อธิบายความคาดหวังทางบวกและทางลบ

ในกรณีที่มีความไม่แน่นอน , ความคาดหวังเป็นเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ความคาดหวังซึ่งเป็นความเชื่อที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อนาคตอาจเป็นจริงหรือไม่ก็ได้ ผลที่ได้เปรียบน้อยก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกของความผิดหวัง หากสิ่งที่เกิดขึ้นที่ไม่ได้เลยคาดว่ามันเป็นความประหลาดใจ ความคาดหวังเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือผลการปฏิบัติงานของบุคคลอื่น ซึ่งแสดงต่อบุคคลนั้น อาจมีลักษณะเป็นคำขอที่เข้มงวด หรือเป็นคำสั่ง ชนิดของความคาดหวังนี้จะเรียกว่าเป็นบรรทัดฐานทางสังคม ระดับของสิ่งที่คาดว่าจะเป็นจริงสามารถแสดงได้โดยใช้ตรรกะคลุมเครือ.

Richard Lazarusยืนยันว่าผู้คนคุ้นเคยกับประสบการณ์ชีวิตในเชิงบวกหรือเชิงลบ ซึ่งนำไปสู่ความคาดหวังที่ดีหรือไม่ดีต่อสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ของพวกเขา ลาซารัสตั้งข้อสังเกตถึงหลักการทางปรัชญาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า "ความสุขขึ้นอยู่กับสถานะทางจิตวิทยาเบื้องหลังของบุคคล...และไม่สามารถคาดเดาได้ดีหากไม่มีการอ้างอิงถึงความคาดหวังของบุคคล" [1]

ในแง่ของความสุขหรือความทุกข์ Lazarus ตั้งข้อสังเกตว่าเงื่อนไขของชีวิตคือเงื่อนไขของความยากลำบากและการกีดกันมักจะทำการประเมินความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา "ในขณะที่ "คนที่มีฐานะดี…มักจะประเมินเชิงลบของพวกเขา ความเป็นอยู่ที่ดี" ลาซารัสให้เหตุผลว่า "คำอธิบายที่สมเหตุสมผลที่สุดของความขัดแย้งที่ชัดเจนนี้คือ ผู้คน...พัฒนาความคาดหวังที่ดีหรือไม่ดี" ที่ชี้นำการประเมินดังกล่าว[1]

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward 

หลายครั้งความคาดหวังมักจะมาพร้อมกับความกดดันและความเครียดทำให้คำนี้เองมีการตีความหมายได้ในหลายทาง ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ กิจกรรมจึงมีจุดประสงค์ที่จะทำให้มุมมองต่อความคาดหวังของนักเรียนและครูช่วยพัฒนา Growth mindset ของนักเรียนภายในห้องเรียนครับ

ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมมีดังนี้

  1. ชวนนักเรียนร่วมพูดคุยเกี่ยวกับความหมายของความคาดหวัง
  2. สอบถามมุมมองของนักเรียนกับ "ความคาดหวัง" สำหรับนักเรียนแล้วคำนี้มีความหมายในเชิงบวกหรือเชิงลบ
  3. เล่าเรื่องจากวิจัยของคุณโรเบิร์ต โรเซนธาล (Robert Rosenthal)
  4. งานวิจัยนี้ได้จัดให้นักศึกษาที่เข้าร่วมวิจัยได้รับหนูสำหรับการวิ่งในเขาวงกต
  5. นักศึกษา 2 กลุ่มได้รับข้อมูลที่แตกต่างกัน กลุ่มหนึ่งได้รับข้อมูลว่าหนูของพวกเขาเป็น "นักวิ่งเขาวงกต" ในขณะที่อีกกลุ่มได้รับข้อมูลว่าหนูของพวกเขาเป็น "จอมหลงเขาวงกต"
  6. หลังจากผ่านการเลี้ยงดู นักวิจัยก็ได้ให้หนูทั้งสองกลุ่มมาแข่งกันวิ่งเขาวงกตกัน
  7. ชวนนักเรียนตั้งสมมติฐานจากข้อมูลข้างต้น หนูกลุ่มไหนจะวิ่งออกจากเขาวงกตได้ไวกว่ากัน
  8. จากนั้นทำการเฉลยว่าหนูกลุ่ม "นักวิ่งเขาวงกต" วิ่งออกจากเขาวงกตได้ไวกว่าจริง ๆ ตามข้อมูลที่นักศึกษาได้รับ
  9. สิ่งมหัศจรรย์ของการทดลองนี้คือ จริง ๆ แล้วหนู 2 กลุ่ม ไม่ได้มีความแตกต่างกันตั้งแต่ต้น แต่ความคาดหวังของนักศึกษาที่ได้รับข้อมูลต่างหาก ที่ทำให้พฤติกรรมของนักศึกษาและหนูมีความแตกต่างกัน
  10. สิ่งนี้เรียกว่าปรากฎการณ์ความคาดหวังสร้างความจริง (Self fulfilling prophecy)
  11. พูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับปรากฎการณ์ดังกล่าว
  12. พูดคุยกับนักเรียนในประเด็นว่า "หากหนูฉลาดขึ้นได้เพราะความคาดหวัง นักเรียนเองก็สามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้นจากความคาดหวังเช่นเดียวกัน" ความคาดหวังทั้งจากตัวเองและจากผู้อื่น ไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป เพียงแต่ว่าความคาดหวังที่ดีควรมีพื้นที่ให้เกิดความล้มเหลวด้วย ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์พร้อม หากนักเรียนเรียนรู้ที่จะคาดหวังในกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ ความคาดหวังจะเป็นพลังให้กับนักเรียนในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้อีกมาก
  13. ชวนนักเรียนตั้งเป้าหมายต่อการเรียนรู้ของตนเอง ผ่านการเว็บไซต์ https://padlet.com/
  14. ชวนคุยเรื่อง เป้าหมาย คะแนน และความทุ่มเท
  15. หลายครั้งเราตั้งความหวังไปที่ผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ ยกตัวอย่างเช่น การอยากได้คะแนนเยอะ ๆ หรือการอยากได้อันดับ 1 ซึ่งสุดท้ายเป้าหมายดังกล่าวเป็นเป้าหมายที่ไม่แน่นอน ไม่สามารถเห็นความคืบหน้าของตัวเองได้
  16. แต่หากเราตั้งเป้าหมายเป็นความพยายามและทุ่มเท เป้าหมายลักษณะนี้จะสามารถเห็นความคืบหน้าและวางแผนในการพัฒนาได้ง่ายกว่า ฉะนั้นห้องเรียนของเราจะเน้นการชื่นชมที่ความพยายามมากกว่าผลลัพธ์ที่คาดการณ์ไม่ได้ แม้คะแนนสอบจะเป็นอย่างไรจะน้อยหรือมาก แต่ความพยายามของเราจะมีความหมายในห้องเรียนนี้เสมอ
  17. ชวนคุยเรื่องการทุจริตการสอบ
  18. การทุจริตการสอบคือการไม่เคารพความพยายามของตัวเอง เพื่อน ๆ รวมถึงความพยายามในการสอนของครูด้วย ดังนั้นการทุจริตการสอบเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้
  19. ครูเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เรามาพยายามเพื่อการเรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ
  20. ความคาดหวังของครู
  21. เมื่อนักเรียนได้ตั้งความคาดหวังไว้แล้ว ครูเองก็ควรตั้งความคาดหวังไว้เช่นกัน เพื่อส่งเสริมให้สิ่งที่คาดหวังนั้นเกิดขึ้นภายในห้องเรียน
  22. บอกความคาดหวังของตัวเราเองกับนักเรียน

จากการใช้กิจกรรมในห้องเรียนพบว่านักเรียนแต่ละคนล้วนมีความคาดหวังที่ตัวเองและครอบครัวคาดหวังไว้ แต่ไม่มีโอกาสในการสังเกตว่าความคาดหวังเหล่านั้นทำงานยังไงกับตัวเองบ้าง การเรียนรู้มุมมองและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคาดหวังจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นักเรียนมั่นใจในการทำสิ่งต่าง ๆ และช่วยพัฒนา Growth mindset แก่นักเรียนมากขึ้นอีกด้วย

กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ The growth mindset coach ของสำนักพิมพ์ Bookscape ในส่วนของงานวิจัย และแนวคิดในการพัฒนา Growth mindset ของนักเรียน เนื้อหานี้เป็นเพียงบางส่วนของหนังสือเท่านั้นหากคุณครูท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อได้จากเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์เลยครับ https://bookscape.co/

หลังจากสอนเรื่องนี้มุมมองของผมต่อวลี "เพราะไม่คาดหวังจึงไม่ผิดหวัง" เปลี่ยนแปลงไปมาก

เพราะชีวิตทุกคนล้วนเติบโตผ่านความสำเร็จและความผิดหวังกันทั้งนั้น งั้นเรามาคาดหวังกันเถอะครับ มาเติบโตไปด้วยกัน