หลักธรรมทาง พระพุทธ ศาสนา เกี่ยวกับการศึกษา

หมายถึง ความซื่อสัตย์ซื่อตรง การตั้งมั่นในความสัตย์ ปฏิบัติอย่างซื่อตรงย่อมทำให้ผู้น้อมนำหลักธรรมสู่ชีวิตจะกลายเป็นผู้ที่ได้รับความนับถือ ได้รับความไว้วางใจทั้งจากเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนถึงผู้คนที่อยู่รอบตัวอีกทั้งความซื่อสัตย์ไม่คดโกงนั้นยังช่วยคุ้มครองให้พ้นจากข้อติคำครหาอันเป็นเหตุแห่งความล้มเหลวในหน้าที่การงานได้

หมายถึง การข่มจิตข่มใจ การรู้จักระงับอารมณ์เมื่อมีความไม่พอใจเกิดขึ้น เป็นหลักธรรมที่สำคัญยิ่งโดยเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นหรือทำงานเป็นทีม การระงับข่มอารมณ์เกรี้ยวกราดก้าวร้าวนี้จะช่วยไม่เกิดความขุ่นของหมองใจต่อกัน ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันหรือทำงานร่วมกันได้โดยราบรื่นและประสบความสำเร็จได้

หมายถึง ความอดทนอดกลั้น เป็นหลักธรรมสำคัญต่อทุกความสำเร็จ เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องหน้าที่การงาน การศึกษาเล่าเรียน หรือการประกอบกิจประการใดก็ล้วนจะต้องพบเจอกับปัญหาและความยากลำบาก การฝึกตนให้เป็นผู้มีขันติจึงช่วยให้สามารถฝ่าฟันผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ และก้าวสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด

หมายถึง ความเสียสละ ความเสียสละนี้เป็นธรรมข้อสำคัญในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่จำเป็นต้องทำร่วมกับผู้อื่นหากผู้ร่วมงานทุกคนต่างปราศจากความเสียสละ ไม่ลงทุนลงแรง ไม่ยอมปิดทองหลังพระเสียบ้าง การงานนั้นก็ย่อมบกพร่อง และคงประสบความสำเร็จโดยสมบูรณ์ไม่ได้

อิทธิบาท 4

อิทธิบาท คือ หลักธรรมแห่งความสำเร็จอันประกอบไปด้วยธรรม 4 ประการ ได้แก่

หมายถึง ความฝักใฝ่ ตั้งมั่น และมีกำลังใจในสิ่งที่ทำโดยไม่ทะเยอทะยานจนเกินเหตุ การน้อมนำหลักธรรมนี้มาใช้ย่อมจะทำให้เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น มีเรี่ยวกายแรงใจในการทำหน้าที่การงานอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จได้

หมายถึง ความขยันหมั่นเพียร เป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะทำกิจการใดก็ตามหากตั้งมั่นอยู่ในความขยันหมั่นเพียรด้วยจิตใจอันไม่ย่อท้อ ก็สามารถจะทำให้สิ่งที่ทำอยู่นั้นดำเนินไปได้อย่างราบรื่น แม้จะมีอุปสรรคผ่านเข้ามา ความเป็นผู้เพียบพร้อมในธรรมแห่งวิริยะนี้ก็จะช่วยให้สามารถฝ่าฟันจนผ่านพ้นไปได้

หมายถึง สมาธิ การมีสมาธิทำให้จิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำหรือสิ่งที่คิด โดยไม่วอกแวกไปกลุ้มกังวลอยู่กับเรื่องอื่น การจดจ่อในสิ่งที่ทำย่อมทำให้ผลงานที่เกิดขึ้นมีคุณภาพ เพราะเกิดมาจากการพิจารณาไตร่ตรองโดยถี่ถ้วนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ จิตตะยังหมายถึงการไม่ละทิ้งต่อหน้าที่ ซึ่งก็สามารถอธิบายได้ในความหมายที่คล้ายคลึงกับสมาธินั่นเอง

หมายถึง ความมีปัญญาและเหตุผลธรรมข้อนี้เป็นหลักสำคัญในการกระทำสิ่งทั้งปวง เพราะหากตั้งมั่นอยู่ในสติปัญญาและความมีเหตุมีผลแล้วก็ทำไม่เกิดความผิดพลาด แม้จะต้องเผชิญกับปัญหา ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยความสุขุม ตรงจุด จนปัญหานั้นบรรเทาเบาบางลง และสามารถมุ่งเดินไปสู่เป้าหมายได้โดยราบรื่น

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ คือ หลักธรรมอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่นอันประกอบไปด้วยธรรม 4 ประการ ได้แก่

หมายถึง การให้ด้วยจิตใจอันพร้อมเสียสละ การให้นี้เป็นสิ่งสำคัญผูกใจผู้อื่นได้ เพราะจะช่วยให้ผู้รับได้ตระหนักถึงความเอื้อเฟื้อ ความไม่ตระหนี่ถี่เหนียวหรือเป็นผู้เห็นแก่ได้ และเกิดความนับถือในจิตใจอันเสียสละของผู้ให้

หมายถึง การพูดจาด้วยถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวาน การพูดจาด้วยถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวานย่อมทำให้ผู้ฟังรู้ไม่รู้สึกขุ่นข้องหมองใจ และนำมาสู่ความรู้สึกที่เป็นมิตรได้ นอกจากนี้ปิยวาจายังหมายถึงถ้อยคำที่ซื่อสัตย์ซื่อตรง มีความตรงไปตรงมาแต่ไม่ก้าวร้าวหยาบคาย การตั้งมั่นในคำสัตย์นี้ย่อมทำให้ผู้พูดได้รับความไว้วางใจและเป็นที่นับถือ

