ประเทศที่ จัดการขยะดีที่สุดในโลก



เยอรมนี ยังเป็นประเทศผู้นำทางด้านรีไซเคิล กว่า 67% ของขยะถูกนำไปรีไซเคิล และเป็นอัตราสูงที่สุดในโลก จากผลสำเร็จที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ว่าเพราะความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการรีไซเคิลเท่านั้น ส่วนสำคัญที่สุดที่นำเยอรมนีไปสู่ความสำเร็จ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และชาวเยอรมัน

รัฐบาลเยอรมนี มีกฎหมายและมาตรการจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐทั้ง 16 รัฐนั้นมอบหมายให้มีมาตรการจัดการขยะของตนเอง จึงเป็นหน้าที่ของเทศบาลของแต่ละเมืองที่เข้ามาดูแล ตั้งแต่การเก็บ การลำเลียงไปกำจัด หรือรีไซเคิล

ด้านธุรกิจเอกชน ผู้ผลิตสินค้า แต่ละบริษัทต้องเป็นคนรับผิดชอบขยะที่เกิดมาจากสินค้าของตัวเองด้วย ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรป ส่วนการแยกขยะในครัวเรือน ก็จะมีการแบ่งแยกตามสีของถังขยะ ทั้งนี้ทางเทศบาลของเขาค่อนข้างเข้มงวดกับการจัดการขยะมาก หากใครไม่ทำตามกฎอาจจะโดนค่าปรับสูงสุด อยู่ที่ประมาณ 87,000 บาท

ขณะที่ชาวเยอรมันเอง ทุกวันนี้เขาให้ความร่วมมือในการรีไซเคิลเป็นอย่างมาก อ้างอิงจาก Statista ประชากรกว่า 80% นั้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในการผลิตสินค้ามาก ว่าต้องสามารถนำไปรีไซเคิลได้

นั่นจึงทำให้อุตสาหกรรม การจัดการขยะและรีไซเคิลของเยอรมนีกลายเป็นอีกอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไปด้วย โดยมีจำนวนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะมากถึง 11,000 บริษัท มีพนักงานรวมกว่า 270,000 คน สร้างรายได้รวมสูงถึง 2.4 ล้านล้านบาทต่อปี และมีโรงงานเกี่ยวกับการจัดการขยะรวม 15,500 แห่งทั่วประเทศ




เรื่องเล่าในคลิปนี้ โดยคุณ pattamai เธอพาไปชมของจริงว่าที่นั่นเขามีระบบจัดการขยะที่ดีอย่างไรถึงทำให้พวกเขากลายเป็นประเทศที่รีไซเคิลได้มากมาย ที่จริงปริมาณของขยะก็อาจจะไม่ได้ต่างจากบ้านเราสักเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าเขามีระบบการจัดการที่แตกต่างจากเราอยู่หลายขุมเท่านั้นเอง

pattamai เธอบรรยายใต้คลิปนี้ไว้ว่า “ขอสารภาพว่าตอนมาถึงแรกๆ นี่งงตาแตกกับหลักการแยกขยะที่ยิบย่อยและยุ่งยากมากๆ ของเยอรมัน (ผ่านมาปีกว่าแล้วก็ยังแอบงงๆ อยู่) คนที่นี่ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะมากๆ มันได้เป็นแค่กฎเกณฑ์ แต่เป็นนิสัยและความเคยชินไปแล้วว่าเขาต้องแยกขยะและรีไซเคิลให้มากที่สุด อย่างโฮสต์เราถึงจะมีฐานะค่อนข้างดีแต่ก็จะเอาถุงซิปล็อกที่ใช้แล้วมาล้างแล้วล้างอีกจนมันขาดเป็นรูนั่นแหละ...555 ถึงจะเลิกใช้ ยอมใจมากๆ กับนิสัยการใส่ใจสิ่งแวดล้อมขนาดนี้”

อย่างขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋องที่ใช้แล้ว เขายังไม่ทิ้งเป็นขยะที่ไร้ประโยชน์ เยอรมนีมีระบบ Pfand คือระบบมัดจำ คนที่นั่นเขาจะเอาขวดไปคืนที่ตู้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตแล้วได้บิลมาแลกเงินมัดจำคืน หรือจะเก็บไว้เป็นส่วนลดเวลาซื้อของก็ได้.

อีกอย่างที่น่าสนใจคือ Mülltrennung หรือระบบการแยกขยะแบบเข้มงวดมาก ถ้าใครเพิ่งเดินทางไปเยอรมนีครั้งแรก อาจนึกว่าเราจะแยกให้ถูกได้ไง เรื่องนี้ทางการของเขารวดเร็ว เราย้ายมาอยู่เยอรมัน ทันทีที่ถึง เมืองที่อยู่ เขาก็จะส่งจดหมายส่งมาบอกว่าต้องแยกขยะอะไรบ้าง ขยะประเภทใดต้องทิ้งลงในถังสีอะไร รวมถึงให้ข้อมูลอีกว่าจะเข้ามาเก็บขยะวันไหน (มีวันเก็บขยะแต่ละประเภท เช่น ขยะที่นำไปเผา กระดาษ หรือขยะชิ้นใหญ่พวกเฟอร์นิเจอร์ก็มีวันเก็บ) มาตรการที่เข้มงวด และเด็ดขาดมากก็คือถ้าเกิดเราเอาขยะไปวางผิดประเภท เขาก็จะไม่เก็บให้ แถมส่งใบเตือนมาฝากด้วย

Sperrmüll หรือวันทิ้งขยะชิ้นใหญ่ เฟอร์นิเจอร์ก็มีความสนุกสนาน Sperrmüll เป็นระบบที่ดีที่สนับสนุนให้คนใช้ของมือสอง เพราะคนจะเอาของที่ไม่ใช้แล้วมาวางไว้หน้าบ้าน แล้วคนอื่นก็มาหยิบไปใช้ต่อได้เลย ลองมองหาดีๆ อาจจะได้ของที่ยังดูใหม่เอี่ยมมาใช้ด้วยละ

การมีระบบการจัดการดีๆ ช่วยให้ขยะได้ไปอยู่ในที่ที่ถูกต้อง ได้รับการจัดการหลังใช้งานถูกวิธี แทนที่จะไปรวมกันเป็นกองขยะมหาศาล บางอย่างก็ได้ใช้ประโยชน์ต่ออย่างขยะชิ้นใหญ่ในวัน Sperrmüll

ขอบคุณคลิปจากคุณ pattamai (https://www.youtube.com/channel/UCvqzUHs9MCOVW6OJVo6BR1w)
ข้อมูลอ้างอิง CHULA Zero Waste, pattamai



  • แยกขยะ
  • เยอรมัน
  • คลิป

ในปี 1940 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกยังไม่ตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกล้นเมือง แต่ประเทศสวีเดนได้เริ่มต้นโครงการคัดแยกขยะ และ นำขยะที่คัดแยกแล้วกลับมาใช้เป็นพลังงาน ทำให้ในปัจจุบัน ประเทศสวีเดนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่นำขยะกลับมาใช้เป็นพลังงานได้โดยแทบไม่ก่อให้เกิดมลพิษใด ๆ นอกจากนี้ขยะในประเทศสวีเดนสามารถนำไป reuse ได้กว่า96%  

นอกจากนี้ ประเทศสวีเดนยังมีโครงการแปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งผลิตไฟฟ้าใช้ภายในประเทศถึง 810,000 ครัวเรือน จนทำให้ขาดแคลนขยะที่จะนำไปแปรรูปเป็นพลังงานในประเทศ จึงต้องซื้อขยะจากประเทศอื่น ๆ ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีระบบมัดจำค่าขวดพลาสติกที่เก็บเงินค่าขวดพลาสติกจากผู้บริโภค หากผู้บริโภคไม่นำขวดพลาสติกที่ใช้เสร็จแล้วไปคืน ณ จุดรับคืน และ ในปัจจุบันสวีเดนยังคงให้ความสนใจกับปัญหาขยะพลาสติกล้นเมือง ด้วยการริเริ่มระบบมัดจำถุงพลาสติก โดยมีราคาอยู่ที่ 1.86 บาท ต่อใบ ซึ่งเมื่อผู้บริโภคนำถุงพลาสติกมาคืนก็จะได้รับเงินคืนเพื่อเป็นการป้องกันการทิ้งถุงพลาสติกไปอย่างเสียเปล่า

ประเทศที่ จัดการขยะดีที่สุดในโลก

2. ประเทศเยอรมนี ประเทศแห่งขยะรีไซเคิล

ในปี 1996 ประเทศเยอรมนีได้ออกกฎหมายควบคุมขยะมูลฝอยในทุกภาคส่วนของประเทศไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการผลิต จำหน่าย หรือ บริโภค รวมถึงให้คัดแยกขยะก่อนทิ้งทุกครั้ง นอกจากนี้มีการเก็บภาษีรีไซเคิลจากร้านค้าทุกร้านที่มีถุงพลาสติกแจกลูกค้า และ ยังมีระบบมัดจำค่าขวดพลาสติกที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคส่งคืนขวดเพื่อนำไปรีไซเคิลต่อไป โดยมาตรการดังกล่าวทำให้บริษัทเครื่องดื่มต่าง ๆ ในประเทศ เลือกที่จะผลิตขวดพลาสติกที่สามารถใช้ซ้ำได้ออกสู่ตลาด เพราะการผลิตขวดพลาสติกใช้ซ้ำช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้จำนวนมากหากเทียบกับการผลิตขวดพลาสติกใหม่ โดยในปีแรกหลังจากที่ได้ดำเนินนโยบายนี้ จำนวนขวดพลาสติกในท้องตลาดของประเทศเยอรมนีเป็นขวดพลาสติกชนิดใช้ซ้ำได้ถึง (multi-use bottles) 64% และ ต่อมาจำนวนการเลือกใช้ขวดพลาสติกชนิดใช้ซ้ำได้ก็ลดลงเหลือดพียงแค่ 46%

ประเทศที่ จัดการขยะดีที่สุดในโลก

3. ประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่มีวิธีการจัดการขยะมากมาย

ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการจัดการขยะในประเทศมาก ประชากรชาวญี่ปุ่นทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบการจัดการขยะ ประกอบกับการออกกฎหมายสำหรับการจัดการขยะพลาสติก ซึ่งนำมาบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในด้านการจัดการขยะสูง

ในปี 2002 ประเทศญี่ปุ่น ได้ส่งเสริมให้นำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ โดยคำนึงถึงหลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) จึงได้มีการออกกฎหมายเฉพาะตามลักษณะของผลิตภัณฑ์  เช่น  การคัดแยกขยะ การจัดเก็บภาษีถุงพลาสติก กฎหมายรีไซเคิลต่าง ๆ เช่น ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ขยะเศษอาหาร ขยะจากการก่อสร้าง และยานพาหนะที่หมดอายุการใช้งานแล้ว เป็นต้น  กฎหมายดังกล่าวทำให้ประเทศญี่ปุ่นลดการทิ้งขยะจากประชากรในประเทศได้ถึง 40%

4. ประเทศบังกลาเทศ ปรับผู้ใช้พลาสติกหนักถึง 2,000 ดอลลาร์

ในปี 2002 ประเทศบังคลาเทศได้ประกาศกฎหมายห้ามผลิตและงดแจกถุงพลาสติกแก่ผู้ซื้อ หากฝ่าฝืนจะถูกปรับครั้งละ 2,000 ดอลลาร์ เนื่องจากในปี 1988 และ ปี 1998 ประเทศบังคลาเทศได้เกิดวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ สาเหตุเพราะขยะพลาสติกจำนวนมากไปอุดตันในท่อระบายน้ำ มาตรการดังกล่าว ส่งผลให้ประชากรในประเทศไม่กล้าใช้และทิ้งถุงพลาสติกตามท้องถนน จึงทำให้ปริมาณขยะจากถุงพลาสติกลดลงอย่างมาก 

5. ประเทศอังกฤษ เก็บภาษีถุงพลาสติก และห้ามใช้พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง

ในปี 2015 ประเทศอังกฤษได้เริ่มเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกจากผู้บริโภคในร้านค้าใหญ่ ๆ ใบละประมาณ 2.14 บาท และ ยังมีแผนที่จะนำระบบมัดจำขวดพลาสติกมาใช้ ห้ามใช้หลอดดูดพลาสติก แท่งพลาสติกสำหรับคนกาแฟ และ ก้านสำลีแคะหู วิธีการดังกล่าวทำให้ประเทศอังกฤษสามารถลดการใช้พลาสติกได้มากกว่า 80% ส่งผลให้สามารถลดงบประมาณค่ากำจัดขยะมูลฝอยได้ 60 ล้านปอนด์ และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 13 ล้านปอนด์ 

ประเทศที่ จัดการขยะดีที่สุดในโลก

6. ประเทศไต้หวัน ห้ามใช้พลาสติกในประเทศ 

ในปี 2018 ประเทศไต้หวันได้ประกาศใช้มาตรการห้ามใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และแก้วเครื่องดื่ม ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่าจะห้ามอย่างครอบคลุมทั่วประเทศภายในปี 2030 โดยในปัจจุบัน ร้านอาหารและเครื่องดื่มในประเทศไต้หวัน ได้งดการให้หลอดดูดพลาสติกในร้านอาหาร และ ภายในปี 2050 ประชากรในประเทศจะต้องจ่ายเงินหากมีการใช้หลอดพลาสติกอยู่ นโยบายดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตของชาวไต้หวันเป็นอย่างมาก แต่ประชาชนจะได้รับประโยชน์ในระยะยาวมากกว่าอย่างแน่นอน

