โมเดล การจัดการ เรียนการสอนปฐมวัย

ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการ เรียนรู้ด้วยใช้กระบวนการของทบทวนตนเองหลังสอน ที่ช่วยให้เข้าใจการเรียนการสอน ในการตอบสนอง ความต้องการ 4 ประการ คือ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านค่านิยม ด้านประสิทธิผล และด้านความพึงพอใจในตนเอง



การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ระดับปฐมวัย


โมเดล การจัดการ เรียนการสอนปฐมวัย


          เมื่อมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องมีการวัดผลประเมินผลเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงพัฒนาการ ผลผลิตและผลย้อนกลับจากการจัดกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูผู้สอนที่ต้องนำผลการประเมินที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเองต่อไป ในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษานั้นสามารถวัดผลแล้วสรุปออกมาเป็นผลสัมฤทธิ์ที่มีค่าเป็นตัวเลข เกรด ค่าเฉลี่ยร้อยละได้แต่สำหรับเด็กระดับอนุบาลหรือปฐมวัยที่ไม่สามารถอ่าน เขียนหนังสือได้ การวัดผลการเรียนรู้เป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละจึงเป็นไปได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับชั้นอนุบาลในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครหรือโรงเรียนของรัฐบาล

ในการประเมินพัฒนาการของเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการประเมินพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก ซึ่งถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดในแต่ละวัน แล้วนำข้อมูลการประเมินมาพิจารณาปรับปรุง วางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตร การประเมินพัฒนาการยึดหลัก ดังนี้ 

1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
3. สภาพการประเมินมีลักษณะเช่น เดียวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือและจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลาย ๆ ด้าน ไม่เป็นการทดสอบเด็ก
6. การวัดและประเมินก่อนจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินความรู้พื้นฐานก่อนการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้ทั้งนี้ เพื่อศึกษาข้อมูลความรู้พื้นฐานของเด็ก โดยใช้การสังเกตและการสนทนาซักถามความรู้ / ประสบการณ์เดิมของเด็ก
7. การวัดและประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลังจากเด็กได้รับการจัดประสบการณ์ ตามที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์การเรียนรู้ของ แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ การสังเกต การสนทนา การสัมภาษณ์ และการรวบรวมวิเคราะห์ผลงานในขณะเด็กปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน และบันทึกไว้ในการจัดการเรียนรู้ (บันทึกหลังสอน) ของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ แล้วนำผลการวัดมาประเมิน มาวิเคราะห์พิจารณาปรับปรุงพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มและปรับปรุง พัฒนากิจกรรมในโอกาสต่อไป
8. การวัดและประเมินหลังการจัดการเรียนรู้เป็นการวัดและประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยนำข้อมูลจากการวัดและประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้และสังเกตพฤติกรรม ขณะเด็กทำกิจกรรมประจำวันและพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งครูจดบันทึกไว้มาวิเคราะห์ สรุปประเมินพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามจุดประสงค์ อบ.02 โดยสรุปประเมินอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

การประเมินเด็กปฐมวัยใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดประสบการณ์ ได้แก่
1. การสังเกตจากครู
2. การบันทึกพฤติกรรม
3. การสนทนา 
4. การสัมภาษณ์
5. การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระบบ
(หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546)

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าครูจะจัดกิจกรรมรูปแบบใดก็แล้วตามต้องมีการประเมิน ตรวจสอบผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำข้อมูลที่ไปได้ไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาการสอนของตนเองให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักสูตร และเพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี คนเก่ง เหมาะสมตามวัยต่อไป







โมเดล การจัดการ เรียนการสอนปฐมวัย





1. ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นระหว่างรูปดอกบัวกับรูปเพชร

