ค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บันทึกบัญชี

ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบงาน (Software) ที่บริษัทฯ ได้ออกแบบและว่าจ้าง Programmer ให้ดำเนินการ เขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานภายในกิจการของตนเอง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฯ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เมื่อบริษัทฯ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้ซื้อจากบุคคลอื่น จึงไม่ใช่รายจ่ายประเภทต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 4(4) แห่ง พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 แต่เป็นทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละ 20 ตามมาตรา 4(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 252

ที่มา : www.beeaccountant.com

username/password ไม่ถูกต้อง กรุณาทำการกรอกใหม่

session ของการเข้าสู่ระบบได้สิ้นสุดแล้ว กรุณา reload หน้าเว็บอีกครั้งและเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง

ท่านได้เข้าสู่ระบบอยู่แล้ว กรุณาออกจากระบบก่อนหากท่านต้องการเปลี่ยน user

ซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป EXPRESS มาบันทึกบัญชีอย่างไรและต้องตัดจำหน่ายหรือไม่

ถามวันที่ 19 ส.ค. 2559  .  ถามโดย nongnuizaa  .  เข้าชม 25 ครั้ง

ซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป EXPRESS มาจะบันทึกบัญชีอย่างไร และต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและต้องตัดจำหน่ายหรือไม่ บันทึกบัญชีอย่างไรคะ


เรียน คุณ nongnuizaa

ค่าซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป EXPRESS ซึ่งเป็นโปรแกรมการบันทึกบัญชีอย่างไร ในทางภาษีอากรถือเป็นทรัพย์สินอื่น ส่วนทางบัญชีถือเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ในการคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ตามมาตรา 4 จัตวา แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับทื่ 145) พ.ศ. 2527 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังนี้
"มาตรา 4 จัตวา การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อ ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ หรือได้มาซึ่งสิทธิการใช้ แล้วแต่กรณี เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ทั้งนี้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ให้หักได้ดังต่อไปนี้
(1) ภายในสามรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็มสิบสองเดือน ให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยจะเลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปวิธีใดก็ได้
(2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละสี่สิบของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ใน (1)
ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่งหมายความว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ตลอดจนอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์อันได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องช่วยหรือเครื่องประกอบกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์"
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่473) พ.ศ. 2551 ใช้บังคับ 7 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป)

ในทางหลักการบัญชีหรือตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งต้องกำหนดอายุการใช้งาน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกของการได้ทรัพย์สินมานั้น พึงต้องใช้หลักเกณฑ์เดียวกับในทางภาษีอากร

3.  ส่วนการคิดค่าเสื่อมราคานั้น  ตามความเห็นส่วนตัวผม  ผมมองว่าโดยเฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 20% ต่อปีครับ  ถามว่าจะมากกว่านี้ หรือ น้อยกว่านี้ได้ไหม  คำตอบคือได้ครับ  แต่ต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป  กล่าวคือ  ต้องมีหลักการประมาณค่าเสื่อมอย่างสมเหตสมผลครับ  

เลขที่หนังสือ: กค 0702/6421 วันที่: 11 สิงหาคม 2552 เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภท โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ข้อกฎหมาย: มาตรา 4 มาตรา 4 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 473) ข้อหารือ          กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งบริษัทได้ซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (โปรแกรมบัญชี) และพร้อมใช้งานเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินดังกล่าว บริษัทจะหักตาม มาตรา 4แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 หรือตามมาตรา 4 จัตวา แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145)พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 แนววินิจฉัย          กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ สิทธิในการใช้ลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีสิทธิเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ได้ดังนี้
          1. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา กรณีไม่จำกัดอายุการใช้ ในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ใน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และกรณีจำกัดอายุการใช้ ในอัตราร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการใช้งาน ตามมาตรา 4(4) แห่งพระราช กฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145)พ.ศ. 2527
          2. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ตามมาตรา 4 จัตวา แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 473) พ.ศ. 2551 ดังนี้
               (1) ภายในสามรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็มสิบสองเดือน ให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยจะเลือกใช้วิธีการทางบัญชีรับรองทั่วไปวิธีใดก็ได้
               (2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวร ซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาทและมีการจ้างแรงงาน ไม่เกินสองร้อยคน ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละสี่สิบของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่า ต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ใน (1) เลขตู้: 72/36784

โปรแกรมบัญชี เป็นสินทรัพย์ไหม

ค่าซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป EXPRESS ซึ่งเป็นโปรแกรมการบันทึกบัญชีอย่างไร ในทางภาษีอากรถือเป็นทรัพย์สินอื่น ส่วนทางบัญชีถือเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

ค่า โปรแกรมบัญชี ตัด จ่าย กี่ปี

2. การคำนวณตัดจ่ายค่าใช้จ่ายตาม 1. สามารถคำนวณหักค่าเสื่อมราคาเป็นระยะเวลา 5 ปี ในลักษณะของสินทรัพย์อื่น เนื่องจากค่าพัฒนาระบบงานดังกล่าวบริษัทฯ ไม่ได้ซื้อมาจากบุคคลภายนอกที่มีขายในตลาด Software ทั่วไป ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ...

ค่าโปรแกรมบัญชี หัก ณ ที่จ่ายไหม

เครื่องคอมพิวเตอร์และยังคงถือว่าเป็นการจ่ายค่าตอบแทนการซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) อันเป็นการจ่ายค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นสินทรัพย์อะไร

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน Intangible Asset หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีรูปธรรมซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่หน่วยงานถือไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้ผู้อื่นเช่า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารงาน ตัวอย่างสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Software) รวมถึง ...