โรค ตับแข็ง ระยะสุดท้าย อาการ

โรค ตับแข็ง ระยะสุดท้าย อาการ

  • ภาพรวมโรคตับแข็ง
  • สาเหตุโรคตับแข็งเกิดจากอะไร
  • อาการโรคตับแข็งและระยะ
  • ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโรคตับ
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับแข็ง (Cirrhosis)
  • การรักษาโรคตับแข็ง
  • โรคตับแข็งจะอยู่ได้กี่ปี
  • วิธีป้องกันโรคตับแข็ง
  • อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็ง (Cirrhosis)


โรค ตับแข็ง ระยะสุดท้าย อาการ
เรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ


ภาพรวมโรคตับแข็ง

โรคตับแข็ง หรือ โรค (Cirrhosis) คือ อาการของความผิดปกติในการทำงานของตับ หรือตับเป็นผังผืดและทำให้ตับมีปัญหา  บางครั้งผังผืดมักเกิดจากการได้รับสารพิษเช่นแอลกอฮฮล์มาเป็นระยะเวลายาวนาน หรืออาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้ภาวะการเจ็บป่วยทางร่างกายบางอย่างก็อาจจะเป็นต้นเหตุของโรคตับแข็งได้ด้วยเช่นกัน ในคนที่เป็นโรคหัวใจเรื้อรังอาจจะจะทำให้ตับมีการอักเสบเนื่องจากภูมิคุ้มกันต่อตนเองหรือบางครั้งหากร่างกายมีธาตุเหล็กหรือทองแดงมากเกินไปอาจจะส่งผลต่อตับได้ ทำให้ตับผิดปกติ

หน้าที่ของตับมีดังนี้:

หน้าที่ของตับ

  • สร้างโปรตีนอีกหลายชนิดที่สำคัญ คือ Globulin Albumin และโปรตีนที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
  • กำจัดสารพิษต่างๆ ได้แก่ ยาบางชนิดและแบคทีเรียบางชนิด
  • สร้างเม็ดเลือดแดงตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 2 เดือน
  • เป็นที่เก็บวิตามินต่างๆ เช่น วิตามิน B12, วิตามิน A, D, E และ K
  • ตับสร้างน้ำดีวันละประมาณ 500 – 1000 CC.
  • เป็นแหล่งเก็บพลังงานให้ร่างกายในรูปของแป้ง (Glycogen) และสามารถนำ Glycogen มาสลายเป็นพลังงานให้แก่ร่างกายได้
  • หน้าที่ในการรีไซเคิลสารจากเม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลายที่ม้าม
  • ย่อยอาหารไขมัน

สาเหตุโรคตับแข็งเกิดจากอะไร

ตับคืออวัยวะที่สำคัญ ตับช่วยอุ้มน้ำให้อยู่ในหลอดเลือด ตับผลิตน้ำดีและเกลือน้ำดีเพื่อสลายไขมัน สามารถฟื้นฟูเซลล์ที่เสียหาย หากตับได้รับความเสียหายนั่นหมายความว่าร่างกายจะได้รับผลกระทบมาก ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคตับในคนไทย คือโรคตับที่มาจากพิษสุราเรื้อรังและการติดเชื้อไวรัสที่ตับ และหากมีอาการเช่นนี้นาน ๆ จะส่งผลให้ตับมีเนื้อเยื่อผังผืดที่ตับและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โรคเกี่ยวกับตับ: 

  • โรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตัวเอง
  • โรคไวรัสตับอักเสบบี ซี ดี
  • alcocholic cirrhosis คือโรคพิษสุราเรื้อรัง 
  • ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน ทำให้น้ำดีที่ไหลย้อนกลับไปที่ตับส่งผลทำลายเนื้อตับจนเป็นตับแข็งได้
  • ไขมันพอกตับ ทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังจนอาจกลายเป็นตับแข็งได้
  • โรควิลสัน (Wilson’s disease) ซึ่งเกิดจากการมีการสะสมทองแดงมากเกินไปในตับ
  • การได้รับสารพิษบางชนิด
  • ทานยาบางตัวนานเกินไป
  • โรคเนื้อเยื่อสะสมธาตุเหล็กผิดปกติ
  • หัวใจล้มเหลวหลายครั้งติดต่อกัน

จากข้อมูลของ NIH โรคตับแข็งสามารถเกิดได้ในผู้หญิงที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าสองแก้วต่อวัน (รวมถึงเบียร์และไวน์) เป็นเวลาหลายปี สำหรับผู้ชายการดื่มมากกว่าสามแก้วต่อวันเป็นเวลาหลายปีอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคตับแข็ง อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ทุกคนจะเป็นโรคตับแข็ง โรคตับแข็งที่เกิดจากแอลกอฮอล์มักจะเป็นผลมาจากการดื่มเป็นประจำเป็นระยะเวลาหลายปีติดต่อกัน ผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะสุดท้ายควรงดการดื่มสุราโดยเด็ดขาด 

ไวรัสตับอักเสบซีสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือสัมผัสกับเลือด  เป็นไปได้ที่จะสัมผัสกับเลือดที่ติดเชื้อผ่านเข็มที่ปนเปื้อน ใช้เข็มร่วมกัน ดังนั้นควรระวังเป็นพิเศษ 

อาการโรคตับแข็งและระยะ

โรคตับแข็งมีกี่ระยะ

โรคตับแข็งอาการอาจจะสำแดงอาการมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และบางครั้งอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกันไป 

อาการโรคตับแข็งระยะแรก: 

  • ตัวเหลือง หรือดีซ่าน
  • เลือดกำเดาไหล
  • เบื่ออาหาร
  • ผิวคัน (itchy skin) มีอาการคันจากโรคตับที่ผิวหนังอย่างรุนแรง เนื่องจากสารประกอบของน้ำดีถูกฝังอยู่ในผิวหนัง
  • ร่างกายอ่อนล้า
  • ฟกช้ำหรือเลือดออกได้ง่าย เนื่องจากมีการผลิตโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในการทำให้เลือดแข็งตัวลดลง

ตับแข็งระยะที่สองจะมีอาการคือ

  • ช่องท้องบวม หรือที่เรียกว่าท้องมาน อาการท้องโตผิดปกติ
  • ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • สมองทำงานช้าลง 

อาการตับแข็งระยะสุดท้ายอาการ คือ :

  • อาการท้องบวมโต ตัวบวม ขาบวม 
  • เลือดออกรุนแรงในกระเพาะอาหาร
  • ในผู้หญิงอาจมีประจำเดือนผิดปกติ ในผู้ชายอาจมีเต้านมขยายใหญ่ขึ้นพร้อมอาการปวด สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับไม่สามารถกรองสารพิษออกมาได้ จึงเริ่มสะสมในเลือด โดยสัญญาณแรกของการสะสมสารพิษในสมองอาจสังเกตได้จากการที่ผู้ป่วยละเลยการดูแลตนเอง ไม่มีอาการตอบโต้ ลืมง่าย ไม่มีสมาธิ
  • ตับโตเกิดจาก(Hepatomegaly) คือ ภาวะที่ตับมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ตับโตอาการมีดังนี้แน่นท้อง อาเจียน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เท้าบวมหรือขาบวม อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ตับอักเสบ โรคมะเร็ง ความผิดปกติที่หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งในระยะยาวอาจส่งผลให้ตับเสียหายได้
  • ตับวายระยะสุดท้าย ตับวายเฉียบพลันที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังเกิดขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ โดยมีอาการแสดง คือ มีภาวะตัวเหลือง ตาเหลืองเพิ่มขึ้นจากระดับบิริรูบินสูงขึ้น ท้องบวมโต มีน้ำในช่องท้อง การแข็งตัวของเลือดผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้มีเลือดออกจากทางเดินอาหาร เช่น เลือดออกจากเส้นเลือดขอดที่หลอดอาหาร เลือดออกในกระเพาะอาหาร มีจ้ำเลือดตามตัว 

ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโรคตับ

การวินิจฉัยโรคตับแข็งคือการสอบถามเริ่มต้นด้วยประวัติโดยละเอียดและการตรวจร่างกาย ซักถามประวัติโรคที่คนในครอบครัวเคยเป็น โรคแพ้ภูมิตัวเองหรือปัจจัยเสี่ยงอื่น การตรวจร่างกายที่สัญญาณต่าง ๆ เช่น:

  • ผิวเหลืองซีด
  • ตาเหลือง 
  • ฝ่ามือแดงเพราะโรคตับ 
  • มือสั่น
  • ตับบวม
  • ขนาดอัณฑะเล็กลง 

วิธีการตรวจสอบโรคตับแข็งสามารถทำได้ดังนี้ 

  • การตรวจตับและม้ามด้วยรังสี (radioisotope scan)
  • ตรวจเลือด 
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
  • การเจาะผ่านผิวหนัง (biopsy) เพื่อเอาตัวอย่างจากเนื้อตับไปตรวจ เป็นวิธีที่ตรวจได้ 100%
  • การส่องกล้องแลปปาโรสโคป (Laparoscope) เป็นกล้องขนาดเล็กที่แทรกผ่านท่อเล็ก ๆ ในช่องท้องเพื่อเข้าไปดูตับ

หากเลือดของคุณไม่สามารถผ่านตับไปได้ มันจะสร้างการสำรองผ่านหลอดเลือดดำอื่น ๆ เช่นในหลอดอาหาร เส้นเลือดเหล่านี้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรับมือกับแรงกดดันสูงและจะบวมจากการไหลเวียนของเลือดที่มากเกินไป 

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยจากโรคตับแข็ง:

  • ไตวาย เกิดจากภาวะตับที่เสื่อมสภาพทำให้มีไนตริกออกไซด์และระบบฮอร์โมนทีควบคุมการบีบตัวของเส้นเลือดแดงผิดปกติ มีผลให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตลดลงทำให้เกิดภาวะไตวายขี้น โดยภาวะสภาพของเนื้อไตจะปกติดี
  • ตับวาย liver failure คือโรคตับวาย เป็นโรคซึ่งเกิดจากมีเหตุปัจจัยร้ายแรง ที่มากระทำให้เนื้อเยื่อตับส่วนใหญ่เกิดความเสียหายจนเกินกว่าที่ตับจะซ่อมแซมตนเองได้ จึงทำให้ตับใกล้หมดสมรรถภาพที่จะทำหน้าที่ของตับได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เซลล์ตับบาดเจ็บเสียหาย (Liver injury) 
  • เนื้อตัวช้ำเขียว (เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำและ หรือการแข็งตัวของเลือดไม่ดี)
  • เป็นมะเร็งในตับ
  • เลือดขอดในหลอดอาหาร เกิดจากพังผืดในตับ ดึงรั้งทำให้เกิดความดันเลือดในตับและในหลอดอาหารสูงขึ้น จนเกิดเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารโดยหากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารแตกจะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือด อาจถึงซ็อกและเสียชีวิตได้
  • ภาวะเสื่อมของสมอง เกิดจากความสามารถในการขจัดสารพิษของตับลดลงร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือดในตับที่ผิดปกติ ส่งผลให้ของเสีย (โดยเฉพาะสารแอมโมเนีย) บางส่วนไม่ผ่านการกรองที่ตับ ทำให้เกิดสารพิษดังกล่าวปนกับกระแสเลือดและมีผลกระทบต่อการทำงานของสมองโดยผู้ป่วยมีอาการง่วงตอนกลางวัน, มือสั้น, พูดจาสับสนความรู้สึกตัวลดลง หรือหมดสติได้ โดยปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ได้แก่ การติดเชื้อ ท้องผูก เป็นต้น
  • ฮอร์โมนผิดปกติ โดยผู้ป่วยตับแข็งจะมีความสามารถในการกำจัดฮอร์โมนบางอย่างลดลง ทำให้ฮอร์โมนเอสตราไดออลเพิ่มขึ้น ทำให้เต้านมโตขึ้น รวมถึงมีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ภาวะมีบุตรยาก
  • ท้องบวม เป็นภาวะที่มีน้ำในช่องท้องปริมาณมากกว่าปกติ เกิดจากการที่แรงดันของหลอดเลือดในตับสูงขึ้นจนเกิดการรั่วซึมของน้ำออกมาจากตับร่วมกับภาวะที่ผู้ป่วย ตับแข็ง มักมีระดับโปรตีนอัลบูมินที่ต่ำลง (โปรตีน ชนิดนี้จะช่วยอุ้มน้ำให้อยู่ในหลอดเลือด) จึงเกิดการสะสมปริมาณน้ำในช่องท้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยจะมีอาการท้องบวม ขาบวม สะดือจุ่น ภาวะนี้รักษาได้โดยการให้ยาขับปัสสาวะ นอกจากนี้ผู้ป่วยดังกล่าวอาจเกิดการติดเชื้อในช่องท้องแทรกซ้อนได้เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ลดลง ส่งผลให้มีอาการไข้ ปวดท้อง หรือท้องเสีย แพทย์จะวินิจฉัยโดยการเจาะน้ำในช่องท้องไปตรวจ และให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • ความต้านทานต่ออินซูลินและโรคเบาหวานประเภท 2
  • เลือดออกผิดปกติ ตับเป็นอวัยวะทีสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด ในภาวะตับแข็งจะทำให้เกิดการลดลงของโปรตีนเหล่านี้ ร่วมกับเกล็ดเลือดที่ต่ำจากม้ามโตทำให้ผู้ป่วยตับแข็งมีปัญหาเลือดออกง่ายกว่าปกติ