2. ให้อิสระในการเลือกภาพว่าชอบภาพไหนเพราะอะไรให้เหตุผล





โมเดล การจัดการ เรียนการสอนปฐมวัย

โมเดล การจัดการ เรียนการสอนปฐมวัย





1.        ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นระหว่างรูปดอกบัวกับรูปเพชร 

โมเดล การจัดการ เรียนการสอนปฐมวัย


            Model รูปเพชรนี้รูปทรงอาจจะไม่สวยงาม แต่ภายในมีเนื้อหาที่ชัดเจน มีรายละเอียดของตัวอักษรต่างๆ ว่าคืออะไร หมายถึงอะไร ที่บ่งบอกถึงความชัดเจนของข้อมูล ง่ายต่อผู้ที่ต้องการจะศึกษา ไม่สับสนวุ่นวาย  เพื่อหาความรู้ในข้อมูลดังกล่าว และเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาเองรวมไปถึงผู้ต้องการค้นหาข้อมูลนี้ 


โมเดล การจัดการ เรียนการสอนปฐมวัย



Model รูปดอกบัวนี้ ซึ่งมีความสวยงามแต่เนื้อหาภายในไม่ให้ความชัดเจน ไม่มีรายละเอียดจะมีแค่ตัวอักษรเพียงช่องละตัวเท่านั้น ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวไม่ได้มีคำแค่คำเดียวแต่มีหลายคำหลายความหมาย จึงยากต่อการที่จะเดาว่าตัวอักษรนี้คืออะไร



2.        ให้อิสระในการเลือกภาพว่าชอบภาพไหนเพราะอะไรให้เหตุผล

โมเดล การจัดการ เรียนการสอนปฐมวัย


                  สำหรับดิฉันเลือกรูปนี้ก็เพราะว่า เป็นคนที่ชอบความชัดเจน เปรียบเสมือนกับข้อมูลภายในรูปนี้ ซึ่งมีความชัดเจน มีข้อมูลที่บ่งบอกถึงสิ่งต่างๆ ดูเข้าใจง่าย และไม่สับสนวุ่นวาย














ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น วิเคราะห์ภาระงาน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการ ระบุงาน และภาระงาน โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานแล้วระบุเป็นชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติ การออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะจากขั้นการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (setting learning goals) ลักษณะสําคัญของงานคือ ต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทําไม่ได้ และในขณะเดียวกันต้องครอบคุมสาระสําคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถนําผลการประเมินไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ


                  แผนจัดการเรียนรู้


กิจกรรมเสรี

(เวลา 40-60 นาที)


แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ

สาระที่ควรเรียนรู้ ธรรมชาติรอบตัวเด็ก

หน่วย ผักสดสะอาด

สัปดาห์ที่ 24  วันที่ 22  เดือน พฤศจิกายน  ..  25561



1. มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

           ตัวบ่งชี้ที่ 3 รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

           ตัวบ่งชี้ที่ 2 มีความเมตตากรุณา มีน้ำใจและช่วยเหลือแบ่งปัน

มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

           ตัวบ่งชี่ที่ 2 มีวินัยในตนเอง

2. สาระการเรียนรู้

            2.1 สาระที่ควรเรียนรู้

                  1. การเล่นมุมประสบการณ์ต่างๆ

            2.2 ประสบการณ์สำคัญ

                   1. การเล่นอิสระ

                   2. การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก  ความสนใจ  และความต้องการของตนเองและผู้อื่น

                   3. การรู้จักแก้ไขปัญหาในการเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับเพื่อน

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

            1. เพื่อให้เด็กสามารถคิดแก้ปัญหาในการเล่นเป็นกลุ่มได้

            2. เพื่อให้เด็กสามารถใช้ภาษาสุภาพช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่นและรู้จักอดทนรอได้

            3. เพื่อให้เด็กรู้จักเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อยได้

4. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ      

            4.1 เด็กๆและครูร่วมท่องคำคล้องจอง “ เก็บของเข้าที่” โดยครูท่องคำคล้องจองให้เด็กๆฟังแล้วให้เด็กๆท่องตามจนคล่อง  สนทนาเกี่ยวกับมุมเสรี เช่น

