เทียบระดับ ข้าราชการ กับ รัฐวิสาหกิจ

ข้าราชการแม้จะมีความมั่นคงในอาชีพมากกว่าอาชีพอื่น ๆ เนื่องจากเป็นการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐเช่น กระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานท้องถิ่นของภาครัฐ หากไม่มีการทำผิดกฎระเบียบที่เป็นเรื่องผิดวินัยอย่างร้ายแรงก็สามารถอยู่รับราชการไปได้นานจนถึงเกษียณ แต่เนื่องจากหน่วยงานของรัฐไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรให้มากที่สุดเหมือนกับรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทเอกชน เป็นงานบริการ ดังนั้น อาชีพข้าราชการจะไม่มีโบนัสที่เป็นเงินพิเศษ เป็นอาชีพที่มั่นคงแต่ไม่หวือหวานั่นเอง

ข้าราชการในประเทศไทยมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน มีทั้งข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการและข้าราชการส่วนท้องถิ่น  เรียกเหมารวมว่าอาชีพรับราชการ สำหรับคนที่รับราชการก็จะมีสวัสดิการในเรื่องการรักษาพยาบาล โดยสิ่งที่เพิ่มพิเศษมาที่อาชีพอื่นไม่ค่อยเห็นกัน ก็คือ สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลของพ่อแม่ คู่สมรสและบุตรได้ด้วย เรียกได้ว่ามีสวัสดิการในการรักษาพยาบาลทั้งครอบครัว ข้าราชการยังได้สวัสดิการในเรื่องการศึกษาบุตรด้วย สวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับบุตรจะได้สิทธิ์ 3 คน ทั้งเรื่องรักษาพยาบาลและค่าเล่าเรียน

นอกจากนั้นข้าราชการยังมีสวัสดิการในการได้รับเงินบำเหน็จหรือบำนาญเมื่อทำงานครบถึงวัยเกษียณอีกด้วย ต่างหากจากเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะรับบำเหน็จเป็นเงินก้อน หรือจะเป็นบำนาญที่ได้รับรายเดือนไปจนตลอดชีวิต หากเลือกรับเป็นเงินบำนาญสวัสดิการในการรักษาพยาบาลก็ยังคงอยู่ไปตลอดชีวิตด้วย ทั้งตัวข้าราชการเอง บิดามารดา คู่สมรสและบุตร สวัสดิการรักษาพยาบาลก็ยังได้รับจนกว่าข้าราชการบำนาญเสียชีวิต และเมื่อเสียชีวิตทายาทของข้าราชการมีสิทธิ์ได้รับเงินสวัสดิการบำเหน็จตกทอด 30 เท่าของเงินบำนาญ หรือเงินช่วยพิเศษ 3 เท่าของเงินบำนาญด้วย สวัสดิการดีดีแบบนี้บอกตรง ๆ ได้เลยว่าไม่เคยเห็นในอาชีพไหนนอกจากข้าราชการเท่านั้น นอกจากเรื่องเงิน ค่าตอบแทนหรือสวัสดิการต่าง ๆ แล้ว ข้าราชการยังมีสิทธิ์ในการขอพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์และในกรณีเสียชีวิตก็มีสิทธิ์ขอพระราชทานเพลิงศพด้วย

อ่านเพิ่มเติม : แนะนำ สินเชื่อสำหรับข้าราชการ 2559

สำหรับรัฐวิสาหกิจที่ความหมายก็คือเป็นองค์กรที่มีรัฐบาลถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่อยู่เกินกว่า 50% ขึ้นไป ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไรเหมือนกับบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งก็จะถูกกำกับดูแลโดยส่วนราชการที่เป็นกระทรวงต่าง ๆ ตัวอย่างของรัฐวิสาหกิจก็เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ธนาคาออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ปตท. ท่าอากาศยานไทย การบินไทย ไปรษณีย์ไทย เป็นต้น ผู้ที่ทำงานในรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ ก็จะถูกเรียกว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจ

ด้วยความที่รัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรที่แสวงหากำไร ไม่เหมือนกับหน่วยงานของรัฐบาล พนักงานรัฐวิสาหกิจจึงมีฐานเงินเดือนที่สูงกว่าข้าราชการเมื่อทำงานไปนาน ๆ หากพิจารณาเทียบตำแหน่งที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นพนักงานรัฐวิสาหกิจยังมีโบนัสที่ได้จากผลกำไรของรัฐวิสาหกิจด้วย โบนัสนี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของแต่ละวิสาหกิจ บริหารแยกกันไป รัฐวิสาหกิจไหนมีกำไรดีก็สามารถจ่ายโบนัสตอบแทนแก่พนักงานได้มาก รัฐวิสาหกิจที่ได้ชื่อว่าทำผลกำไรได้มาก จ่ายโบนัสให้กับพนักงานได้เยอะ ก็เช่น ธนาคารออมสิน ปตท. การท่าอากาศยานแห่งประเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ฯลฯ