การรักษาโรคตับแข็ง

วิธีรักษาโรคตับแข็งขึ้นอยู่กับระยะและอาการของโรค หากเป็นโรคตับแข็งระยะแรก ที่ตับยังไม่ได้รับความเสียหายมาก การรักษาที่สาเหตุจะป้องกันการถูกทำลายของตับ และมีการรักษาอื่น ๆ ที่แพทย์จะดูความเหมาะสมดังนี้ 

  • การหยุดดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์ (การรักโรคตับแข็งจากสุรา) 
  • การให้ยาเบต้าบล็อคเกอร์หรือไนเตรต (สำหรับความดันโลหิตสูง)
  • การฟอกเลือด 
  • รับประทานยาเพื่อช่วยควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบ ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ (เพื่อรักษาเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่สามารถเกิดขึ้นได้กับน้ำในช่องท้อง)
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ความคุมน้ำตาลและควบคุมอาหารโปรตีนต่ำ (กรณีมีโรคสมองที่เกิดจากตับแข็ง) 
  • การปลูกถ่ายตับ เมื่อการรักษาอื่น ๆ ไม่ได้ผล

ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรงดการดื่มสุราและแอลกอฮอล์

โรคตับแข็งจะอยู่ได้กี่ปี

คำถามเป็นคำถามที่ตอบยากเนื่องจากไม่สามารถบอกแน่ชัดได้ และขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนหรือไม่ จนไปถึงระยะของอาการโรคตับแข็ง แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเฉลี่ยอยู่ที่ 5-10 ปี หากผู้ป่วยเข้าถึงตับแข็งระยะสุดท้ายแล้ว

วิธีป้องกันโรคตับแข็ง 

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและแอลกอฮอล์
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
  • ควบคุมน้ำหนัก 
  • ผู้ป่วยโรคตับแข็งห้ามกินอะไรสุก ๆ ดิบๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ในตับ

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคตับแข็ง (Cirrhosis)