                        - คำคล้องจองที่ท่องไปมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้างคะ

ขั้นสอน

            4.2 เด็กๆและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมและสร้างข้อตกลง  เช่น

                        - วันนี้ครูจะให้เด็กๆเล่นตามมุมเสริมประสบการณ์ต่างๆนะคะ มีมุมบ้าน  มุมหนังสือ  มุมวิทยาศาสตร์  บล็อกและมุมเกมการศึกษา

            4.3 เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติกิจกรรม เช่น

                        - ให้เด็กๆเลือกเล่นมุมประสบการณ์ที่เด็กๆสนใจและต้องมีความเอื้อเฟื้อแบ่งกันเล่นนะคะ

                        - ในการเล่นในแต่ละมุมนั้นให้เด็กๆเล่นมุมละ 5- 7 คน  นะคะ

                        - ถ้ามุมใดเกิน 5 -7 คน  ให้ไปเล่นมุมอื่นที่ยังไม่ครบนะคะ

                        - เมื่อครูเคาะกลอง 3 ครั้ง  ให้เด็กๆหยุดเล่นและเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย ครูเคาะกลอง 2 ครั้งให้เด็กๆมาเข้าแถวตามเดิมนะคะ

4.4 เด็กๆและครูร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามข้อ 4.3

ขั้นสรุป

            4.5 เด็กๆและครูร่วมกันสรุปกิจกรรมที่ปฏิบัติ  เช่น

                        - เด็กๆคะใครได้เล่นมุมอะไรบ้างคะและในแต่ละมุมมีวิธีการเล่นอย่างไรบ้างคะ

                        - เด็กๆมีวิธีการเล่นของเล่นอย่างไรบ้างคะ

5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้

            - มุมประสบการณ์ต่างๆ ได้แก่     มุมบ้าน  มุมหนังสือ  มุมวิทยาศาสตร์  บล็อกและมุมเกมการศึกษา

6. ประเมินพัฒนาการ

สังเกต

-          การเก็บของเล่นของใช้เข้าที่เมื่อมีผู้ชี้แนะ





โมเดล การจัดการ เรียนการสอนปฐมวัย


โรเบิร์ต มาร์ซาโน นักวิจัยทางการศึกษาที่มีชื่อเสียง เสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า วัตถุประสงค์ทางการศึกษาใหม่ (2000) โดยพัฒนาจากข้อจำกัดของวัตถุประสงค์ของบลูมและตามสภาพแวดล้อมของการสอนที่อิงมาตรฐาน (standard-based  instruction)

        รูปแบบทักษะการคิดของมาร์ซาโนผนวกปัจจัยที่กว้างขึ้นซึ่งส่งผลกระทบว่านักเรียนคิดอย่างไรและจัดเตรียมทฤษฏีที่อิงงานวิจัยมากขึ้นเพื่อช่วยครูปรับปรุงการคิดของนักเรียน

       

ขั้นตอนวัตถุประสงค์ของมาร์ซาโนนี้ทำขึ้นจากระบบสามประการและขอบเขตของความรู้

ระบบทั้งสามประกอบด้วย

1.ระบบตนเอง (self-system)

2.ระบบอภิปัญญา (metacognitive system)

3.ระบบความรู้ (cognitive system)

เมื่อเผชิญกับทางเลือกของการเริ่มต้นภาระงานใหม่ ระบบตนเองจะตัดสินใจว่าจะทำตามพฤติกรรม

เช่นปัจจุบัน หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใหม่ ระบบอภิปัญญาจะกำหนดเป้าหมายและติดตามว่าจะทำได้ดีเพียงใด ส่วนระบบความรู้จะจัดทำกระบวนการให้ข้อมูลที่จำเป็น และขอบเขตความรู้จัดเตรียมเนื้อหาให้


