร์ไม่ต้องคอมไพล์ หมายความว่า เมื่อคอมไพเลอร์ทำ
การคอมไพล์มาถึงส่วนของ Comment คอมไพเลอร์จะข้ามส่วนนั้นไปโดยไม่ต้องคอมไพล์ การใช้คอมเมนต์ในโปรแกรมจะมี 2 ลักษณะ คือ

        1. ใช้ Comment อธิบายความหมายของโปรแกรมในส่วนนั้น ซึ่งคำอธิบายนี้จะทำให้เราทราบ
การทำงานของโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกรณีที่โปรแกรมนั้นถูกเขียนไว้นานแล้ว เมื่อนำกลับ
มาใช้ใหม่ Comment จะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้เร็วขึ้น

        2. ใช้ Comment เพื่อหยุดการทำงานบางส่วนของโปรแกรมชั่วคราว ซึ่งใช้ในกรณีที่เราต้องการตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมเป็นส่วน ๆ วิธีนี้มีประโยชน์สำหรับการตรวจสอบโปรแกรมที่มีความยาวมาก กล่าวคือ ถ้าต้องการให้ส่วนใดของโปรแกรมหยุดทำงานชั่วคราว เราก็จัดให้ส่วนนั้นเป็นคอมเมนต์ เมื่อรันโปรแกรมผลที่ได้จะมาจากส่วนอื่นที่เหลืออยู่ ด้วยวิธีการนี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจการทำงาน และค้นหา
ความผิดในโปรแกรมได้เร็วขึ้น

——————————————————————————————————————————

คอมเมนต์ในภาษาซีมี 2 แบบคือ

การคอมเมนต์ในภาษาไพทอน

        1. Line Comment ป็น Comment บรรทัดเดียว ใช้เครื่องหมาย // ซึ่ง Comment ประเภทนี้จะมีผลต่อบรรทัดหรือข้อความที่อยู่หลัง เครื่องหมาย // เพียงบรรทัดเดียวเท่านั้น ดังนั้นถ้าต้องการทำ comment หลาย ๆ บรรทัด จึงต้องเขียน // ในทุก ๆ บรรทัดที่ทำ Comment เช่น

                // บรรทัดนี้เป็น Comment หรือหมายเหตุ หรือคำอธิบายโปรแกรม
                // Comment จะไม่มีผลต่อโปรแกรม
                // Comment ประเภทนี้ มีผลเพียงบรรทัดเดียวเท่านั้น
                // Comment จะวางไว้ตรงไหนของโปรแกรมก็ได้

การคอมเมนต์ในภาษาไพทอน

ตัวอย่างที่ 1 การ Comment บรรทัดเดียว
——————————————————————————————————————————

        2. Block Comment เป็น Comment หลายบรรทัด ที่ใช้ได้หลายบรรทัด การเขียน Comment ประเภทนี้ใช้เครื่องหมาย /* และ */ ข้อความใดที่อยู่ในเครื่องหมาย /* และ */ จะเป็น Comment ทั้งหมด เช่น

                 /* ต่อไปนี้เป็น Comment แบบหลายบรรทัด
                บรรทัดนี้ก็เป็น Comment 
                Comment จะไม่มีผลต่อโปรแกรม
                ภายใน Comment สามารถเขียนผิดหลักไวยากรณ์ภาษาได้
                เพราะ Compilor ไม่สนใจ Comment
                */

การคอมเมนต์ในภาษาไพทอน

ตัวอย่างที่ 2 การ Comment หลายบรรทัด

        แต่การใช้ Block Comment มีข้อควรระวังก็คือ Code ที่เราจะ Comment นั้นห้ามมี Block Comment อยู่ (ห้าม Block Comment ซ้อนกัน) จะทำให้ Compile ไม่ผ่านได้

