วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา

บทความงาน > การทำงาน > สายงานด้านวิศวกรรมโยธาสายไหนที่เหมาะกับคุณ

สายงานด้านวิศวกรรมโยธาสายไหนที่เหมาะกับคุณ

  • 23 January 2022

วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา
วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา
วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา
วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา
วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา
วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา
วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา

วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา

           หากคุณมองเห็นตึกระฟ้าที่สวยงามในมหานครต่าง ๆ แล้วล่ะก็ คุณอาจจะทราบได้ว่าผู้ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างตึกสูงเหล่านั้นก็คือวิศวกรรมโยธานั่นเอง ในทุกวันนี้จะเห็นได้ว่าอาชีพนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพราะหน้าที่สำคัญของวิศวกรรมโยธา คือ การวางแผนก่อสร้าง การวางระบบสิ่งอำนวยสะดวกที่สำคัญไปจนถึงการพัฒนาระบบโครงสร้างให้ผู้ดูงานอีกด้วย

           วิศวกรโยธานั้นก็เปรียบเสมือนผู้ที่เป็นส่วนเชื่อมต่อของทั้งทีม อาชีพนักวิศกรรมโยธาจึงแบ่งออกไปได้หลากหลายสาขา หากคุณรู้สึกว่าอาชีพวิศวกรโยธาเป็นอาชีพที่ใช่สำหรับคุณแล้ว คุณก็สามารถเลือกสาขาย่อย ที่เหมาะกับตัวเองได้อีก 

           ในประเทศไทยนั้น ตำแหน่งวิศวกรโยธา ถือเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่ผู้ประกอบการต้องการสูง เพราะการจะสร้างอาคารหรือการพัฒนาสถานที่แต่ละครั้งนั้นจะต้องมีวิศวกรผู้รับผิดชอบด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจพื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้าง การวางแผนประเมินราคาก่อสร้าง การดูแลระบบไฟฟ้าและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ไปจนถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมระหว่างการก่อสร้างและการปรับปรุงคุณภาพของเสียที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้าง ดังนั้น ก่อนที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับเส้นทางสายอาชีพวิศวกรโยธา ลองมาดูกันว่า สายงานของอาชีพนี้ สามารถแตกไปที่สาขาไหนได้บ้าง เพราะการเลือกสาขาที่เหมาะกับคุณที่สุดนั้น อาจจะไม่ใช่แค่เรื่องความชอบความสนใจส่วนตัวเพียงอย่างเดียว เพราะแต่ละสาขานั้นก็มีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันไป ก่อนที่จะเลือกสาขาอาจจะต้องถามตัวเองก่อนว่า นอกจากความชอบแล้ว พร้อมจะทำงานตามสาขานั้น ๆ หรือไม่ วันนี้ JobsDB มาพร้อมกับ รายละเอียดเส้นทางสู่การเป็นวิศวกรโยธาให้คุณได้เรียนรู้ว่าแต่ละสาขามีความแตกต่างกันอย่างไรและสาขาไหนที่จะเหมาะกับคุณบ้าง 

           วิศวกรรมโยธานั้นมีสาขาขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญแต่ละด้าน โดยมีสาขาแยกออกมาดังนี้ 

           วิศวกรรมโยธาสาขาต่าง ๆ 

           วิศวกรรมก่อสร้าง

           วิศวกรรมก่อสร้างจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบด้านการก่อสร้างและการจัดการ สิ่งที่สำคัญคือ ต้องสามารถเรียนรู้และแปลผลจากแบบในพิมพ์เขียวให้ออกเป็นอาคารหรือสิ่งก่อสร้างจริง ๆ ได้ โดยทุกรายละเอียดที่อยู่ในแบบที่ได้มานั้น จะต้องถูกตรวจสอบโดยละเอียด และมีการวางแผนงานการก่อสร้างให้ตรงตามแบบอีกด้วย

