ค่า ปรับ อาญา ไม่ ออกใบกำกับภาษี

ค่า ปรับ อาญา ไม่ ออกใบกำกับภาษี

Show

ช่วงนี้มีลูกค้าติดต่อมาทาง สำนักงานบัญชี ให้ช่วยยื่น ภพ30 ย้อนหลัง

ดังนั้นทาง AccountWorks จึงขอเขียนบทความนี้เผื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าปรับ ได้นะครับ

โดยผู้ประกอบการท่านใด ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว (จด VAT แล้ว) >> ผู้ประกอบการท่านนั้น จะต้องมีหน้าที่ในการจัดทำและยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 30) ตั้งแต่ "เดือนแรก" ที่จด เลยนะครับ

ข้อระวัง!!! :

บางท่านอาจะเข้าใจว่ายัง ไม่มีรายการซื้อขายเลย จึงยัง ไม่ยื่น ภพ30 ซึ่งจะทำให้ต้องเสียค่าปรับการยื่นแบบล่าช้า (คิดเป็นรายเดือนเลยนะครับ)

AccountWorks จึงสรุป ข้อระวังในประเด็นสำคัญๆ สำหรับผู้ประกอบการจด VAT ต่อไปนี้

1. ต้องยื่นแบบ ภพ 30 และจัดทำรายงานภาษีซื้อและขาย ทุกๆเดือน และต้องยื่นให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งคือภายในวันที่ 15 หรือถ้ายื่นเน็ตก็ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไปนะครับ (แม้ว่าจะไม่มีรายการซื้อขายเลยก็ตาม)

2. ต้องยื่นภาษีขายสำหรับการขายทุกรายการ (ถ้าจด VAT แล้ว จะขายแบบไม่มี VAT ไม่ได้นะครับ)

3. ต้องยื่นภาษีขายให้ตรงเดือนที่ออกใบกำกับภาษีขาย ซึ่งเป็นไปตาม Tax point ที่สรรพากรกำหนด (โดยส่วนใหญ่มักดูจากวันที่ออกใบกำกับฯ ถ้าไม่ตรงเดือนก็ถูกปรับด้วยนะครับ)

4. ต้องตรวจสอบรูปแบบใบกำกับภาษีทั้งซื้อและขายทุกครั้ง ว่าเอกสารเป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด หรือไม่ (เช่น เอาบิลเงินสดที่มี VAT ก็ใช้ยื่นภาษีไม่ได้นะคครับ)

5. อย่าลืมจัดทำ "รายงานสินค้าและวัตถุดิบ" (ต้องให้สอดคล้องกับ จำนวนรายการสินค้าที่ ซื้อขาย ตามใบกำกับภาษีนะครับ หากไม่ตรงก็มีความเสี่ยงจะถูกประเมินว่ายื่นแบบไม่ถูกต้องได้)

โดยหากไม่ได้ปฏิบัติตาม หรือ จดVATแล้วแต่ยังไม่ยื่นแบบ ภพ30 เลย

อาจะมีความเสี่ยงที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับ กรมสรรพากรเพิ่มเติมอีก นอกเหนือจากค่าภาษีที่ต้องนำส่งตามปกติ ได้แก่ เงินเพิ่ม, เบี้ยปรับ, ค่าปรับอาญา ซึ่งทาง AccountWorks จะกล่าวในบทความถัดไปนะครับ

อย่างไรก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (ซึ่งไม่ควรต้องจ่ายให้กับกรมสรรพากรอีก) ควรปฏิบัติตามข้อระวังดังกล่าวข้างต้น ให้ครบถ้วนนะครับ

กรณีท่านผู้ประกอบการไม่มีเวลา หรือ ขาดความชำนาญ ทาง สำนักงานบัญชี AccountWorks ยินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นและพร้อมให้บริการ รับทำบัญชีและยื่นภาษีแก่ท่าน >> โดยสามารถ สอบถามตามช่องทางการติดต่อด้านล่างได้เลยครับ

รับทำบัญชี / รับตรวจสอบบัญชี / รับจดทะเบียนบริษัท

ค่า ปรับ อาญา ไม่ ออกใบกำกับภาษี

บริษัท แอคเคาท์เวิร์ค จำกัด

Tel : 092-478-2917

Line : @accountworks

ค่า ปรับ อาญา ไม่ ออกใบกำกับภาษี

email :

  • บทความ
  • ภาษี
  • เบี้ยปรับ เงินเพิ่มกรมสรรพากร
ค่า ปรับ อาญา ไม่ ออกใบกำกับภาษี

เบี้ยปรับ เงินเพิ่มกรมสรรพากร

เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2565 หมวดหมู่ ภาษี โดย บุญณภัส แอนด์ ออดิท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ 30)
1. ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.30
    – ยื่นแบบเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท
    – ยื่นแบบเกินกำหนดเวลาและเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท
2. เงินเพิ่ม
    – คิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
    – กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม           
     เงินเพิ่ม คือ
ไม่ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนด
เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
อธิบดีอนุมัติให้ขยายเวลา ให้ลดเหลือ 0.75% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
เริ่มนับเมื่อพ้นเวลายื่นแบบฯ ถึงวันชำระ
เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษี
หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม
3. เบี้ยปรับ
    3.1 กรณียื่นเพิ่มเติม คือเคยยื่นแบบเดือนนั้นแล้ว  คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% – 20%
    – ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2%
    – ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5%
    – ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10%
    – ชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%
    3.2 กรณีไม่ได้ยื่นแบบของเดือนนั้นมาก่อน
    – ชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% x 2 เท่า
    – ชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5% x 2 เท่า
    – ชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10% x 2 เท่า
    – ชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20% x 2 เท่า
    – กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญา


        เบี้ยปรับ จากกรณีต่าง ๆ ดังนี้
ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียน เบี้ยปรับ 2 เท่า หรือเงิน 1 พันบาทต่อเดือน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
มิได้ยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลา เบี้ยปรับ 2 เท่า
ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่จะต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
ยื่นแบบฯ ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ภาษีขายหรือภาษีซื้อคลาดเคลื่อนไป เบี้ยปรับ 1 เท่า
กรณีผู้เสียภาษีได้ยื่นแบบฯ โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวนเป็นหนังสือ ตามกรณีที่กล่าวมาข้างต้น ให้ลดเบี้ยปรับลง คงเสียดังนี้
มิได้จัดทำใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เบี้ยปรับ 2 เท่า
ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออก เบี้ยปรับ 2 เท่า
นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ เบี้ยปรับ 2 เท่า
มิได้เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย เบี้ยปรับ 2% ของภาษีตามใบกำกับ
มิได้เก็บใบกำกับภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษี เบี้ยปรับ 2% ของภาษีที่นำมาเครดิต
มิได้ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เบี้ยปรับ 2 เท่า
ยื่นแบบ ภงด.1 ภงด.3 ภงด.53 เกินกำหนดเวลา


1. ค่าปรับอาญา
    – กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท
    – เกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
2. เงินเพิ่ม
    – อัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
    – กรณีไม่มีภาษีต้องเสียก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จ่ายแต่ค่าปรับอาญาเท่านั้น
ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 และ ภ.ง.ด. 50 เกินกำหนดเวลา
1. ค่าปรับอาญา
    – กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท
    – เกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท

2. เงินเพิ่ม
    – อัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
    – กรณีไม่มีภาษีต้องเสียก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จ่ายแต่ค่าปรับอาญาเท่านั้น

ยื่นแบบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.90,ภงด.91,94)
กรณียื่นเกินกำหนดเวลา
1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
– ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 100 บาท
– ยื่นแบบเกิน 7 วัน 200 บาท
2. เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน

ค่า ปรับ อาญา ไม่ ออกใบกำกับภาษี
ค่า ปรับ อาญา ไม่ ออกใบกำกับภาษี

รับทำบัญชี วางระบบบัญชี ที่ปรึกษาบัญชีและภาษีอากร จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ฯ

คลองหลวง, ปทุมธานี

วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำธุรกิจด้านบริการรับทำบัญชี ด้วยคุณภาพและบริการที่ได้มาตรฐาน” พันธกิจ       » ทำงานบัญชีให้ลูกค... [อ่านต่อ]