ระบบความรู้

มาร์ซาโนแตกระบบความรู้ออกเป็นสี่องค์ประกอบ

1) การเรียกใช้ความรู้

        การเรียกใช้ความรู้เกี่ยวข้องกับการทวนซ้ำข้อมูลจากความทรงจำถาวร  นักเรียนเพียงแค่เรียกข้อเท็จจริง ลำดับเหตุการณ์ หรือกระบวนการตามที่เก็บไว้ได้อย่างถูกต้อง

        2)ความเข้าใจ
        
ในระดับที่สูงขึ้น ความเข้าใจต้องระบุสิ่งที่สำคัญที่จะจำและวางข้อมูลนั้นไว้ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม ดังนั้น  ทักษะแรกของความเข้าใจต้องระบุองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของแนวคิดรวบยอดและตัดทิ้งส่วนที่ไม่สำคัญ

ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับการเดินทางของเลวิสและคลาค(Lewis and Clark) ควรที่จะจำเส้นทางซึ่งนักสำรวจใช้ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับจำนวนอาวุธที่พวกเขานำติดตัวไป

        3)การวิเคราะห์

        การวิเคราะห์คือ การจับคู่ การแยกแยะหมวดหมู่ การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด การกำหนดเป็นกฏเกณฑ์ทั่วไป การกำหนดเฉพาะเจาะจง    ด้วยการเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ผู้เรียนสามารถใช้สิ่งที่กำลังเรียนรู้เพื่อสร้าง องค์ความรู้ใหม่และคิดค้นวิธีการใช้สิ่งที่เรียนรู้ในสถานการณ์ใหม่    

        4)การนำความรู้ไปใช้
         เป็นระดับสุดท้ายของกระบวนการความรู้สอดคล้องกับการใช้ความรู้ประกอบด้วย

        -การตัดสินใจ เป็นกระบวนการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการชั่งน้ำหนักทางเลือกเพื่อกำหนดการกระทำที่เหมาะสมที่สุด

        -การแก้ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรคที่ขัดขวางการไปสู่เป้าหมาย

        -การสืบค้นจากการทดลองเกี่ยวข้องการตั้งสมมติฐานต่อปรากฎการณ์ทางจิตวิทยาและทางกายภาพ

        -การสำรวจสืบค้น คล้ายคลึงกับการสืบค้นจากการทดลอง แต่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ไม่เหมือนการสืบค้นจากการทดลองซึ่งมีกฎที่เฉพาะเจาะจงเพื่อเป็นหลักฐานที่อยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ทางสถิติ


ระบบอภิปัญญา
         ระบบอภิปัญญา เป็น การควบคุม” กระบวนการคิดและดูแลระบบอื่น ๆ ทั้งหมด ระบบนี้กำหนดเป้าหมายและทำการตัดสินใจว่าข้อมูลใดที่จำเป็น และกระบวนการความรู้ใดที่เหมาะที่สุดกับเป้าหมาย

ระบบตนเอง
         ระบบนี้ประกอบด้วยทัศนคติความเชื่อและอารมณ์ความรู้สึกซึ่งกำหนดแรงจูงใจของแต่ละบุคคลให้ทำภาระงานให้สำเร็จลุล่วง ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจคือ ความสำคัญ ประสิทธิภาพและอารมณ์ความรู้สึกประกอบด้วย
1) ความสำคัญ
         เมื่อนักเรียนเผชิญหน้ากับภาระงาน การตอบโต้ประการแรกคือตัดสินว่างานนั้นสำคัญต่อตนเองแค่ไหน ใช่สิ่งที่เธอต้องการเรียน หรือเชื่อว่าเธอจำเป็นต้องเรียนหรือไม่ การเรียนรู้จะช่วยให้เธอลุล่วงเป้าหมายที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ได้หรือไม่  
2
) ประสิทธิภาพ