หมายถึง การสงเคราะห์หรือประพฤติตนในทางที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นธรรมช่วยให้ผู้อื่นรับรู้และซาบซึ้งในความมีน้ำจิตน้ำใจ ทั้งยังพร้อมกลับมาเกื้อกูลต่อกันและกันเมื่อโอกาสมาถึง จึงจะช่วยให้ผู้ที่น้อมนำไปปฏิบัตินั้นประสบสามารถความสำเร็จได้โดยง่ายเพราะมีหมู่มิตรที่คอยเกื้อหนุนจุนเจือซึ่งกันและกันโดยไม่ขาด

หมายถึง การเป็นผู้มีความเสมอต้นเสมอปลาย มีจิตใจอันหนักแน่นไม่โลเล การตั้งมั่นในธรรมข้อนี้ย่อมจะทำให้ผู้อื่นมีความไว้วางใจ และพร้อมยกให้ผู้ปฏิบัตินั้นเป็นผู้นำได้โดยไม่รู้สึกขัดข้องกังขาจึงนับเป็นธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นผู้นำ เป็นเจ้านาย หรือเป็นหัวหน้า ไม่ว่าจะในหน้าที่การงานใดก็ตาม

         กล่าวโดยสรุป การศึกษามีหน้าที่สร้างสรรค์ทั้งสองด้านไปพร้อมกัน คือ การพัฒนาชีวิตบุคคลให้ถึงความสมบูรณ์และสร้างสรรค์อารยธรรมที่ส่งเสริมให้ระบบความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งเจริญงอกงามไปในวิถีทางที่เกื้อกูลกันยิ่งขึ้น ๆ การศึกษาที่แท้คือ การพัฒนาชีวิตบุคคลให้สมบูรณ์พร้อมไปด้วยกันกับการสร้างสรรค์อารยธรรมที่ยั่งยื่น นักการศึกษาที่ยึดมั่นในหลักของพระพุทธศาสนา ก็พยายามพิจารณาตรวจสอบปัญหาต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด ใช้หลักศาสนานำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา เราก็เริ่มเห็นปัญหาและสาเหตุแห่งปัญหาอย่างชัดเจนว่า การศึกษาที่ขาดดุลยภาพเป็นสาเหตุแห่งวิกฤตการณ์ในด้านต่าง ๆ จึงได้หันกลับมาพิจารณากันว่า การจัดการเรียนการสอนในอนาคตมีความจำเป็นต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นจึงมีความเห็นพ้องกันว่าควรจะปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน โดยได้นำเอาหลักการของพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานในด้านการเรียนการสอน ด้วยตั้งความหวังร่วมกันว่า การจัดการเรียนการสอนอันมีพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน เพราะพระพุทธศาสนาเหมาะสมอย่างยิ่งกับสังคมไทย ก็จะก่อให้เกิดดุลยภาพแห่งการศึกษา และการพัฒนาสังคมเพราะพระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่แน่นอนเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เช่น ศีล 5 ก็ควบคุมการ ดำรงชีวิตของแต่ละบุคคลและเชื่อมั่นว่าการศึกษาที่สมดุลและการพัฒนาที่สมบูรณ์ เช่นนี้จะเป็นพลวปัจจัยให้เกิดสังคมที่ปกติสุขที่ มนุษย์ สัตว์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม จะอยู่ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยกันด้วยสันติ บนพื้นฐานแห่งความเมตตาธรรม อันเป็นแกนนำแห่งสัมพันธภาพที่ไร้พรมแดนก็เพราะอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางนำมาซึ่งสุขของสรรพสิ่งทั้งปวง การศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นการศึกษาระบบกัลยาณมิตรระหว่างครูกับศิษย์ ซึ่งในปัจจุบันครูกับศิษย์มีความปฏิสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ห่างกันมาก ครูทำหน้าที่เพียงบรรยาย (สิปปทายก) แล้วก็จบออกไป โอกาสที่ครูและศิษย์จะมีปฏิสัมพันธ์ทางความรู้ก็ไม่มี ซึ่งแตกต่างกับการศึกษาสมัยก่อนแบบตะวันออก เช่น การเรียนแพทย์ แพทย์ที่มีชื่อเสียง เช่น หมอชีวกโกมารภัจจ์ ไปเรียนที่เมืองตักสิลา หลักสูตร 14 ปี ต้องเรียนวิชาการแพทย์ 7 ปี อยู่ปรนนิบัติรับใช้อาจารย์อีก 7 ปี ได้รับการถ่ายทอดความรู้ความประทับใจในจรรยาบรรณต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการแพทย์ รวมทั้งศีลธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาด้วยนี้คือการสอนแบบตะวันออกและเป็นระบบที่ปฏิบัติในพระพุทธศาสนาจนถึงทุกวันนี้ แต่ในปัจจุบัน ระบบกัลยาณมิตรได้พังทลายแล้ว เพราะแนวคิดและค่านิยมแบบตะวันตก และการศึกษาสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทโดยเน้นปรัชญาการศึกษาตามรูปแบบทางตะวันตกมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงวัฒนธรรมพื้นฐานของสังคมไทย ทำให้เกิดการทวนกระแสระหว่างปรัชญาการศึกษาตะวันตกและวัฒนธรรมไทย