วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่

“ผู้ควบคุมงานก่อสร้างตามกฎหมาย” คือใครมีความสำคัญอย่างไรมาดูกันครับ

  1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนดให้อาคารควบคุมการก่อสร้างต้องมีผู้ควบคุมงานทั้งสถาปนิกและวิศวกรที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
  2. สถาปนิกควบคุมงานต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549 ออกตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 มีหน้าที่ควบคุมระยะกว้างยาว ระดับความสูง วัสดุและการติดตั้งงานสถาปัตยกรรมให้เป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุญาต
  3. วิศวกรควบคุมงานต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ.2550 ออกตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 วิศวกรโยธามีหน้าที่ควบคุมวัสดุ ส่วนผสม การติดตั้ง ชิ้นส่วนโครงสร้าง วิศวกรระบบต่างๆ มีหน้าที่ควบคุมวัสดุ การติดตั้ง งานไฟฟ้าและสื่อสาร งานประปาสุขาภิบาล งานป้องกันอัคคีภัย งานปรับอากาศและระบายอากาศ ให้เป็นไปตามแบบที่ได้รับอนุญาตดังนั้น สถาปนิกควบคุมงานและวิศวกรควบคุมงานมีหน้าที่แตกต่างกันชัดเจน สรุป การก่อสร้างที่ดีต้องมีการควบคุมงานตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เพื่อให้การก่อสร้างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน

ขอบคุณการแบ่งปันความรู้ดีๆของคอนเซาวน์ของเรา ปุ๊ ณภัทร อักษ

บทความงาน > บทความตามสายงาน > งานวิศวกร > หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรผู้ควบคุมงาน

หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรผู้ควบคุมงาน

  • 11 August 2014

วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่
วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่
วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่
วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่
วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่
วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่
วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่

          ความหมาย (มาตรา 4) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 “ผู้ควบคุมงาน” หมายความว่า ผู้ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยการ หรือควบคุมดูแลการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร

          หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรผู้ควบคุมงาน

  1. ผู้ควบคุมงานต้องทำหนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงาน มอบให้เจ้าของอาคาร เพื่อทำหนังสือแจ้งชื่อผู้ควบคุมงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 29 และมาตรา 30
  2. ผู้ควบคุมงานที่ประสงค์จะถอนตัวจากการเป็นผู้ควบคุมงาน (มาตรา 30)ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม วิศวกรผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ควบคุมงาน จะต้องรับผิดชอบจนกว่างานก่อสร้างจะ แล้วเสร็จ หากวิศวกรต้องการจะถอนตัวออกจากการเป็นผู้ควบคุมงาน จะต้องทำหนังสือขอยกเลิกการเป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงจะพ้นจากความรับผิดยกตัวอย่างเช่น การที่วิศวกร ช ได้รับเป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานตามใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร วิศวกร ช จะหลุดพ้นความรับผิดชอบก็ต่อเมื่อได้แจ้งถอนตัวจากการเป็นผู้ควบคุมงานเป็น ลายลักษณ์อักษรต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้อนุญาตเท่านั้น การที่วิศวกร ช มีหนังสือแจ้งถอนตัวจากการเป็นผู้ควบคุมงานต่อเจ้าของอาคารโดยมิได้แจ้งต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่งผลให้วิศวกร ช ยังคงมีความรับผิดในฐานะผู้ควบคุมงานอยู่
  3. ผู้ควบคุมงานวิศวกรรมจะ ต้องควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ให้เป็นไปตามแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต และจะต้องปฏิบัติตามวิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบ อนุญาต หรือตามที่ได้แจ้งไว้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมีการฝ่าฝืนกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำของผู้ควบคุมงาน เว้นแต่ผู้ควบคุมงานจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของผู้อื่น ซึ่งผู้ควบคุมงานได้มีหนังสือแจ้งข้อทักท้วงการกระทำดังกล่าวให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองอาคาร และผู้ดำเนินการทราบแล้ว แต่บุคคลดังกล่าวไม่ยอมปฏิบัติตาม (มาตรา 31)
  4. ในกรณีที่มีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ผู้ควบคุมงานเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งจะต้องรับผิดชอบและปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้า พนักงานท้องถิ่น มิฉะนั้น อาจถูกดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ และอาจถูกแจ้งเวียนชื่อมายังสภาวิศวกรตามมาตรา 49 ทวิ เพื่อพิจารณาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม

          กรณีมีการก่อสร้างอาคารโดยมิได้ขออนุญาต

วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่
          การดำเนินการก่อสร้างและควบคุมงานโดยมิได้มี การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือดำเนินการก่อสร้างในช่วงระยะเวลาที่ยังมิได้รับใบอนุญาตก่อสร้างจากเจ้า พนักงานท้องถิ่น ถือว่ามีเจตนา จงใจฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หากวิศวกรผู้ควบคุมงานมีส่วนรู้เห็นในเรื่องดังกล่าว หรือมิได้โต้แย้งและแจ้งให้เจ้าของอาคารดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถือเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม เนื่องจากเป็นการสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย

ที่มา : สภาวิศวกร

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จบวิศวะจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรหรือไม่

อัตราค่าจ้างที่ปรึกษาในงานวิศวกรรม

เกร็ดความรู้บันไดหนีไฟ

งานวิศวกร  วิศวกร  วิศวกรควบคุมงาน  วิศวกรผู้ควบคุมงาน  หน้าที่ของวิศวกรผู้ควบความงาน  หน้าที่วิศวกรผู้ควบคุมงาน

บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรผู้ควบคุมงาน

วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่

Test case คืออะไรทำไม Tester จำเป็นต้องทำ?

ในสายงานการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ซอฟท์แวร์ หรือโปรแกรมต่าง ๆ นอกจากอาชีพชูโรงอย่าง Developer แล้ว ยังมีตำแหน่งยิบย่อยอื่น ๆ...

วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่

ChatGPT คืออะไรทำไมเราถึงควรต้องทำความรู้จัก

  เราอาจคุ้นเคยกับเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งก็คือความฉลาดของคอมพิวเตอร์กันมา...

วิศวกร ควบคุมงานก่อสร้าง หน้าที่

Work From Home vs. Hybrid Work องค์กรใหญ่ควรเลือกระบบไหนในปี 2023

ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งโลกของเราจะเกิดโรคระบาดอย่างโควิด-19 ขึ้นมา แล้วส่งผลกระทบแบบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก สร้างปัญหาให้กับท...

วิศวกรรมสาขาใดมีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง

ชื่ออาชีพ : วิศวกรโยธา Civil Engineer.
ลักษณะของงานที่ทำ วางแผน จัดระบบงาน และควบคุมงานสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งต่างๆ ... .
สภาพการทำงาน ... .
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ ... .
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ.

หน้าที่ของผู้ควบคุมงานก่อสร้าง มีอะไรบ้าง

(๑) ออกควบคุมงานและจัดทาบันทึกรายงานการควบคุมงานทุกวัน (๒) จัดทาบันทึกรายงานการควบคุมงานเสนอต่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้างทุกสัปดาห์ (๓) จัดท าบันทึกรายงานกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น มีการก่อสร้างหรือใช้วัสดุไม่ถูกต้อง หรือเกิดอุบัติเหตุ เกิด ภัยพิบัติต่างๆ เสนอต่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้าง ...

ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่อะไร

ข้อ ๑๗๘ ผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ดังนี้ (๑) ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือที่ตกลงให้ทำงานจ้างนั้นๆ ทุกวันให้ เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาทุกประการ โดยสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการ

วิศวกรรม ควบคุม คือ อะไร

วิศวกรรมระบบควบคุม เป็นสาขาวิชาสำคัญสาขาหนึ่งของการศึกษาทางวิศวกรรมศาสตร์ มุ่งน้นการศึกษาค้นคว้าและประยุกต์ทฤษฎีระบบควบคุมในการออกแบบระบบเพื่อควบคุมให้มีพฤติกรรม (เสถียรภาพและสมรรถนะ) ตามต้องการโดยเป็นไปตามที่วิเคราะห์คาดการไว้ล่วงหน้า การใช้งานระบบควบคุมโดยทั่วไปแล้วนิยมอาศัยอุปกรณ์วัดหรือเซนเซอร์ (sensors) เพื่อวัด ...