ค่าติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า 2564

ค่าบริการขอใช้ไฟฟ้าแรงต่ำในพี้นที่การจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงระบบสายใต้ดิน

การขอใช้ไฟฟ้า ในช่วง (แอมแปร์)เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (แอมแปร์)เฟสค่าติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (บาท)ค่าเช่าอุปกรณ์/1 เดือน (บาท)เงินประกันการใช้ไฟฟ้า (บาท)
ประเภท 1ประเภท 2
ไม่เกิน 30 15 (45) 1 400 0 2,000 10,000
31-75 30 (100) 1 500 930 4,000 20,000
76-100 50 (150) 1 600 1,320 8,000 30,000
ไม่เกิน 30 15 (45) 3 1,000 2,250 6,000 30,000
31-75 30 (100) 3 1,200 2,550 12,000 60,000
76-100 50 (150) 3 1,500 3,090 24,000 90,000
101-200 200 3 2,500 4,440 48,000 150,000
201-400 400 3 4,000 22,800 96,000 300,000

*** หมายเหตุ ***

    • 1

      อัตราค่าบริการตารางนี้ ใช้คิดค่าใช้จ่ายในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราวแรงต่ำไม่ต้องติดตั้ง หรือเปลี่ยนสายนอกหรือหม้อแปลงไฟฟ้า

    • 2

      ประเภท 1 หมายถึง ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราวสำหรับการปลูกสร้างอาคารเกินกว่า 1 หลังขึ้นไป หรือห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์ หรือขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราวภายในบ้านของตนเอง

    • 3

      อาคารพาณิชย์ หรือขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราวสำหรับอาคาร เกินกว่า 1 ห้องขึ้นไป หรือโรงงาน/อาคารพาณิชย์ และผู้ขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราวอื่นๆ ที่มิได้อยู่ในข่ายประเภท 1

เมื่อต้องขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าบ้านของตัวเอง มีค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง ขณะที่ หากได้สิทธิรับค่าประกันมิเตอร์คืน จะได้คืนเท่าไหร่

จะมีบ้านใหม่หลังหนึ่ง นอกจากเราจะต้องเสียเงินซื้อบ้าน สร้างบ้าน เสียค่าใช้จ่ายวันโอนกรรมสิทธิ์ ค่าตกแต่ง ค่าช่าง ต่างๆมากมาย จิปาถะแล้ว สิ่งสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การแจ้งติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องไปแจ้งที่การไฟฟ้าฯในพื้นที่อยู่อาศัยของเรา และทุกบ้าน จำเป็นจะต้อง "จ่ายค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า" ให้กับการไฟฟ้าฯ อ้าว! มิเตอร์ไฟบ้านของตัวเองแท้ๆ ค่าไฟก็ต้องจ่ายเอง ยังต้องจ่ายค่าประกันมิเตอร์ไฟด้วยเหรอ? พักก่อน!! แม่บอกให้อ่านก่อน คอนเทนท์นี้ มีคำตอบ

ค่าติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า 2564

จะขอมิเตอร์ไฟใหม่ได้ ต้องมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง

สำหรับ ใครที่มีบ้านของตัวเองหรือมีบ้านใหม่ ตามกฎหมายแล้ว เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน จะต้องไปแจ้งกับการไฟฟ้าพื้นที่ของตนเอง เพื่อขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า และจะต้องมีการจ่ายค่าประกันมิเตอร์ไฟล่วงหน้า โดยผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้าได้ จะต้องมีคุณสมบัติที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ จะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า , ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า หรือ ผู้เช่า-เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า หรือ เป็นผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้านั้นๆ

ใช้หลักฐานอะไรบ้าง หากต้องการเปิดมิเตอร์ไฟฟ้า

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเอง จะต้องมีเอกสาร เพื่อใช้ยื่นประกอบคำร้องขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าให้ครบถ้วน ได้แก่

1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า และสำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3. สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน), สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)

4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)

5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

6. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า

7. ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่างๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น), สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านขอผู้ยินยอม

8. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)

ค่าติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า 2564

cr:facebook การไฟฟ้านครหลวง

ติดตั้งมิเตอร์ไฟใหม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

เมื่อเรามีเอกสารหลักฐานพร้อมในการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟแล้ว ก่อนที่จะยื่นหลักฐานต่างๆ สิ่งที่จำเป็นต้องรู้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าก็คือ อัตราค่าติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งจะแตกต่างไปตามแต่ขนาดของมิเตอร์ไฟของแต่ละบ้าน

ตารางราคาติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า

ค่าติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า 2564

cr:การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

เมื่อเรายื่นหลักฐานการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร หากยังไม่เดินสายไฟฟ้าให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ จากนั้น เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัยก็จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าก็จะต้องชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐาน เพื่อทำเรื่องโอนมิเตอร์ไฟฟ้าได้ที่การไฟฟ้านครหลวง

บ้านมีไฟฟ้าใช้ ต้องจ่ายค่าประกันมิเตอร์ไฟด้วย

และนอกจากค่าติดตั้งมิเตอร์ไฟแล้ว ผู้ใช้ไฟยังต้องเสียค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าล่วงหน้า ซึ่งจำเป็นต้องจ่ายทุกบ้าน เพื่อเป็นเงินประกันการใช้ไฟฟ้า หรือค่าธรรมเนียมในการขอใช้ไฟฟ้า โดยเงินก้อนนี้จะเสียครั้งแรกเมื่อยื่นขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งการไฟฟ้าจะเรียกเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้า และจะคืนให้เมื่อมีการยกเลิกการใช้ไฟฟ้า

ทำไมต้องเก็บเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า

เหตุผลที่ต้องมีการเก็บเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ก็เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินล่วงหน้า เพื่อเป็นเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เช่น หากเกิดกรณีผู้ใช้ไฟไม่ยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าจะยึดเงินประกันการใช้ไฟฟ้านั้นแทน แต่!! ใช่ว่าผู้ใช้ไฟฟ้าจะมีแต่เสียกับเสีย หากเป็นกรณีผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย จะได้รับดอกเบี้ยออมทรัพย์ทุก 5 ปี โดยคิดในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทยด้วย

ค่าติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า 2564

เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าต้องเสียเท่าไหร่

อัตราค่าธรรมเนียมเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าจะเสียตามขนาดมิเตอร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. มิเตอร์ขนาด 5(15) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท (บ้านพักขนาดเล็ก ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก)

2. มิเตอร์ขนาด 15(45) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท (เป็นขนาดมิเตอร์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้กัน)

3. มิเตอร์ขนาด 30(100) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 5,000 บาท (บ้านพักขนาดใหญ่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด)

4. มิเตอร์ขนาด 15(45) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท (บ้านพักส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้)

การขอคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าเบื้องต้น

การขอคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมาจากมาตรการพิเศษของรัฐที่ต้องการช่วยเหลือประชาชน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นบ้านพักอาศัย และกิจการขนาดเล็กนั้น ผู้ที่จะได้รับเงินคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า มีจำนวนประมาณ 21.5 ล้านราย คิดเป็นวงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เพื่อลดผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 โดยมีรายละเอียด "เบื้องต้น" ดังนี้

1. การจ่ายคืนเป็น "เงินสด" ให้ทุกหลังคาเรือนตามขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า ตั้งแต่ 300-6,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่เฉลี่ย 2,000-3,000 บาท

2. เริ่มทยอยคืนได้ในรอบบิล "สิ้นเดือนมีนาคม 2563"

3. สามารถดำเนินการขอคืนเงินกับหน่วยงานที่ยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า แบ่งเป็น

- กฟน. ให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ

- กฟภ. ให้บริการในทุกจังหวัดของประเทศไทย ยกเว้น 3 จังหวัดในข้อ 1

4. ผู้ที่ได้รับเงินคืนจะต้องเป็นผู้วางเงินประกัน ณ เวลาที่มาแจ้งขอมิเตอร์เท่านั้น แต่หากผู้วางเงินประกันเสียชีวิตแล้ว ผู้ที่รับเงินคืนแทนจะต้องมีหลักฐานแสดงความเป็นผู้เกี่ยวข้อง หรือหากผู้วางเงินประกันยังไม่เสียชีวิตจะต้องมีการมอบฉันทะ เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์

อย่างไรก็ดี มาตรการที่จะคืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟนี้ ยังคงอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียด ซึ่งเมื่อมีความชัดเจน เชื่อว่ารัฐบาลจะมีการประกาศเงื่อนไขให้ประชาชนทราบอีกครั้งแน่นอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- Exclusive Content :อัพเดต!อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน แบงก์ไหนให้ต่ำสุด

- Exclusive Content : ทำอย่างไร?เมื่อได้รับจดหมายแจ้งภาษีที่ดินฯ

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE