องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การท่องเที่ยว หมายถึง การที่คนเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ และตลอดระยะเวลาเหล่านั้นได้มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้น การไปเที่ยวชมสถานที่ที่สวยงามหรือทัศนียภาพแปลกใหม่ หรือเดินซื้อสิ่งของต่างๆ เป็นต้น การท่องเที่ยวมีหลายรูปแบบด้วยกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะเวลาในการท่องเที่ยว ประเภทของการคมนาคม จำนวนสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นต้น

คำว่า นิเวศ แปลว่า บ้านหรือที่อยู่อาศัย (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554) ดังนั้น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศจึงเป็นการท่องเที่ยวที่เน้นในด้านการเรียนรู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต การท่องเที่ยวตามแหล่งอนุรักษ์ทางธรรมชาติหรือวัฒนธรรม อย่างมีความรับผิดชอบ การสนับสนุนคนพื้นเมืองให้มีการศึกษาและความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงการแบ่งปันความรู้ทั้งคนในพื้นที่และผู้เยี่ยมเยือน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นการหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวระหว่างการอนุรักษ์ชุมชนและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งหมายความว่าทุกคนที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศควรนำหลักแนวคิดต่างๆ มาใช้ ได้แก่ (1) ลดผลกระทบทางกายภาพ สังคม พฤติกรรม และทางจิตใจ (2) สร้างความตระหนักและความเคารพต่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม (3) มอบประสบการณ์แง่บวกให้กันและกันทั้งผู้เยี่ยมเยือนและเจ้าบ้าน (4) ให้ความสนับสนุนทางการเงินในการอนุรักษ์ (5) สร้างรายได้ให้แก่คนท้องถิ่นและอุตสาหกรรม (6) รับรู้ถึงสิทธิและความเชื่อของชนพื้นเมืองในพื้นที่และทำงานร่วมกันเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับทุกคน (The International Ecotourism Society. (2015). What is Ecotourism?. Retrieved February 18, 2022, from https://www.ecotourism.org/what-is-ecotourism/

องค์ประกอบหลักที่สำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

องค์ประกอบหลักที่สำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มี 4 ประการ ประกอบด้วย

    1)  องค์ประกอบด้านพื้นที่ เป็นลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ  การมุ่งเน้นในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อประสานการท่องเที่ยวกับความพอใจในการเรียนรู้และสัมผัสกับระบบนิเวศ (Eco-system) อาจมีบางแห่งที่รวมเอาลักษณะวัฒนธรรมที่มีวิถีชีวิตแบบธรรมชาติ หรือเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ไว้ (Nature-based tourism) โดยเฉพาะแม้ว่าจะมีความคาบเกี่ยวกันในพื้นที่ก็ตาม ในทำนองเดียวกันการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (Natural tourism) จึงไม่ใช่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้งหมด ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการจัดการการท่องเที่ยวนั้นๆด้วย อาจเป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น (Identity or Authentic or Endemic or Unique) ธรรมชาตินั้นอาจรวมถึงแหล่งวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ (Eco-system) ในพื้นที่ด้วย

    2)  องค์ประกอบด้านการจัดการ เป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ (Responsible travel) โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอัตลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งมีการจัดการที่ยั่งยืนครอบคลุมไปถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร การจัดการสิ่งแวดล้อม การป้องกันและกำจัดมลพิษ และควบคุมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีขอบเขตจึงเป็นการท่องเที่ยวที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน (Sustainably managed tourism) เพื่อให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ (Responsibly travel) ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

    3)  องค์ประกอบด้านกิจกรรมและกระบวนการ เป็นการท่องเที่ยวที่มีกระบวนการเรียนรู้ (Learning process) โดยมีการให้การศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยวเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ความประทับใจ เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องกับผู้เกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยว ประชาชนท้องถิ่น และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว จึงเป็นการท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental education-based tourism)

    4)  องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม เป็นการท่องเที่ยวที่มีการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่น (Involvement of local community or People participation) ที่มีบทบาทในส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติตามแผน และร่วมได้รับประโยชน์อย่างเสมอภาค คอยติดตามตรวจสอบ รวมถึงร่วมบำรุงรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวอันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในท้องถิ่น ทั้งการกระจายรายได้ การยกระดับคุณภาพชีวิต และการได้รับผลตอบแทน เพื่อนำกลับมาบำรุงรักษาและจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้วย ในที่สุดแล้วท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ

องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

 ลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 

        คือการมุ่งเน้นในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อประสานการท่องเที่ยวกับความพึงพอใจในการเรียนรู้และสัมผัสกับระบบนิเวศ (Eco-system) มีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับความสนใจประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการพัฒนาอารยธรรมของมนุษย์ในการเอาชนะธรรมชาติ (ที่รวมเอาลักษณะวัฒนธรรมที่มีวิถีชีวิตแบบธรรมชาติ หรือเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ ไว้) ลักษณะเฉพาะนี้จึงทำให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ไม่ใช่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม(Cultural tourism และ Historical tourism) แม้ว่าจะมีคาบเกี่ยวกันในพื้นที่ก็ตามในทำนองเดียวกัน การท่องเที่ยวธรรมชาติ(Natural tourism) จึงไม่ใช่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้งหมด

จึงมีบางส่วนจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ หรือแหล่งท่องเที่ยวหนึ่ง ๆ อาจมีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวแบบอื่น ๆ ได้ จากลักษณะดังกล่าวจึงมีสิ่งที่ควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม ดังนี้

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศคืออะไร

ความหมาย(Definition) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติที่มี และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process)ร่วมกันของผู้ที่ เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิต

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีกี่รูปแบบ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทำได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การเดินป่า การขี่รถจักรยานลัดเลาะไปตามไร่นาและชนบท การดูถ้ำ น้ำตก พุน้ำร้อน การไต่เขาและปีนหน้าผา การนั่งเรือหรือล่องแพไปตามลำน้ำ การพายเรือล่องแก่ง การดำน้ำดูปะการัง และปลาสวยงามใต้ทะเล การเยี่ยมชมสวนผลไม้ การดูวิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น การพักแรมกับชุมชนในหมู่บ้าน วิธี ...

องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีอะไรบ้าง

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีองค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณาอยู่ 3 ประการ คือ การสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมของชุมชนการสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและระบบ ...

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเน้นเรื่องใดเป็นสําคัญ

เน้นให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส ได้รับประสบการณ์ และการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยตรง อีกทั้งเสริมสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ประโยชน์กลับคืนสู่ธรรมชาติ เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม