อุปกรณ์ที่ใช้สัญญาณดิจิตอล

อุปกรณ์ที่สำคัญในการสื่อสารข้อมูล

โมเด็ม (Modem) 

อุปกรณ์ที่ใช้สัญญาณดิจิตอล
        
อุปกรณ์ที่ใช้สัญญาณดิจิตอล

      เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก โดยเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับช่องทางการสื่อสาร กล่าวคือคอมพิวเตอร์จะประมวลผลลัพธ์ออกมาในรูปของดิจิตัล เมื่อต้องการส่งข้อมูลนี้ไปบนช่องทางการสื่อสาร เช่น ต่อเชื่อมผ่านทางสายโทรศัพท์ โมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อส่งผ่านไปบนสายโทรศัพท์ ในทางกลับกันเมื่อข้อมูลจากที่อื่นส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โมเด็มก็จะแปลงสัญญาณแอนะล็อกนั้นมาเป็นสัญญาณดิจิตัล เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าใจได้

ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater) 

อุปกรณ์ที่ใช้สัญญาณดิจิตอล

เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่องเมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น

สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge) 

อุปกรณ์ที่ใช้สัญญาณดิจิตอล
    
อุปกรณ์ที่ใช้สัญญาณดิจิตอล

เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลงและติดตั้งง่าย

เร้าเตอร์ (Router) 

อุปกรณ์ที่ใช้สัญญาณดิจิตอล

เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่อ หรือสายสัญญาณต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูลแบบ ยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล (Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือก หรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่งแน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น

อ้างอิงจาก http://www.baanjomyut.com/

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

ปัจจุบันรูปแบบการเชื่อมต่อของสัญญาณชนิดต่างๆ บนอุปกรณ์กลุ่มเครื่องเสียงกลางแจ้ง ระบบชุดประชุม สายงานบรอดคาสต์ และสตูดิโอ เริ่มมีความหลากหลายยิ่งขึ้น ยุคนี้ถือเป็นยุคดิจิตอล โดยระบบดิจิตอลได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของคนทุกวงการหลายปีมาแล้ว และทำให้รูปแบบการสื่อสาร การเชื่อมต่อบางประเภทเริ่มหายไป ซึ่งก็คือระบบอะนาล็อก เราลองมาทำความรู้จักชนิดหรือรูปแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ว่ามีอะไรบ้าง

ประเภทของสัญญาณ

แม้ยุคนี้ถือเป็นยุคดิจิตอล แต่ระบบการสื่อสารและการเชื่อมต่อสัญญาณยังไม่ได้เป็นดิจิตอล 100% ยังมีอุปกรณ์บางชนิด หรือรูปแบบการเชื่อมต่อบางอย่างยังเป็นอะนาล็อกอยู่ ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของสัญญาณที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  • สัญญาณอะนาล็อก
  • สัญญาณดิจิตอล

อุปกรณ์ที่ใช้สัญญาณดิจิตอล

สัญญาณอะนาล็อกถือเป็นสัญญาณเก่าแก่ที่โลกใช้กันมานานมาก แม้บางอย่างถูกทดแทนด้วยดิจิตอลไปแล้วก็ตาม แต่บางอย่างดิจิตอลยังไม่สามารถทดแทนอะนาล็อกได้ อย่างไรก็ดี สัญญาณอะนาล็อกนั้นมีข้อด้อยหลายอย่าง จึงเริ่มได้รับความนิยมน้อยลง ด้วยข้อด้อย/ข้อจำกัดดังนี้

1. สัญญาณอะนาล็อกมีการรบกวนสูง ในกรณีที่ใช้สายสัญญาณยาวมากไป ไม่ว่าจะเป็นชนิดสายสัญญาณแบบ TRS, TS และ XLR ก็ตาม มักจะเกิดสัญญาณรบกวนปะปนเข้ามา และหลีกเลี่ยงได้ยากมาก แม้สัญญาณอะนาล็อกบางชนิดจะมีกระบวนการลดทอนการรบกวนให้น้อยลงได้ แต่ก็ทำได้ไม่หมด เพราะหากใช้สายยาวมากๆ เช่นยาวเกินกว่า 100 เมตรจะเริ่มเกิดสัญญาณรบกวนมากขึ้น และจะเกิดการสูญเสียของสัญญาณมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ปลายทางได้รับสัญญาณด้อยคุณภาพ