การคอมเมนต์ในภาษาไพทอน

ตัวอย่างที่ 3 Block Comment ที่ Compile ไม่ผ่าน

(แหล่งข้อมูล...  คู่มือเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C ฉบับสมบูรณ์ / อรพิน ประวัติบริสุทธิ์)
——————————————————————————————————————————

บทความนี้จะขอพูดเรื่องของโครงสร้างในภาษา Python ครับ ในการเขียนโปรแกรมภาษา Python นั้นเราจำเป็นต้องเข้าใจโรงสร้างของภาษา เพราะภาษา Python ใช้สิ่งเหล่านี้กำหนดรูปแบบและวิธีการเขียนโปรแกรมครับ

Comment

ในภาษา Python การคอมเมนต์จะใช้เรื่องหมาย # ในการคอมเมนต์ เราสามารถใช้โดยการใส่ตำแหน่งแรกของบรรทัดและหลังข้อวามที่ต้องการคอมเมนต์ แต่ถ้าต้องการคอมเมนต์ทีละหลายบรรทัด multi-line เราจะใช้เครื่องหมาย single quotes (3 ตัว ติดกัน) คลุมข้อความที่ต้องการคอมเมนต์ครับ

# test comment Python program'''
Multi-line comment
'''

Module

โมดูล(Module) คือไฟล์ .py ที่วางอยู่ใต้ package directory หรือส่วนของโปรแกรมที่ใช้สำหรับการกำหนดตัวแปร คลาส หรือฟังก์ชั่น ที่ทำงานคล้ายๆกันเอามารวมกันไว้ในไฟล์เดียว ในภาษา Python เวลาเราเรียกใช้ โมดูลเราต้องใช้ import โมดูลเข้ามาก่อนจึงจะสามารถใช้งาน ฟังก์ชั่น หรือคลาสที่อยู่ในโมดูลได้

# import statement example
# to import standard module example
import example

Statement

statement นั้นคือคำสั่งการทำงานของโปรแกรม ในภาษา Python จะแบ่งด้วยการขึ้นบรรทัดใหม่ ซึ่งในภาษาอื่นอย่าง java นั้นจะใช้เครื่องหมาย semicolon (;) ในการจบคำสั่ง แต่ภาษา Python นั้นเราไม่จำเป็นต้องใช้ครับ แต่สามารถใช้ (;) ได้ในกรณีที่มีหลายคำสั่งในบรรทัดเดียวกันได้ด้วย

x = 1
print(x);
print('Statement Python'); print(x)

จากตัวอย่างเราจะมีคำสั่งอยู่ 4 คำสั่ง ในส่วน 2 บรรทัดแรกนั้นคือการจบคำสั่งด้วยการใช้บรรทัดใหม่ในการจบคำสั่งตามปกติในภาษา python ส่วนบรรทัดที่ 3 มีคำสั่งอยู่ 2 คำสั่งและเราได้ใช้ (;) คั่นเพื่อจบคำสั่ง

Literals

literals คือ ข้อมูลที่เป็นค่าคงที่ ตัวอักษร เครื่องหมาย ในโปรแกรมภาษา python เราสามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้ในแบบต่างๆ เช่น Integer, Floats, number boolean และ String

ก่อนอื่นเราต้องแยกให้ออกระหว่าง ค่าคงที่ (Literal constants)คือข้อมูลที่เป็นค่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง และ ตัวแปร (Variable) คือตัวแปรที่เราประกาศขึ้นมา เพื่อเก็บข้อมูลที่ต้องการ

ตัวอย่าง เป็นการกำหนด Literals ประเภทต่างๆ ให้กับตัวแปร

a = 9                  #กำหนดให้ a มีค่าเท่ากับ 9
b = 22.2 #กำหนดให้ b มีค่าเท่ากับ 22.2
c = True #กำหนดให้ c เป็นรูปแบบ boolean มีค่าเป็น True
d = "Hello" #กำหนดให้ d เป็นรูปแบบ String มีค่าเป็น Hello
e = 'P' #กำหนดให้ e เป็นรูปแบบ String มีค่าเป็น P

Indentation

ในภาษาอื่น ส่วนใหญ่อย่างเช่นภาษา java การกำหนดขอบเขตของกลุ่มคำสั่ง จะใช้เรื่องหมาย {} แต่ในภาษา Python นั้นจะใช้การย่อหน้า(indentation) เพื่อแสดงขอบเขตกลุ่มคำสั่ง if, Else, For หรือการประกาศฟังก์ชั่น ในที่นี้ผมขอเรียกว่ารูปแบบบล็อคครับ สำหรับการย่อหน้านั้นโดยปกติใช้ white space 4 ตัวและมักจะนิยมกว่าการใช้ tab ครับ ที่หัวของบล็อคจะต้องมีเครื่องหมายโคลอน (:) กำหนดหลังคำสั่ง if

score = 95
if (score > 50):
print('pass')
else:
print('fail')

ในภาษา Python นั้นเข้มงวดกับช่องว่างภายในบล็อคมาก นั้นหมายความว่าทุกคำสั่งในบล็อคนั้นต้องมีจำนวนช่องว่างเท่ากันเสมอครับ

Expressions

Expression คือการทำงานร่วมกันระหว่างตัวแปร (หรือค่าคงที่) และตัวดำเนินการ โดยค่าเหล่านี้จะมีตัวดำเนินการสำหรับควบคุมการทำงาน ในภาษา Python นั้นมี Expression อยู่สองแบบ

  • Expression ทางคณิตศาสตร์เป็นการกระทำกันระหว่างตัวแปรและตัวดำเนินการคณิตศาสตร์ และจะได้รับค่าใหม่เป็นตัวเลขหรือค่าที่ไม่ใช่ Boolean นี่เป็นตัวอย่างของ Expressions ในภาษา Python
  • Boolean expression เป็นการกระทำกันระหว่างตัวแปรและตัวดำเนินการเปรียบเทียบค่าหรือตัวดำเนินการตรรกศาสตร์ และจะได้ผลลัพธ์เป็น Boolean

ส่วน Regular Expression คือวิธีการตรวจสอบข้อมูล ค้นหา/คัดกรอง ข้อความที่มีลักษณะและรูปแบบตรงกับที่เราต้องการ เรียกย่อๆว่า RegEx แพตเทิร์น (Pattern) มีต้นกำเนิดมาจากภาษา Perl เดี๋ยวผมจะเขียนบทความอธิบายเพิ่มให้ทีหลังน่ะครับ

นี้คือตัวอย่างการทำงานของ Expressions ในภาษา Python

a = 6
b = 10
c = 9
# Non-boolean expressionsprint(a + b) #ผลลัพธ์ที่ได้ 16
print(a + 5) #ผลลัพธ์ที่ได้ 11
print(a * c) #ผลลัพธ์ที่ได้ 54
print(((a * a) - (b * c)) / 10) #ผลลัพธ์ที่ได้ 5.4
print("Thai" + "Dev") #ผลลัพธ์ที่ได้ Thai Dev
# Boolean expressionsprint(a == 6) #ผลลัพธ์ที่ได้ True
print(a == 5) #ผลลัพธ์ที่ได้ False
print(a == 6 and b == 10) #ผลลัพธ์ที่ได้ True
print(c == 9 and a == 5) #ผลลัพธ์ที่ได้ False

Keywords

Keyword คือคำสงวนของการเขียนโปรแกรมในภาษา Python ที่เราไม่สามารถใช้คำสั่งเหล่านี้ในการตั้งชื่อตัวแปร ชื่อคลาส ฟังก์ชั่น หรือชื่อ ใดๆ ได้

False None True and as assert break class continue def del elif else except finally for from global if import in is lambda nonlocal not or pass rais ereturn try while with yield

บทความต่อไปจะไปเรื่องของ ตัวแปรและประเภทข้อมูล กันครับ