แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ม. 5

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

เทคนิคการอ่านแบบ SQ4R, การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1)  เพื่อพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การสอนแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R จำนวน 6 ชุด และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียนวิชาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการทดลอง พบว่า 1) ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ค่า E1 มีค่าประสิทธิภาพ  80.247 และค่า E2 มีค่าประสิทธิภาพ  81.250 ซึ่งสูงว่าเกณฑ์ที่กำหนด และ 2) คะแนนที่เรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กชมน สุชิรัมย์. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองตาดพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขจิต ฝอยทอง. (2553). คู่มือสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. นครปฐม: คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ชรัลภัสร์ พิสุทธิ์จิระธาดา. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

พรนิภา บรรจงมี. (2548). การใช้เทคนิคเอสคิวโฟร์อาร์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและการคิดไตร่ตรองของผู้เรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2553). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สายชล ปิ่นชัยมูล. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).

สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2561). การทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา TU-SET. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลา เรียน“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เสาวนีย์ สามหมอ, อารีรักษ์ มีแจ้ง และ ศิตา เยี่ยมขันติถาวร. (2558). ผลการใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 6 จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5 (น. 1-10). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Bloom, B.S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York: McGraw-Hill.

แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ม. 5

How to Cite

License

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร

ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านหากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ล่ะท่านจะรับผิดชอบบทความองตนเองแต่เพียงผู้เดียว


  1. DSpace at Silpakorn University
  2. Silpakorn University
  3. Education

Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/452

Title:  การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กิจกรรมอ่านแบบเน้นภาระงาน เรื่อง ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles:  THE DEVELOPMENT OF ENGLISH READING COMPREHENSION SKILLS EXERCISES BY USING TASK-BASED READING ACTIVITY BASED ON KANCHANABURI LOCAL INFORMATION FOR THE EIGHTH GRADE STUDENTS.
Authors: 
SAMOTHAI, PLOIPAIRIN
Keywords:  แบบฝึก
กิจกรรมอ่านแบบเน้นภาระงาน
ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี
ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ ความเข้าใจ
EXERCISE
KANCHANABURI LOCAL
TASK-BASED READING ACTIVITY
Issue Date:  1-Aug-2559
Publisher:  มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 2. พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3. ทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบเน้นภาระงาน เพื่อประเมินทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ เรื่อง ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทพมงคลรังษี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ใช้เวลา 12 ชั่วโมง แบบแผนการวิจัย One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.แบบสอบถามความต้องการแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 2.แบบสัมภาษณ์ 3.แบบทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนเรียน-หลังเรียน 4. แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 5. แผนการจัดการเรียนรู้ 6.แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน 7. แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติ t- test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. นักเรียนและครูต้องการให้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ลักษณะทั่วไป เทศกาลและประเพณี บุคคลสำคัญ อาหารพื้นเมืองในท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีรูปแบบที่ใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ มีกิจกรรมที่หลากหลาย มีการเรียงเนื้อหาจากง่ายไปยาก และสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 2. แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ประกอบด้วย ชื่อแบบฝึก คำนำ คำชี้แจงการใช้แบบฝึก สารบัญ มาตรฐาน ตัวชี้วัด จุดประสงค์ แบบทดสอบก่อนเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ แบบทดสอบหลังเรียน และ เฉลยแบบฝึกหัด มีทั้งหมด 5 เล่ม ได้แก่ (1) Getting to know general information (2) Getting to know great times (3) Getting to know famous people (4) Getting to know local products (5) Getting to know tourist attractions แบบฝึกมีค่าประสิทธิภาพ 82.33/80.56 3. ผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ พบว่า นักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความมุ่งมั่นในการทำงานอยู่ในระดับดี และนักเรียนความคิดเห็นต่อแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก The purposes of this research were to 1. study the fundamental data to develop the exercises for English reading comprehension skills 2. develop the exercises of English reading comprehension skills 3. implement of the exercises to evaluate of English reading comprehension skills based on Kanchanaburi local information , desired characteristics (Dedication and commitment to work) and study students’ opinion toward the exercises for English reading comprehension exercises. The sample of this research consisted of 30 students of the eighth grade during the second semester of academic year 2015 of Thepmongkhonrangsi school , Kanchanaburi. The duration of the implementation covered 12 hours. The research design was one group pretest-posttest design. The research instruments were the questionnaire needs of exercises, the interview form, the exercises, the lesson plans, the reading comprehension skills pre-posttest , desired characteristics form, and the students’ opinion questionnaire. The obtained data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, dependent t-test and content analysis. The results of this research were as follow: 1. The students and teachers would like the exercises that based on general information, special events and festivals , famous people, local food and tourist attractions of Kanchanaburi. The exercises should use simple language , be variety of activities , begin with easy to difficult content, access the internet for information. 2. The exercises were consisted of name, preface, the explanation of using the exercises, tables of content, standards , indicators, objectives, pretest, lesson plans, exercises , posttest and answer keys. The exercises had 5 sets followed (1) Getting to know general information (2) Getting to know great times (3) Getting to know famous people (4) Getting to know local products (5) Getting to know tourist attractions . The efficiency of exercises was 82.33/80.56. 3. The exercise implement found that The English reading comprehension posttest scores were higher than before pretest scores significant at the 0.05 level. The desirable characteristics on the commitment in works feature at a good level. Considering that the students’ opinions toward the exercises was found that the students had positive opinion toward the exercises for English reading comprehension.
Description:  54253309 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ -- พลอยไพรินทร์ สโมทัย
URI:  http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/452
Appears in Collections: Education

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.