กินยาคุมมีผลต่อประจําเดือนไหม

ปัจจุบัน ยังมีข้อสงสัยอยู่มากเกี่ยวกับการรับประทานยาคุมกำเนิด ว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร รวมไปถึงมีผลข้างเคียงร่วมด้วยหรือไม่ หากเลือกวิธีการคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาคุมเป็นระยะเวลานาน หนึ่งในข้อสงสัย คือ การรับประทานยาคุมกำเนิดนานๆ มีผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่?
กินยาคุมมีผลต่อประจําเดือนไหม

โดยทั่วไปยาเม็ดคุมกำเนิดแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ

  1. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
  2. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่มีแต่ โปรเจสโตเจน
        ยาเม็ดคุมกำเนิด ชนิดฮอร์โมนรวมในหนึ่งเม็ด จะประกอบไปด้วยเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสโตเจน (Progesterone) แบ่งเป็นสองกลุ่มอีกเช่นกัน คือ กลุ่มที่มีปริมาณเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจนเท่ากันทุกเม็ด กับอีกกลุ่มคือในแต่ละเม็ดจะมีฮอร์โมนไม่เท่ากัน ซึ่งปกติแล้วความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งของผู้หญิงขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงอยู่นานๆ เช่น
  1. มีประจำเดือนก่อนเวลา (มีก่อนอายุ 12 ปี)
  2. ประจำเดือนหมดช้ากว่ากำหนด (อายุ 55 ปี)
  3. มีบุตรคนแรกหลังอายุ 30 ปีขึ้นไป
  4. ไม่มีบุตร

Q: การใช้ยาคุมไม่ว่าจะชนิดทานหรือฉีดจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือไม่A: ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายที่มากขึ้นแต่ที่ควรทราบ คือ ฮอร์โมนในยาคุมอยู่ในร่างกายของเราไม่นานนัก จึงไม่ได้เป็นปัจจัยหลักของการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากผู้ใช้ยาคุมมีความเสี่ยงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยเท่านั้น และหากว่าหยุดใช้ยาคุมกำเนิดมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งจะลดลงเท่ากับคนที่ไม่ได้ใช้ยาคุมกำเนิด อย่างไรก็ตามยาเม็ดคุมกำเนิดนอกจากคุณสมบัติในการป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่ดีต่อสุขภาพด้วยอาทิ

  • ช่วยปรับรอบประจำเดือนให้มาตรงเวลา
  • ลดอาการปวดประจำเดือน
  • ป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ป้องกันการตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • ลดการเกิดของถุงน้ำรังไข่ และมะเร็งรังไข่
ยาคุมกำเนิดนับว่าเป็นยาที่มีประโยชน์ที่ได้รับการยอมรับ สามารถใช้ได้ เพียงแต่ต้องใช้ให้เป็น โดยใช้เมื่อจำเป็น หรือไม่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจนเกินไปเพราะหากต้องการคุมกำเนิดยังมีวิธีอื่นๆ เช่น ให้ฝ่ายชายใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น 
กินยาคุมมีผลต่อประจําเดือนไหม
ส่วนใครที่กลัวเรื่องของการเกิดมะเร็งนั้น ต้องบอกว่าปัจจัยหลักในการเป็นมะเร็งยังคงมาจากสาเหตุอื่นๆ ที่สำคัญกว่า เช่น กรรมพันธุ์ สภาพร่างกาย อาหารการกิน สภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง และตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำทุกปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

Show

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 0-2271-7000 ต่อ สุขภาพสตรี

ยาคุมกำเนิด ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสติน มีหน้าที่ช่วยป้องกันการตกไข่ สร้างสภาวะในช่องคลอดให้ไม่เหมาะกับการตั้งครรภ์ เช่น ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกข้นและหนาขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้สเปิร์มเข้าถึงไข่ได้ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง เพื่อป้องกันการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว ซึ่งฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดอาจยับยั้งการสร้างฮอร์โมนตามปกติของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับรอบเดือน จึงส่งผลต่อการมีประจำเดือน บางคนอาจมีประจำเดือนน้อยลง บางคนอาจไม่มีประจำเดือน หรือบางคนอาจมีภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือขาดหายไป

หยุดกินยาคุมแต่ประจำเดือนไม่มา เกิดจากอะไร

การหยุดกินยาคุมกำเนิดอาจมีโอกาสที่ประจำเดือนจะมาช้าได้ เนื่องจากฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดจะเข้าไปยับยั้งการผลิตฮอร์โมนตามปกติที่เกี่ยวข้องกับรอบเดือน เมื่อหยุดกินยาคุมกำเนิดร่างกายอาจต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวให้เป็นปกติและเริ่มควบคุมกระบวนการตามธรรมชาติด้วยตัวเองอีกครั้ง ทั้งนี้ ประจำเดือนมาช้าอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้

