ระบบการศึกษาปฐมวัยใน ประเทศไทย

บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55 from Decode Ac

(23 กันยายน 2563) นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมทางไกล (Video Conference) มอบนโยบายและแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย แก่ศึกษาธิการจังหวัดและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาทั่วประเทศ จากห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เดินหน้าพัฒนาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กทุกคนมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมกับวัย ทั้งทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สอดคล้องกับหลักการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคล สร้างให้เด็กมีคุณลักษณะมีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถซึมซับสุนทรียะและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ ตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้สถานศึกษาและครู มีแนวปฏิบัติพื้นฐานนำไปใช้วางแนวทางในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมและสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษาการพัฒนาคุณภาพเด็กในช่วงปฐมวัย

โดยให้ยึดหลักการสำคัญ คือ การพัฒนาเด็กแบบองค์รวม (Holistic Development) ให้เด็กมีพัฒนา 4 ด้าน ประกอบด้วย ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างสมวัย รวมทั้งพัฒนาด้านตัวตน (Self Development) พัฒนาทักษะสมอง (Executive Function: EF) ให้มากขึ้น เพื่อให้เด็กรู้สึกมีคุณค่า มีความเชื่อมั่น และภูมิใจในตนเอง และเป็นเด็กที่คิดเป็น มีเหตุมีผล และรู้จักกำกับตนเอง

ทั้งนี้ ได้กำหนดแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษาและครู

สถานศึกษา

ได้กำหนดแนวปฏิบัติไว้ 6 เรื่องหลัก ได้แก่

ระบบการศึกษาปฐมวัยใน ประเทศไทย
  1. เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยเปิดโอกาสให้เด็กฝึกใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การวางแผนลงมือทำ นำเสนอ และสะท้อนความคิดเห็น ฯลฯ โดยครูเป็นผู้สนับสนุนและร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็ก ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงบริบทของตัวเด็กและสังคมที่เด็กอาศัย
  2. จัดประสบการณ์ หรือกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ยืดหยุ่น สอดคล้องกับพัฒนาการหรือปรับเปลี่ยนตามความสนใจ สถานการณ์ บริบทหรือวิถีชีวิตจริงของเด็ก
  3. จัดหาหรือพัฒนาสื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ รวมถึงแหล่งเรียนรู้ตามธรรมชาติ ให้เด็กมีโอกาสได้เรียนรู้ผ่านการเล่นที่หลากหลาย ทั้งการเล่นอิสระ การเล่นร่วมกัน และการเล่นที่มีข้อตกลง
  4. จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้ เชิงบวก อบอุ่น ปลอดภัย เป็นมิตร มีอิสระและท้าทาย ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างเด็กกับเด็กและเด็กกับครู
  5. ส่งเสริม สนับสนุนให้ครูได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเอง รู้เท่าทันความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การวิจัยและพัฒนาสื่อ รูปแบบ วิธีการหรือนวัตกรรมสำหรับการจัดการศึกษาปฐมวัย
  6. ประสานความร่วมมือและสร้างความรู้ความเข้าใจ ร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่ ครอบครัว และชุมชน ในการดูแล พัฒนาและจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

ครู

เนื่องจากการปรับรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยครั้งนี้ ครูมีบทบาทสำคัญและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) จากครูผู้สอนปรับมาเป็นผู้ชี้แนะ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผู้สังเกต ร่วมเรียนรู้ไปกับเด็ก และเชื่อมโยงความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาและเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ

ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางตะวันตกตามที่กล่าวมาข้างต้น แนวคิดในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กเล็กในระดับอนุบาลนั้น เริ่มแรกของการให้การศึกษากับเด็กเล็กตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ยังเป็นการเลี้ยงดูโดยครอบครัวที่มีลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่ เด็ก

จึงได้รับการอบรมสั่งสอนจากทั้งญาติพี่น้องและพ่อแม่ จึงนับเป็นการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ และการเรียนขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เรียน จนสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1 - 4 ) เด็กที่จะได้รับการศึกษาในระดับปฐมวัยจะเป็นกลุ่มเชื้อพระวงศ์ที่จะเรียน

ในพระบรมมหาราชวังกับราชบัณฑิตหรือกลุ่มเด็กของครอบครัวที่มีฐานะดีจะมีครูมาสอนที่บ้าน ส่วนเด็กที่มาจากครอบครัวบุคคลทั่วไปจะถูกนำไปฝากเรียนที่วัด แต่เด็กผู้หญิงจะยังไม่มีโอกาสได้เรียน

ยกเว้นเด็กที่พ่อแม่ไปฝากไว้ในวังหรือตามบ้านเจ้านายเพื่อฝึกความเป็นกุลสตรีและงานอาชีพ จนมา

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บ้านเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน เช่น

การคุกคามจากจักรวรรดินิยม การค้าขายกับต่างชาติทำให้มีการเผยแพร่ความรู้วิทยากรต่างๆตามแบบตะวันตก และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก กลับมาเป็นผู้นำในการพัฒนาบ้านเมือง รวมทั้งนักเรียนไทยเดินทางไปศึกษาวิชาการต่างๆ จากต่างประเทศก็ได้นำแนวคิดของทางตะวันตกมาพัฒนาบ้านเมือง ปัจจัยด้านการเลิกทาสและระบบไพร่ทำให้ราษฎรจำนวนมาก

ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพเอง จึงจำเป็นต้องมีความรู้เพื่อดำรงชีพและเกิดความต้องการเข้ารับราชการเนื่องจากมีการปรับปรุงการปกครองและการบริหารส่วนกลางที่ต้องการข้าราชการไปปฏิบัติงานตามหัวเมืองต่างๆนำไปสู่การปรับปรุงการศึกษาในทุกระดับชั้น แม้แต่การศึกษาปฐมวัยก็เริ่มมีการศึกษาที่

มีระเบียบแบบแผนมากขึ้น ในสมัยเริ่มต้น เรียกว่า "โรงเลี้ยงเด็ก" ในปีพ.ศ.2466 นับเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กแห่งแรกในประเทศไทยโดยดำริของพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ในรัชกาลที่ 5 ซึ่งสูญเสียพระธิดาไปตั้งแต่ยังเยาว์ จึงมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือ

เด็กด้อยโอกาส อันได้แก่ เด็กกำพร้า เด็กยากจน และเด็กเร่ร่อนให้ได้เข้ามาได้รับการศึกษาในโรงเลี้ยงเด็ก โรงเลี้ยงเด็กแห่งนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นผู้จัดการคนแรก โดยเนื้อหาที่เรียนเน้นด้านความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เช่น อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น รู้จักรักษาอิริยาบถ หุงข้าว ต้มแกงเป็น ขึ้นต้นไม้เป็น ว่ายน้ำเป็น ปลูกทับกระท่อมที่อยู่เป็น ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์

นอกเหนือจากการก่อตั้งโรงเลี้ยงเด็กแล้ว ได้รับแนวคิดตามแบบตะวันตกของเฟรอเบลและมอนเตสซอรี่ อันนับเป็นแนวความคิดแบบ ตะวันตกแบบแรกที่เข้ามาในประเทศไทยในรัชสมัยนี้ยังมีการจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบโรงเรียน คือ มีการจัดตั้งโรงเรียนราชกุมารและโรงเรียนราชกุมารีสำหรับเชื้อพระวงศ์ นับเป็นสถานศึกษาปฐมวัยแห่งแรกที่เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการอย่างมี

ระบบโดเน้นวิธีการสอนแบบเรียนเล่น เน้นการลงมือทำกิจกรรม ต่อมาหน่วยงานรัฐเริ่มให้ความสำคัญ

กับการศึกษากับคนทั่วไป นอกเหนือจากเชื้อพระวงศ์ จึงเริ่มมีแนวคิดแบ่งระดับการศึกษาแบบทรงเจดีย์โดได้เพิ่มการสอนในระดับมูลศึกษาอันเป็นหลักฐานเบื้องต้นของการศึกษา ในระดับสามัญศึกษาเป็นระดับก่อนประถมศึกษาที่มีพระสงฆ์เป็นผู้สอนเน้นการอ่านออกเขียนได้ และจริยธรรม ซึ่งนับว่า

ตั้งแต่นั้นมาแนวคิดทางตะวันตกก็เริ่มเข้ามามีผลต่อการศึกษาไทย อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่า ความคาดหวังสำหรับเด็กโลกสมัยปี 2000 จะดูต่างไปจากโลกของเด็กในยุคก่อนๆ เช่น มีหลาคนคิดว่าในช่วง 7 ปี แรกของชีวิตเด็กนั้นเราควรจะต้องสอนเด็กตลอดเวลาให้รู้จักตัวหนังสือ ควรที่จะสามารถอ่านออกเขียนได้ มีแนวคิดว่าควรมีทักษะคณิตศาสตร์ หรือรู้จักใช้เทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทันกับกระแสโลก ในขณะเดียวกัน การเรียนการสอนแบบเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง อันเป็นแนวคิดจากจอห์น ดิวอี้ ผู้มีบทบาทสำคัญ ในการเผยแพร่เรื่องนี้ ที่เน้นในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแบบองค์รวม มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรอีกครั้งในปี พ.ศ.2533 แนวคิดในเรื่องนี้ก็ยังคงอยู่เช่นเดิม จนประมาณปี พ.ศ.2538 เมื่อเริ่มมีการปฏิรูปทางการเมืองขึ้น วงการการศึกษาก็ได้มีการเคลื่อนไหวให้มี

การปฏิรูปการศึกษาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งส่งผลทำให้มีพระราชบัญญัติการศึกษาเกิดขึ้น โดยเฉพาะที่กำหนดในมาตรา 22 ที่ให้ครูจัดการเรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้ที่ครูส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ของแต่ละคน เปลี่ยนแนวจากการเรียนการสอนแบบ

บรรยาย มาเป็นการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงการ กระตุ้นให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยครูทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษา และคอยเพิ่มเติมในส่วนที่เด็กยังขาดหรือต้องการความช่วยเหลือ