การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ

การสร้างเครื่องมือเพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนา สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Dreamweaver สำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

1.              ขั้นการสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.1.  ศึกษารายละเอียดเนื้อหา เรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Dreamweaver

1.2.  กำหนดผลการเรียนที่คาดหวัง

1.3.  ศึกษาและเลือกโปรแกรม ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ google site และ google form ในการพัฒนาและสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.4.  ออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มีความสัมพันธ์กัน โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจและมีแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยแบบทดสอบจะเป็นแบบ 5 ตัวเลือก มีทั้งหมด 20 ข้อ

1.5.  พัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเว็บตามที่กำหนดไว้ ด้วย google site และ google form

2.              ขั้นตอนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2.1.  ศึกษารูปแบบและวิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิด 5 ตัวเลือก

2.2.  วิเคราะห์เนื้อหาและวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Dreamweaver

2.3.  สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิด 5  ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ

2.4.  นำแบบทดสอบจำนวน 30 ข้อ ไปทดสอบกับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

2.5.  นำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย (p) และค่าอำนาจจำแนก (r) โดยการวิเคราะห์เป็นรายข้อ

2.6.  คัดเลือกแบบทดสอบที่มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.20 – 0.80 ค่าอำนาจจำแนก(r)

ตั้งแต่0.20 ขึ้นไป จำนวน 20 ข้อ ไปใช้ในการทดสอบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2.7.  นำแบบทดสอบมาหาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร KR-20 ของคูลเลอร์ ริชาร์ดสัน

3.              ขั้นตอนการสร้างแบบประเมินความพึงพอใจ

3.1.  ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจเพื่อเป็นกรอบในการสร้างคำถาม

3.2.  สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใช้ข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)

กำหนดค่าคะแนนเป็น 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) และกำหนดเกณฑ์มาทำข้อมูลในการประเมินดังนี้

       ค่าเฉลี่ย                                                        ระดับความพึงพอใจ

ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายถึง                        ระดับความพึงพอใจมากที่สุด

ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายถึง                      ระดับความพึงพอใจมาก

ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายถึง                        ระดับความพึงพอใจปานกลาง

ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง                        ระดับความพึงพอใจน้อย

ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง                        ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด

จำนวน 15 ข้อคำถาม ซึ่งประกอบด้วยความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านการออกแบบและการจัดรูปแบบ   ด้านคุณภาพของเนื้อหา ระดับความพึงพอใจโดยภาพรวม

3.3.  นำแบบสอบถามความพึงพอใจเสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจความถูกต้องและเหมาะสมของแบบสอบถาม แล้วปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ

    กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

        1. ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและเนื้อหา

เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านเนื้อหา หลักสูตรกำหนดเป้าหมายและทิศทางของหลักสูตร

2. ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ

ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาการออกแบบบทเรียน จัดรูปแบบการแสดงผลการเลือกใช้กราฟิก หรือสื่อต่างๆที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน

3. ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา   

ให้คำแนะนำการใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ตลอดจนการทำเอกสารประกอบการใช้สื่อ

            กลุ่มผู้ออกแบบและสร้างบทเรียน

เป็นผู้ทำหน้าที่ออกแบบและสร้างบทเรียนโดยตรง โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์เนื้อหาการวิเคราะห์กิจกรรม การทำสื่อประเมินผลการสร้าง Storyboard ของเนื้อหา โดยอยู่ภายใต้ความควบคุมผู้ดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

ผู้บริหารโครงการ

ทำหน้าที่จัดการและบริหารงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างบทเรียน จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ควบคุมคุณภาพของบทเรียน ประสานงานกับกลุ่มต่างๆ ควบคุมงบประมาณต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพที่ดี