           นอกจากการวางแผนก่อสร้างแล้ว วิศวกรก่อสร้างยังต้องประเมินราคา ระยะเวลา และมาตรฐานของที่ใช้ในการก่อสร้างอีกด้วย หากคุณต้องการเรียนและทำงานในสายนี้ คุณจะได้ทำงานที่หน้างานก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ และจะต้องคอยตรวจดูโครงการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มต้นจนแล้วเสร็จ นอกจากจะดูส่วนของการก่อสร้างโดยตรงแล้ว ยังต้องคอยดูแลเรื่องการทำงานของคนงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคนงานก่อสร้าง สถาปนิก นักออกแบบ ช่างไฟฟ้า และช่างประปา ทั้งนี้ วิศวกรก่อสร้างยังต้องคอยดูแลเรื่องกฎหมายการก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง และทำให้มั่นใจว่าการดำเนินการในการก่อสร้างเป็นไปอย่างถูกต้อง รวมไปจนถึงการตรวจสอบวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ และระหว่างดำเนินการก่อสร้างนั้น มีปัจจัยอะไรก่อให้เกิดอันตราย และได้มีระบบความปลอดภัยที่ดีหรือไม่อีกด้วย 

           วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

           วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหนึ่งในสาขาที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นสาขาที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างเป็นอย่างมาก วิศวกรสาขานี้ ต้องพร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น มลภาวะทางอากาศ มลภาวะทางน้ำ ผลกระทบทางเคมี การบำบัดและจัดการของเสีย ไปจนถึงการดูแลท่อน้ำทิ้ง

           วิศวกรสิ่งแวดล้อมต้องสามารถแนะนำได้ว่าการใช้แสงธรรมชาติเข้ามาช่วยในการก่อสร้าง สามารถทำได้อย่างไร การพัฒนาระบบประปราเพื่อลดน้ำเสีย หรือนำน้ำเสียมาใช้ใหม่ได้อย่างไร ไปจนถึง การส่งเสริมให้ใช้วิธีรีไซเคิลในการก่อสร้าง และใช้พลังงานจากธรรมชาติเพื่อให้ระบบงานก่อสร้างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ดังนั้นหน้าที่หลักของวิศวกรสิ่งแวดล้อมคือการดูแลสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ โครงการให้ถูกรบกวนน้อยที่สุด และระบบการก่อสร้างนั้นถูกต้องตามหลักการรักษาสิ่งแวดล้อม

           วิศวกรรมธรณี

           หากคุณเป็นคนที่ชื่นชอบคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์แล้ว วิศวกรรมธรณีก็เป็นสายที่คุณควรจะเลือกแน่นอน หน้าที่หลักของวิศวกรธรณีคือการดูแลวัสดุที่ใช้ในโครงการก่อสร้างว่าจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง งานส่วนใหญ่ของวิศวกรธรณีจะเกี่ยวข้องกับงานโครงการใหญ่ที่มีการขุดเจาะ หรือมีการใช้เครื่องขุดเจาะพื้นดิน  

           สถานที่ทำงานของนวิศวกรธรณีมักจะเป็นในห้องแล็บเป็นส่วนใหญ่ เพราะต้องทำการทดสอบวัสดุมากมายหลายชนิดที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคาร โดยวิศวกรสาขานี้จำเป็นต้องทดสอบให้มั่นใจว่าดินและหินที่ใช้ในโครงการสามารถเป็นโครงสร้างที่ดีและมั่นคงได้ และต้องทำให้มั่นใจว่าวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจะไม่ทำให้เกิดอันตรายในภายหลัง และมีแรงทนทานต่อภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหว การเกิดหลุมยุบ หรือ ดินถล่มได้ นอกจากหน้าที่หลักเหล่านี้ยังต้องมีการทดสอบประเภทของดินชนิดต่าง ๆ สภาพของชั้นใต้ดิน ทดสอบการชุดเจาะ และเช็กค่าความชื้นอีกด้วย 

