ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน กี่ ครั้ง

รู้ก่อนใช้...ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน กินอย่างไรให้ปลอดภัย

July 29 / 2020

รู้ก่อนใช้...ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน กินอย่างไรให้ปลอดภัย

ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน กี่ ครั้ง
ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน กี่ ครั้ง

พญ.ศรีสุภา  เลาห์ภากรณ์

สูติ-นรีเวช

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (emergency contraceptive pills, morning-after pills) เป็นยาเม็ดฮอร์โมนขนาดสูงที่รับประทานหลังจากมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดโอกาสที่จะตั้งครรภ์ การคุมกำเนิดวิธีนี้จะให้ประสิทธิภาพภายใน 2 – 3 วัน โดยจะไปรบกวนการตกไข่ หรือรบกวนการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิแต่หากได้รับการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้ว จะไม่สามารถป้องกันได้

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน

  1. หลังจากที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  2. สตรีถูกข่มขืน (Sexual assault)
  3. มีการใช้การคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้อง มีโอกาสล้มเหลว เช่น ถุงยางแตก หลุด หรือใส่ไม่ถูกต้อง
  4. ลืมทานยาคุมกำเนิด
    • ชนิดฮอร์โมนรวมตั้งแต่ 3 เม็ด
    • ชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินชนิดเดี่ยวลืมทานเกินเวลา 3 ชั่วโมง จากเวลาเดิมที่ทานประจำ หรือเกิน 27 ชม.จากเม็ด
    • ชนิด desogestrel-containing pill (0.75 mg) มากกว่า 12 ชั่วโมง จากเวลาทานปกติ หรือเกิน 36 ชม.จากเม็ดที่ทานก่อน
  5. เลยกำหนดฉีดยาคุม
    • มากกว่า 2 อาทิตย์ ชนิด norethisterone enanthate (NET-EN)
    • มากกว่า 4 อาทิตย์ ชนิด depot-medroxyprogesterone acetate (DMPA)
    • มากกว่า 7 วัน ชนิด combined injectable contraceptive (CIC)
  6. diaphragm or cervical cap หลุด ขาด หรือแตก ก่อนเอาออก
  7. ล้มเหลวในวิธีการหลั่งข้างนอก เช่นหลั่งในช่องคลอด หรืออวัยวะเพศด้านนอก
  8. คำนวณวันเว้นมีเพศสัมพันธ์พลาด
  9. ห่วงคุมกำเนิดหลุด หรือยาฝังหลุด

ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน กี่ ครั้ง

ข้อควรรู้ก่อนกินยาคุมฉุกเฉิน

  1. ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อได้ ยาชนิดนี้มีประโยชน์ในการป้องกันการตั้งครรภ์เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโรคจากเพศสัมพันธ์ได้ หากต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรใช้วิธีสวมถุงยางอนามัยจะดีที่สุด
  2. มีความเข้าใจว่า ยาคุมฉุกเฉินเป็นยาทำแท้งเป็นความเข้าใจที่ผิด ยาคุมฉุกเฉินสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้เท่านั้น  นั่นคือต้องได้ยาเข้าไปในร่างกายก่อนที่จะมีการฝังตัวของไข่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก เแต่หากไข่ที่ผสมกับอสุจิได้ฝังตัวที่ผนังมดลูกไปแล้ว ยานี้จะทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นยานี้จึงไม่ใช่ยาทำแท้ง
  3. ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมีผลข้างเคียงสูงมาก ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะออกฤทธิ์ต่อสภาพแวดล้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก จึงมีผลต่อฮอร์โมนและทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวผู้ใช้ เช่น มีประจำเดือนผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียน และหากกินบ่อยๆ อาจเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูกได้
  4. ความเข้าใจว่ายาคุมฉุกเฉินอาจทำให้ทารกพิการได้หากรับประทานไปโดยไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้มีรายงานว่าไม่พบทารกพิการจากมารดาที่รับประทานยาโดยที่ไม่ทราบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์
  5. การรับประทานยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ดังกล่าวตามด้วยยาเม็ดที่สอง จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75% แต่หากเริ่มยาภายใน 24 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเป็น 85% ดังนั้นจึงควรรับประทานยาเม็ดแรกหลังการมีเพศสัมพันธ์ให้เร็วที่สุด
  6. มีความเข้าใจว่า ใช้ยาคุมฉุกเฉินเพื่อคุมกำเนิดระยะยาวได้ ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง หากสามีภรรยาที่ยังไม่พร้อมมีบุตรแต่ต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว มีวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากกว่าเช่น การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบปกติชนิดเม็ด โดยรับประทานทุกวันวันละ 1 เม็ด นอกจากนี้การรับประทานยาคุมฉุกเฉินเป็นประจำจะพบอาการข้างเคียงสูง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกกะปริดกะปรอย รวมทั้งพบความเสี่ยงในการเกิดอุบัติการณ์การตั้งครรภ์นอกมดลูกเพิ่มขึ้น
  7. ยาคุมฉุกเฉินไม่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ และไม่มีผลทำให้การตั้งครรภ์ครั้งถัดไปช้าลง
  8. ถ้ามีอาเจียนภายใน 2 ชั่วโมง ควรทานยาซ้ำ ยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนเดี่ยวชนิดโปรเจสตินนิยมมากกว่าชนิดฮอร์โมนรวม เนื่องจากมีคลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่า ยังไม่แนะนำให้ทานยาแก้อาเจียนทุกครั้งที่ทานยาคุมฉุกเฉิน

