การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

Successfully reported this slideshow.

Your SlideShare is downloading. ×

การยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

  1. 1. 1 การยกและการเคลื่อ นย้า ย อุบล ยี่เฮ็ง ศูนย์กู้ชีพ “นเรนทร” โรงพยาบาลราชวิถี วัต ถุป ระสงค์ • ทราบท่าในการยกและเคลื่อนย้ายที่ถูกต้อง • ทราบข้อบ่งชี้ในการยกและเคลื่อนย้ายแบบฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉิน • รู้จักอุปกรณ์ วิธีใช้ และเลือกใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะ สม • พิ จ ารณายกและเคลื่ อ นย้ า ยผู้ เ จ็ บ ป่ ว ยฉุ ก เฉิ น ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง เหมาะสมกับสภาพของผู้เจ็บป่วยและเหตุการณ์ หลัก ในการยกและเคลื่อ นย้า ย • เราต้องปลอดภัย • ผู้ป่วยต้องปลอดภัย แนวทางในการยก • รู้ขีดความสามารถและข้อจำากัดของตนเองและทีม • ประมาณนำ้าหนักผู้เจ็บป่วย • วางแผน และบอกเล่าแผนการในการยกให้ทีมทราบ • ขณะยก ยกขึ้นตรงๆ อย่าบิดตัว อย่าเอี้ยวตัวขณะยก • ยืนในตำาแหน่งที่สมดุล การแบก (Carry) • ห้ามงอหลัง ห้ามเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง • หลังตรง อย่าเอี้ยวหลัง • ผู้ช่วยเหลือควรมีความสูงและแข็งแรงพอๆกับผู้เจ็บป่วย • ย่อเข่า งอสะโพก อย่าก้มตัว • ให้นำ้าหนักที่จะแบกอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด การเอื้อ มจับ ( Reaching) • ระวังหลังให้ตรง • เมื่อเอื้อมแขนเหนือหัว อย่าแอ่นหลัง • อย่าเบี้ยวหรือบิดตัวขณะเอื้อมมือ • หลีกเลี่ยงการเอื้อมมือไปข้างหน้า ไกลเกิน 15-20 นิ้ว การผลัก หรือ ดัน ( Push) • เลือก การผลักหรือดันดีกว่าการดึงหรือลาก - Pushing is better than Pulling - หลีกเลี่ยงการผลักหรือดันจากที่สูงกว่าศีรษะ - ผลักให้แนวอยู่ระหว่างเอวและไหล่
  2. 2. 2 - หากนำ้าหนักอยู่ตำ่ากว่าเอว ให้ใช้ท่าคุกเข่า ท่า ยกที่ถ ูก ต้อ ง การเคลื่อ นย้า ยแบ่ง เป็น 1. เคลื่อนย้ายแบบฉุกเฉิน (Emergency Moves 2 .เคลื่อนย้ายแบบเร่งด่วน ( Urgent Moves) 3 .เคลื่อนย้ายแบบไม่เร่งด่วน ( Non - Urgent Moves) 4. เคลื่อนย้ายขณะนำาส่ง เคลื่อ นย้า ยแบบฉุก เฉิน (Emergency Moves)
  3. 3. 3 • ทำาเมื่อเหตุการณ์ไม่ปลอดภัย เช่น ไฟไหม้ • ทำาเพื่อ Save Life
  4. 4. 4 เคลื่อ นย้า ยแบบเร่ง ด่ว น ( Urgent Moves) • ทำาเมื่อมีผู้เจ็บป่วยอาการรุนแรง จำาเป็นต้องนำาตัวออกมารักษา พยาบาล แต่ผู้เจ็บป่วยนั้น อยู่ในที่ที่มีผู้บาดเจ็บคนอื่นขวางทาง อยู่ • หรือสถานการณ์มีผู้เจ็บป่วยติดภายในรถ • ต้องระวังการ Save Limb • มักใช้อุปกรณ์ร่วมด้วย ในการเคลื่อนย้าย เช่น Spinal board ,KED
  5. 5. 5 เคลื่อ นย้า ยแบบไม่เ ร่ง ด่ว น ( Non - Urgent Moves) • ทำา เมื่อ ผู้เจ็บป่วยไม่ จำา เป็ นต้ อ งให้ การรั กษาพยาบาลอย่ า งเร่ ง ด่วน คือต้องช่วย A,B,C ก่อนเสมอ • มั ก ทำา การ First aid ให้ เ สร็ จ สิ้ น ก่ อ น เช่ น Splint , Stop Bleeding • แล้วจึงพิจารณาการใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม เคลื่อ นย้า ยขณะนำา ส่ง • เตรียมพร้อมทั้งผู้ป่วยและอุปกรณ์ จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม • ขับรถด้วยความนุ่มนวลและปลอดภัย • นำาส่งโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถในการรักษา เอกสารอ้า งอิง อุบล ยี่เฮ็ง. Transportation and Communication. หนังสือประกอบการประชุมวิชาการการรักษาพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ. โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร : บริษัท แอล ที เพรส จำากัด. 2546. หน้า 116-129 อุบล ยี่เฮ็ง. การยกและการเคลื่อนย้าย. เอกสารประกอบ การบรรยายแก่ บุ ค ลากรโรงพยาบาลสงฆ์ “ การอบรมการเตรี ย ม
  6. 6. 6 พร้ อ มรั บ สถานการณ์ อุ บั ติ ภั ย หมู ” . โรงพยาบาลสงฆ์ . วั น ที่ 2-3 สิงหาคม 2553. (อัดสำาเนา)
  7. 7. 6 พร้ อ มรั บ สถานการณ์ อุ บั ติ ภั ย หมู ” . โรงพยาบาลสงฆ์ . วั น ที่ 2-3 สิงหาคม 2553. (อัดสำาเนา)
  8. 8. 6 พร้ อ มรั บ สถานการณ์ อุ บั ติ ภั ย หมู ” . โรงพยาบาลสงฆ์ . วั น ที่ 2-3 สิงหาคม 2553. (อัดสำาเนา)