           วิศวกรรมทางทะเล 

           วิศวกรทางทะเลจะเป็นผู้ที่ดูแล ซ่อมแซม ยานพาหนะทางทะเลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรือโดยสาร ยอร์ช หรือเรือเล็กก็ตาม โดยหน้าที่หลักคือการออกแบบ ดำเนินการสร้าง และบำรุงรักษายานพาหนะทางน้ำทั้งหลาย นอกจากนี้ยังต้องคิดพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของเรือต่าง ๆ อยู่เสมอ หน้าที่รองคือการเลือกวัสดุที่ใช้ในการสร้าง การตรวจสอบเครื่องยนต์เรือ และซ่อมแซมบำรุง ความรู้หลักที่วิศวกรทางทะเลต้องมีคือความรู้ด้านฟิสิกส์ ดังนั้นหากฟิสิกส์เป็นวิชาที่คุณชื่นชอบ วิศวกรทางทะเลก็เป็นหนึ่งในอาชีพที่น่าสนใจสำหรับคุณ

           วิศวกรรมวัสดุ 

           วัสดุเป็นสิ่งสำคัญในการก่อสร้าง และหน้าที่หลักของวิศวกรวัสดุคือการค้นคว้า และดูแลวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง โดยวิศวกรจะต้องดูว่าวัสดุประเภทไหนที่สามารถเข้ากันได้ วัสดุแบบไหนที่จะทนทานต่อแรงต้านภายนอก หรือวัสดุไหนเหมาะกับพื้นที่ก่อสร้างแบบไหน เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องสามารถคำนวณไปถึงระดับโครงสร้างของวัสดุได้เพื่อที่จะสามารถแนะนำได้ว่าควรใช้วัสดุแบบไหนที่จะคงทน มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนที่สุด  

           วิศวกรรมโครงสร้าง

           วิศวกรโครงสร้างเป็นผู้ที่ดูแลเรื่องการวางแผน การวิเคราะห์ การออกแบบ และการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างอาคาร สะพาน ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรเองก็ตาม เมื่อสถาปนิกได้ทำการวางแบบแล้ว วิศวกรโครงสร้างก็จะเป็นผู้วางแผน คำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอาคารหรือสิ่งก่อสร้างนั้นจะมีรากฐานที่แข็งแรง หน้าที่ของวิศวกรโครงสร้างจะเน้นการคำนวณเป็นหลัก  และต้องมีการตรวจสอบการออกแบบเแปลนอาคารที่ส่งว่ามีปัจจัยใดที่อาจจะทำให้โครงสร้างอาคารไม่แข็งแรงหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงแผนจะต้องมีการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าโครงสร้างสิ่งก่อสร้างนั้น ๆ มีความมั่นคงแข็งแรงดี และเลือกใช้วัสดุได้ถูกต้อง 

           การเป็นวิศวกรโครงสร้างนั้น จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการตรวจสอบหน้างานก่อสร้าง และปรับโครงสร้างที่อาจเกิดความผุกร่อนอีกด้วย  

           วิศวกรรมขนส่ง

           วิศวกรรมขนส่งนับเป็นหนึ่งในสาขาที่สำคัญ เพราะชีวิตคนในปัจจุบันข้องเกี่ยวกับการเดินทางและขนส่งตลอดเวลา หน้าที่ของวิศวกรขนส่งคือการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการเดินทางของผู้โดยสารหรือการขนส่งสิ่งของในทุก ๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นทางถนน ทางหลวง ทางอุโมงค์ สะพาน ระบบรถไฟ ระบบการเดินทางทางน้ำ ระบบการเดินทางทางอากาศ หรือไปจนกระทั่งออกแบบการขนส่งอุปทาน เช่น น้ำ ผ่านทางท่อต่าง ๆ อีกด้วย 

           หน้าที่ของวิศวกรขนส่งนั้นเกี่ยวกับการคำนวณเป็นส่วนใหญ่ โดยวิศวกรจะต้องออกแบบและก่อสร้างระบบหรือสิ่งก่อสร้างที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการขนส่ง นอกจากนี้ยังมีสาขาย่อยที่จัดการเกี่ยวการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจรอีกด้วย

           วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ

           วิศวกรรมทรัพยากรน้ำจะเป็นสาขาที่เน้นเรื่องการศึกษาแหล่งน้ำ การบังคับน้ำ การจัดการ และการใช้ประโยชน์จากน้ำ ตลอดจนการจัดการคุณภาพน้ำ หากคุณต้องการศึกษาต่อหรือทำงานในด้านนี้ คุณต้องสามารถคำนวณการออกแบบขนาดน้ำท่วม วางแผนการจัดการแหล่งน้ำ การนำน้ำกลับมาใช้ การวางแผนท่อระบายน้ำ และการสำรวจปริมาณน้ำ งานของวิศวกรทรัพยากรน้ำส่วนใหญ๋จะเกี่ยวข้องกับการวางแผนการก่อสร้างเขื่อน การทำระบบไฮดรอลิกส์ และวางแผนคลองส่งน้ำต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถทำเกี่ยวกับการออกแบบระบบชลประทาน และระบบน้ำดื่มอีกด้วย

           มองหางานด้านวิศวกรรมโยธาที่เหมาะกับคุณ

           หากคุณเห็นว่างานสายวิศวกรโยธาเป็นหนึ่งในงานที่ใช่สำหรับคุณแล้ว คุณสามารถลองสำรวจตัวเองดูว่า วิศวกรรมโยธาสาขาไหนที่เหมาะกับคุณมากที่สุด และสาขาไหนที่คุณมีคุณสมบัติที่ตรงกับตำแหน่งนั้น ๆ แล้วคุณสามารถสร้างโปรไฟล์แล้วมองหาตำแหน่งงานดี ๆ ที่เหมาะกับคุณได้ที่นี่ 

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

จบวิศวะจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรหรือไม่
หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรผู้ควบคุมงาน

การค้นหางาน  งานวิศวกร  งานวิศวกรรม  ธุรกิจวิศวกรรมโยธา  วิศวกรรมโยธา  สายงาน

บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023สายงานด้านวิศวกรรมโยธาสายไหนที่เหมาะกับคุณ

วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา

Test case คืออะไรทำไม Tester จำเป็นต้องทำ?

ในสายงานการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ซอฟท์แวร์ หรือโปรแกรมต่าง ๆ นอกจากอาชีพชูโรงอย่าง Developer แล้ว ยังมีตำแหน่งยิบย่อยอื่น ๆ...

วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา

ChatGPT คืออะไรทำไมเราถึงควรต้องทำความรู้จัก

  เราอาจคุ้นเคยกับเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งก็คือความฉลาดของคอมพิวเตอร์กันมา...

วิศวกรรมก่อสร้าง กับ วิศวกร โยธา

Work From Home vs. Hybrid Work องค์กรใหญ่ควรเลือกระบบไหนในปี 2023

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ขึ้นมา แล้วส่งผลกระทบแบบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก สร้างปัญหาให้กับท...

ก่อสร้าง และ โยธา ต่างกันอย่างไร

วิศวกรรมโยธา เป็นสาขาที่มีมาดั้งเดิมอยู่แล้ว วิศวกรรมก่อสร้าง เน้นปฏิบัติหน้างานไม่เน้นไปทางด้านคำนวนแต่ก็มีวิชาที่โยธาไม่มีเช่น การบริหารงานก่อสร้าง เป็นต้น วิศวกรรมโยธา มีวิชาคำนวนเข้ามาแทรกที่วิศวกรรมก่อสร้างไม่มี ทั้งสองสาขานี้หน่วยกิตต่างกันแค่ 3 หน่วยกิต

วิศวกรรมก่อสร้างต้องจบอะไร

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา สาขาวิชาช่างสำรวจ สาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือ

วิศวกรรมก่อสร้างเรียนกี่ปี

- จุดเด่นของหลักสูตร หลังจากนิสิตจบหลักสูตรปริญญาตรีในระยะเวลา 4 ปี นิสิตจะสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งภาครัฐ เอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระ รวมทั้งสามารถศึกษาในระดับปริญญาโท – เอก ได้ มีสิทธิขอสอบเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธาโดยสภาวิศวกร

วิศวกรก่อสร้างทำอะไรบ้าง

ชื่ออาชีพ : วิศวกรโยธา Civil Engineer.
วางแผน จัดระบบงาน และควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ.
ทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ตลอดจนการติดตั้ง การใช้ และการบำรุงรักษาระบบไฮดรอลิกและระบบสาธารณสุขอื่นๆ.
พิจารณาโครงการ และทำงานสำรวจเพื่อหาสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการก่อสร้าง.