จงอธิบายกลยุทธ์ภายใต้

การวิเคราะห์กลยุทธ์เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์การ โดยทำการวิเคราะห์ปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายนอก และปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายในที่มีผลกระทบและอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการการบริหารขององค์การ แม้ว่าสภาพแวดล้อมรอบองค์การจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามพลวัตของสังคม แต่ผลการวิเคราะห์อาจช่วยให้พอต่อการกำหนดทิศทางการบริหารองค์การ ให้เกิดประสิทธิผลได้พอสมควร

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก(External Environmental Analysis)

เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลลัพธ์ต่อการเป็นโอกาส(Opportunities: O) และข้อจำกัดหรืออุปสรรค์ (Threats: T) ต่อการจัดการ

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน(Internal Environmental Analysis)

เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลทำให้ทราบจุดแข็ง(Strengths: S) และจุดอ่อน (Weakness: W) ขององค์การ

การวิเคราะห์SWOT เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาค่านำหนักการมีผลกระทบของปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทั้ง 4 ด้านโดยใช้ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตาม SOWT Matrix: ซึ่งแสดงได้ในการจัดทำกราฟ โดยการหาจุดตัดค่าน้ำหนักและหาพื้นที่ใต้กราฟและอธิบายความหมายในรูปพรรณนาความตามแนวทางของ SWOT Matrix โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • กำหนดค่าคะแนนของปัจจัยทุกด้านดังนี้  ผลกระทบด้าน โอกาส(O)และ จุดแข็ง(S)ให้ค่าน้ำหนักดังนี้ มาก ให้ +3 คะแนน  ปานกลาง ให้ + 2 คะแนน น้อย ให้+ 1 คะแนน  ผลกระทบด้านอุปสรรค(T) และจุดอ่อน (W) ให้ค่าคะแนนดังนี้ มาก ให้ -3 ปานกลาง ให้ -2  น้อย ให้ -1
  • นำปัจจัยทุกด้านเขียนใส่ไว้ในตารางของแต่ละด้านคือ ตารางโอกาส ตาราง อุปสรรค ตารางจุดแข็ง  ตารางจุดอ่อนแล้วกำหนดค่าน้ำหนักตามผลการประชุมลงมติของสมาชิกทุกคนในองค์การ
  • หาค่าเฉลี่ยของค่าน้ำหนักของปัจจัยแต่ละด้าน(จะได้ค่าคะแนนระหว่าง 1-3 ) นำค่าน้ำหนักเฉลี่ยแต่ละด้านไปกำหนดจุดตัดในกราฟ คือ จุด SO จุด ST  จุด WT   จุด OW  ลากเส้นตรงเชื่อมทั้ง 4 จุด
  • หาพื้นที่ใต้กราฟ ของ SO   ST    WT    OW ว่าพื้นที่ใดมากกว่าแสดงว่าองค์การมีสถานะอย่างไรตามผลการพยากรณ์ดังนี้
    • อยู่ในพื้นที่ SO เรียกว่าอยู่ในสถานะที่เป็นดาวรุ่ง (Star) การบริหารจัดการควรมุ่งไปข้างหน้าให้สูงที่สุดตามศักยภาพขององค์การ
    • อยู่ในพื้นที่ ST เรียกว่าอยู่ในสถานะป้องกันตนเองหรือวัวแม่ลูกอ่อน (Cash cow) ที่องค์การมุ่งเน้นใช้จุดแข็งของตนเองในการปกป้องภารกิจ
    • อยู่ในพื้นที่ WT เรียกว่าอยู่ในสถานะถดถอย (Dogs) ที่องค์การต้องมีการทบทวนภารกิจขององค์การ ว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร
    • อยู่ในพื้นที่ OW เรียกว่าอยู่ในสถานะที่ต้องพลิกฟื้น (Question) ที่องค์กรต้องทำการปรับปรุงภารกิจ

