หนังสือภายในมีสิ่งที่ส่งมาด้วยไหม

Skip to content

หลักการเขียน “อ้างถึง”

  1. ให้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันมาก่อนแล้วทุกครั้ง โดยให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ และเลขที่หนังสือ วันที่ เดือน ปีพุทธศักราช ของหนังสือนั้น
  2. ให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่เคยติดต่อกันเพียงฉบับเดียว  เว้นแต่มีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมาพิจารณา

หลักการเขียน “สิ่งที่ส่งมาด้วย”

  1. ให้เขียนชื่อสิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร ที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือนั้น
  2. ในกรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกันได้ ให้แจ้งด้วยว่าส่งไปโดยทางใด
    หนังสือภายในมีสิ่งที่ส่งมาด้วยไหม
 การเขียน “อ้างถึง”

ในการเขียนส่วนอ้างถึง จะใช้ในกรณีที่มีการติดต่อกันมาก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นการ เท้าความเดิมหรืออ้างอิงที่มา จะได้ไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก โดยต้องระบุชื่อหน่วยงานที่อ้างถึงชั้นความลับ (ถ้ามี) ชั้นความเร็ว (ถ้ามี) เลขที่หนังสือ ลงวันที่ของหนังสือที่อ้างถึง ตามลำดับ

การเขียนอ้างถึง ในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ ๑๒๓๔.๕/๖๗ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘

การเขียนอ้างถึงที่ระบุชั้นความเร็ว ในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือกระทรวงสาธารณสุข ด่วนมาก ที่ สธ ๑๒๓๔/๕๖ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘

การเขียนอ้างถึงที่ระบุชั้นความเร็ว และชั้นความลับ ตามลำดับในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือกระทรวงสาธารณสุข ลับมาก ด่วนที่สุด ที่ กค ๑๒๓๔/๕ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘

การเขียนอ้างถึงหนังสือของศาลากลางจังหวัด ในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

อ้างถึง หนังสือจังหวัดเชียงใหม่ ที่ ชม ๐๐๐๑/๑๒๓๔ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘
(ไม่นิยม ใส่ศาลากลางจังหวัดเพราะเป็นสถานที่ราชการ)
การเขียน “สิ่งที่ส่งมาด้วย”(หนังสือภายนอก)     

      การเขียนสิ่งที่ส่งมาด้วย  สิ่งที่ส่งมาด้วย ใช้กับหนังสือภายนอก เท่านั้น และต้องระบุจำนวนที่ชัดเจนด้วย
      สำหรับหนังสือภายใน หรือบันทึก จะใช้ เอกสารแนบ

การเขียน “สิ่งที่ส่งมาด้วย” มีวิธีการดังนี้
1. ให้ระบุว่าเป็นเอกสารหรือสิ่งใด จำนวนเท่าใด
2. หากเป็นเอกสาร ควรระบุประเภทว่าเป็นเอกสารอะไร จำนวนเท่าใด
3. ลักษณะนามที่ใช้ให้สะท้อนลักษณะหรือรูปแบบของสิ่งที่ส่งมาด้วยอย่างชัดเจน กรณี เป็นเอกสาร งดใช้ “ฉบับหรือชุด” เพื่อสะดวกแก่การตรวจนับ ดังตัวอย่าง

 สิ่งที่ส่งมาด้วย  ๑. รายงานการประชุม ๕ ส จํานวน ๓ แผ่น
              ๒. โปสเตอร์รณรงค์ ๕ ส จํานวน ๕ แผ่น
              ๓. หนังสือคู่มือ ๕ ส จํานวน ๑ เล่ม

4. ในการเขียนส่วนเนื้อหา หากมีเนื้อความที่กล่าวถึงสิ่งที่ส่งมาด้วย ควรเขียนเชื่อมโยง
ถึงกันเพื่อความชัดเจนด้วย เช่น
     มหาวิทยาลัยขอส่งรายงานการประชุมมาเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๑ โดยขอให้ติดโปสเตอร์รณรงค์ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๒ และหากมีข้อสงสัย

อ้างอิงจาก : 

1.       การเขียนจดหมายราชการ.https://stang.sc.mahidol.ac.th/kb/?p=434 [สืบค้นวันที่ 21 ม.ค. 2562]
2.       เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ. http://www.ubu.ac.th/web/files_up/82f2017 060810445660.pdf [สืบค้นวันที่ 24 เม.ย. 2562]
3.       สำนักงานเลขานุการกรม.คู่มือการเขียนหนังสือราชการของกรมสุขภาพจิต. https://secret.dmh.go.th/news/files/การเขียนหนังสือราชการ.pdf [สืบค้นวันที่ 19 พ.ย. 2562]

คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก  เป็นหนังสือติดต่อ

ภายในกระทรวงทบวงกรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความในการจัดทำ 

                          โครงสร้าง  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ  4 ส่วน 

หัวหนังสือ

ส่วนราชการ...................................................................................

ที่............................................วันที่...............................................

เรื่อง.............................................................................................

(คำขึ้นต้น)..........................................

 
เหตุที่มีหนังสือไป

            (ข้อความ)....................................................................

จุดประสงค์

จึง.................................................................. ....................................................................

 
ท้ายหนังสือ

 (ลงชื่อ)....................................

(พิมพ์ชื่อเต็ม)............................

                                                                                                                   (ตำแหน่ง) ............................   

 

   1. ส่วนราชการ  ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือโดยมีรายละเอียดพอสมควร 

ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมขึ้นไป  ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง

ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับต่ำกว่ากรมลงมา ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกอง

หรือส่วนราชการเจ้าของเรื่อง พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์  โทรสาร (ถ้ามี)  และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (ถ้ามี)

Øกรณีส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรม  (อตส. หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน 

                                                                 หรือผู้รักษาราชการแทน  ลงนาม) 

            กรมตรวจบัญชีสหกรณ์  สำนัก.... โทร. x xxxx xxxx  โทรสาร x xxxx xxxx  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์........ 

Ø กรณีส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกอง  (ผอ.  ลงนาม) 

- ถึงหน่วยงานภายนอก (ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์))

            สำนัก.....  กรมตรวจบัญชีสหกรณ์  โทร. x xxxx xxxx  โทรสาร x xxxx xxxx  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์...... 

- ถึงหน่วยงานในสังกัดกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

            สำนัก........  กลุ่ม/ฝ่าย.....  โทร. x xxxx xxxx  โทรสาร x xxxx xxxx  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์.......... 

Øกรณีส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกลุ่มหรือฝ่าย 

            กลุ่ม/ฝ่าย.....  สำนัก.......  โทร. x xxxx xxxx  โทรสาร x xxxx xxxx  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์.......... 

Øกรณีลงนามโดยคณะทำงาน

            คณะ..........  โทร. x xxxx xxxx  โทรสาร x xxxx xxxx  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์..........   

2. ที่ ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเรื่อง ตามที่กำหนดไว้ทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง  

      ตัวอย่าง

             - หนังสือของสำนักบริหารกลาง กษ 0401/245 

             - หนังสือเวียนที่มีถึงผู้รับจำนวนมาก  โดยมีข้อความอย่างเดียวกัน  ให้เพิ่มรหัสตัวพยัญชนะ

               หน้าเลขทะเบียนหนังสือ เช่น   กษ 0401/ว 771

                 - หนังสือของคณะกรรมการ  ให้กำหนดรหัสตัวพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้ตามความจำเป็น

               หรือใช้ที่ของหน่วยงานระดับกองที่เลขาฯ คณะสังกัด  

3. วัน เดือน ปี  ให้ลงเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ 

4. เรื่อง  ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่องให้ลงเรื่อง

ของหนังสือฉบับเดิม 

5. คำขึ้นต้น  ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือตามรายการใช้คำขึ้นต้น สรรพนาม และคำลงท้าย

ที่กำหนด แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อบุคคลในกรณีที่มีถึงตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ 

6. ข้อความ  ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมีความประสงค์หลายประการ ให้แยก

เป็นข้อๆ ในกรณีที่มีการอ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันหรือมีสิ่งที่ส่งมาด้วย ให้ระบุไว้ในข้อนี้ 

7. ลงชื่อ  ให้ลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือ และให้พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ

8. ตำแหน่ง  ให้ลงตำแหน่งของเจ้าของหนังสือ  ในกรณีที่กระทรวงทบวงกรมหรือจังหวัดใดประสงค์จะกำหนดแบบการเขียนโดยเฉพาะ เพื่อใช้ตามความเหมาะสมก็ให้กระทำได้

หนังสือภายในมีสิ่งที่ส่งมาด้วยไหม

หนังสือภายในมีสิ่งที่ส่งมาด้วยไหม