ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า ppt

หลักสูตร: ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าและการช่วยชีวิตผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า

หลักการและเหตุผล

ตามกฎกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2558 กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ  และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หมวด 1 ข้อ 4 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมให้ลูกจ้างปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าให้มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และข้อ 13 (2) การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยการผายปอดด้วยวิธีปากเป่าอากาศ เข้าทางปากหรือจมูกของผู้ประสบอันตราย และการนวดหัวใจจากภายนอก  การเล็งเห็นความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตอย่างมากมาย เช่นนำมาใช้ในการผลิตและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งก็ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่หากเราใช้ไฟฟ้าอย่างไม่ถูกวิธีและใช้ไฟฟ้าด้วยความประมาทก็นำมาซึ่งอันตรายแก่ผู้ใช้งาน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าจึงจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ทั้งนี้ก็เพื่อเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเรื่องการทำงานคือ ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับแรก

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด 

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้อันตรายจากไฟฟ้าและหลักการป้องกันอันตรายเกี่ยวกับไฟฟ้า 

3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และได้ฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลได้อย่างปลอดภัยทั้งผู้ประสบอันตรายและผู้ช่วยเหลือ 

เนื้อหาการอบรม

1.กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

2.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับไฟฟ้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าต้องรู้

3.ประเภทและลักษณะของการประสบอันตรายจากไฟฟ้า

4.สาเหตุและปัจจัยของการเกิดอุบัติเหตุจากไฟฟ้า

5.ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์

6.หลักการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

7.การตรวจสอบระบบไฟฟ้าเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

8.การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่เกิดอันตรายจากการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

วิทยากร : ผู้ทรงคุณวุฒิ

วิธีการอบรม: การบรรยาย ,กรณีศึกษาจากวีดีทัศน์, Workshop การฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า

สถานที่อบรม: บริษัทลูกค้า/สถานที่ลูกค้าจัดให้ 

ผู้เข้าร่วมอบรม:  ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

ระยะเวลา: 1 วัน (เวลา 09.00 – 16.00 น.)

ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

กระแสไฟฟ้าที่ใช้ทั้งในโรงงานอุตสากรรม สำนักงานหรือตามบ้านเรือนมีอันตรายสูงมาก และรวดเร็วที่สุดเมื่อเข้าไปสัมผัส ผู้ที่ใช้งานหรือมีส่วนเกี่ยวข้องจึงควรมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการทำงาน เกี่ยวกับไฟฟ้า ทั้งชนิดกระแสไฟฟ้าที่ใช้แรงเคลื่อน 220 โวลท์ และ 380 โวลท์

โดยทั่วไป เรานำไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  1. เป็นต้นกำลังพลังงานกล เช่น การเดินเครื่องจักร
  2. เป็นแหล่งให้แสงสว่าง เช่น หลอดไฟ โคมไฟ
  3. เป็นแหล่งให้ความร้อน โดยต่อเข้ากับขดลวดชุดความร้อน เช่น กระติกต้มน้ำร้อน
  4. เป็นแหล่งหรือสื่อกลางของการสื่อสาร เช่น แบตเตอรี่โทรศัพท์
  5. เป็นแหล่งให้พลังงานกับอุปกรณ์
  6. เป็นแหล่งให้อำนาจแม่เหล็กกับอุปกรณ์
  7. เป็นแหล่งให้เกิดปฏิกิริยาเคมี

ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า ppt

อันตรายจากไฟฟ้า

การแบ่งลักษณะของอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น มี 2 ลักษณะ

  1. ไฟฟ้าดูดเนื่องจากร่างกายไปแตะต้อง หรือต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า ทำให้มีกระแสไฟไหลผ่านเข้าในร่างกายและถ้าไฟฟ้าไหลผ่านอวัยวะที่สำคัญก็อาจทำให้เสียชีวิตได้หากกระแสไฟมีปริมาณมากพอ ความสัมพันธ์ของกระแสไฟฟ้าและปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกายต่อกระแสไฟฟ้ามี 
  2. เพลิงไหม้อัคคีภัยที่เกิดจากไฟฟ้ามีสาเหตุ 2 ประการ คือ ประกายไฟและความร้อนที่สูงผิดปกติ ซึ่งตามทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบครบ 3 อย่าง คือ เชื้อเพลิง แหล่งความร้อน และออกซิเจน ดังนั้น การป้องกันไฟไหม้ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า จึงต้องขจัดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสามอย่างดังกล่าวออก โดยเฉพาะการขจัดแหล่งความร้อน เช่น
  • ประกายไฟที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร
  • หัวต่อหรือหัวขั้วสายไฟหลวมจึงเกิดการเดินของกระแสไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ
  • การเกิดประกายไฟ (spark) จากการเดินไม่เรียบของกระแสไฟ
  • การใช้ฟิวส์ไม่ถูกต้อง ขนาดไม่เหมาะสม หรือใช้สวิทซ์ตัดไฟอัตโนมัติไม่เหมาะสม
  • กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเกินไป
  • มอเตอร์ทำงานเกินกำลัง
  • ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้ามากเกินไปในเต้าเสียบเดียวกัน
  • แรงดันไฟฟ้าที่ขั้วมอเตอร์ไฟฟ้าต่ำเกินไป ซึ่งโดยสรุปสาเหตุเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุหลักของการเกิดเพลิงไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าทั้งสิ้น

อันตรายที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้ามีสาเหตุหลักๆมาจาก

  1. ระบบการบริหาร
    – ขาดระบบการประสานงานที่ดีระหว่างฝ่ายผลิตกับซ่อมบำรุง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น ไม่มีระบบการล็อคกุญแจและแขวนป้าย (Lock-out and Tag-out)
    – ไม่มีแบบแปลนไฟฟ้า ข้อมูลและตัวเลขทางเทคนิคต่างๆ ของระบบ ไฟฟ้าที่ถูกต้องประจำหน่วยงาน เช่น เมื่อมีการต่อเติมระบบไฟฟ้าแล้วไม่ได้นำข้อมูลไปเพิ่มเติมในแบบแปลน

    – ขาดช่างเทคนิคที่มีความรู้ความสามารถ เป็นต้น
  2. การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้ระบบไฟฟ้าในโรงงานไม่มีมาตรฐานเพียงพอ
  3. การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น บริเวณพื้นที่ปฏิบัติงานมีความเปียกชื้น ซึ่งจะทำให้ร่างกายเป็นสื่อนำไฟฟ้าได้ดี
  4. ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ขาดความรู้เรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับการติดตั้ง และ/หรือการใช้งานอย่างถูกวิธี เช่น
    4.1 ช่างไฟฟ้า
    – ขาดความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับหลักการและกฎทางไฟฟ้า
    – ต่อสายไฟไม่ดี หรือวิธีการต่อไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน

    – ไม่ตัดวงจรไฟฟ้าก่อนปฏิบัติงาน
    – ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าผิดลักษณะ
    – ปฏิบัติงานโดยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ เป็นต้น
    4.2 ผู้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
    – ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด มีกระแสไฟฟ้ารั่ว
    – ใช้อุปกรณ์ผิดประเภท (เช่น การใช้เต้าเสียบผิดประเภท)
    – ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าขณะที่ร่างกายมีความเปียกชื้น
    – รีบเร่งปฏิบัติงาน เป็นต้น

การป้องกันและควบคุม

  1. ออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และผู้ปฏิบัติงาน เช่น ติดตั้งเครื่องตัดวงจรอัตโนมัติ ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำด้วยวัสดุไม่นำไฟฟ้า
  2. กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้การจัดซื้ออุปกรณ์ทางด้านไฟฟ้าของหน่วยงานได้มาตรฐาน
  3. อบรมให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับไฟฟ้าในเรื่องวิธีการทำงานให้ปลอดภัยจากไฟฟ้า การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากกระแสไฟฟ้า ข้อควรระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดจากการทำงาน หรือสัมผัสกระแสไฟฟ้าที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการช็อคเนื่องจากกระแสไฟฟ้า เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีเกร็ดเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยไว้ เพื่อจะได้เป็นข้อพึงระวังสำหรับการใช้งานด้วย

การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้า

  1. ตรวจสอบสายไฟฟ้า และตรวจจุดต่อสายก่อนใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ได้ควรตรวจสอบบริเวณจุดข้อต่อ ขั้วที่ติดอุปกรณ์ ถ้าชำรุดควรเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานเสมอ
  2. ดวงโคมไฟฟ้าต้องมีที่ครอบป้องกันหลอดไฟ
  3. การเปลี่ยนหรือซ่อมแซมอุปกรณ์ ควรให้ช่างทางเครื่องมือหรือไฟฟ้าเป็นผู้ดำเนินการ ไม่ควรดำเนินการเองโดยเด็ดขาดหากไม่มีความรู้
  4. ห้ามจับสายไฟขณะที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
  5. ห้ามใช้อุปกรณ์ขณะมือเปียก
  6. ไม่ควรเดินเหยียบสายไฟ
  7. อย่าแขวนสายไฟบนของมีคม เพราะของมีคมอาจบาดสายไฟชำรุดและก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้
  8. การใช้เครื่องมือทางไฟฟ้า ควรต่อเปลือกหุ้มที่เป็นโลหะลงสู่ดิน
  9. การใช้มอเตอร์ หม้อแปลง ควรมีผู้รับผิดชอบควบคุมในการเปิดปิดใช้งาน
  10. ในส่วนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายควรมีป้ายติดแสดงอย่างชัดเจน
  11. ถ้าเกิดเหตุการณ์ผิดปกติกับอุปกรณ์ควรแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบทันที และห้ามใช้งานต่อ
  12. ห้ามปลดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายทางไฟฟ้าออก ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้เชี่ยวชาญ
  13. เมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรปิดสวิทช์ และต้องแน่ใจว่าสวิทช์ได้ปิดลงแล้ว
  14. อุปกรณ์ทางไฟฟ้าต่างๆ ควรหมั่นทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่นละออง
  15. ห้ามห่อหุ้มโคมไฟด้วยกระดาษ ผ้าหรือวัสดุที่ติดไฟได้
  16. ห้ามนำสารไวไฟ หรือสารลุกติดไฟง่ายเข้าใกล้สวิทช์ไฟฟ้า
  17. หมั่นตรวจสอบฉนวนหุ้มอุปกรณ์อยู่เสมอ ในบริเวณที่อาจสัมผัส หรือทำงาน
  18. เมื่อมีผู้ได้รับอันตราย ควรสับสวิทช์ให้วงจรเปิด (ตัดกระแสไฟฟ้า)
  19. เมื่อไฟฟ้าดับ หรือเกิดไฟฟ้าช๊อต ควรสับสวิทช์วงจรไฟฟ้าให้เปิด

ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า ppt

การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า

  1. การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย และมาตรฐานทางไฟฟ้า
  2. การติดตั้งต้องดูแลโดยผู้ชำนาญ โดยเฉพาะการสื่อสารเมื่อมีการทำงานในขณะกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
  3. การติดตั้งอุปกรณ์ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันโดยเฉพาะ
  4. ไม่ควรทำงาน หรือเปิดชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะกระแสไฟฟ้าไหล
  5. อุปกรณ์หรือสายไฟฟ้าที่ติดตั้งในที่สูง ต้องมีฉนวนหุ้มอย่างดีและตรวจสอบความเรียบร้อยอยู่เสมอ
  6. เมื่อมีอุปกรณ์ไฟฟ้าบนพื้นถนนควรมีระบบป้องกันอันตรายเฉพาะทาง เช่น รั้วป้องกันรถชน ป้ายเตือนสะท้อนแสง เป็นต้น
  7. เครื่องจักรทุกชนิดควรมีสายดินที่ดี
  8. ควรสับสวิทช์เครื่องจักรและล๊อคกุญแจ (Lock-out) เพื่อไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องที่อาจเข้าใจผิดสามารถเปิดสวิทช์ได้ และควรมีป้ายบอกให้ชัดเจน (Tag-out)
  9. ต้องมีการเทประจุไฟฟ้าเมื่อเครื่องมือนั้นมีประจุค้างอยู่

การทำงานขณะมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่

  1. ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับงาน
  2. ถ้าต้องทำงานใกล้ไฟฟ้าแรงสูงเกิน 60 เซนติเมตร ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เป็นฉนวนอย่างดีและ ในกรณีที่อยู่ห่างมากกว่า 60 เซนติเมตรให้ใช้อุปกรณ์รองลงมา
  3. ในการทำงานต้องปรึกษาผู้ชำนาญการทางไฟฟ้าก่อน และต้องมีผู้ชำนาญการควบคุมดูแลตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
  4. พนักงานงานไม่ควรพักใกล้สายไฟแรงสูง
  5. การใช้อุปกรณ์เครื่องมือ ต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน
  6. ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลทุกครั้ง