         นักเรียนที่มีระดับประสิทธิภาพของตนเองสูงเมื่อเผชิญกับภาระงานที่ท้าทายจะปะทะด้วยความเชื่อว่าตนเองมีทรัพยากรที่จะประสบความสำเร็จ นักเรียนเหล่านี้จะทุ่มเทให้กับภาระงานอย่างเต็มที่ มุ่งมั่นในการทำงานและเอาชนะการท้าทายวิธีที่นักเรียนสามารถพัฒนาความรู้สึกของการมีประสิทธิภาพในตนเองไว้       วิธีที่ทรงพลังที่สุดคือผ่านทางประสบการณ์ที่เคยทำสำเร็จ ประสบการณ์ดังกล่าวต้องไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป ความล้มเหลวที่เกิดซ้ำ ๆ จะทำให้การมีประสิทธิภาพในตนเองลดลง แต่ความสำเร็จจากภาระงานที่ง่ายเกินไปจะไม่พัฒนาสำนึกของการมุ่งมั่นที่จะเอาชนะอุปสรรค 

3) อารมณ์ความรู้สึก

         อารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับประสบการณ์การเรียนรู้ ความรู้สึกเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อแรงจูงใจ  เช่นนักเรียนที่มีอารมณ์ความรู้สึกเป็นลบต่อการอ่านหนังสือทางเทคนิคสามารถตัดสินใจที่จะอ่านตำราทางเคมีเมื่อเขารู้สึกตื่นตัวอย่างยิ่งมากกว่าอ่านก่อนที่จะเข้านอน


การคิดวิเคราะห์ตามแนวของมาร์ซาโน
              มาร์ซาโน (Marzano. 2001 : 30 – 60) ได้พัฒนารูปแบบจุดมุ่งหมายทางการศึกษารูปแบบใหม่ ประกอบด้วยความรู้สามประเภทและกระบวนการจัดกระทำข้อมูลระดับดังนี้

ประเภทของความรู้

1.  ข้อมูล   เน้นการจัดระบบความคิดเห็นจากข้อมูลง่ายสู่ข้อมูลยากเป็นระดับความคิด รวบยอด ข้อเท็จจริงลำดับเหตุการณ์ สมเหตุและผลเฉพาะเรื่องและหลักการ   

2.  กระบวนการ   เน้นกระบวนการเพื่อการเรียนรู้จากทักษะสู่กระบวนการอัตโนมัติอันเป็น ส่วนหนึ่งของความสามารถที่สั่งสมไว้   

3.  ทักษะ   เน้นการเรียนรู้ที่ใช้ระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อจากทักษะง่ายสู่กระบวนการที่ซับซ้อนขึ้นกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลมี 6ระดับดังนี้

ระดับที่ ขั้นรวบรวม  เป็นการคิดทบทวนความรู้เดิมรับข้อมูลใหม่และเก็บเป็นคลังข้อมูลไว้เป็นการถ่ายโยงความรู้จากความจำถาวรสู่ความจำนำไปใช้ปฏิบัติการโดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างของความรู้นั้น

ระดับที่ ขั้นเข้าใจ  เป็นการเข้าใจสาระที่เรียนรู้สู่การเรียนรู้ใหม่ในรูปแบบการใช้สัญลักษณ์ เป็นการสังเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานของความรู้นั้นโดยเข้าใจประเด็นสำคัญ

ระดับที่ขั้นวิเคราะห์  เป็นการจำแนกความเหมือนและความแตกต่างอย่างมีหลักการ การจัดหมวดหมู่ที่สัมพันธ์กับความรู้การสรุปอย่างสมเหตุสมผลโดยสามารถบ่งชี้ข้อผิดพลาดได้การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่โดยใช้ฐานความรู้และการคาดการณ์ผลที่ตามมาบนพื้นฐานของข้อมูล

ระดับที่ขั้นใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์  เป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่มีคำตอบชัดเจน การแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยาก การอธิบายปรากฏการณ์ที่แตกต่าง และการพิจารณาหลักฐานสู่การสรุป สถานการณ์ที่มีความซับซ้อน การตั้งข้อสมมุติฐานและการทดลองสมมุติฐานนั้นบนพื้นฐานของความรู้  

ระดับที่ขั้นบูรณาการความรู้  เป็นการจัดระบบความคิดเพื่อบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด การกำ กับติดตามการเรียนรู้และการจัดขอบเขตการเรียนรู้

ระดับที่ ขั้นจัดระบบแห่งตน  เป็นการสร้างระดับแรงจูงใจต่อภาวะการณ์เรียนรู้และภาระ งานที่ได้รับมอบหมายในการเรียนรู้รวมทั้งความตระหนักในความสามารถของการเรียนรู้ที่ตนมี   ขั้นการคิดวิเคราะห์ของมาร์ซาโน (Marzano. 2001 :อ้างอิงจาก ประพันธศิริ สุเสารัจ.  58)

จำแนกเป็น   
1.  ทักษะการจำแนก  เป็นความสามารถในการแยกแยะส่วนย่อยต่างๆ ทั้งเหตุการณ์ เรื่องราวสิ่งของออกเป็นส่วน
ย่อย ๆ ให้เข้าใจง่ายอย่างมีหลักเกณฑ์สามารถบอกรายละเอียดของสิ่งต่างๆได้  

2.  ทักษะการจัดหมวดหมู่ เป็นความสามารถในการจัดประเภท จัดลำดับ จัดกลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน โดยยึดโครงสร้างลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นประเภทเดียวกัน

3.  ทักษะการเชื่อมโยง  เป็นความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ว่าสัมพันธ์กันอย่างไร  

4.  ทักษะการสรุปความ เป็นความสามารถในการจับประเด็นและสรุปผลจากสิ่งที่กำหนดให้   

5.  การประยุกต์เป็นความสามารถในการนำความรู้หลักการและทฤษฎีมาใช้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ สามารถคาดการณ์ กะประมาณ พยากรณ์ ขยายความ คาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

การจัดการศึกษาปฐมวัยมีรูปแบบเป็นอย่างไร

การจัดการศึกษาปฐมวัย คือเป็นการจัดในสถานะของการอบรมเลี้ยงดู และให้ การศึกษาแก่เด็กทุกด้านทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ตามวัยและ ความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต และอยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุข ทั้งนี้ในการจัดการศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยต้องอาศัยแนวคิดและหลักการ เป็น แนวทางในการ ...

การจัดการเรียนการสอนปฐมวัยมีอะไรบ้าง

แนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย.
จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง.
เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่.
จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต.

รูปแบบการจัดประสบการณ์ปฐมวัยมีกี่รูปแบบ

7 รูปแบบจัดการศึกษาปฐมวัย✨ ❣ แบบนีโอ-ฮิวแมนนิสต์ 👉ทำให้เด็กเก่ง ฉลาด แข็งแรง มีความคิดด้านบวก มีน้ำใจ และมีความสุขเช่น ได้เรียนรู้จากคุณพ่อ คุณแม่ คุณครูที่อารมณ์ดี ยิ้มแย้ม และเป็นมิตร จะทำเกิดการพัฒนาเซลล์ประสานประสาทจะเกิดในช่วงเด็กเล็กๆพัฒนามากขึ้น ❣ แบบพหุปัญญา

Read Model คืออะไร

READ Model เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่พัฒนาโดย ดร.จารุทัศน์ วงศ์ข้าหลวง ซึ่งเริ่มต้นจากการทำวิจัยที่บ้านรักเนอร์สเซอรี่สคูลโดยมีนักเรียนอายุ 2-3 ปีเป็นกลุ่มทดลองเมื่อปี พ.ศ. 2556. ได้รับความกรุณาจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษางานวิจัย