กิจกรรมส่งเสริมภาษา ปฐมวัย

ลูกร้องไห้อาจเพราะหิวหรือต้องการอะไรบางอย่าง เพียงแต่เขายังไม่รู้จะสื่อสารอย่างไร ดังนั้นการฝึกทักษะด้านภาษาของลูกจึงเป็นหน้าที่ของเรา

ทุก ๆ การกระทำของลูกคือ สิ่งที่ลูกพยายามบอกเรา เพียงแต่ขวบปีแรก พวกเขายังไม่รู้จักวิธีการสื่อสาร และไม่รู้ว่าเวลาที่เขาร้องไห้เพียงแต่อยากจะบอกว่าเขาหิว และถ้าหากลูกรู้ว่าสิ่งนั้นเรียกว่า "หิว" ลูกก็จะสามารถบอกพวกเราได้ ดังนั้น หน้าที่การกระตุ้นทักษะของลูกจึงเป็นหน้าที่ของเรา และนี่คือกิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นทักษาด้านภาษาสำหรับลูก

กิจกรรมส่งเสริมภาษา ปฐมวัย

 

1. การอ่าน การที่คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังนั้น นอกจากจะเป็นการฝึกฝนให้ลูกน้อยรักการอ่านแล้ว ยังช่วยให้ลูกรู้จักคำศัพท์ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันได้ เพียงแต่หนังสือที่เราหยิบยื่นให้ลูกนั้น ควรจะเป็นหนังสือที่เหมาะสมตามวัย

2. บทสนทนา การฝึกพูดคุยกับลูกในทุก ๆ ครั้ง คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะใจเย็น ๆ อย่าคาดหวังว่า ลูกจะเข้าใจความหมายในครั้งแรก บางทีลูกอาจจะรู้สึกงุนงงกับครั้งแรกที่ได้ยิน แต่การค่อย ๆ ถามและใจเย็นเฝ้ารอคำตอบ ก็จะเป็นตัวช่วยเสริมพัฒนาการลูกได้

3. ไม่ใช้คำพูดของเด็กเล็ก ส่วนใหญ่แล้วเด็ก ๆ จะชอบใช้คำพูดของพวกเขาเองเป็นภาษาง่าย ๆ ยกตัวอย่างเช่นการส่งเสียงอ้อแอ้ แน่นอนว่ามันอาจจะดูน่ารักน่าเอ็นดู แต่นั่นหมายถึงการไม่ยอมใช้คำศัพท์ที่สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้ ดังนั้น เวลาที่ลูก ๆ ใช้คำพูดของเด็ก หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ก็คือ การโต้กลับเป็นภาษาพูดของเรา อย่าใช้ภาษาของลูกเด็ดขาด

4. การร้องเพลง การกระตุ้นที่เด็ก ๆ ชอบมากที่สุดก็คือ การกระตุ้นทักษะด้วยการร้องเพลง ทำนองของเพลงจะดึงดูดลูก ๆ ให้รู้สึกสนใจ ยกตัวอย่างเพลงง่าย ๆ อย่าง Head Sholder Knee and Toes เป็นต้น เพลงนี้จะช่วยให้ลูกรู้จักอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย

5. การเล่นเกมส์ คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นทักษะทางด้านภาษาของลูกได้ด้วยการเล่นเกมส์ง่าย ๆ อย่าง "นี่อะไร" ยกตัวอย่างเช่น เราชี้ไปที่น้ำ แล้วถามเขาว่า "นี่อะไรเอ่ย" ตอนแรกลูกอาจจะยังไม่รู้ แต่แน่นอนค่ะ เขาต้องตั้งใจฟังคำตอบที่คุณพ่อคุณแม่เตรียมให้แน่ ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถบอกเขาได้ว่า "นี่เรียกว่าน้ำจ้ะ น้ำ" การฝึกฝนเป็นประจำจะทำให้เขาจดจำและนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง

6. ศัพท์วันละคำ เลือกศัพท์ที่น่าสนใจมาวันละคำ ให้ลูกได้ท่องและจดจำ ยกตัวอย่างเช่น ในวันนี้คุณอาจจะเลือกคำศัพท์ง่าย ๆ อย่าง Dog สุนัข การกระตุ้นนั้นก็สามารถชี้ไปที่ภาพ หรือสุนัขแล้วบอกเขาว่า สุนัข Dog จ้ะ พูดโดยใช้น้ำเสียงช้า ๆ ชัด ๆ ถ้าหากเขาพูดได้ ก็อาจจะมีรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้บ้างอย่างสติ๊กเกอร์ก็ได้ค่ะ

7. ให้เห็นและบอก การพาลูกไปตามสถานที่ต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นจะต้องพาไปสถานที่ ๆ ไกลหรือแพง ก็สามารถส่งเสริมภาษาของลูกได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การพาลูกไปตลาด ไปเดินซื้อของ คุณแม่อาจจะบอกว่า นี่เรียกแครอท นี่เรียกส้ม เป็นต้น แต่ถ้าหากมีโอกาส เราก็สามารถพาลูกไปทะเล และค่อย ๆ สอนเขาก็ได้ค่ะ

ไม่สำคัญหรอกค่ะว่าคุณจะกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาของลูกอย่างไร เราสามารถทำแตกต่างจากวิธีที่กล่าวมาแล้วก็ได้ แต่ต้องมั่นใจว่า เราสามารถฝึกฝนลูก ๆ ได้ทุกวัน เพราะโรงเรียนของลูกอยู่ในทุก ๆ ที่ และครูที่ดีที่สุดของพวกเขาก็คือ คุณพ่อกับคุณแม่ นั่นเอง

ที่มา: Justmommies

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

กลเม็ดสอนลูกเริ่มหัดเขียน

เคล็ดลับสอนลูกเป็นเด็กดี แฮปปี้กันทั้งบ้าน

 

กิจกรรมส่งเสริมภาษา ปฐมวัย

 

บทความจากพันธมิตร

กิจกรรมส่งเสริมภาษา ปฐมวัย

พัฒนาการลูก

แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ

กิจกรรมส่งเสริมภาษา ปฐมวัย

การศึกษา

มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ

กิจกรรมส่งเสริมภาษา ปฐมวัย

ช่วงวัยของเด็ก

น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

กิจกรรมส่งเสริมภาษา ปฐมวัย

การศึกษา

BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

          พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และผู้ดูแลเด็กได้ส่งเสริมความสามารถทางภาษาให้กับเด็ก โดยการจัดประสบการณ์เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้คุ้นเคยในภาษาในการสื่อสารมากขึ้น โดยผ่านกิจกรรมที่เด็กชอบและสนใจ เช่น การฟังนิทาน การร้องเพลง ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยฝึกทักษะการพูดและการฟังไปพร้อม ๆ กัน โดยเริ่มจากคำที่ง่าย ๆ สั้น ๆ ไปสู่ประโยคที่ยาว และมีความหมายที่มากขึ้น จนกระทั่งเด็กสามารถพูดเป็นเรื่องราว และสื่อสารได้ด้วยตัวเองอย่างคล่องแคล่ว