คู่มือการใช้นวัตกรรม ทางการ ศึกษา

คู่มือการใช้นวัตกรรม from Jirathorn Buenglee

คู่มือการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอน จากการใช้เกม โดยการบูรณาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จัดท าโดย นางมยุรฉัตร เงินทอง ต าแหน่งครู วิทยฐานะช านาญการ โรงเรียนวัดหางไหล ต าบลมะต้อง อ าเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 3 ค าน า คู่มือการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการเรียน การสอนจากการใช้เกม โดยการบูรณาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๑ เป็นการพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้เกม เข้าร่วมกับการจัดการเรียน การสอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ซึ่ขจัดทัาขึ้น 1 เพื่อเป็น การเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะการเรียนการอ่านขอขนักเรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ รวมทั้ขเป็นการสอนซ่อมเสริม การอ่าน พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ซึ่ขเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย เป็นการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนขอขตนเอข และพัฒนาการเรียนรู้ขอขนักเรียน โดยพัฒนาสื่อนวัตกรรมมาใช้ให้เหมาะสม กับนักเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสัาคัญ ผู้จัดคู่มือ ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญ คณะคุณครูและผู้เกี่ยวข้อข ทุกท่านที่กรุณา ให้ความรู้คัาปรึกษา คัาแนะนัาในกระบวนการพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จนสัาเร็จลุล่วขด้วยดีและหวัขเป็นอย่าขยิ่ข ว่ารายขานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและผู้เกี่ยวข้อขกับการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนภาษาไทยทุกท่าน มยุรฉัตร เขินทอข ผู้จัดทัา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนจากการใช้เกม โดยการบูรณาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ชื่อ นวัตกรรมทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนจาก การใช้เกม โดยการบูรณาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ สาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้จัดท า นางมยุรฉัตร เงินทอง กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ปีการศึกษา 256๔ วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนจากการใช้เกม โดยการบูรณาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ 1). เพื่อการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะการเรียน การอ่านและการเขียนขอขนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ 2). เพื่อการสอนซ่อมเสริม การอ่านพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ซึ่ขเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ๓). เป็นเพื่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขอขตนเอข และพัฒนาการเรียนรู้ ขอขนักเรียน โดยพัฒนาสื่อ นวัตกรรม มาใช้ให้เหมาะสมกับนักเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสัาคัญ วัสดุที่ใช้ ๑. กระดาษแข็ข ๒. โปสเตอร์ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ภาษาไทย ๓. กรรไกร กาว วิธีการท า ๑. หาภาพโปสเตอร์ โปสเตอร์ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ภาษาไทย อาจม) ีการบูรณาการกับพยัญชนะ สระภาษาอัขกฤษ ภาพที่จะสื่อความหมายขอขคัาและตัวเลข) ๒. ตัดพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ภาษาไทย อาจมีการบูรณาการ กับพยัญชนะ สระภาษาอัขกฤษ ภาพที่จะสื่อความหมายขอขคัา ๓. ทากาวแปะพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ภาษาไทย กับกระดาษแข็ข วิธีการเล่น ๑. แบ่ขผู้เล่นเป็นสอขฝั่ข อาจจะเล่นเป็นทีมหรือเล่นเป็นคู่ ผลัดกัน ทายตัวอักษรพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ภาษาไทย อาจมีการบูรณาการกับพยัญชนะ สระภาษาอัขกฤษ ภาพที่จะสื่อความหมายขอขคัาและตัวเลข ผลัด กันทายคัาตอบ ใครตอบถูกคนนั้นเป็นผู้ชนะ ๒. แบ่ขผู้เล่นเป็นสอขฝั่ข อาจจะเล่นเป็นทีมหรือเล่นเป็นคู่ ผลัดกัน ผสมคัา จากพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ภาษาไทย หรือทายจัานวน อาจบูรณาการกับพยัญชนะ สระภาษาอัขกฤษ ภาพที่จะสื่อความหมายขอขคัาและตัวเลข ผลัดกันทายคัาตอบ ใครตอบถูกคนนั้นเป็นผู้ชนะ ประโยชน์ของรูปแบบการเรียนการสอนจากการใช้เกม โดยการบูรณาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เป็นการเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะการเรียน การอ่านและการเขียนขอขนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ใช้ในการสอนซ่อมเสริม การอ่านพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ซึ่ขเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนขอขตนเอข และพัฒนาการ เรียนรู้ขอขนักเรียน โดยพัฒนาสื่อนวัตกรรมมาใช้ให้เหมาะสม กับนักเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสัาคัญ หมายเหตุ เกมจัดเริ่มต้นนี้ เป็นกลุ่มเกมที่สามารถบูรณาการ ในการเล่นเกมเกี่ยวกับพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ภาษาไทย อาจมีการบูรณาการกับพยัญชนะ สระภาษาอัขกฤษ ภาพที่จะสื่อ) )ความหมายขอขคัาและตัวเลข ในหลายรูปแบบและใช้ในการจัด การเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการสอนซ่อมเสริมและการสอน ออนไลน์ในช่วขการแพร่ระบายขอขเชื้อไวรัสโควิด - 19 มยุรฉัตร เขินทอข ผู้จัดทัา รูปแบบการเรียนการสอน จากการใช้เกม โดยการบูรณาการ จัดการเรียนการสอนภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ บูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น


คู่มือการใช้นวัตกรรม

นำ เ ส น อ โ ด ย :
นุ ช สุ นี ย์ ส ะ ม ะ แ อ

คำนำ

คำนำ

คู่มือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา นวัตกรรมและ
เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียน
รู้ (1002601) เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนและการนำ
เสนอสื่อนวัตกรรมภายในรายวิชานี้ ซึ่งในคู่มือเล่มนี้มีเนื้อหา
สาระเกี่ยวกับเรื่อง ADDIE Model ขั้นการวิเคราะห์ ขั้นการ
ออกแบบสื่อ ขั้นการพัฒนา ตัวอย่างสื่อเรื่อง ต่างกันนิด พิชิต
ภาษาในรายวิชาภาษาไทย วิธีการใช้สื่อนวัตกรรมและการนำ
ไปปรับใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน ผู้จัดทำได้พัฒนา
สื่อเรื่อง ต่างกันนิด พิชิตภาษา แต่ยังขาดขั้นการนำไปใช้และ
ขั้นการประเมินสื่อ

การจัดทำคู่มือเล่มนี้ได้รับการอนุเคราะห์จาก ผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญพักตร นภากุล และขอขอบพระคุณผู้ที่
มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ที่คอยให้คำปรึกษา คำแนะนำสำหรับ
การทำคู่มือเล่มนี้ ผู้จัดทำหวังว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ใน
การเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย และสามารถนำความรู้ที่
ได้จากการศึกษานี้ไปใช้ในการเรียนการสอนต่อไป

นุชสุนีย์ สะมะแอ

สารบั ญ

เรื่อง ก
1
คำนำ 2
ADDIE Model 5
ปัญหา ที่มาและความสำคัญ 8
9
ด้านการวิเคราะห์ 10
วิเคราะห์เนื้อหา
วิเคราะห์ภาระงาน 11
วิเคราะห์ผู้เรียน

ด้านการออกแบบ 13
Story board

ด้านการพั ฒนาสื่อ 16
ตัวอย่างสื่อ 20
23
วิธีการใช้สื่อนวัตกรรม 24
การนำสื่อไปปรับใช้
ประวัติผู้จัดทำ

บรรณานุกรม

1

ADDIE Model

analysis ด้านการวิเคราะห์
Design ด้านการออกแบบ
development ด้านการพัฒนา
implement การดำเนินการ
evaluation การประเมินผล

2

สื่อการเรียนรู้ ต่างกันนิด พิชิตภาษา

๑. ปัญหา : นักเรียนไม่สามารถแยกแยะการใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสมกับการเขียนหรือใช้ถูกระดับ
๒. นวัตกรรมที่ใช้แก้ : ทำสื่อ E-Bookพร้อมเกม
๓. ความสำคัญและที่มาของปัญหา :

ความสำคัญของภาษา หลักสูตรกำหนดในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย
ความสำคัญภาษาพูด ตัวชี้วัด ใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและ
และภาษาเขียน บุคคล มาตรฐาน ท ๔.๑ ป.๖/๒

กลุ่มสาระและตัวชี้วัด

ที่มาและปัญหา

สื่อ ที่มาและปัญหาในการใช้ภาษา ความเป็นมาของปัญหา

สรุป ที่พบด้านการสอน ในเรื่องของการใช้ภาษาพูดและภาษา
เขียน นักเรียนส่วนมากไม่สามารถแยกแยะในการเลือกใช้

ภาษาได้ เนื่องจากคุ้นชินกับภาษาพูดมากกว่า จึงเกิด

ปัญหาในด้านของการเลือกใช้คำหรือการเขียนที่ไม่เหมาะ

สมกับโอกาสหรือบุคคล

สื่อที่ใช้จะเป็นการทำสื่อ E-Book ใส่ข้อมูลที่สรุปเรียบร้อย
แล้ว เพื่อให้นักเรียนสามารถแยกแยะได้ชัดเจนในภาษาแต่ละ
ระดับ ภายในของสื่อจะมีการยกตัวอย่างประกอบของแต่ละภาษา
อีกทั้งมีเกมส์ภายในสื่อ เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจของนักเรียน

ดังนั้นดิฉันจึงได้พัฒนาสื่อชื่อว่า ต่างกันนิด พิชิตภาษาขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาด้าน
ของการใช้ภาษาที่ยังไม่สามารถแยกแยะหรือเลือกใช้คำที่ถูกต้องตามหลักภาษา เหมาะ
สมกับบุคคล โอกาส และส่งเสริมผู้เรียนให้เข้าใจภาษาในแต่ละระดับ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

3

สื่อการเรียนรู้ ต่างกันนิด พิชิตภาษา

ภาษาพูดและภาษาเขียน

ภาษามีความสำคัญอย่างมากในการสื่อสารของมนุษย์ เนื่องจากภาษาเป็น

เครื่องมือที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารหรือติดต่อกันได้อย่างเข้าใจกัน

สำหรับการพูดภาษาเดียวกันเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกเป็นพวกเดียวกันและเป็นเครื่อง

ยึดเหนี่ยวความผูกพันของกันและกัน ซึ่งภาษาแต่ละท้องถิ่นหรือภาษาที่ใช้ใน

ชีวิตประจำวันจะมีความแตกต่างกับภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานหรือใช้ในการ

เขียนที่เป็นพิธีการกว่าปกติ และภาษาไทยมีหลายระดับแต่ละระดับมีการใช้ที่

แตกต่างกันไปทั้งภาษาพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวันและภาษาที่เป้นทางการที่ใช้ใน

การเขียนหรือพูดติดต่องานราชการ ภาษายังเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์

ที่สามารถสะท้อนวัฒนธรรมอย่างมีเอกลักษณ์ออกมาของแต่ละชนชาติและภาษา

ยังเป็นเครื่องมือในการแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชนชาตินั้น ๆ ด้วยลีลา

ทำนอง ระดับของภาษา จึงส่งผลให้ภาษามีศิลปะ ความงดงามของภาษา

ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากการเลือกใช้

ภาษาพูดหรือใช้ภาษาเขียนสามารถช่วยให้การสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่ง

ขึ้น ผู้รับสารสามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อ การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารนั้นไม่

ว่าจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาเขียน สามารถเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ว่าผู้พูดหรือผู้เขียน

มีความรู้ทางภาษามากน้อยแค่ไหน ได้รับการอบรมสั่งสอนมาดีอย่างไร ภาษาจึง

เป็นเครื่องบอกระดับการศึกษาและได้รับการอบรมของผู้ใช้ด้วย เหมือนสำนวน

ไทยโบราณที่ว่า “สำเนียงส่อภาษา กริยาส่อสกุล” ภาษาพูดเป็นภาษาที่แท้จริงของ

มนุษย์ ส่วนภาษาเขียนเป็นเพียงวิวัฒนาการขั้นหนึ่งของภาษาเท่านั้น มนุษย์ได้

ใช้ภาษาพูดติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอยู่เสมอ ทั้งในเรื่องส่วนตัว สังคม และหน้าที่

การงาน ภาษาพูดจึงสามารถสร้างความรัก ความเข้าใจ และช่วยแก้ไขปัญหา ต่าง

ๆ ในสังคมมนุษย์ได้มากมาย ภาษายังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพูด

เพื่อให้เหมาะสมกับผู้รับสาร เหมาะสมกับโอกาสและกาละเทศะ อีกทั้งการเลือก

ใช้ภาษาในการเขียน เขียนได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษาไทย เหมาะสมกับ

สภาพของผู้รับสาร โอกาสหรือวาระอื่น ๆ และเพื่อให้ผู้ใช้ภาษาสามารถเลือกใช้

ภาษาได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ต่าง ๆ

4

หลักสูตรกำหนดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ ๔ หลัก
การใช้ภาษาไทย ตัวชี้วัด ใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
มาตรฐาน ท ๔.๑ ป.๖/๒ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย
การเปลี่ยนแปลงของภาษา พลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและ
รักษาภาษาไทยเป็นสมบัติของชาติ

ในปัจจุบันนักเรียนสนทนากันตามความเคยชินกับภาษาพูดและ
ได้ยินในชีวิตประจำวัน จึงเป็นบ่อเกิดของการเลือกใช้ภาษาพูดที่ไม่
เหมาะสมกับงานเขียนหรือเลือกใช้ระดับภาษาที่ยังไม่ถูกต้องกับ
การนำมาใช้ นำมาซึ่งปัญหาที่นักเรียนยังไม่สามารถหรือไม่เข้าใจถึง
ความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน ซึ่งส่วนมากนักเรียนใน
ระดับชั้นประถมศึกษานั้นยังไม่สามารถที่จะแยกแยะหรือเลือกใช้คำที่
ถูกต้องตามหลักภาษาไทยและถูกต้องเหมาะสมกับบุคคล โอกาสได้
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสาเหตุหลักที่นำมาสู่การจัดทำสื่อชิ้นนี้ขึ้นมา

สื่อที่ใช้จะเป็นการทำสื่อ E-Book ที่มีความน่าสนใจและมีเหมาะสม
กับช่วงวัย และการใส่ข้อมูลหรือเนื้อหาที่มีการสรุปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็น
ข้อมูลพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อให้นักเรียนสามารถ
แยกแยะได้ชัดเจนในภาษาแต่ละระดับหรือทำความเข้าใจใหม่กับภาษาที่
จะเลือกนำมาใช้ ภายในของสื่อจะมีการยกตัวอย่างประกอบของแต่ละ
ภาษา เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่นักเรียนอีกทั้งมีเกมท้ายบทอยู่
ภายในสื่อ เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจของนักเรียน

ดังนั้นดิฉันจึงได้พัฒนาสื่อชื่อว่า ต่างกันนิด พิชิตภาษาขึ้นมา
เพื่อแก้ไขปัญหาด้านของการใช้ภาษาที่นักเรียนยังไม่สามารถ
แยกแยะหรือเลือกใช้คำที่ถูกต้องตามหลักภาษาที่เหมาะสมกับบุคคล
โอกาส รวมถึงการเปรียบเทียบภาษาพูดกับภาษาเขียนที่สามารถนำ
มาใช้ในการเรียนในชีวิตประจำวันได้และส่งเสริมผู้เรียนให้เข้าใจ
ภาษาในแต่ละระดับสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

5

ด้านการวิเคราะห์

การวิเคราะห์เนื้อหา

เนื้อหาที่สอนจัดอยู่ในหลักสูตรกำหนดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระที่ ๔
หลักการใช้ภาษาไทย ตัวชี้วัด ใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล มาตรฐาน ท ๔.๑
ป.๖/๒ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา พลังของ
ภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยเป็นสมบัติของชาติ

ภาษาพูดและภาษาเขียน

ภาษาพูด คือ ภาษาเฉพาะกลุ่ม หรือเรียกว่า ภาษาปาก เช่น พวกภาษากลุ่มวัยรุ่น บาง

ครั้งฟังแล้วดูไม่สุภาพ มักใช้พูดระหว่างคนที่สนิทสนมกันมาก ๆ

ภาษาเขียน คือ ภาษาเขียนที่ลักษณะเคร่งครัด ในหลักทางภาษา เรียกว่า ภาษา

แบบแผน ระดับไม่เคร่งครัดมากนัก เรียกว่า ภาษาไม่เป็นทางการ

ตัวอย่างเปรียบเทียบภาษาพูดและภาษาเขียน

๑.ภาษาพูดเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะวัย เช่น

ภาษาพูด ภาษาเขียน

วัยโจ๋ วัยรุ่น

เจ๋ง เยี่ยมมาก

แห้ว ผิดหวัง

เดี้ยง พลาดและเจ็บตัว

มั่วนิ่ม ทำไม่จริงจังและปิดบัง

๒.ภาษาพูด มักเป็นภาษาไทยแท้ คือ ภาษาชาวบ้าน เข้าใจง่าย เป็นภาษากึ่งแบบแผน เช่น

ภาษาพูด ภาษาเขียน

ผัวเมีย สามี ภรรยา

ดาราหนัง ดาราภาพยนตร์

ปอดลอย หวาดกลัว

๓.ภาษาพูดมักเปลี่ยนแปลงเสียวสระและเสียงพยัญชนะ รวมทั้งนิยมตัดคำให้สั้นลง เช่น

ภาษาพูด ภาษาเขียน

เริ่ด เลิศ

เพ่ พี่

จิงอะป่าว จริงหรือเปล่า

6

๔.ภาษาพูด ยืมคำภาษาต่างประเทศ และมักตัดคำให้สั้นลง เช่น

ภาษาพูด ภาษาเขียน

เว่อร์ (Over) เกินควร เกินกำหนด

จอย (Enjoy) สนุก เพลิดเพลิน

ก๊อบ(Coppy) สำเนา ต้นฉบับ

ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน

๑. ภาษาเขียนไม่ใช้ถ้อยคำหลายคำที่เราใช้ในภาษาพูดเท่านั้น เช่นเยอะแยะ โอ้โฮ จมไป

เลยแย่ ฯลฯ

๒. ภาษาเขียนไม่มีสำนวนเปรียบเทียบหรือคำสแลงที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในภาษา เช่นชัก

ดาบ พลิกล็อค โดดร่ม

๓. ภาษาเขียนมีการเรียบเรียงถ้อยคำที่สละสลวยชัดเจน ไม่ซ้ำคำหรือซ้ำความโดยไม่

จำเป็น ในภาษาพูดอาจจะใช้ซ้ำคำหรือซ้ำความได้เช่น การพูดกลับไปกลับมา เป็นการย้ำ

คำหรือเน้นข้อความนั้น ๆ

ข้อแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียนอีกหลายประการ

๑) ภาษาเขียนใช้คำภาษามาตรฐานหรือภาษาแบบแผน ซึ่งนิยมใช้เฉพาะในวงราชการ

หรือในข้อเขียนที่เป็นวิชาการทั้งหลายมากกว่าภาษาพูด เช่น

ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน - ภาษาพูด

สุนัข หมา สุกร หมู กระบือ ควาย

แพทย์ หมอ เครื่องบิน เรือบิน เพลิงไหม้ ไฟไหม้

ภาพยนตร์ หนัง รับประทาน ทาน,กิน ถึงแก่กรรม ตาย,เสีย

ปวดศีรษะ ปวดหัว เงิน ตัง(สตางค์) อย่างไร ยังไง

๒) ภาษาพูดมักจะออกเสียงไม่ตรงกับภาษาเขียน คือ เขียนอย่างหนึ่งเวลาออกเสียงจะ

เพี้ยนเสียงไปเล็กน้อยส่วนมากจะเป็นเสียงสระ เช่น

ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน - ภาษาพูด

ฉันชั้น เขาเค้า ไหม ไม้(มั้ย) เท่าไร เท่าไหร่

หรอ เร้อะ แมลงวัน แมงวัน สะอาด ซาอาด

7

ข้อแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียนอีกหลายประการ

๓) ภาษาพูดสามารถแสดงอารมณ์ของผู้พูดได้ดีกว่าภาษาเขียน คือมีการเน้นระดับ

เสียงของคำให้สูง-ต่ำ-สั้น-ยาว ได้ตามต้องการ เช่น

ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด

ตาย ต๊าย บ้า บ๊า ใช่ ช่าย

เปล่า ปล่าว ไป ไป๊ หรือ รึ(เร้อะ)

ลุง ลุ้ง หรอก หร้อก มา ม่ะ

๔) ภาษาพูดนิยมใช้คำช่วยพูดหรือคำลงท้าย เพื่อช่วยให้การพูดนั้นฟังสุภาพและ
ไพเราะยิ่งขึ้น เช่น ไปไหนคะ ไปตลาดค่ะ รีบไปเลอะไม่เป็นไรหรอก นั่งนิ่งๆ ซิจ๊ะ

๕) ภาษาพูดนิยมใช้คำซ้ำ และคำซ้อนบางชนิดเพื่อเน้นความหมายของคำให้ชัดเจนยิ่ง
ขึ้น เช่น
คำซ้ำดี๊ดี เก๊าเก่า ไปเปย อ่านเอิ่น ผ้าห่มผ้าเหิ่ม กระจกกระเจิก อาหงอาหาร
คำซ้อน มือไม้ ขาวจั้ะ ดำมิดหมี แข็งเป็ก เดินเหิน ทองหยอง……

ภาษาพูด ภาษาเขียน
เป็นไง เป็นอย่างไร
เอาไงดี ทำอย่างไรดี
งานยุ่งชะมัด
จริง ๆ แล้ว มีงานมาก
ข้อสอบกล้วยมา อันที่จริง
ข้อสอบง่ายมาก

8

ด้านการวิเคราะห์ภาระงาน/ชิ้นงาน

๑. นักเรียนช่วยกันอ่านตัวอย่างคำภาษาพูดและภาษาเขียน
๒. นักเรียนร่วมกันชมวีดิทัศน์ เรื่อง ไตรยางค์
๓. นักเรียนช่วยกันบอกภาษาเขียนที่มีความสัมพันธ์ตรงกับภาษา
พูดที่แสดงให้
๔. นักเรียนร่วมกันเล่นเกมที่ได้จัดเตรียมไว้
๔.๑ เกมอยู่ไหนนะคู่เรา
๔.๒ นึกดี ๆ อันไหนนะ
๔.๓ ด้ายแดงภาษา
๕. นักเรียนเปลี่ยนประโยคให้เป็นภาษาเขียนที่เหมาะสม

9

ด้านการวิเคราะห์ผู้เรียน

๑.ระดับการศึกษา : นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๒.จำนวนนักเรียน : ๓๐ คน (ผู้หญิง ๒๐ คน / ผู้ชาย ๑๐ คน )
๓.ช่วงอายุ : ๑๑-๑๒ ปี
๔.ศาสนา : ไทยพุทธ ๒๒ คน / มุสลิม ๘ คน
๕.เชื้อชาติไทย/สัญชาติไทย จำนวน ๓๐ คน
๖.ความถนัด
-สามารถเรียนรู้จาการปฏิบัติด้วยตนเอง มีความอยากรู้อยากเห็น
-สามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนได้ สนใจในการรเล่นร่วมกันกับเพื่อน
-สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคคล่องแคล่ว และไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ

๗.แรงจูงใจ
-การมอบของรางวัลให้ อาทิ แจกสติ๊กเกอร์ให้สะสม แต้มสะสมคะแนน
-การชมนักเรียนเมื่อทำดี และไม่ซ้ำเติมเมื่อทำงานไม่ดีหรือตอบคำถามไม่ถูกต้อง
-การให้คะแนนพิเศษกับนักเรียน
-บางครั้งอาจให้การเสริมแรงเป็นระยะ ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากเด็กหลังการให้
แบบฝึกหัดหรือการสอบ ควรให้เด็กได้รับรู้คำตอบทันทีด้วยการนำมาเฉลยและอภิปราย

๘.บรรยากาศในชั้นเรียน
-การจัดบรรยากาศทางการเรียนการสอนต้องไม่ให้เครียดเกินไป
-ให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนหรือตอบคำถาม ไม่ควรพบแต่ความล้มเหลว
บ่อยครั้ง และหากมีความ
-ล้มเหลวเกิดขึ้น ควรให้มีการเสริมแรงเท่าที่จะทำได้
-ผู้เรียนบางคนเรียนได้ดีในบรรยากาศการเรียนที่ไม่เคร่งเครียด แต่บางคนอาจจะเรียน
ได้ดีกว่าในบรรยากาศการเรียนที่เคร่งครัดและมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด ควรปรับความ
สมดุลในห้องเรียน

๙.ทัศนคติของผู้เรียนต่อรายวิชา
-จากการสำรวจพบว่า นักเรียนมีทัศนคติดีต่อรายวิชาภาษาไทย ชอบและสนุกกับ
กิจกรรมที่ได้เข้าร่วม

๑.สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อผู้เรียน 10
-ผู้เรียนมีปัจจัยทางสังคม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในชั้นเรียน
-ผู้เรียนบางคนมีแรงจูงใจทางสังคม นำมาซึ่งการพัฒนาตนไปในทางที่ดี

พื้นฐานความรู้

พื้นฐานการเรียนวิชาภาษาไทย
-ผู้เรียนมักจะใช้ภาษาพูดที่สนทนากันในชีวิตประจำวันนำมาเขียนเป็นภาษาเขียน
ไม่สามารถแยกแยะได้
-เนื่องจากการเขียนในภาษาไทยมีความจำเป็นในการศึกษาขั้นต่อไป เมื่อผู้เรียนไม่
สามารถที่จะแยกแยะการใช้ลักษณะคำหรือไม่สามารถแยะแยกระหว่างภาษาพูดกับ
ภาษาเขียนได้ จะทำให้การเขียนหรือการสื่อสารอาจมีเกิดความไม่เหมาะสมที่
สอดคล้องกับในนำไปใช้ในวาระต่าง ๆ

ข้อจำกัดในการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนรู้ที่นักเรียนถนัด
-จัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่มีความหลากหลายน่าสนใจ เช่น เกมต่าง ๆ
เน้นการจัดทำกิจกรรม เพราะสำหรับเด็กประถมปลายมักจะชอบการทำกิจกรรมมาก
จึงควรจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบ กิจกรรมที่ให้ผู้
เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในห้อง มีการร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้ ความ
คิดเห็นตลอดจนประสบการณ์ระหว่างผู้เรียน เพื่อปรับเติม เสริมแต่ง หรือกิจกรรมที่
สร้างความสะเทือนใจ ซาบซึ้งและประทับใจ ทำให้ตื่นตัวในการเรียนรู้ร่วมกันกับ
เพื่อนในห้องเรียน และควรหลีกเลี่ยงการแข่งขันกัน เนื่องจากเด็กในวัยนี้อาจจะ
พัฒนาความรู้สึกต่ำต้อยความรู้สึกกว่าตนเองสู้เพื่อน ๆ ไม่ได้โดยง่าย

ความสนใจ

-สื่อที่มีการนำเสนอในรูปแบบของการ์ตูน ภาพยนตร์ วิดีโอ โทรทัศน์และสิ่งพิมพ์
ต่าง ๆ สีสันสดใส เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจในเนื้อหาที่จะสอน และสามารถเข้าใจใน
เนื้อหาได้ง่าย

-การเล่นเกมและกิจกรรมร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน เพิ่มความสนุกในการเรียนและ
ได้ทบทวนเนื้อหาภายใน

11

ด้านการออกแบบ

Story board

12

Story board

ด้านการพัฒนาสื่อ 13

เป็นขั้นตอนการสร้างสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาตามที่ได้ออกแบบไว้

ตัวอย่างสื่อ จาก Canca ที่แปลเป็น E-Book

14

ตัวอย่างสื่อ จาก Canca ที่แปลเป็น E-Book

(ภาพจาก https://anyflip.com/homepage/ujuhe)

15

ตัวอย่างเกม จาก wordwall

(ภาพจากhttps://wordwall.net/resource/)

16

วิธีการใช้สื่อนวัตกรรม

สื่อนวัตกรรมเรื่อง ต่างกันนิด พิชิตภาษา จะนำเสนอสื่อในรูปแบบของ E-
Book

ขั้นตอนการใช้สื่อมี 7 ขั้นตอน ได้แก่

1. ผู้ใช้สื่อเปิดไฟล์รูปภาพที่ผู้จัดทำได้นำเสนอไว้ ซึ่งในภาพจะประกอบไปด้วย
Barcode คู่มือการใช้นวัตกรรม Barcode สื่อเพิ่ม้ติมกับBarcode สื่อนวัตกรรม
เรื่อง ต่างกันนิด พิชิตภาษา พร้อมสแกน Barcode ของสื่อนวัตกรรม

2. เมื่อสแกนเรียบร้อย จะเข้าสู่เว็บ https://anyflip.com/homepage/ujuhe)
เพื่อเข้าถึงสื่อนวัตกรรมเรื่อง ต่างกันนิด พิชิตภาษา

3. ภายในสื่อนวัตกรรมจะนำเสนอความรู้เรื่องต่างกันนิด พิชิตภาษา ในรูปแบบของ
E-Book

17

4. เมื่อผู้ใช้หรือผู้เรียนเข้าใจและเรียนรู้เรียบร้อยแล้วจนถึงหน้าเกม ให้
สแกน Barcode ของแต่ละเกม เพื่อเป็นการทบทวนความรู้และประเมินผู้
เรียน โดยเกมมีทั้งหมด 6 เกมคือ
-จับคู่หรรษา
-อยู่ไหนนะ
-ไล่ให้ทัน
-คู่กัน
-เปิดให้ตอบ
-เรียงให้ถูกนะ
5. เมื่อผู้เรียนได้สแกน Barcode ของเกมแล้ว จะเป้นช่วงการเข้าสู่เกมในรูป
แบบต่าง ๆ
5.1 ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบเกมทั้ง 6 เกม

1. เพิ่มชื่อตัวเองลงไปในช่องสี่เหลี่ยม และกด ปุ่มเริ่ม

2.เมื่อเข้าสู่หน้าแกม ให้อ่านรายละเอียดการเล่นเกม ด้านล่างปุ่มเริ่มเกม
จากนั้นให้กดปุ่ม เริ่ม เพื่อทำการเริ่มเกมได้เลย

3. เมื่อจบเกมแล้ว ผู้เรียนสามารถกดปุ่ม 3 ตัวเลือกด้วยกัน 18

- หากอยากทราบลีดเดอร์บอร์ด ให้กดที่ปุ่ม ลีดเดอร์บอร์ด

(ลีดเดอร์บอร์ดคือ รายชื่อผู้เล่นที่มีอันดับสูงที่สุดในผู้เล่นทุกคน)

-หากอยากดูคำตอบ ให้กดที่ปุ่ม แสดงคำตอบ

-หากอยากเริ่มเล่นเกมใหม่ ให้กดที่ปุ่ม เริ่มใหม่

6. เมื่อผู้ใช้หรือผู้เรียนเล่มเกมเรียบร้อยแล้ว ผู้เรียนสามารถรับชมวีดิทัศน์
เพิ่มเติม เรื่อง ไตรยางศ์ ได้ โดยการสแกน Barcode จะเข้าสู่ You Tube
https://youtu.be/UZQC7d1cKlQ ระยะเวลาของสื่อเพิ่มเติมประมาณ
3:27 นาที

6.1 เมื่อคลิกเข้าไปแล้วจะปรากฏเนื้อหาเพิ่มเติม เรื่องไตรยางศ์

19

7. และผู้เรียนสามารถดูประวัติของผู้จัดทำได้ โดยการสแกน
Barcode ที่อยู่ในสื่อ

เพียงเท่านี้ผู้เรียนหรือผู้เข้าชมทุกท่านก็สามารถเรียนรู้และสนุกไป
กับสื่อ เรื่อง ต่างกันนิดพิชิตภาษา ได้แล้วค่ะ

การนำสื่อไปปรับใช้ 20

วิธีการสอนตามทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่

โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์
หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่

1.เร่งเร้า กระตุ้นและดึงดูดความสนใจ (Gain Attention) โดยแรกเริ่มก่อนที่จะนำ
เข้าสู่บทเรียนนั้น คือ

- ครูเรียกสตินักเรียน โดยการละลายพฤติกรรมของนักเรียนด้วยการเล่นเกมที่
เตรียมไว้

- ครูพูดคุยกันเองกับนักเรียน เพื่อที่จะเรียกความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน เช่น วัน
นี้เป็นอย่างไรบ้างคะ ทานข้าวกันมาแล้วหรือยัง และอื่น ๆ เป็นการพูดคุยให้ผ่อนคลาย
และได้สนิทกับนักเรียนมากยิ่งขึ้น

- ครูได้ใช้สื่อประกอบกันหลาย ๆ อย่าง ภาพ สี แสงต่าง ๆ โดยสื่อที่สร้างขึ้นมานั้น
เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและน่าสนใจ เร้าใจผู้เรียนให้สนใจอยากจะเรียน

2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบ
- ครูบอกวัตถุประสงค์ในการเรียนเรื่อง ภาษาพูดและภาษาเขียน เพื่อให้ผู้เรียนได้
ทราบสิ่งที่ผู้สอนต้องการสื่อ โดยเรื่องภาษาพูดและภาษาเขียน จะสามารถทำให้ผู้เรียน
อธิบายลักษณะของภาษาพูดและภาษาเขียนได้ การใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนในการ
สื่อสารได้ถูกต้องมีมารยาทในการพูดและการเขียน และรวมถึงการบอกเนื้อหาคร่าว ๆ
ของเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับภาษาพูดและภาษาเขียน ซึ่งการที่ผู้เรียนได้ทราบถึงจุด
ประสงค์ของบทเรียนล่วงหน้า จะทำให้ผู้เรียนนั้นสามารถมุ่งประเด็นความสนใจไปที่
เนื้อหาบทเรียนในส่วนของสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องหรือที่จำเป็นได้ดีกว่า

3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) เป็นการทดสอบความรู้เดิมของ
นักเรียนว่ามีความรู้เกี่ยวกับภาษาพูดและภาษาเขียนว่ามีมากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะเริ่ม
นำเสนอเนื้อหาที่เป็นความรู้ใหม่ ๆ การทบทวนในรูปแบบการซักถามกันรวม ๆ ใน
ห้องเรียน เกี่ยวกับเรื่องของภาษาที่นักเรียนใช้ในชีวิตประจำวัน อาจจะอยู่ในรูปแบบของ
การกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดย้อนหลังถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ก็ได้

- การยกตัวอย่างคำขึ้นมา อาทิ สุนัข ยังไง ทำไร กิน และอื่น ๆ และถามว่าคำนี้ที่
นักเรียนรู้จักนั้น คิดว่าเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน? เพื่อให้นักเรียนได้นึกคิดถึงความ
แตกต่างของทั้งสองภาษา ซึ่งการกระตุ้นดังกล่าวอาจแสดงด้วยคำพูด คำเขียน ภาพ
หรือผสมผสานกันแล้วแต่ความเหมาะสม ปริมาณมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหา

21

4. นำเสนอเนื้อหาใหม่หรือสิ่งเร้าใหม่ (Present New Information) การนำเสนอ
เนื้อหาของบทเรียน

- ครูใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือ การนำเสนอภาพหรือ Power point ในเรื่อง
ภาษาพูดและภาษาเขียน ประกอบกับคำอธิบายสั้น ๆ ง่าย ๆ ได้ใจความ

- การใช้ภาพประกอบซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น มองเห็น และเกม
ให้นักเรียนเล่น

- ครูให้นักเรียนรับชมวีดิทัศน์ความรู้เพิ่มเติม เรื่องไตรยางค์ เพื่อเป็นกสนเน้น
หรือทบทวนความรู้เดิม

5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) การใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการที่จะ
กระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้เดิมมาใช้ในการศึกษาความรู้ใหม่ที่ชัดเจนมากขึ้น
ได้แก่

- เทคนิคการให้ตัวอย่างทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน เพื่อช่วยทำให้ผู้เรียน
แยกแยะความแตกต่างของทั้งสองได้อย่างชัดเจนขึ้นมากยิ่งขึ้น

- ครูถามนักเรียน อาทิ คำว่าหมู หากเป็นภาษาเขียนเรียกว่าอะไร? แล้วให้
นักเรียนช่วยกันตอบ

- ให้นักเรียนยกตัวอย่างคำทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน ซึ่งเป็นการฝึกให้
ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และตีความในเนื้อหาใหม่ลงบนพื้นฐานของความรู้และ
ประสบการณ์เดิม รวมกันเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่

6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนรู้
เนื้อหาใหม่ ๆ มาแล้ว และผ่านการรับชมชมวีดิทัศน์เรียบร้อยแล้วนั้น

- ผู้สอนจะให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มี
โอกาสร่วมคิด ช่วยกันภายในห้องเรียน ได้แก่

- ให้นักเรียนช่วยกันบอกภาษาเขียนที่มีความสัมพันธ์ตรงกับภาษาพูดที่แสดง
ให้ ช่วยกันตอบ แสดงความคิดเห็น กิจกรรมเหล่านี้ที่จะไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อ
หน่าย เมื่อมีส่วนร่วมก็มีส่วนคิดนำหรือติดตามบทเรียน ย่อมมีการผูกประสานให้
ความจำของผู้เรียนดีขึ้น จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านหรือคัดลอก
ข้อความจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว

22

7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) ผู้สอนแจ้งให้ผู้เรียนทราบเป็นระยะว่า ผู้
เรียนกำลังเรียนอยู่ในส่วนใดของบทเรียนและห่างจากเป้าหมายที่ตั้งไว้เท่าไหร่ อาทิ เมื่อ
เรียนมาถึงครึ่งทาง ก็บอกนักเรียนว่าอีกนิดเดียวคือหมดแล้วสำหรับบทนี้ เพื่อเป็นการ
กระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าผู้เรียนได้ทราบถึงจุดที่เขาอยู่และเป้าหมาย
ชัดเจนที่เขาจะต้องไปถึง จะเป็นการกระตุ้นให้อยากเรียนต่อ การให้ข้อมูลย้อนกลับที่เป็น
ภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาจะช่วยเร้าความสนใจยิ่งขึ้น อาจจะใช้เสียงสำหรับการให้ข้อมูล
ย้อนกลับ เช่น เมื่อตั้งคำถามให้นักเรียนตอบคำที่เป็นภาษาพุดให้ถูกต้อง ให้ใช้เสียงที่
แตกต่างกันหากมีทั้งนักเรียนที่ตอบคำถามที่ถูกต้องและคำตอบที่ผิด และการเฉลยคำ
ตอบที่ถูกหลังจากผู้เรียนตอบผิด 2-3 ครั้ง และเมื่อสอนไปเรื่อย ๆ จะมีการสุ่มถามในเรื่อง
ที่ได้สอนไปเพื่อเร้าความสนใจ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนติดตามเนื้อหาตั้งแต่ต้นถึง

8. การประเมินผลการแสดงออก (Assess Performance) เป็นการทดสอบความรู้ใหม่
หลังจากศึกษาบทเรียนเนื้อหาสาระเรื่อง ภาษาพูดและภาษาเขียน
- การทดสอบหลังบทเรียน จะอยู่ในรูปแบบของการตอบคำถาม อาทิ การให้นักเรียน
เปลี่ยนประโยคต่อไปนี้ให้เป็นภาษาเขียนที่เหมาะสม
- ครูให้นักเรียนช่วยกันบอกภาษาเขียนที่มีความสัมพันธ์ตรงกับภาษาพูดที่แสดงให้
- การเล่นเกมต่าง ๆ ตามที่ผู้สอนได้เตรียมไว้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้
ทดสอบความรู้ของตนเองที่ได้เรียนมา ถือเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
นอกจากนี้ยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไป
ศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่

9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer) เป็นการสรุปบทเรียนเฉพาะประเด็นสำคัญ
ๆ ของเรื่องภาษาพูดและภาษาเขียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแตกต่างระหว่างภาษาพูด
และภาษาเขียน ลักษณะของภาษาพูดและภาษาเขียน การนำภาษาพูดและภาษาเขียนไป
ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ
เพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากจบบทเรียนศึกษาเนื้อหาแล้ว รวมถึง
การบอกวิธีการนำความรู้ที่ได้ในเรื่องภาษาพูดและภาษาเขียนนั้นมาปรับใช้ให้ถูกต้องและ
เหมาะสมกับโอกาสและรูปแบบการนำไปใช้ เช่น
- การที่จะเขียนรายงานหรือเขียนบทความใด ๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนภาษาพูดให้เขียนลง
ไปเป็นภาษาเขียน
- การเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารหรือสนทนา หากฝ่ายตรงข้ามที่สนทนานั้นเป็นผู้มีอายุ
มากกว่าเรา ควรเลืกใช้ภาษาที่เหาะสม

23

ประวั ติ ผู้ จั ดทำ

24

บรรณานุกรม

จุฑามาศ ช่างเสนา. ภาษาพูด ภาษาเขียน. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564, จากเว็บไซต์:
https://sites.google.com/site/thailandslanguage/phasa-phud-phasa-kheiyn.

นิรนาม. (ม.ป.ป.). การเขียนบรรณานุกรม สืบค้นเมื่อ 13 พฤษจิกายน 2564, จากเว็บไซต์
http://bundit.skru.ac.th/21-4-60/datafile/thesis2554/7)chapter4.pdf.

นุชสุนีย์ สะมะแอ. (30 ตุลาคม 2564). นวัตกรรม [Video file]. สืบค้นจาก
https://youtu.be/UZQC7d1cKlQ

ศุลีพร ช่วยชูวงศ์. (ม.ป.ป.). การเขียนอ้างอิงแบบ APA สืบค้นเมื่อ 13 พฤษจิกายน 2564, จากเว็บไซต์:
https://clib.psu.ac.th/images/ratana/APA-6-edition.pdf.

________________. (ม.ป.ป.). การเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ Vancouver สืบค้นเมื่อ 13 พฤษจิกายน 2564,

จากเว็บไซต์: http://lib.med.psu.ac.th/pdf/van01.pdf

อลงกรณ์ พลอยแก้ว. (2564). ภาษาพูดกับภาษาเขียน. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564, จากเว็บไซต์:
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34281

Canva. (2013). Canva (Version 2.118) [Mobile application software]. Retrieved from
https://www.canva.com/design/DAErp2Bhc0o/q6Ik1snWExBQhLxp6gvNFg
/edit

Anyflip. (n.d.).anyflip [Mobile application software]. Retrieved from
https://anyflip.com/center/flips/

wordwall. (n.d.). wordwall [Mobile application software]. Retrieved from
https://wordwall.net/th