วิธีคุมกำเนิดฉุกเฉิน

  1. Ulipristal acetate (UPA) ทาน 1 เม็ดครั้งเดียว (30 mg) มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดฉุกเฉินสูงกว่า Levonorgestrel ถึงแม้จะรับประทานยาล่าช้าออกไปจนถึง 120 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ UPA ยังสามารถต้านการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้วได้โดยออกฤทธิ์รบกวนการเตรียมความพร้อมของเยื่อบุมดลูก ในขณะที่ levonorgestrel ไม่มีผลดังกล่าว ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย
  2. ยาเม็ดฮอร์โมนเดียวโพรเจสโตเจน (0.75 mg) 2 เม็ด ทานห่างกัน 12 ชั่วโมง เม็ดแรกทันทีหรือไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยี่ห้อที่มีขายในประเทศไทย เช่น Madonna, Postinor, Mary Pink หรือรับประทาน  levonorgestrel 1.5 mg ครั้งเดียวมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์และอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน
  3. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (100 μg of ethinyl estradiol + 0.50 mg of LNG) 2 เม็ด ทานห่างกัน 12 ชั่วโมง (Yuzpe method) เช่น ใช้ยาคุมกำเนิดยี่ห้อ Yasmin ที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน 30 ไมโครกรัม ต่อ 1 เม็ด เพราะฉะนั้นให้กินครั้งละ 4 เม็ด อีก 12 ชั่วโมง 
  4. การใส่ห่วงคุมกำเนิดทองแดงไม่เกิน 5 วัน หลังมีเพศสัมพันธ์ วันหลังการร่วมเพศซึ่งช่วยการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 99 มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการป้องกันการตั้งครรภ์ของการทานฮอร์โมนlevonorgestrel 0.75 mg (LNG) กับวิธี Yuzpe โดยให้รับประทาน 2 ครั้ง ห่างกัน 12 ชั่วโมง เช่นกัน พบว่ายาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มีตัวยา LNG เดี่ยวๆ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ร้อยละ 85 (74 – 93) ในขณะที่ยาคุมกำเนิดที่มีตัวยาผสมระหว่าง estrogen กับ progestin (Yuzpe method) ป้องกันได้เพียงร้อยละ 57 (39 – 71) ดังนั้นการใช้ฮอร์โมน LNG จึงเป็นที่นิยมมากกว่าในปัจจุบัน แต่มีการศึกษาพบว่าน้ำหนักและค่า body mass index (BMI) มีผลต่อประสิทธิภาพยาคุมกำเนิดฉุกเฉินชนิด LNG เดี่ยวๆ โดยในหญิงที่มีน้ำหนักมากกว่า 75 กิโลกรัมมีความเสี่ยงที่จะคุมกำเนิดฉุกเฉินล้มเหลวสูงกว่าคนที่น้ำหนักน้อยกว่าประมาณ 4.5 เท่า และในหญิงที่มีค่า BMI มากกว่า 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ดังนั้นสตรีที่มีน้ำหนักเกินจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการคุมกำเนิดได้ จึงควรรีบรับประทานให้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • คลื่นไส้ อาเจียน และรู้สึกพะอืดพะอม
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง มีอาการปวดท้องคล้ายกับตอนมีประจำเดือนได้
  • เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก

ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน กี่ ครั้ง
ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน กี่ ครั้ง
ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน กี่ ครั้ง
ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน กี่ ครั้ง
ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน กี่ ครั้ง

ผู้ที่ห้ามใช้ยาคุมกำเนิด

  • มะเร็งของอวัยวะภายในของผู้หญิง และมะเร็งเต้านม
  • โรคตับเฉียบพลันหรือตับแข็ง มะเร็งตับ
  • เคยหรือเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคลิ่มเลือดอุดตัน
  • โรคลมชัก ที่รับประทานยากันชัก
  • โรคเบาหวาน ที่มีภาวะไตทำงานผิดปกติ หรือมีภาวะหลอดเลือดผิดปกติ
  • อายุมากกว่า 35 ปีสูบบุหรี่จัด อ้วน มีไขมันในเลือดสูง
  • เป็นไมเกรนชนิดที่มีอาการเตือน (Migraine with aura)

ถึงแม้ยาคุมฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะถ้าทานเม็ดแรกทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแทนการคุมกำเนิดปกติ แม้ยาจะปลอดภัยก็ตาม เพราะขนาดของฮอร์โมนที่สูง ผลข้างเคียงของยา ตลอดจนความผิดปกติของรอบเดือนที่เกิดขึ้น อาการปวดเกร็งช่องท้องน้อย รวมทั้งไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นควรเลือกใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และหลังการใช้หากประจำเดือนมาไม่ปกติ ขาดประจำเดือน เลือดออกไม่หยุด หรือปวดท้องไม่ดีขึ้น ควรรีบมาพบแพทย์

ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน กี่ ครั้ง

ยาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแทนการคุมกำเนิดปกติ ควรเลือกใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน กี่ ครั้ง

นัดพบแพท์คลิก

พญ.ศรีสุภา  เลาห์ภากรณ์

สูติ-นรีเวช

แก้ไขล่าสุด 29/07/63

ห้ามกินยาคุมฉุกเฉินเกินกี่ครั้งในชีวิต

`ยาคุมฉุกเฉิน` ไม่ควรใช้เกิน 2 ครั้งในชีวิต

ยาคุมฉุกเฉินควรกินห่างกันกี่ครั้ง

วิธีคุมกำเนิดฉุกเฉิน ยาเม็ดฮอร์โมนเดียวโพรเจสโตเจน (0.75 mg) 2 เม็ด ทานห่างกัน 12 ชั่วโมง เม็ดแรกทันทีหรือไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยี่ห้อที่มีขายในประเทศไทย เช่น Madonna, Postinor, Mary Pink หรือรับประทาน levonorgestrel 1.5 mg ครั้งเดียวมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์และอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน

ยาคุมฉุกเฉินกินได้กี่กล่องต่อเดือน

วิธีการรับประทานที่ถูกต้องคือ รับประทานเม็ดแรกให้เร็วที่สุด ภายหลังมีเพศสัมพันธ์แบบที่ไม่ได้ป้องกันภายใน 72 ชั่วโมง และรับประทานเม็ดที่ 2 หลังจากเม็ดที่ 1 ภายใน 12 ชั่วโมง และไม่แนะนำให้รับประทานยาเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่องต่อเดือน สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด พร้อมกันในครั้งเดียวได้ โดยที่ประสิทธิภาพและความปลอดภัย ...

กินยาคุมฉุกเฉิน 3ครั้งใน 1 เดือน จะเป็นอะไรไหม

การกินยาคุมฉุกเฉินหลายๆครั้งในรอบเดือนเดียวกัน อาจลดประสิทธิภาพของยาและเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนไปได้ด้วย