องค์ประกอบของการศึกษาปฐมวัย

                  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความสามารถทางการรู้คิด ซึ่งจะพัฒนาจากการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสและการรู้คิดเชิงรูปธรรม (Concete Thought) ไปสู่ความเข้าใจในการใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Thought) แล้วจึงรู้จักคิดเป็นนามธรรม (Abstract Thought) รวมทั้งความคิดที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric Thought) ไปสู่การใช้ความคิดที่มีเหตุผล (Reasoning)

��к�����˹�Ҩ����ա��ǹ 6 ��� �����������§����ӴѺ��鹵͹��èѴͧ���Сͺ��ѡ�ٵ� �������к����㹪�ǧ���蹹Ӣͧ��������� ����ö�͵Դ�����ҹ����ػ�������ͧ͢����� ��ҹ��ͧ�ҧ����ա���� ����Ѻ�ѹ��������ѧ��ҡ����ػ���Ъ������س������������� 㹡����ҹ�ҡ��ѡ�ٵé�Ѻ�������ҡ����¹Ф� 

ทุกครั้งที่มีการจัดทำหลักสูตรการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ตัวหลักสูตรต้องมีการปรับและตามให้ทันสังคมและเศรษฐกิจอยู่เสมอ โดยการจัดหลักสูตรที่ดีนั้นครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจกับหลักสูตรที่ตัวเองจัดทำ และทำการนำเสนอกับผู้บริหารของสถานศึกษา โดยจะมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องขั้นสูงในการประเมิน เพื่อทำการให้การประเมินตามหลักขั้นตอน ก่อนจะนำมาใช้กับเด็ก และการจัดองค์ประกอบของหลักสูตรก็ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่ทางหลักสูตรกำหนดไว้ 

ซึ่งขั้นตอนของการจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรปฐมวัย มีทั้งหมด 12 ข้อ ดังนี้

  • ปรัชญาการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา
  • วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย
  • จุดหมาย
  • มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
  • ระยะเวลาเรียน
  • สาระการเรียนรู้รายปี
  • การจัดประสบการณ์
  • การจัดสภาพแวดล้อมสื่อและแหล่งเรียนรู้
  • การประเมินพัฒนาการ
  • การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย
  • การเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 
  • ภาคผนวก 

โดยในบทความก่อนหน้านี้เราได้นำเสนอบทสรุปของการจัดองค์ประกอบหลักสูตรไป 6 ข้อก่อนหน้า สำหรับบทความนี้เราจะมาสรุปอีก 6 ข้อหลัง ให้คุณครูผู้ที่ต้องการศึกษาได้เข้าใจในองค์ประกอบ และการลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้ 

การจัดประสบการณ์ 

องค์ประกอบของการศึกษาปฐมวัย

สถานศึกษาและสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องทำการอธิบายแนวการจัดประสบการณ์และนวัตกรรม ได้ตามที่หลักสูตรกำหนด โดยการจัดประสบการณ์นั้นต้องอยู่ภายใต้การคำนึงถึงปรัชญาของปฐมวัย การคำนึงถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย โดยทั้งนี้หากต้องการเพิ่มเติมให้ต่างออกไปจากเดิน ก็สามารถจัดประสบการณ์เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของโรงเรียนได้ 

และเมื่อทางสถานศึกษากำหนดการจัดประสบการณ์ได้แล้ว ให้ทำการอธิบายในสิ่งที่เตรียมไว้ ให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงหลักจิตวิทยาพัฒนาการให้เหมาะสม กับวัย , วุฒิภาวะ และลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 

นอกจากนี้สถานศึกษาควรกำหนดขอบข่ายของการจัดกิจกรรมและกิจวัตรประจำวัน ของสถานศึกษาสำหรับการทำการพัฒนาเด็กให้สอดคล้องกับหลักการจัดกิจกรรม ประจำวันที่ระบุไว้ใน หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปี 2560 

การจัดสภาพแวดล้อม สื่อและการเรียนรู้ 

องค์ประกอบของการศึกษาปฐมวัย

สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ควรกำหนดแนวทางในการจัดสภาพแวดล้อม โดยคำนึงถึงการสร้างบรรยากาศที่ครอบคลุมด้านกายภาพ ซึ่งหมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน โดยสภาพแวดล้อมนั้นจะต้องเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาให้แก่ตัวเด็กได้ โดยสามารถเขียนเป็นแผนผังและคำอธิบายประกอบให้ชัดเจน  

‘ด้านจิตภาพ’ สถานศึกษาควรกำหนดแนวทางให้สถานศึกษา ผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องสร้างบรรยากาศ ที่ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในแบบตนเอง ได้แสดงออกและมีการใช้จินตนาการอย่างสร้างสรรค์ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณครูผู้สอน และตัวเด็ก เพื่อให้เด็กได้รู้สึกสภาพแวดล้อมตรงนี้เป็นเซฟโซนที่ปลอดภัยสำหรับเขา โดยทั้งนี้การจัดสภาพแวดล้อมทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การที่คุณครูสามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้เด็กได้ 

การประเมินพัฒนาการ 

องค์ประกอบของการศึกษาปฐมวัย

สถานศึกษาต้องจัดทำแนวทางปฏิบัติและเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักการประเมินพัฒนาการที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยมีแนวทางการดำเนินการประเมินพัฒนาการ อย่างละเอียด ดังนี้ 

  • หลักการประเมินพัฒนาการเด็ก
  • ขอบเขตของการประเมินพัฒนาการ มีรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้
    1. พัฒนาการด้านต่างๆ
    2. มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์
    3. วิธีการและเครื่องมือการประเมินพัฒนาการ
    4. เกณฑ์การประเมินพัฒนาการและระดับคุณภาพ
    5. การสรุปผลการประเมินพัฒนาการ
    6. การรายงานผลการประเมินพัฒนาการ

ทั้งนี้ สถานศึกษาควรเขียนแนวปฏิบัติในการประเมินอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาเด็กไปสู่จุดหมายหลักของ หลักสูตรปฐมวัย ปี 2560 

การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย

องค์ประกอบของการศึกษาปฐมวัย

สถานศึกษาต้องจัดการหลักสูตร เป็นภารกิจหลักเพื่อให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาอย่างเต็มประสิทธิภาพ ให้เด็กได้มีการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยม โดยทั้งนี้ผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ 

  • กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารหลักสูตร เช่น ผู้บริหาร คุณครูผู้สอน ผู้ดูแลเด็กหรือพี่เลี้ยงเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนท้องถิ่น 
  • เตรียมพร้อมหลักสูตรเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ โดยพิจารณาถึงบุคคล การจัดเตรียมงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็น อาคาร สถานที่ และสื่อแหล่งเรียนรู้ที่มีความปลอดภัยต่อเด็ก 
  • ทำการส่งเสริมและสนับสนุนหลักสูตรของสถานศึกษาอย่างเหมาะสม เช่นการจัดเตรียมเอกสารข้อมูล การรวมข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้ผู้สอนสามารถนำสิ่งที่เตรียมไปสอนและพัฒนาเด็กได้ 
  • นิเทศ ติดตาม การนำหลักสูตรปฐมวัยไปใช้อย่างต่อเนื่อง ประเมินและนำผลมาพิจารณา เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรใหม่ให้เข้ากับเด็ก 
  • ประเมินและรายงานผลการจัดการศึกษาปฐมวัย เพื่อนำข้อมูลจากการรายงานผลมาจัดทำ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 

การเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

องค์ประกอบของการศึกษาปฐมวัย

สถานศึกษาต้องนำเสนอรายละเอียดในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการ สร้างรอยเชื่อมต่อของการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 โดยครูผู้สอนต้องทำกิจกรรมที่ทำให้เด็กเตรียมตัวพร้อมสำหรับการพัฒนาไปสู่การศึกษาอีกระดับ โดยอาจจะเป็นการวางแผนให้ผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครองให้มีส่วนเกี่ยวข้องในการช่วยส่งเสริมตัวเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวได้ทัน 

ซึ่งถ้าทำได้ในจุดนี้ก็จะสามารถวางใจได้ว่าเด็กจะมีประสิทธิภาพพอ และพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่หลักสูตรการศึกษาที่โตขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้าหากรู้สึกว่าตัวเด็กยังไม่สามารถพัฒนาไปถึงจุดนั้นได้ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดต้องทำการแก้ไขโดยด่วน เพราะการศึกษาของปฐมวัยกับ ประถมศึกษาปีที่ 1 มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยถ้าหากตัวเด็กไม่สามารถพัฒนาได้ทันท่วงที ก็จะทำให้เป็นอุปสรรคต่อตัวเด็กในการศึกษาระดับต่อไปได้ 

ภาคผนวก 

องค์ประกอบของการศึกษาปฐมวัย

สถานศึกษาสามารถนำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยมาไว้ในภาคผนวกตามความเหมาะสม เช่น ประกาศการใช้หลักสูตรสถานศึกษา หรือ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ฯลฯ

12 ข้อนี้ ถือเป็นองค์ประกอบหลักของหลักสูตรปฐมวัย ฉบับปี 2560 โดยทั้ง 12 ข้อ เป็นการจัดลำดับการจัดทำอย่างถูกต้อง ตามระบบ ระเบียบ โดยในส่วนต่าง ๆ จะมีการประเมินโดยผู้เกี่ยวข้องในระดับสูง ดังนั้นผู้จัดทำหลักสูตรควรที่จะทำทุกอย่างตามขั้นตอน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและการรวนของการข้ามขั้นตอนในการจัดทำ 

โดยบทความนี้เป็นสรุปโดยย่อของแต่ละหัวข้อ หากคุณครูท่านใดต้องการที่จะเจาะลึกของแต่ละหัวข้อ สามารถอ่านได้ผ่านบทความก่อนหน้า และครั้งหน้าเราจะนำข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรปฐมวัย และ การพัฒนาเด็กเกี่ยวกับเรื่องใดมาฝากอีก สามารถรอติดตามบทความให้ความรู้ ที่หน้าเว็บไซต์ของเราได้เลยค่ะ 

องค์ประกอบของการพัฒนาการมีอะไรบ้าง

เด็กปฐมวัยจะมีการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ไปพร้อม ๆ กัน โดยเด็กแต่ละคนจะมีการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งที่แตกต่างกัน ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดความแตกต่างของการพัฒนาแต่ละด้านนั้น ขึ้นอยู่กับ “องค์ประกอบของพัฒนาการเด็กปฐมวัย” เป็นสำคัญ.
พันธุกรรม ... .
สิ่งแวดล้อม ... .
วุฒิภาวะ ... .
การเรียนรู้.

รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยมีกี่รูปแบบ

2. รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย มี 3 ประเภท ได้แก่ แบบจักษุนิยมและโสตนิยม แบบปฏิบัตินิยม และสัมผัสนิยม และแบบบูรณาการ โดยแบบจักษุนิยมคือ การเรียนรู้โดยการมองเห็น แบบโสตนิยม คือ การรับรู้ทางโสตประสาทโดยการได้ยิน แบบปฏิบัตินิยมคือ การรับรู้ทางร่างกายโดยการเคลื่อนไหว แบบสัมผัสนิยมคือ การได้ลงมือทำและจับต้อง และแบบบูรณา ...

การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมีความสําคัญอย่างไร

วราภรณ์ รักวิจัย (2545 : 53) กล่าวว่า ความสำคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัย คือ ขั้นการพัฒนาการของเด็กที่พัฒนามาถึงระดับหนึ่งที่จะทำให้เด็กมีความสามารถที่จะเรียนรู้ พฤติกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างง่ายโดยที่วุฒิภาวะทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีการพัฒนาถึงจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นรากฐานให้เขาก้าวไปสู่การเรียนรู้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ...

หน่วยการเรียนรู้ปฐมวัยมีอะไรบ้าง

สาระการเรียนรู้ที่1 เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก หน่วยที่1 เมื่อฉันไปโรงเรียน หน่วยที่2 เมื่อฉันโตขึ้น หน่วยที่3 อารมณ์ของฉัน หน่วยที่4 อวัยวะของฉัน หน่วยที่5 ประสาทสัมผัสทั้ง 5 หน่วยที่6 สุขภาพดีมีสุข หน่วยที่7 เด็กน้อยมารยาทงาม