ปรับโครงสร้างหนี้กยศ pantip

2 ลูกหนี้ กยศ. ร้อง ‘อิศรา’ ผ่อนชำระหนี้รายเดือนให้ ‘กยศ.’ นานนับปี แต่ ‘เงินต้น’ ไม่ลด โอดอย่างนี้ ‘ผ่อนหนี้ไปจนตายก็ไม่หมด’ ขณะที่อีกรายเจอ ‘เบี้ยปรับ-ดอกเบี้ย’ เดินรายวัน

..............................

สืบเนื่องจากกรณีสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเสนอข่าวความเดือดร้อนของลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งผิดนัดชำระหนี้ และถูกกยศ.ฟ้องดำเนินคดี ก่อนที่ในเวลาต่อมา ลูกหนี้ กยศ.ดังกล่าว ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ กยศ. โดยยินยอมผ่อนชำระหนี้ให้ กยศ.เป็นรายเดือน แต่ปรากฏว่าลูกหนี้ กยศ.เหล่านี้ ถูกเรียกเบี้ยปรับในอัตราที่สูงมาก ทำให้เงินค่างวดที่ผ่อนส่งให้ กยศ. ไม่ถูกนำไปตัดหนี้เงินต้นเลย นั้น

(อ่านประกอบ : ผ่อน 3 ปี เงินต้นไม่ลด!ทุกข์ลูกหนี้ กยศ. เจอ‘เบี้ยปรับ’อ่วม แฉมีพวกหากินฟ้องชาวบ้าน? , เจออีกราย! ลูกหนี้ กยศ.โดน ‘เบี้ยปรับ'โหด ท่วม‘เงินต้น’-ผ่อนหนี้ไม่ไหวขอ ‘ลดค่างวด’ , อดีตลูกหนี้ กยศ. ร้องโดน‘เบี้ยปรับ’เกือบเท่าเงินต้น-กลัวถูกยึดบ้าน กู้สหกรณ์ฯปิดยอด)

ล่าสุดสำนักข่าวอิศราได้รับการร้องเรียนจากลูกหนี้ กยศ.อีก 2 ราย ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา เนื่องจากผิดนัดชำระหนี้ กยศ. และถูกบังคับคดี โดยให้ผ่อนชำระหนี้ กยศ.เป็นรายเดือน แต่ปรากฎว่าหลังจากลูกหนี้ กยศ. ทั้ง 2 ราย ผ่อนชำระค่างวดให้ กยศ. ไปแล้วนานนับปี แต่พบว่าหนี้เงินต้นไม่ลดลงเลย เพราะ กยศ.ไม่ได้เปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้เช่นเดียวกับกลุ่มลูกหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้อง ทำให้เงินค่างวดที่ส่งไปถูกนำไปตัดเบี้ยปรับ ดอกเบี้ย ก่อนจะตัดเงินต้น

นายฐิติ สันติทวีฤกษ์ ลูกหนี้ กยศ. กล่าวกับสำนักข่าวอิศรา ว่า ยอมรับว่าในหลายปีที่ผ่านมา ตนเองไม่ได้ชำระหนี้ กยศ. จนกระทั่งถูก กยศ. ฟ้องและบังคับคดีในปี 2563 ซึ่ง กยศ.ให้ตนผ่อนชำระหนี้เดือนละ 5,000 บาท โดยหักจากบัญชีเงินเดือน แต่หลังจากหักเงินเดือนไปชำระหนี้รวม 13 งวดๆละ 5,000 บาท รวมเป็นเงิน 65,000 บาท พบว่าหนี้เงินต้น 144,498 บาท ไม่ลดลง เพราะถูกนำไปตัดเบี้ยปรับ และดอกเบี้ยก่อน หากเป็นอย่างนี้ ต่อให้ผ่อนจนตายหนี้ก็ไม่หมด

“กยศ.ให้ส่งเดือนละ 5,000 บาท โดยหักจากบัญชีเงินเดือน แต่หลังจากส่งมาร่วมปี เงินต้นไม่ลดลงเลย ซึ่งผมเองเคยโทรไปถามกับ กยศ. ว่า ต้องทำอย่างไร ทาง กยศ.แนะนำว่าต้องปิดบัญชีอย่างเดียว เบี้ยปรับถึงจะลด แล้วผมก็ถามต่อว่า ถ้าเป็นแบบนี้ ผ่อนหนี้ไปจนตายก็ไม่หมด เขาตอบว่า ใช่ ถ้าเป็นอย่างนี้ ส่งไปจนตายหนี้ก็ไม่หมด และกว่าจะโทรติดต่อสอบถามกับ กยศ. ก็ยาก มี 30 เบอร์ก็จริง แต่ติดต่อไม่ได้ซักเบอร์” นายฐิติ กล่าว

ปรับโครงสร้างหนี้กยศ pantip

นายฐิติ ย้ำว่า ตนยอมรับว่าเคยผิดพลาด เพราะไม่ชำระหนี้ กยศ. และยอมรับทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยและเบี้ยปรับจะคิดเท่าไหร่ก็ยอม เพียงแต่ว่าเมื่อตนผ่อนจ่ายหนี้แล้ว ขอให้เงินต้นลดดอกเบี้ยลดลงด้วย ไม่ใช่ว่าส่งไปเท่าไหร่ เงินต้นไม่ลดลงเลย และ กยศ. ยังได้รวมเอาค่าทนายมาเป็นค่าใช้จ่ายที่ให้ตนต้องรับผิดชอบด้วย อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา ตนเองร้องเรียนเรื่องนี้ไปหลายหน่วยงาน แต่เรื่องก็เงียบไปหมด

“กยศ.อยากปรับดอกเบี้ยเท่าไหร่ ก็ปรับไป แต่ขอให้ชัดเจน เหมือนส่งงวดรถ เอาให้ชัดเจน เอากี่งวด งวดละเท่าไหร่ ส่งกี่ปี ผมต้องการแค่นั้น แต่ กยศ. ทำให้ผมไม่ได้” นายฐิติ กล่าว

ด้าน น.ส.สุพิชญ์ชญา (ขอสงวนนามสกุล) ลูกหนี้ กยศ. กล่าวกับสำนักข่าวอิศรา ว่า ตนเองกู้เงิน กยศ. ตั้งแต่ปี 2539-2545 เป็นเงินต้น 340,500 บาท ซึ่งหลังจากเรียนจบก็เริ่มต้นทำงาน แต่เนื่องจากค่าครองชีพที่สูง จึงไม่สามารถชำระหนี้ได้ และเมื่อ กยศ.มีโครงการให้ไกล่เกลี่ย ตนก็ไปลงชื่อ เพราะไม่อยากถูกฟ้องศาล และทำสัญญาผ่อนชำระหนี้ให้ กยศ. เดือนละ 3,600 บาท แต่เนื่องจากขณะนั้น ตนมีเงินเดือนเพียง 7,900 บาท จึงไม่สามารถชำระหนี้ได้ทุกเดือน

“เคยสอบถามเจ้าหน้าที่ว่า ถ้าเราจ่ายไม่ได้ 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี และถ้ามีเงินตอนไหนแล้วมาจ่ายตอนนั้น ได้หรือไม่ เจ้าหน้าที่บอกว่า ได้ ทำรู้สึกโล่งใจ ก็จะพยายามเก็บเงินเพื่อนำไปชำระหนี้ แต่วันที่จะจ่ายหนี้ ปรากฏว่าเบี้ยปรับเยอะมาก เงินที่เตรียมไปไม่พอค่าปรับด้วยซ้ำไป จึงไม่ได้ชำระหนี้” น.ส.สุพิชญ์ชญา กล่าว

น.ส.สุพิชญ์ชญา กล่าวว่า กระทั่งในช่วงปี 2561 ตนได้รับหมายศาลฯ และไปไกล่เกลี่ยหนี้กับ กยศ. ซึ่ง กยศ.แจ้งว่าเงินต้นบวกดอกเบี้ยและเบี้ยปรับอยู่ที่ 687,355.90 บาท ในจำนวนี้เป็นหนี้เงินต้น 338,500 บาท ดอกเบี้ยประมาณ 25,000 บาท และเบี้ยปรับประมาณ 300,000 บาท ซึ่ง กยศ.กำหนดให้แบ่งชำระงวดละ 6,900 บาท เป็นจำนวน 108 งวด เป็นเงินทั้งสิ้น 745,200 บาท ซึ่งตนเองไม่ทราบว่าส่วนต่างที่เกิดขึ้น 66,844.10 บาท เป็นค่าทนายหรือค่าอะไรกันแน่ 

อย่างไรก็ตาม หลังจากตนเซ็นรับสภาพหนี้และยินยอมผ่อนชำระหนี้เดือนละ 6,900 บาท เป็นจำนวน 35 งวด เป็นเงินรวม 241,500 บาท และพบว่าเงินต้นยังคงเหลือเท่าเดิม คือ 338,500 บาท 

น.ส.สุพิชญ์ชญา ยังระบุด้วยว่า ตอนที่ไปศาลฯ ทาง กยศ.แจ้งว่า ตนเองมีดอกเบี้ยคงค้าง 25,000 บาท และมีเบี้ยปรับ 3 แสนบาท แต่ต่อมา กยศ. ได้นำดอกเบี้ยคงค้างและเบี้ยปรับมารวมเป็นรายการเดียวกัน คือ รายการดอกเบี้ยค้างชำระ ซึ่งหลังจากผ่อนชำระมาเกือบ 3 ปี ปัจจุบันยอดดอกเบี้ยค้างชำระลดลงมาเหลือ 1.71 แสนบาท และพบว่ามีเบี้ยปรับใหม่เพิ่มขึ้นมาเป็นรายวัน โดยล่าสุดมีเบี้ยปรับใหม่อยู่ที่ 93.13 บาท

“อยากถามว่าโครงการเงินกู้ กยศ. เป็นโครงการที่ช่วยคนจนจริงหรือไม่ ซึ่งผู้กู้ไม่ได้หนี และมีหลายปัจจัยที่ทำให้ยังชำระหนี้ไม่ได้ แต่ทำไม กยศ.จึงใช้ระบบไฟแนนท์ มาดำเนินการกับผู้กู้ที่ผิดนัดฯ และคิดเบี้ยปรับมหาโหด เท่ากับไม่เปิดโอกาสให้ผู้กู้ปิดบัญชีได้เลย” น.ส.สุพิชญ์ชญา กล่าว

ปรับโครงสร้างหนี้กยศ pantip

สำนักข่าวอิศรารายงานเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ ลูกหนี้ กยศ. ที่อยู่ระหว่างการบังคับคดีหนี้ กยศ. ยังคงได้รับความเดือดร้อนจากเบี้ยปรับที่เพิ่มขึ้นเป็นรายวัน เช่น กรณี น.ส.เกศินี (ขอสงวนนามสกุล) ซึ่งสำนักข่าวอิศราเคยทำเสนอข่าวไปก่อนหน้า ล่าสุด น.ส.เกศินี ระบุว่า แม้ว่าตนเองจะทยอยชำระหนี้ กยศ. ตามสัญญาประนีประนอมที่ทำไว้ แต่จนถึงขณะนี้ กยศ. ยังคงคิดเบี้ยปรับ และดอกเบี้ยกับตนเองทุกวัน

โดยเมื่อวันที่ 27 ก.ย.2564 ตนพบว่ามีการแจ้งยอดเบี้ยปรับ 708.71 บาท จึงโอนเงินจ่ายค่าเบี้ยปรับให้ กยศ. เป็นเงิน 1,688 บาท จนยอดเบี้ยปรับกลายเป็น 0 บาท แต่ปรากฎว่าต่อมาในวันที่ 28 ก.ย.2564 ตนเข้าไปตรวจสอบข้อมูลในบัญชี กยศ. อีกครั้ง พบว่ามีการแจ้งว่ามีเบี้ยปรับใหม่อีก 30.65 บาท และดอกเบี้ยค้างชำระเพิ่มขึ้น 4.52 บาท 

ปรับโครงสร้างหนี้กยศ pantip
 

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนฯ มีมติเห็นชอบแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ ปรับเปลี่ยนลำดับตัดชำระหนี้และเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระ สำหรับผู้กู้ยืมกลุ่มก่อนฟ้องคดีเพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่ค้างชำระและลดปัญหาหนี้ค้างชำระของกองทุนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้

1.ปรับโครงสร้างหนี้ สำหรับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องคดี หากไม่สามารถผ่อนชำระเงินคืนตามสัญญา กองทุนจะให้ผู้กู้ยืมทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้โดยขยายระยะเวลาผ่อน และเปลี่ยนเงื่อนไขเพื่อให้มีระยะเวลาในการผ่อนชำระมากขึ้น สามารถผ่อนได้สูงสุด 30 ปี แต่ในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ และมีส่วนลดเบี้ยปรับโดยให้ชำระในงวดสุดท้าย ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถแจ้งความประสงค์ขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ที่แอปพลิเคชัน กยศ.Connect หรือทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

2.ปรับเปลี่ยนลำดับตัดชำระหนี้ สำหรับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระเงินคืนกองทุนที่ยังไม่ถูกฟ้องคดี จากเดิมที่ใช้วิธีการตัดเบี้ยปรับ ดอกเบี้ย และเงินต้น กองทุนจะปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้ใหม่ โดยจะนำเงินที่ได้รับชำระไปตัดเงินต้น ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับ

3.ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน สำหรับผู้กู้ยืมรายใหม่ และผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างปลอดหนี้และยังไม่ครบกำหนดชำระหนี้ จากเดิมที่ผ่อนชำระเป็นรายปี กองทุนจะปรับให้ผ่อนชำระเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน และเพิ่มระยะเวลาการผ่อนชำระจากเดิมไม่เกิน 15 ปี เป็นไม่เกิน 30 ปี ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ของผู้กู้ยืมแต่ละราย ทั้งนี้ในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์

นอกจากนั้น กองทุนยังมีแนวทางแบ่งเบาภาระของผู้ที่ถูกหักเงินเดือน โดยสามารถขอปรับลดจำนวนเงินที่หักเหลือเพียง 10 บาทต่อเดือน มีผลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 -มิถุนายน 2565 ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถแจ้งความประสงค์ขอปรับจำนวนเงินดังกล่าวผ่านแอปพลิเคชัน กยศ.Connect แต่ยังคงมีหน้าที่ไปชำระส่วนต่างตามจำนวนเงินงวดที่ต้องชำระตามเงื่อนไขของสัญญา

“หากผู้กู้ยืมยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ในสถานการณ์นี้ กองทุนได้ลดเบี้ยปรับให้เหลือเพียง 0.5% รวมทั้งชะลอการฟ้องคดี บังคับคดี ยกเว้นคดีที่จะขาดอายุความ และงดการขายทอดตลาดไว้จนถึงสิ้นปีนี้” นายชัยณรงค์ ระบุ