สวัสดิการในเรื่องค่ารักษาพยาบาลสำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจจะแตกต่างกันไป แต่โดยมากค่ารักษาพยาบาลก็ได้รับทั้งตัวเอง รวมถึงคู่สมรสและบุตรด้วย ส่วนพ่อแม่นี่ต้องแล้วแต่ว่าเป็นรัฐวิสาหกิจไหน สวัสดิการการศึกษาบุตรก็มีเช่นกัน กรณีบำเหน็จบำนาญเมื่อทำงานจนเกษียณ รัฐวิสาหกิจจะใช้เหมือนกับบริษัทเอกชน คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากทำงานจนถึงเกษียณก็จะได้เงินก้อนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไป ไม่มีบำเหน็จหรือบำนาญเหมือนข้าราชการ และเมื่อเกษียณสวัสดิการต่าง ๆ ที่เคยได้รับก็ถือว่าหมดสิทธิ์ไปทั้งหมดด้วย ทั้งเรื่องรักษาพยาบาล การศึกษาบุตร ฯลฯ

ทั้งข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจต่างก็ได้ขึ้นชื่อว่าทำงานเพื่อประชาชนด้วยกันทั้งนั้น การทำงานเป็นการให้บริการกับประชาชน เพียงแต่ข้าราชการจะดูมีความเป็นรัฐมากกว่า ส่วนรัฐวิสาหกิจก็จะค่อนไปทางบริษัทเอกชน เพราะต้องพยายามทำให้เกิดผลกำไรมากที่สุดด้วย ข้าราชการดูจะเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงในระยะยาวมากกว่า หากคิดไปถึงชีวิตหลังเกษียณด้วยเพราะหากเลือกรับบำนาญ สวัสดิการในเรื่องต่าง ๆ ก็ยังคงได้รับอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องรักษาพยาบาล ค่าเรียนของลูก ฯลฯ แต่บางคนก็บอกว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจดีกว่า เนื่องจากเงินเดือนสูงกว่า โอกาสได้ปรับเงินเดือนขึ้นก็สูงด้วย แม้ตอนแรกที่เริ่มต้นทำงานเงินเดือนอาจจะไม่เยอะ หรือถือว่าน้อยด้วยซ้ำ แต่เมื่อทำไประยะเวลาหนึ่งจนถึงตำแหน่งที่สำคัญ เงินเดือนก็จะก้าวกระโดดขึ้นไป

หน่วย งาน ราชการ และ รัฐวิสาหกิจ ต่างกันยังไง

ทั้งข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจต่างก็ได้ขึ้นชื่อว่าทำงานเพื่อประชาชนด้วยกันทั้งนั้น การทำงานเป็นการให้บริการกับประชาชน เพียงแต่ข้าราชการจะดูมีความเป็นรัฐมากกว่า ส่วนรัฐวิสาหกิจก็จะค่อนไปทางบริษัทเอกชน เพราะต้องพยายามทำให้เกิดผลกำไรมากที่สุดด้วย ข้าราชการดูจะเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงในระยะยาวมากกว่า หากคิดไปถึงชีวิต ...

พนักงานรัฐวิสาหกิจ ได้อะไรบ้าง

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเผยประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ 4 ฉบับ มีผลบังคับใช้แล้ว ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจได้รับสิทธิประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำศพกรณีตาย ค่าช่วยเหลือบุตรและค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตรเพิ่มขึ้น สร้างขวัญกำลังใจ ยกระดับคุณภาพชีวิตลูกจ้าง ...

พนักงานรัฐวิสาหกิจคืออะไร

ในพระราชบัญญัตินี้ “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า (1) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล กิจการของรัฐตามกฎหมาย ที่จัดตั้งกิจการนั้น หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ (2) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่กระทรวงการคลังมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ

ราชการมีกี่ระดับ

เป็นการแบ่งระดับข้าราชการออกเป็นชั้นยศต่างๆ โดยข้าราชการพลเรือนสามัญจะแบ่งเป็น 5 ชั้น คือ ชั้นจัตวา ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก และชั้นพิเศษ ส่วนข้าราชการพลเรือนวิสามัญจะแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ วิสามัญประจำราชการ ชั้นจัตวา และวิสามัญกิตติมศักดิ์ ยึดระบบชั้นยศ ลำดับอาวุโส และคุณสมบัติของบุคคลเป็นหลัก (Rank in Person)