2. ต้องใช้สายจำนวนมาก การเชื่อมต่อในระบบงานคอนเสิร์ต ระบบชุดประชุม บรอดคาสต์ การบันทึกเสียงแสดงสด และในสตูดิโอ หากมีการใช้ไมโครโฟนจำนวน 20 ตัว จำเป็นต้องใช้มิกเซอร์หรือเครื่องผสมสัญญาณเสียงไม่น้อยกว่า 24 แชนแนล หากมิกเซอร์วางอยู่ห่างเวทีหรือผู้พูดระยะ 60 เมตร จำเป็นต้องใช้สาย 20 เส้น เส้นละ 60 เมตร ทำให้มีค่าใช้จ่ายเรื่องสายสูงมาก หากต้องการประหยัดงบก็ต้องใช้สายอะนาล็อกที่เรียกว่า “สายมัลติคอร์” รวมถึงการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเอฟเฟ็กต์ โพรเซสเซอร์ต่างๆ ก็ต้องใช้สายตามจำนวนช่องสัญญาณที่ใช้งานจริง

สัญญาณอะนาล็อก

เราสามารถพบรูปแบบการเชื่อมต่อสัญญาณอะนาล็อก 4 ชนิดนี้ ได้ตามมิกเซอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับข้องสัญญาณเสียง โดยทั้งหมดถูกแยกประเภทสัญญาณเป็น Balanced และ Unbalanced ข้อดีของสายแบบบาลานซ์คือสัญญาณรบกวนต่ำ ส่งได้ไกลกว่า ตัวพื้นฐานจะมีตัวนำสัญญาณ 3 สาย ทำให้ขั้วต่อมี 3 ขั้วหรือ 3 สาย เช่น XLR และ TRS ปัจจุบันพบ XLR7 ซึ่งขั้วต่อชนิดนี้มีถึง 7 ขา ส่วนอันบาลานซ์คือสัญญาณ ที่มี 2 ขั้วสัญญาณ คือ Hot และ Ground เช่นสายลำโพง สายสัญญาณเครื่องดนตรี สายสัญญาณโมโน

  • TS – ย่อมาจาก Tip Sleeve เป็นสายอะนาล็อกมีรูปแบบการเชื่อมต่อ Unbalanced ประกอบด้วย 2 ขั้วต่อคือ ตัวนำสัญญาณและกราวน์ จัดเป็นสัญญาณโมโน พบได้ในสายเครื่องดนตรีพวกกีตาร์ ช่องอินพุตของมิกเซอร์ และเอฟเฟ็กต์ต่างๆ สาย Line มีขนาด 1/4 และ 1/8 นิ้ว คำแนะนำ การใช้งานไม่ควรเกินระยะ 5 เมตร หากใช้สายยาวจะเกิดปัญหาจี่ฮัมได้
  • TRS – ย่อมาจาก Tip Ring Sleeve เป็นสายอะนาล็อกมีรูปแบบการเชื่อมต่อเป็น Balanced มักเรียกกันว่า “แจ็คโฟน” สามารถส่งสัญญาณได้ทั้งแบบโมโนและสเตริโอ มีขนาด 1/4 นิ้ว และ 1/8 นิ้ว ใช้งานได้กว้าง ทั้งแจ็คหูฟัง แจ็คแปลงสัญญาณ และยังมีอีกชนิดคือ TRRS เป็นขั้วต่อหูฟังของสมาร์ทโฟนเช่น iPhone
  • XLR – เป็นสายประเภท Balanced มีขั้วต่อตั้งแต่ 3 ขั้วจนถึง 7 ขั้ว นำไปใช้งานได้หลากหลายทั้งเสียง แสง และใช้ส่งสัญญาณควบคุม ข้อดีคือมีสัญญาณรบกวนต่ำ สามารถใช้สายได้ยาวกว่าการต่อแบบ TS ถึง 7-8 เท่า โดยที่สัญญาณรบกวนยังต่ำ ภายในมีขั้ว Hot , Cold , Ground ถูกใช้เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมแสง เสียง ภาพ สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 30-40 เมตร พบได้ทั้งบนตัวมิกเซอร์ ลำโพงที่มีเครื่องขยายเสียงในตัว และอื่นๆ อีกมากมาย
  • RCA – เป็นสายที่พบได้บ่อยในเครื่องเล่นเสียงต่างๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีระบบสเตริโอ ทั้งในบ้านและระบบเสียงกลางแจ้ง แบ่งเป็น 2 ขั้ว (ขาว-แดง) จัดเป็นสัญญาณประเภทอันบาลานซ์ สามารถส่งสัญญาณเป็นสเตริโอได้ นิยมใช้ความยาวสายสั้นๆ

สัญญาณดิจิตอล

อุปกรณ์ในระบบเสียงดิจิตอลมีกระบวนการบางอย่างแตกต่างไปจากระบบอะนาล็อก สิ่งหนึ่งที่ได้เปรียบสัญญาณอะนาล็อกคือ สัญญาณรบกวนจะต่ำกว่า แม้ว่าจะมีการใช้สายสัญญาณยาวๆ ก็ตาม เพราะในระบบจะมีการกู้คืนค่าสัญญาณหรือชดเชยสัญญาณปลายทางให้ รวมถึงเราสามารถลดจำนวนของสายสัญญาณลงได้ เพราะรูปแบบการส่งข้อมูลของดิจิตอลจะมีเฉพาะเลข 0 และ 1 ไม่ได้เป็นสัญญาณโวลเตจแบบอะนาล็อก ซึ่งมีค่าคงที่กว่า

สายเพียงเส้นเดียวในหนึ่งวินาทีสามารถส่งข้อมูลได้เป็นพันล้านเลข เช่นสัญญาณเสียง 100 แชนแนล ด้วยระบบดิจิตอลเราสามารถส่งผ่านสาย 1 เส้นได้ รวมถึงการบริหารจัดการก็ทำได้คล่องตัวกว่า อย่างไรก็ดี สายสัญญาณดิจิตอลบางชนิดส่งข้อมูลได้จำกัด นั่นเป็นเพราะข้อจำกัดทางเทคโนโลยีเหล่านั้น อาทิ S/PDIF, AES จะมีความแตกต่างกับการเชื่อมต่อสัญญาณเสียงผ่านสาย LAN การเชื่อมต่อสัญญาณดิจิตอลที่ควรรู้มีดังนี้

  • S/PDIF – เป็นรูปแบบการส่งสัญญาณดิจิตอลรุ่นเก่าแก่ มาจากคำว่า Sony/Philips Digital Interface ใช้งานคล้ายกับ RCA แต่เป็นคนละชนิด ข้อดีคือสัญญาณรบกวนต่ำกว่า RCA ใช้สายสัญญาณสั้นๆ ข้อควรระวังคือใช้แทน RCA ไม่ได้
  • AES/EBU – เป็นรูปแบบการส่งสัญญาณดิจิตอล ในรูปแบบหนึ่ง รองรับการส่งได้ไกล หากเลือกใช้สายคุณภาพดี สามารถส่งข้อมูลได้ไกลถึง 100 เมตรเลยทีเดียว ทำงานได้ทั้งในลักษณะ Balanced (110 โอห์ม) และ Unbalanced (75 โอห์ม)
  • MADI –  เป็นชนิดการส่งสัญญาณดิจิตอล ที่สามารถส่งข้อมูลเสียงได้สูงสุด 64 แชนแนล ซึ่งจำเป็นต่องานแสดงสด ที่มีการใช้สายยาวไม่เกิน 100 เมตร สามารถพบได้ในมิกเซอร์แบรนด์ดัง อาทิ Yamaha, Soundcraft, DiGiCo และโพรเซสเซอร์อย่าง KLARK TEKNIK และอื่นๆ
  • Dante – เป็นรูปแบบการส่งข้อมูลเสียงแบบดิจิตอลในลักษณะ Over IP พัฒนาโดยบริษัท Audinate ขาย license ไปแล้วกว่า 350 บริษัท มีอุปกรณ์นับพันที่รองรับ Dante ปัจจุบันได้รับความนิยมสูง เนื่องจากใช้งานง่าย อุปกรณ์รองรับแพร่หลาย ระบบมีความน่าเชื่อถือสูง ให้คุณภาพเสียงในระดับอาชีพ  สามารถส่งสัญญาณเสียงนับ 100 แชนเนลผ่านสาย LAN เพียงเส้นเดียว
  • ADAT – เป็นรูปแบบการส่งสัญญาณเสียงดิจิตอลที่พัฒนาโดย Alesis รับส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลแบบไฟเบอร์ออปติกได้สูงสุด 8 แชนเนล มีอุปกรณ์เครื่องเสียงจำนวนมากรองรับ
  • CobraNet – เป็นรูปแบบการส่งสัญญาณเสียงดิจิตอลแบบ Over IP คล้ายกับ Dante เน็ตเวิร์ก แต่ปัจจุบันความนิยมยังเป็นรอง Dante เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่อง Double Bandwidth ที่เป็นสถาปัตยกรรมของตัวมันเอง มีค่า Latency สูงกว่า Dante
  • EtherSound – คล้ายกับ CobraNet คือรับส่งข้อมูลได้ 64 แชนแนล กรณีต้องการจำนวนแชนแนลมากกว่านั้น จะต้องสร้างเครือข่ายขึ้นมาอีกหนึ่งวง LAN ซึ่งมีความยุ่งยากกว่า

สรุป

ในยุคดิจิตอลเราไม่สามารถปฎิเสธความก้าวหน้าเทคโนโลยีได้ เราต้องอยู่กับมัน โดยเฉพาะปัจจุบันการส่งสัญญาณเสียงนั้น ไม่ได้ถูกจำกัดการส่งเฉพาะบนสายอะนาล็อกแบบเดิมๆ เพราะสัญญาณเสียงนั้นสามารถส่งผ่านระบบเน็ตเวิร์กได้ อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวของผู้ที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางด้านสายคอมพิวเตอร์ แต่ควรศึกษาไว้ เพื่อช่วยให้กระบวนการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานหรือองค์กรของท่าน

อุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณดิจิตอลคืออะไร

modem. โมเด็ม, อุปกรณ์ช่วยในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งออกไปเป็นสัญญาณแอนะล็อก จากนั้นจะแปลงกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลเมื่อสัญญาณถูกส่งถึงผู้รับ โดยใช้เทคนิคการบีบอัดข้อมูลร่วมกับการแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งสัญญาณด้วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] cable modem.

อุปกรณ์ชนิดใดใช้สัญญาณแอนะล็อก

1.โมเด็ม (Modem) โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิ ตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร

สัญญาณ Digital ประกอบไปด้วยสิ่งใดบ้าง

2. สัญญาณแบบ Digital จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือสัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาระดับต่ำสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพและ ความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบ Analog เนื่องจากมีการใช้งานเพียง 2 ค่าเพื่อน่ามาตีความหมายเป็น On/Off หรือ 1/0 เท่านั้นซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้ จะเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกันใน ...

อุปกรณ์ใดใช้แปลงสัญญาณ Digital และ Analog

โมเด็มเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ที่เป็นรูปแบบดิจิทัล ให้อยู่ในรูปแบบอนาล็อก ( analog) หรือคลื่น ที่สามารถส่งไปได้ตามสายโทรศัพท์ และทำการส่งไปยังเครื่องปลายทาง ก่อนที่เครื่องปลายทางซึ่งมีโมเด็มอยู่เช่นกัน จะทำการแปลงสัญญาณจากรูปแบบอนาล็อกที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจได้ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล