จดทะเบียนสมรสใช้เวลานานไหม pantip

‘จดทะเบียนสมรสดีมั้ย?’ น่าจะเป็นคำถามของใครหลายคนที่กำลังวางแผนแต่งงานอยู่ อันที่จริงการแต่งงานนั้นไม่ได้บังคับเรื่องการจดทะเบียนสมรส กล่าวคือ การจดทะเบียนสมรสขึ้นอยู่กับความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย แล้วเราจะตัดสินใจอย่างไร ก่อนอื่นเราต้องมาดูข้อดี ข้อเสียของการจดทะเบียนสมรสกันก่อน

จดทะเบียนสมรสใช้เวลานานไหม pantip

ประเด็น

จดทะเบียนสมรส

ไม่จดทะเบียนสมรส

1. สิทธิต่างๆ ตามกฎหมาย

  • การอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  • สิทธิที่ภรรยาจะได้ใช้ชื่อสกุลสามี และเปลี่ยนสัญชาติตามสามีได้ (หรือไม่เปลี่ยนก็ได้)
  • สิทธิที่จะได้รับมรดกหากอีกฝ่ายจากไปก่อน (เป็นทายาทโดยธรรมในการรับมรดก)
  • สิทธิที่จะหึงหวงคู่สมรสอย่างถูกกฎหมาย ถ้ามีชู้ สามารถฟ้องร้องค่าเสียหายจากคู่สมรสและชู้ได้
  • ถ้าหย่าร้าง มีสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงดูได้
  • มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือเอาผิดแทนกันได้
  • มีสิทธิรับเงินสินไหม หรือเงินชดเชยจากราชการ กรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพ
  • ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิใดๆ ได้ตามกฎหมาย
  • ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก ยกเว้นมีชื่อเป็นทายาทตามพินัยกรรม (พินัยกรรมระบุให้รับมรดก)

2. ทรัพย์สิน

  • สินสมรส ได้แก่ รายได้ ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังสมรสแล้ว รวมถึงดอกผลของสินส่วนตัว ซึ่งต่างก็มีอำนาจจัดการสินสมรสเองได้ ไม่ต้องขออนุญาตต่อกัน เว้นแต่เป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครอบครัว ตามที่กฎหมายบัญญัติควบคุมไว้ จะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อน
  • ต่างฝ่ายมีสิทธิในสินสมรสกึ่งหนึ่ง
  • หากพิสูจน์ได้ว่ามีการอยู่กินฉันท์สามีภรรยา มีทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน จะถือว่ามีสิทธิร่วมกันในทรัพย์สินนั้น โดยจะมีสิทธิในทรัพย์คนละครึ่ง แต่หากอีกฝ่ายไม่ยินยอมให้แบ่งทรัพย์สิน อาจต้องฟ้องร้อง (และต้องหาหลักฐานมายืนยัน)

3. การทำนิติกรรมต่างๆ

  • ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ทำให้มีความยุ่งยากในการจัดการทรัพย์สิน
  • ถ้าเป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์ที่มีสิทธิร่วมกัน ต้องได้รับความยินยอมเช่นกัน แต่ถ้าเป็นนิติกรรมส่วนตัว ไม่ต้องขอความยินยอม

4. หนี้สิน

  • หนี้ส่วนตัว ใช้สินส่วนตัวชำระก่อน ถ้าไม่พอจึงใช้สินสมรสในส่วนของตน
  • หนี้ร่วม (หนี้สมรส) เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกบังคับชำระหนี้ได้จากสินสมรส หากไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกเอาจากสินส่วนตัวของทั้ง 2 ฝ่าย
  • ถ้ามีหนี้สินที่เกิดจากการทำมาหาได้ร่วมกัน ใช้ทรัพย์สินที่มีสิทธิ์ร่วมชำระ
  • ถ้าเป็นหนี้ส่วนตัว ก็เป็นภาระส่วนตัว