การกินยาคุมกำเนิด ย่อมช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีเสมอ หากแต่โอกาสในการเสี่ยงตั้งครรภ์ก็มีเช่นกัน หากสาวๆ กินแบบผิดๆ หรือกินไม่สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่กินยาคุมกำเนิดแล้วพบปัญหาประจำเดือนไม่มาและกลัวการตั้งท้อง วันนี้เรามาดูกันนะคะว่าสาเหตุใดที่ทำให้ประจำเดือนขาดไปบ้าง แม้จะกินยาคุมแล้วก็ตาม มาดูกันเลยค่ะ

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุม

การกินยาคุมกำเนิดบางยี่ห้อก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมาได้ เช่น ทำให้ประจำเดือนขาดหายไปประมาณ 3-4 เดือน โดยเฉพาะในสาวๆ ที่มีประจำเดือนมาน้อยหรือมาแบบไม่สม่ำเสมออยู่บ่อยๆ หากกินยาคุมกำเนิดแล้วพบว่าประจำเดือนไม่มา ตลอดจนทดสอบการตั้งครรภ์แล้วก็พบว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีการคุมกำเนิดแบบใหม่ที่เหมาะสมกับร่างกายของคุณจะดีที่สุด หรืออาจปรึกษากับทางเภสัชกรเพื่อกินยาคุมกำเนิดตัวใหม่ที่เหมาะสมกับร่างกายมากกว่า

กินยาคุมมีผลต่อประจําเดือนไหม

น่ารู้! กินยาคุมกำเนิด แต่ประจำเดือนไม่มา เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่?

ผลจากการใช้ยาบางชนิดที่ต้านการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิด

การใช้ยาบางชนิดเพื่อรักษาโรคอื่นๆ ที่เป็นอยู่ก็อาจมีผลกับการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดได้เช่นกันค่ะ เช่น การกินยากันชักหรือยาสำหรับใช้รักษาวัณโรค หากคุณกินยาเหล่านี้ไปพร้อมๆ กับการกินยาคุมกำเนิดด้วย ก็มีแนวโน้มเป็นไปได้เช่นกันว่าฤทธิ์จากยาคุมกำเนิดจะมีประสิทธิภาพต่ำลง จนส่งผลให้ฮอร์โมนมีระดับแปรปรวนและอาจทำให้ประจำเดือนขาดไป นอกจากนี้ สาวๆ ยังมีโอกาสเสี่ยงตั้งครรภ์สูงอีกด้วยนะคะ เพราะฉะนั้น แนะนำให้รออีกสักเดือนเพื่อดูว่าประจำเดือนมาหรือไม่ หากประจำเดือนยังไม่มาก็สามารถซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาเทสต์การตั้งครรภ์ดูได้เลยค่ะ

เป็นช่วงที่ร่างกายจะต้องปรับฮอร์โมนให้เข้าที่

สำหรับสาวๆ ที่เพิ่งกินยาคุมกำเนิดใหม่ๆ มักจะมีอาการประจำเดือนขาดเช่นกันค่ะ เพราะร่างกายของผู้หญิงบางคนอาจจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการปรับสมดุลฮอร์โมนให้เข้าที่สักระยะ โดยอาจใช้เวลายาวนานจนถึงช่วงกินยาคุมกำเนิดแบบต่อเนื่องจนถึงแผงที่ 2-3 เลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ไม่ได้หมายความว่ายาคุมกำเนิดจะไม่ถูกกับร่างกายคนเราหรอกนะคะ หากแต่เป็นเพราะระดับฮอร์โมนในร่างกายต่างหากที่มักเกิดความแปรปรวน เพราะฉะนั้น หากมั่นใจว่ากินยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง ก็ควรปล่อยตัวตามสบาย เพื่อรอให้ร่างกายทำการปรับฮอร์โมนให้เข้าที่ประมาณ 2-3 เดือน แต่หลังผ่านพ้นระยะเวลาดังกล่าวไปแล้วพบว่าประจำเดือนยังไม่มา ก็ค่อยไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอย่างถูกต้องต่อไป

กินยาคุมมีผลต่อประจําเดือนไหม

น่ารู้! กินยาคุมกำเนิด แต่ประจำเดือนไม่มา เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่?

ความเครียด

เมื่อไรที่เราเครียด ย่อมส่งผลต่ออารมณ์และการผลิตฮอร์โมนอย่างโดยตรงทีเดียว เพราะความเครียดจะทำให้การตกไข่และการมาของรอบเดือนผิดปกติไปด้วย แม้ว่าคุณจะกินยาคุมกำเนิดอย่างสม่ำเสมอก็ตาม

ผลข้างเคียงจากการเกิดโรคบางอย่าง

แม้กินยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ อีกทั้งนอกจากความเครียดที่เล่นงานจนประจำเดือนขาดแล้ว ผลข้างเคียงจากการเกิดโรคบางอย่างก็เป็นเหตุทำให้ประจำเดือนขาดไปได้เช่นเดียวกัน เช่น โรคเนื้องอกในต่อมใต้สมอง ไทรอยด์ โรคเครียด โรคไต ถุงน้ำในรังไข่หรือโรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) เพราะมีผลการศึกษาจาก Michigan's Health Center ที่ได้บอกไว้ว่า อาการของโรคเหล่านี้อาจมีผลทำให้ประจำเดือนไม่มา เพราะฉะนั้น หากสาวๆ พบว่าประจำเดือนไม่มาเป็นเวลาถึง 2 เดือนหรือยาวนานกว่านั้น แนะนำให้ไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายโดยละเอียดจะดีกว่า

การกินยาคุมกำเนิดก็มาพร้อมผลข้างเคียงหลายอย่าง หลักๆ ก็คือ ประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอยหรือประจำเดือนขาด สำหรับสาวๆ คนไหนที่ไม่สบายใจ หากพบว่าประจำเดือนขาดไปจนถึงเดือนที่ 2 หรือมากกว่านั้น และหากทดสอบการตั้งครรภ์แล้วพบว่าไม่ได้ตั้งท้อง รีบไปตรวจเช็กร่างกายกับคุณหมอโดยเร็วจะดีที่สุดค่ะ

กินยาคุมแล้วจะมีประจําเดือนไหม

ยาคุมกำเนิดแบบ 28 เม็ดนั้น ประกอบด้วยยาเม็ดฮอร์โมนจำนวน 21 เม็ดและเม็ดแป้ง 7 เม็ด การรับประทานยาคุมกำเนิดจะทำให้มีประจำเดือนในระหว่างที่รับประทานถึงช่วงที่เป็นเม็ดแป้งซึ่งอยู่ในช่วง 7 เม็ดสุดท้ายของแผงหรือระหว่างเม็ดที่ 22-28 และส่วนใหญ่จะเริ่มมีประจำเดือนหลังรับประทานเม็ดแป้งได้ ประมาณ 2-4 วัน แต่หากประจำเดือน ...

กินยาคุมทําให้ประจําเดือนเลื่อนไหม

ผู้ที่กินยาคุมเป็นประจำสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องกินยาเพื่อเลื่อนประจำเดือน แต่สามารถเลื่อนประจำเดือนได้โดยกินยาคุมกำเนิดที่กินเป็นประจำต่อไป หากหมดแผงก็สามารถเริ่มกินแผงใหม่ได้ต่อเนื่อง ไปจนกว่าต้องการให้มีประจำเดือนจึงหยุดกินยาคุมนั้น ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้ได้กับยาเม็ดคุมกำเนิดมาตรฐานที่มี 21 เม็ด แต่หากเป็นแบบ 28 เม็ด จะมี ...

กินยาคุมกี่เม็ดประจําเดือนถึงจะมา

2. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 28 เม็ด โดยทั่วไปมีตัวยาฮอร์โมนจำนวน 21 เม็ดและไม่มีตัวยาหรือเรียกว่า “เม็ดแป้ง” อีก 7 เม็ด รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน วันละ 1 เม็ด จนหมดแผงแล้วขึ้นแผงใหม่ต่อเนื่องกันไป ช่วงที่รับประทานเม็ดแป้งไปประมาณ 1-3 เม็ดจะเริ่มมีประจำเดือนมา

กินยาคุมวันที่ 2 ของประจําเดือนได้ไหม

หากได้เริ่มทานยาคุมกำเนิดภายใน 1-5 วัน นับจากวันแรกที่มีประจำเดือนมา ยาคุมกำเนิดก็จะออกฤทธิ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ทันที แต่หากเลย 5 วันไปแล้ว ต้องทานยาคุมต่อเนื่องอย่างน้อย 7 วันก่อน เพื่อรอให้ยาได้ออกฤทธิ์ค่ะ