ในผู้ป่วยโรคตับ  ควรรับประทานอาหารและโปรตีนที่ดี เช่นเนื้อสัตว์ไม่ติดมันเช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ นม ไข่ ผักผลไม้สด หากตับยังทำงานปกติควรบริโภคอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ตามหลักโภชนาการ โดยรับประทานอาหารประเภทโปรตีนประมาณวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือควรรับประทานโปรตีนวันละประมาณ 60 กรัม หรือกินเนื้อสัตว์ให้ได้วันละ 6-12 ช้อนโต๊ะ

หากตับทำงานผิดปกติแล้วและมีอาการตัวเหลือง (ดีซ่าน) อาการท้องบวมขาบวม ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีภาวะขาดสารอาหารดังนั้นควรกินอาหารให้ได้ 2,500-3,000 กิโลแคลอรีต่อวัน โดยเลือกรับพลังงานจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้งและข้าวเป็นหลัก เช่น ข้าวสวย ข้าวต้ม ข้าวเหนียว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน และเพิ่มการรับประทานข้าวและแป้งไม่ขัดสี อย่างข้าวกล้อง โฮลวีต ร่วมด้วย นอกจากนี้ควรกินอาหารประเภทโปรตีนให้ได้ประมาณ 80-90 กรัม ต่อวัน และรับประทานผัก-ผลไม้ร่วมด้วย นี่คืออาหารสไหรับคนเป็นโรคตับแข็ง ที่ควรรับประทาน


ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cirrhosis/symptoms-causes/syc-20351487
  • https://www.webmd.com/digestive-disorders/understanding-cirrhosis-basic-information
  • https://www.nhs.uk/conditions/cirrhosis/
  • https://www.liver.ca/patients-caregivers/liver-diseases/cirrhosis/

คุณวิกานดา รัตนพันธ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพและความงาม เพราะเธอเชื่อว่า สุขภาพที่ดีจะทำให้คนมีความสุขและความมั่นใจ คุณวิกานดามีความสนใจเกี่ยวกับสุขภาพ ความงาม การท่องเที่ยว และเรื่องราวการแพทย์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม

โรคตับแข็งระยะสุดท้ายมีอาการอย่างไร

อาการตับแข็งสู่ตับวาย ภาวะอ่อนเพลียง่าย อาจจะท้องอืด แน่นท้องร่วมด้วย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือหากมากจนถึงท้องป่อง ท้องมีเส้นเลือดดำ ๆ โป่งพองขึ้นมา ให้รีบพบแพทย์โดยไว หรืออาการอื่น ๆ ที่มีผลต่อสมอง สับสน ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ บริเวณอกมีเส้นเลือดเหมือนใยแมงมุมปรากฏ คางป่อง ท้องป่อง สะดือจุ่น มือแดง ตัวเหลืองตาเหลือง

อาการของโรคตับแข็งเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็งอาจไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก หรืออาจมีอาการเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนตามระยะของโรค ทั้งนี้อาการที่อาจพบได้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร ในบางครั้งอาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ น้ำหนักลด ในผู้หญิงอาจมีประจำเดือนผิดปกติ ในผู้ชายอาจมีเต้านมขยายใหญ่ขึ้นพร้อมอาการปวด สมรรถภาพทางเพศลดลง

โรคตับแข็งระยะสุดท้าย รักษาได้ไหม

แนะนำการติดตามอาการกับแพทย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากเป็นระยะสุดท้าย คือมีอาการมากแล้ว การรักษาเน้นที่การประคับประคอง/รักษาตามอาการเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด แต่ตัวตับอาจจะไม่ได้กลับมาเป็นปกติ

โรคตับเเข็งมีกี่ระยะ

ความรุนแรงของตับแข็งมีกี่ระดับ โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ A, B และ C โดยดูจากผลการตรวจเลือดได้แก่ระดับ ไข่ขาว บิลลิรูบินและการแข็งตัวของเลือดร่วมกับอาการบวมและอาการซึมสับสน ระดับ A เป็น ขั้นต้น ระดับฺ B ปานกลางและระดับ C รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยตับแข็งระดับ A มีโอกาสรอดชีวิตมากกว่า ผู้ป่วยตับแข็งระดับ B และ C ตามล้าดับ