การกำหนดทิศทางของการบริหารองค์กรจากผลการวิเคราะห์ SWOT

โดยนำคำพยากรณ์มากำหนด เป็นวิสัยทัศน์ (Vision) พันธะกิจ (Mission) และเป้าประสงค์ (Goal) ขององค์การ

วิสัยทัศน์  คือภาพขององค์การตามภารกิจที่คิดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินการแล้ว ระยะเวลาหนึ่งเป็นข้อความ สั้น กะทัดรัด  ครอบคลุมและเป็นที่เข้าใจตรงกันของผู้มีส่วนได้เสียขององค์การว่าจะเป็นเช่นนั้น

พันธะกิจ  คือเงือนไขภารกิจที่ต้องดำเนินการเพื่อให้องค์การประสพผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์

เป้าประสงค์  คือสภาพความสำเร็จที่คาดหวังของภารกิจตามตัวชี้วัดสำคัญ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประการคือ

  1. วัตถุประสงค์ (Objective)
  2. เป้าหมาย (Target)
  3. นโยบายขององค์การ (Organization Policy)

การกำหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation)

กลยุทธ์สามารถกำหนดได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

  1. กลยุทธ์ระดับองค์การหรือกลยุทธ์ระดับแผนงาน (Corporate  Strategy)
  2. กลยุทธ์ระดับหน่วยงานหรือกลยุทธ์ระดับโครงการ (Business Strategy)
  3. กลยุทธ์ระดับหน่วยปฏิบัติการหรือกลยุทธ์ระดับกิจกรรม(Function Strategy)
    ในระดับสถานศึกษาสามารถกำหนดได้ดังนี้
    • กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา (แผนงานตามมาตรฐานทั้ง 5 ด้านของมาตรฐานการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • กลยุทธ์ระดับกลุ่มงาน/กลุ่มสาระ (โครงการ/แผนการจัดการเรียนรู้)
    • กลยุทธ์ระดับการสอน/ปฏิบัติการ (กิจกรรมในโครงการ/กิจกรรมการเรียนรู้ตามแผน)

การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation)

การเตรียมการวางแผน (Pre- Plan)

การเตรียมการวางแผนถือเป็นขั้นต้อนที่สำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ เพราะเป็นการเตรียมข้อมูลสารสนเทศต่างๆหลังทราบผลการวิเคราะห์ SWOT จนทราบทิศทางการบริหารองค์การแล้ว มีการกำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัด วัตถุประสงค์ของแต่ละตัวชี้วัด เป้าหมายและนโยบายขององค์กร พร้อมสารสนเทศอื่นๆที่จำเป็น และมีการประชุมประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบตรงกันก่อนนำไปสู่การวางแผนต่อไป

Strategy หรือกลยุทธ์เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจเพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมายและกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถแบ่งออกมาได้เป็น 3 ระดับของการออกแบบกลยุทธ์ได้แก่ กลยุทธ์ระดับองค์กร กลยุทธ์ระดับธุรกิจ และกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ โดยแต่ละระดับจะใช้สำหรับการวางแผนในแต่ละส่วน เพื่อให้ครอบคลุมกับการทำงานของทั้งองค์กร

จงอธิบายกลยุทธ์ภายใต้

ระดับที่ 1 กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Strategy)


คือการมองภาพรวมเพื่อกำหนดเป้าหมายหลักขององค์กรและทิศทางในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกันได้แก่

จงอธิบายกลยุทธ์ภายใต้

  • Growth – กลยุทธ์เพื่อเน้นการเติบโตด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การขยายตลาด การร่วมพันธมิตร เป็นต้น
  • Stability – กลยุทธ์แบบคงตัวที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงหรือลงทุนอะไรเพิ่มเติม แต่พยายามรักษามาตรฐานผลการดำเนินงานให้คงที่
  • Retrenchment – กลยุทธ์แบบหดตัว ซึ่งมักจะพบในกลุ่มบริษัทที่มีความต้องการที่ลดลง อาทิ กลุ่มธนาคารเมื่อมีการเข้ามาของ FinTech ทำให้สาขาส่วนใหญ่จำเป็นต้องปิดตัวลงและให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น