5. บุตร

  • บุตรจะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของทั้งบิดาและมารดา
  • ในกรณีเกี่ยวกับสิทธิของผู้รับค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมาย บิดาหรือมารดา มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ค่าสินไหม แทนกันและกัน ตัวอย่างเช่น รับเงินชดเชย ค่าสินไหมทดแทน กรณีที่ผู้เยาว์ มีบิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองยังมีชีวิตอยู่
  • เป็นทายาทโดยธรรมของทั้งบิดาและมารดา
  • บิดามารดาก็เป็นทายาทโดยธรรมของบุตรเช่นกัน
  • บุตรจะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของมารดาเท่านั้น และจะไม่สามารถฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากบิดา เว้นแต่บิดาจดรับรองบุตร หรือรับรองโดยพฤติการณ์ (เชิดชู ให้ใช้นามสกุล ส่งเสียเลี้ยงดู) บุตรจึงจะมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของบิดา และสามารถเรียกค่าเลี้ยงดูได้   (แต่บิดาไม่มีสิทธิรับมรดกจากบุตร เพราะไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย)

6. การลดหย่อนภาษี

  • ลดหย่อนคู่สมรส*
  • ลดหย่อนบิดามารดาของคู่สมรส*
  • ลดหย่อนประกันชีวิตของคู่สมรส*
  • ลดหย่อนประกันสุขภาพของบิดามารดาคู่สมรส*
  • ลดหย่อนบุตร
  •  มีสิทธิเลือกที่จะแยกยื่นแบบหรือรวมยื่นแบบกับคู่สมรสได้ เพื่อการวางแผนภาษีที่เหมาะสม

   * กรณีรวมยื่นหรือคู่สมรสไม่มีรายได้

  • ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้

6. ผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิต

  • เงินคืนรายงวด เงินปันผล และเงินครบสัญญาจากกรมธรรม์ประกันชีวิตถือเป็นสินสมรส
  • หากเป็นผู้รับผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิต เช่น พ่อแม่ทำประกันชีวิตไว้ และให้คู่สมรสเป็นผู้รับผลประโยชน์ หากพ่อแม่เกิดเสียชีวิต ผลประโยชน์ที่ได้จากกรมธรรม์ถือเป็นสินส่วนตัว
  • ถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัว

7. หากต้องการเลิกรากัน

  • ต้องไปจดทะเบียนหย่า ซึ่งหากอีกฝ่ายไม่ยินยอม ต้องฟ้องร้องกัน
  • สามารถเลิกรากันได้เลย

จดทะเบียนสมรสใช้เวลานานไหม pantip

กล่าวโดยสรุป ความรักไม่ได้อยู่ที่ทะเบียนสมรส หรือกฎหมาย แต่อยู่ที่หัวใจของคู่รัก ทำให้การจดทะเบียนสมรสจะดีกับเราหรือไม่ ก็อยู่ที่การพูดคุยของทั้ง 2 ฝ่าย และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย และหาข้อตกลงร่วมกันบนพื้นฐานของความสุขในครอบครัวจะดีกว่า

การแต่งงานเป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจตรงกันว่าเป็นการเริ่มต้นชีวิตคู่ที่จะร่วมสุขและทุกข์ และสิ่งหนึ่งที่คู่แต่งงานควรทำคือการจดทะเบียนสมรส ซึ่งเป็นการการันตีการแต่งงานที่ถูกต้องและมีสิทธิ์ที่ควรจะได้รับตามกฎหมาย ไม่ใช่แค่ในบ้านเราเท่านั้นค่ะที่ให้ความสำคัญกับทะเบียนสมรส ในต่างประเทศก็ให้ความสำคัญกับทะเบียนสมรสมากเช่นกัน

การใช้ชีวิตคู่ในปัจจุบัน การจดทะเบียนสมรสยังถือว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย แม้ว่าบางคนจะเลือกใช้ชีวิตคู่แบบหนุ่มสาวสมัยใหม่คือแต่งงานหรืออยู่ด้วยกันแต่ไม่จดทะเบียนสมรส ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน แต่ทราบไหมคะว่าทะเบียนสมรสที่มีนั้น ไม่ใช่แค่ใบการันตีว่าเขาหรือเธอคือคู่ชีวิตที่มีสิทธิ์ตามกฎหมายเท่านั้น แต่ทะเบียนสมรสยังมีผลดีต่อชีวิตคู่ และทายาท รวมถึงการเรียกร้องสิทธิ์หากเกิดเรื่องไม่คาดคิดกับคู่สามีภรรยาด้วย

ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายและให้สิทธิ์กับผู้ถือที่เป็นสามีภรรยาหลายประการค่ะ แต่ถ้าเราจะพูดลึกถึงเนื้อหาของกฎหมายการแต่งงานคงจะเยอะและเข้าใจกันยากค่ะ วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับความสำคัญของการจดทะเบียนสมรส ใบทะเบียนสมรสกันดูก่อนค่ะ

ทะเบียนสมรสสำคัญอย่างไร

การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรสมีความสำคัญต่อคู่แต่งงาน สามีภรรยา เพราะเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ใช้สำหรับยืนยันความสัมพันธ์และเป็นหลักฐานที่ใช้สำหรับการยืนยันสิทธิ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา เช่น การรับรองบุตร ซึ่งจะทำให้บุตรได้รับสิทธิ์ต่างๆ ตามกฎหมาย การแบ่งสินสมรส การฟ้องหย่าในกรณีสามีหรือภรรยามีชู้ เป็นต้น

การจดทะเบียนสมรสและทะเบียนสมรส อาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับสามีภรรยาบางคู่ ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น คู่สามีภรรยาที่ทำธุรกิจ หรือนักการเมือง ซึ่งการจดทะเบียนสมรสทำให้ต้องมีการตรวจสอบทางบัญชีการเงินของทั้งสามีภรรยา เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจเกิดการฟ้องร้องได้ การแต่งงานแบบนี้จึงอาจไม่มีทะเบียนสมรสโดยความยินยอมและตกลงของสามีภรรยาเอง แต่ในขณะเดียวกันการแต่งงานโดยไม่จดทะเบียนสมรสก็กลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้สามี หรือภรรยาโอนทรัพย์สินของตัวเองไปยังบัญชีของอีกฝ่ายเพื่อเลี่ยงการตรวจสอบหรือการเสียภาษีได้เช่นกัน

อย่างที่เกรินไปตั้งแต่แรกว่าประโยชน์หรือสิทธิ์ตามกฎหมายของการจดทะเบียนสมรส หรือใบทะเบียนสมรสมีเยอะมาก แต่เราลองทราบคร่าวๆ เฉพาะในส่วนที่มักจะได้ยินหรือได้รับผลกระทบเป็นหลักกันก่อนค่ะ

  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน นั่นหมายความว่าสามีจะหาเลี้ยงภรรยา หรือภรรยาจะหาเลี้ยงสามี หรือจะช่วยดูแลกันและกันก็ได้

  2. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลของสามี หรือจะไม่ใช้ก็ได้

  3. การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ (ถ้าอยากถือสัญชาติไทย)

  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วมกัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส)

  2. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน

  3. การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือ การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน

  4. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้ เช่น สามีโดนรถชน ภรรยาสามารถเรียกค่าเสียหายถึงชีวิตกับผู้ขับรถชนได้

  5. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้อย่างออกหน้าออกตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเอง และเรียกค่าเสียหายได้จากชู้ด้วย

  6. การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้ว)

  7. การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้

  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
  1. การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น ภรรยาโดนกระชากกระเป๋า สามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้ หรือ สามีโดนคนพูดจาหมิ่นประมาทว่าร้าย ภรรยาก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทฝ่ายตรงข้ามแทนสามีได้
ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายนานแค่ไหน อายุของทะเบียนสมรส

การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทะเบียนสมรสก็จะมีผลทางกฎหมายหรือมีอายุยาวตลอดไปจนกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่า ซึ่งการจดทะเบียนหย่าก็เป็นไปตามข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย หรือถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องมีการฟ้องหย่าโดยให้ศาลเป็นผู้พิจารณา เพื่อใช้เหตุผลและหลักฐานต่างๆ ประกอบ รวมถึงการหาข้อตกลงต่างๆ เช่น การแบ่งสินสมรส สิทธิ์การดูแลบุตร ค่าเลี้ยงดู เป็นต้น

การจดทะเบียนสมรสซ้อน

ตามกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นผิดกฎหมาย และไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย เช่น หนุ่มเอจดทะเบียนสมรสกับสาวบี แล้วอีกไม่นานหนุ่มเอก็ไปจดทะเบียนสมรสกับสาวซี แบบนี้เรียกว่าจดทะเบียนสมรสซ้อน ซึ่งกฎหมายระบุว่าการจดทะเบียนสมรสครั้งหลังเป็นโมฆะ หากการจดทะเบียนสมรสครั้งแรกยังไม่มีการจดทะเบียนหย่าที่สมบูรณ์ และภรรยาที่จดทะเบียนสมรสซ้อนจะไม่มีรับสิทธิ์ตามกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น

ในขณะเดียวกัน ถ้าหนุ่มเอลักไก่ด้วยการจดทะเบียนสมรสไว้กับสาวทั้งสองคน แต่อยู่ๆ หนุ่มเอจดทะเบียนหย่ากับสาวบี แล้วไปอยู่กับสาวซี กฎหมายก็ไม่ให้สิทธิ์เช่นกัน เพราะถือว่าหนุ่มเอและสาวซีจดทะเบียนสมรสซ้อนในช่วงที่ยังมีการจดทะเบียนสมรสตัวจริงอยู่

พอจะทราบความสำคัญและประโยชน์ของการจดทะเบียนสมรสหรือใบทะเบียนสมรสกันแล้วนะคะ ใครที่กำลังจะแต่งงาน หรือแต่งงานไปแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ลองกลับมาทบทวนกันอีกครั้งค่ะว่าจริงๆ แล้วการจดทะเบียนสมรสดีกับเราหรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและเหตุผลของแต่ละคนและแต่ละคู่สามีภรรยานะคะ เพราะอย่างไรแล้วคู่ชีวิตที่อยู่กับด้วยความรักและความเข้าใจคือสิ่งสำคัญที่สุดค่ะ

จดทะเบียนสมรสใช้เวลากี่นาที

1) การตรวจสอบเอกสาร รับคาร้องและตรวจสอบ ความถูกต้องของหลักฐาน และคุณสมบัติของผู้ร้อง ประกอบการพิจารณา อนุญาตการออกไปจด ทะเบียนสมรสให้ผู้ร้อง 20 นาที ฝ่ายทะเบียน ส านักงานเขตคัน นายาว - 2) การพิจารณา กรณีอนุญาต ***การไปดาเนินการจด 70 นาที ฝ่ายทะเบียน ส านักงานเขตคัน (ไม่รวมระยะเวลา รอคอยและเวลา

จดทะเบียนสมรสต้องไปกี่คน

- คู่สมรสยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อเจ้าหน้าที่หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ โดยไม่คำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส - คู่สมรสที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องนำบิดาและมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมมาให้ความยินยอม - พยานบุคคลจำนวน 2 คน

จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติใช้เวลานานไหม

ทุกขั้นตอน สะดวก รวดเร็ว ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์มากว่า 10 ปี ท่านจะได้ทะเบียนสมรส และ ใบบันทึกสมรม ภายใน 4 - 5 วันทำการ (สำหรับบางประเทศ) ท่านจะได้รับเอกสารครบถ้วนพร้อมบริการแปลเอกสารใบทะเบียนสมรส และ ใบบันทึกสมรส เพิ่ม ฟรี ประเทศที่ทางบริษัทรับบริการจดทะเบียนสมรสมีดังต่อไปนี้ ประเทศอเมริกา

จดทะเบียนสมรส ยากไหม

การจดทะเบียนสมรสไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากเตรียมเอกสาร และเตรียมตัวให้พร้อม เพียงแค่เสียเวลานิดหน่อยแค่เท่านั้น และที่สำคัญควรที่จะถ่ายสำเนาเอกสารต่างๆ ที่ต้องใช้เพื่อไปหลายๆ ชุด จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปถ่ายเอกสารหลายๆ รอบ รวมทั้งเมื่อนายทะเบียนพิมพ์ข้อความลงในทะเบียนสมรสแล้ว หากมีข้อผิดพลาด ให้รีบแก้ไขในทันทีก่อนการ ...