หันกลับมามองที่ประเทศไทยของเรานั้น ได้ติดอันดับประเทศที่ทิ้งขยะลงสู่ท้องทะเลมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก และ เป็นประเทศที่มีปัญหาขยะพลาสติกปริมาณมากกว่า 2 ล้านตันต่อปี ส่งผลให้ในขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้หารือร่วมกับเครือข่ายภาคธุรกิจเอกชน ทั้งห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ รวม 43 ภาคี มีมติในที่ประชุมว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป จะมีการนำร่องงดแจกถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 100% ทั้งห้างสรรพสินค้าและร้านค้าสะดวกซื้อรายใหญ่ อาทิ ห้างเซ็นทรัลฯ เดอะมอลล์ บิ้กซี เซเว่น อีเลฟเว่น โลตัส เป็นต้น รวมถึงมาตรการสนับสนุนให้เลือกใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทดแทนการใช้พลาสติกสำหรับหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม การรณรงค์เลิกใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร รวมถึงช้อน ส้อม มีด แก้วน้ำ หลอดดูดพลาสติก โดยตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2022 ประเทศไทยจะสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกที่ต้องนำไปกำจัดได้ประมาณ 0.78 ล้านตันต่อปี ทำให้ประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ถึง 3,900 ล้านบาทต่อปี

วันนี้ หากคุณได้ตระหนักถึงปัญหาที่ทุกคนบนโลกได้ประสบอยู่ในขณะนี้ ลองเริ่มต้นช่วยกันลดการใช้พลาสติกง่าย ๆ ในทุก ๆ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน หันมาเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ เรียนรู้วิธีจัดการกับขยะอย่างถูกต้อง ถึงแม้ว่าขยะจากพลาสติกที่กำลังล้นเมืองจะไม่ได้หมดไปในทันที แต่อย่างน้อย คุณก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ขยะเหล่านั้นลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ ในทุกวัน

ต่างประเทศจัดการขยะยังไง

วิธีการแยกขยะที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศนั้น เกิดจากระบบการจัดการที่ใช้วิธีต่างกัน บางประเทศแยกเพื่อรีไซเคิล บางประเทศแยกเพื่อเผา บางประเทศส่งเสริมการรีไซเคิลด้วยการออกกฎหมายควบคุมการผลิต และเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้ผลิต บางประเทศเก็บภาษีเมื่อซื้อ หรือระบบมัดจำเพื่อเรียกความร่วมมือจากฝั่งผู้บริโภค ความสำเร็จในการ ...

เมืองที่สะอาดที่สุดในโลกคืออะไร

03. 04. อันดับ 1 เมืองคาลการี (Calgary) ประเทศแคนาดา น่าแปลกใจตรงที่เมืองนี้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมน้ำมัน พลังงาน และเหมืองแร่ เป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่าล้านคน มีค่าเฉลี่ยการผลิตขยะมูลฝอยคนละ 2,000 ปอนด์ต่อปี แต่กลับเป็นเมืองที่สะอาดเป็นอันดับ 1 ของโลก

ประเทศใดออกกฎหมายเพื่อเปลี่ยนแนวทางทิ้งขยะ

เมื่อปัญหาขยะล้นเมืองเพิ่มมากขึ้น เยอรมันจึงต้องรับมือกับปัญหานี้ด้วยการออกกฎหมาย “Closed Substance Cycle and Waste Management Act” ควบคุมขยะมูลฝอย โดยทุกคนจะต้องลดการผลิตที่ทำให้เกิดขยะน้อยที่สุด แล้วรีไซเคิลของทุกอย่างเท่าที่ทำได้ นอกจากนี้การกำจัดขยะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด โดยภายในระยะเวลา 11 ปี เยอรมัน ...

ทำไมสิงคโปร์ถึงไม่มีขยะ

นักวิชาการเชื่อว่าสิงคโปร์ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตนเองไปสู่พลาสติกแบบย่อยสลายได้ทั้งหมด เพราะสิงคโปร์มีจุดแข็งและได้เปรียบจากการที่มีพื้นที่ขนาดเล็กทำให้การบริหารจัดการขยะได้ง่าย และรัฐบาลบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกวดขัน ด้วยบทลงโทษที่รุนแรงในการทิ้งขยะอยู่แล้ว ทำให้ขยะเกือบทั้งหมดมีการจัดเก็บสู่กระบวนการจัดการ เมื่อ ...