นิยามของคำว่า“เคลื่อนย้าย (Transfers)”

การเคลื่อนย้ายเป็นการนำหรือช่วยผู้ป่วยจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ผู้ป่วยสามารถพยุงตนเองโดยการเดิน หรือใช้แขนได้ และมีการใช้เครื่องช่วยเช่นกระดานเคลื่อนย้าย walker หรือไม้เท้าเพื่อพยุงในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยตนเองได้

นิยามของ คำว่า “การยก(lifts)”

การยกเป็นกระบวนการที่ต้องรับน้ำหนักตัวทั้งหมดของผู้ป่วย (entire body weight) โดยคนอื่น (ผู้ป่วยไม่สามารถทำหรือช่วยได้)  หรือเครื่องมือเช่น เครื่องช่วยยก เพื่อจัดท่าหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังสถานที่อื่น

 เทคนิคการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

  1. การเคลื่อนย้ายโดยผู้ช่วยเหลือคนเดียว
    วิธีที่ 1พยุงเดินเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี แต่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่งเจ็บ
    วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือยืนเคียงข้างผู้ป่วย หันหน้าไปทางเดียวกัน แขนข้างหนึ่งของ ผู้ป่วยพาดคอ ผู้ช่วยเหลือจับมือผู้ป่วยไว้ ส่วนแขนอีกข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือโอบเอวและพยุงเดิน
    การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

วิธีที่ 2 การอุ้ม วิธีนี้ใช้กับผู้บาดเจ็บที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือในเด็กซึ่งไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักโดยการช้อนใต้เข่าและประคองด้านหลัง หรืออุ้มทาบหลังก็ได้

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

วิธีที่ 3 วิธีลาก เหมาะที่จะใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดไฟไหม้ ถังแก็สระเบิด หรือตึกถล่ม จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด

 

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

  1. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสองคน
    วิธีที่ 1 อุ้มและยกเหมาะสำหรับผู้ป่วยรายในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีการบาดเจ็บของลำตัว หรือกระดูกหัก

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

วิธีที่ 2 นั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บแต่รู้สึกดีและสามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้
วิธีเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือทั้งสองคนใช้มือขวากำข้อมือซ้ายของตนเอง ขณะเดียวกันก็ใช้มือซ้ายกำมือขวาซึ่งกันและกัน ให้ผู้ป่วยใช้แขนทั้งสองยันตัวขึ้นนั่งบนมือทั้งสี่ที่จับประสานกันเป็นแคร่ แขนทั้งสองของผู้ป่วยโอบคอผู้ช่วยเหลือ จากนั้นวางผู้ป่วยบนเข่าเป็นจังหวะที่หนึ่ง และอุ้มยืนเป็นจังหวะที่สอง แล้วจึงเดินไปพร้อมๆ กัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

วิธีที่ 3 การพยุงเดิน วิธีนี้ใช้ในรายที่ไม่มีบาดแผลรุนแรง หรือกระดูกหักและผู้บาดเจ็บยังรู้สึกตัวดี

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

  1. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยผู้ช่วยเหลือสามคน
    วิธีที่ 1 อุ้มสามคนเรียงเหมาะสำหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้มขึ้นวางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบๆ
    วิธีเคลื่อนย้ายผู้ช่วยเหลือทั้งสามคนคุกเข่าเรียงกันในท่าคุกเข่าข้างเดียว ทุกคนสอดมือเข้าใต้ตัวผู้ป่วย และอุ้มพยุงไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้
    คนที่ 1 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณคอและหลังส่วนบน
    คนที่ 2 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณหลังส่วนล่างและก้น
    คนที่ 3 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ขา
    ผู้ช่วยเหลือคนที่อ่อนแอที่สุดควรเป็นคนที่ 3 เพราะรับน้ำหนักน้อยที่สุด เมื่อจะยกผู้ป่วยผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องทำงานพร้อมๆ กัน โดยให้คนใดคนหนึ่งเป็นออกคำสั่ง ขั้นแรก ยกผู้ป่วยพร้อมกันและวางบนเข่า แต่ถ้าจะอุ้มเคลื่อนที่ผู้ช่วยเหลือทั้งสามคน จะต้องประคองตัวผู้ป่วยในท่านอนตะแคง และอุ้มยืน เมื่อจะเดินจะก้าวเดินไปทางด้านข้างพร้อมๆ กัน และถ้าจะวาง ผู้ป่วยให้ทำเหมือนเดิมทุกประการ คือ คุกเข่าลงก่อนและค่อย ๆ วางผู้ป่วยลง
    การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีอุ้มสามคนเรียง
วิธีที่ 2 การใช้คน 3 คน วิธีนี้ใช้ในรายที่ผู้บาดเจ็บนอนหงาย หรือ นอนคว่ำก็ได้ ให้คางของผู้บาดเจ็บยกสูงเพื่อเปิดทางเดินหายใจ
1. ผู้ปฐมพยาบาล 2 คนคุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งผู้ปฐมพยาบาลอีก 1 คน คุกเข่าข้างลำตัวผู้บาดเจ็บ
2. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 1 ประคองที่ศีรษะและไหล่ผู้บาดเจ็บ มืออีกข้างหนึ่งรองส่วนหลังผู้บาดเจ็บ
3. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 2 อยู่ตรงข้ามคนที่ 1ใช้แขนข้างหนึ่งรองหลังผู้บาดเจ็บ เอามือไปจับมือคนที่ 1 อีกมือหนึ่งรองใต้สะโพกผู้บาดเจ็บ
4. ผู้ปฐมพยาบาลคนที่ 3 มือหนึ่งอยู่ใต้ต้นขาเหนือมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพก แล้วเอามือไปจับกับมือคนที่ 2 ที่รองใต้สะโพกนั้น ส่วนมืออีกข้างหนึ่งรองที่ขาใต้เข่า
5. มือคนที่ 1 และคนที่ 2 ควรจับกันอยู่ระหว่างกึ่งกลางลำตัวส่วนบนของผู้บาดเจ็บ ผู้ปฐมพยาบาลจะต้องให้สัญญาณลุกขึ้นยืนพร้อม ๆ กัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยวิธีใช้คน 3 คน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่ม
ใช้กรณีที่ไม่มีเปลหามแต่ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณหลัง
วิธีเคลื่อนย้าย พับผ้าห่มตามยาวทบกันเป็นชั้น ๆ 2-3 ทบ โดยวิธีการพับผ้าห่มพับเช่นเดียวกับการพับกระดาษทำพัด วางผ้าห่มขนาบชิดตัวผู้ป่วยทางด้านข้าง ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าลงข้างตัวผู้ป่วยอีกข้างหนึ่ง จับผู้ป่วยตะแคงตัวเพื่อให้นอนบนผ้าห่ม แล้วดึงชายผ้าห่มทั้งสองข้างออก เสร็จแล้วจึงม้วนเข้าหากัน จากนั้นช่วยกันยกตัวผู้ป่วยขึ้น ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งต้องประคองศีรษะผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สงสัยว่า ได้รับบาดเจ็บที่คอหรือหลัง

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้เปลหาม
เปลหรือแคร่มีประโยชน์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อาจทำได้ง่ายโดยดัดแปลงวัสดุ การใช้เปลหามจะสะดวกมากแต่ยุ่งยากบ้างขณะที่จะอุ้มผู้ป่วยวางบนเปลหรืออุ้มออกจากเปล

วิธีการเคลื่อนย้าย เริ่มต้นด้วยการอุ้มผู้ป่วยนอนราบบนเปล จากนั้นควรให้ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งเป็นคนออกคำสั่งให้ยกและหามเดิน เพื่อความพร้อมเพรียงและนุ่มนวล ถ้ามีผู้ช่วยเหลือสองคน คนหนึ่งหามทางด้านศีรษะ อีกคนหามทางด้านปลายเท้าและหันหน้าไปทางเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าผู้ช่วยเหลือที่หามทางด้านปลายเท้าจะเดินนำหน้า หากมีผู้ช่วยเหลือ 4 คน ช่วยหาม อีก 2 คน จะช่วยหามทางด้านข้างของเปลและหันหน้าเดินไปทางเดียวกัน

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน
 

วัสดุที่นำมาดัดแปลงทำเปลหาม

1. บานประตูไม้
2. ผ้าห่มและไม้ยาวสองอัน วิธีทำเปลผ้าห่ม ปูผ้าห่มลงบนพื้น ใช้ไม้ยาวสองอัน ยาวประมาณ 2.20 เมตร
- อันที่ 1 สอดในผ้าห่มที่ได้พับไว้แล้ว
- อันที่ 2 วางบนผ้าห่ม โดยให้ห่างจากอันที่ 1 ประมาณ 60 ซม. จากนั้นพับชายผ้าห่มทับไม้อันที่ 2 และอันที่ 1 ตามลำดับ

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

 ภาพ การใช้ผ้าห่มมาดัดแปลงทำเปลหามผู้ป่วย

  1. เสื้อและไม้ยาว 2 อันนำเสื้อที่มีขนาดใหญ่พอๆกันมาสามตัว ติดกระดุมให้เรียบร้อย ถ้าไม่แน่ใจว่ากระดุมจะแน่นพอให้ใช้เข็มกลัดซ่อนปลายช่วยด้วย แล้วสอดไม้สองอันเข้าไปในแขนเสื้อ
    การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน

>>>>

ด้วยความปรารถนาดีจาก คลินิกกายภาพบำบัดเฟิร์ส ฟิสิโอ

http:// www.firstphysioclinic.com

Line ID : 0852644994

TEL.: 085-264-4994