ระดับที่ 2 กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy)


การสร้างจุดแข็งทางการแข่งขันในธุรกิจเพื่อที่จะให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีการเติบโต การสร้างธุรกิจหลักใหม่ การระบุเครื่องมือใหม่ของการทำงาน การจัดสรรทรัพยากรและการบรรลุประสิทธิภาพด้านต้นทุน ซึ่งจะพบบ่อยครั้งได้แก่ 5 กลยุทธ์ดังนี้

จงอธิบายกลยุทธ์ภายใต้

  • Cost Leadership – กลยุทธ์สร้างราคาต้นทุนที่ต่ำกว่า เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ในราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งในตลาด และก้าวเป็นผู้ที่สามารถกำหนดราคาสินค้าในตลาดได้
  • Differentiation – กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ด้วยการหา Positioning ใหม่ขององค์กรที่ยังไม่มีคู่แข่งอยู่หรือลงไปเล่นด้วยมากนัก เพื่อให้ดึงดูดความสนใจและเจ้าะกลุ่มลูกค้าใหม่ได้
  • Customer Centric – กลยุทธ์การปรับตัวตามความต้องการของลูกค้าผ่านการเอาลูกค้าเป็นที่ตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือออกแบบบริการให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อยู่เสมอ
  • Niche Market – กลยุทธ์การเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มด้วยการกำหนดกลุ่มลูกค้าที่มีความเฉพาะ ไม่จำเป็นต้องขายทุกคนบนโลก แต่เลือกเฉพาะกลุ่ม ซึ่งข้อดีคือจะทำให้องค์กรของเรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้อย่างชัดเจน และไม่จำเป็นต้องแข่งกับองค์กรอื่นมากนัก
  • Cost Focus – กลยุทธ์ที่เป็นการประยุกต์รวมกันของ Cost Leadership และ Niche market ที่เน้นขายให้กับกลุ่มที่เฉพาะเจาะจงกว่าในต้นทุนที่ต่ำ เช่น สายการบินราคาประหยักสำหรับนักศึกษา

ระดับที่ 3 กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Operational Strategy)


การพัฒนาการทำงานของภายในองค์กรเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเร็ว ประสิทธิภาพและการบริหารต้นทุน รวมไปถึงการระบุและจัดลำดับความสำคัญของการริเริ่มการปรับปรุงการดำเนินงานให้เกิดความพร้อมขององค์กร ซึ่งกลยุทธ์ระดับนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละหน้าที่ เช่น

จงอธิบายกลยุทธ์ภายใต้

  • Implementation (ฝ่ายปฏิบัติการ) – กลยุทธ์เพื่อการพัฒนาสายผ่านการผลิตให้ได้ผลผลิตที่รวดเร็วควบคู่ไปกับคุณภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับการจัดลำดับความสำคัญ การพัฒนาความคิดริเริ่มการเปลี่ยนแปลง และการวางแผนพัฒนาการเปลี่ยนแปลง
  • Marketing (การตลาด) – กลยุทธ์เพื่อการวางแผน Brand positioning และ Brand identity เพื่อให้เป็น Top-of-mind ในตลาด รวมถึงการบริหารค่าใช้จ่ายให้คุ้มค่ากับการลงทุน (Return on Investment)
  • Financial (การเงิน) – กลยุทธ์เพื่อการบริหารจัดการกระแสเงินสดซึ่งเปรียบเสมือนกับเส้นเลือดของธุรกิจอย่างไรให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย รวมไปถึงการมองหาโอกาสของแหล่งเงินทุน เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น

การสร้างกลยุทธ์ที่ดีในปี 2021 คือการช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ขับเคลื่อนการเติบโตโดยการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ และผสานความเชี่ยวชาญในท้องถิ่นเข้ากับเครื่องมือเทคโนโลยี พร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการปรับปรุงเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน