ข้อดีของเครื่องบินต่อสิ่งแวดล้อม

COVID-19 ได้ส่งผลกระทบไปยังอุตสาหกรรมการบิน ทำให้ปริมาณเที่ยวบินทั่วโลกลดลงอย่างมาก หลายสายการบินต้องพบกับความเสี่ยง และต้องปรับตัวในช่วงที่ไม่ปกตินี้ แม้หลายคนเชื่อว่าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้น ผู้คนกลับมาเดินทางกันเป็นปกติ อุตสาหกรรมการบินก็จะกลับมาให้ความสำคัญต่อเป้าหมายการทำกำไรให้ได้มากที่สุด โดยลดความสำคัญของเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมลงไป อย่างเป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ แต่ Grazia Vittadini ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) ของ Airbus บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินอันดับต้น ๆ ของโลกกล่าวว่า นั่นจะเป็นการตัดสินใจที่ผิดอย่างมาก

.

ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 อุตสาหกรรมการบินก่อให้เกิดมลพิษ คิดเป็น 2-3% ของการปล่อยมลพิษทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก ซึ่งสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA) ก็ได้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2563 จะมีอัตราการเติบโตของการเดินทางด้วยเครื่องบินในระดับที่สูง ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้โดยสารที่เป็นประชาชนกลุ่ม Millennials (ผู้ที่เกิดระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2539) โดยประชาชนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเลือกสายการบินที่เป็นมิตรและสร้างความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เพราะสามารถตอบโจทย์คุณค่าที่ตนยึดถือได้ หากสายการบินจะใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ ก็อาจต้องวางแผนในการดำเนินกิจการพร้อมกับสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่โลกกำลังเผชิญ พร้อมไปกับการดึงดูดผู้โดยสารกลุ่มใหญ่นี้ ให้มาใช้บริการของตนไปด้วย

.

สิ่งที่จะทำให้การขับเคลื่อนความยั่งยืนและการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินประสบความสำเร็จ คือการเปลี่ยนผ่านไปสู่การบินที่ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม (Net-Zero Flying) ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมการบิน ภายในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ไม่เพียงจะช่วยสร้างความยั่งยืนในระยะยาวให้กับสิ่งแวดล้อม แต่จะช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นทางการเงิน (Financially Resilient) และการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินทั้งหมดอีกด้วย โดยหนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านนี้สำเร็จ คือการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานที่ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุทางชีวภาพ (Sustainable Aviation Fuel: SAF) ซึ่งสามารถนำมาผสมกับเชื้อเพลิงแบบเดิมได้ ทำให้ไม่ต้องลงทุนในอุปกรณ์หรือโครงสร้างพื้นฐานใหม่ รวมถึงการใช้งานเชื้อเพลิงดังกล่าวช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้สูงถึง 80% เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงแบบเดิม ช่วยให้เที่ยวบินทั้งยาวและสั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น

.

ปัจจุบันหลายภาคส่วนในอุตสาหกรรมการบิน เห็นความสำคัญของการยึดมั่น (Commit) ต่อเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จะเห็นได้จาก Oneworld เครือข่ายของ 14 สายการบินระดับโลก ซึ่งรวมถึง American Airlines, British Airways และ Cathay Pacific Airways ประกาศเป้าหมายไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม (Net-Zero emissions) ภายในปี พ.ศ. 2593 โดยนอกจาก Oneworld จะเป็นเครือข่ายสายการบินแรกที่ออกมาประกาศ แล้ว ยังได้ให้ข้อมูลอีกว่า แต่ละสายการบินจะมีการดำเนินการที่แตกต่างกันเพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะในแต่ละเที่ยวบิน การลงทุนในเชื้อเพลิงอากาศยานที่ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุทางชีวภาพ (SAF) การลดการใช้พลาสติก การชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsets) ฯลฯ นอกจากนี้ก็ยังมีมาตรการที่น่าสนใจจากภาคส่วน และเครือข่ายอื่น ๆ อีกมากมายตามมา อย่างเช่น Destination 2050 มาตรการเพื่อความยั่งยืนของภาคส่วนการบินในสหภาพยุโรป ที่จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากทุกเที่ยวบินภายใน และที่ออกจากยุโรป 45% ภายในปี พ.ศ. 2573 และไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ภายในปี พ.ศ. 2593

.

ส่วนของฝั่งผู้บริโภคก็มีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากอุตสาหกรรมการบินเช่นกัน โดยตัวอย่างความร่วมมือที่เกิดขึ้น คือข้อตกลงความร่วมมือของ Alaska Airlines และ Microsoft ที่จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากเที่ยวบินในเส้นทางหลักทั่วโลก ผ่านการใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยองค์กรธุรกิจอื่น ๆ ก็ได้ร่วมมือกับสายการบินเพื่อสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานที่ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุทางชีวภาพ (SAF) เช่นกัน นั่นทำให้องค์กรธุรกิจสามารถช่วยสายการบินรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของเชื้อเพลิง แลกกับการรับรองการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมจากเครือข่าย Clean Skies for Tomorrow (CST) ของสภาเศรษฐกิจโลก ส่วนสายการบินก็ได้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นได้อีกด้วย

.

การดำเนินการเพื่อสร้างความยั่งยืน คือการคำนึงถึงความเป็นไปของโลก พร้อมกับการคำนึงถึงการเติบโตขององค์กรเองด้วย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างสามปัจจัยพื้นฐาน ทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ที่ดี และการรักษาสิ่งแวดล้อม แนวทางเพื่อสร้างอุตสาหกรรมการบินที่ดีกว่าก็เกิดจากการใช้เทคโนโลยี เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจให้กับสายการบิน เมื่อทุกคนได้ประโยชน์ก็จะนำไปสู่การร่วมมือกัน เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมนี้ไปสู่สถานะที่ดีกว่าได้ในที่สุด

เช่นเดียวกันกับเรื่องเสียงรบกวน ประเด็นปัญหาด้านคุณภาพอากาศของท้องถิ่นถือเป็นข้อกังวลที่สำคัญต่อชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ใกล้สนามบิน

ในพื้นที่รอบสนามบิน มีการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx), สารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยง่าย (VOC), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และอนุภาคหรือฝุ่นละออง (PM) ซึ่งมักได้รับการพิจารณาว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อข้อกังวลเรื่องคุณภาพอากาศของท้องถิ่น

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ระดับของคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ลดลงประมาณ 50% และไฮโดรคาร์บอนที่ไม่เผาไหม้และควันลดลงประมาณ 90% การวิจัยมุ่งเป้าไปที่การลดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (Nox) ลงอีก 80% ในปี ค.ศ. 2020 นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการบินยังทำการลงทุนเป็นจำนวนมากในด้านอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดินและยานยนต์ที่สะอาดขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศในท้องถิ่น

ในฮ่องกง ระดับการปล่อยก๊าซเสียในท้องถิ่นที่มาจากอุตสาหกรรมการบินในฮ่องกง ยังคงอยู่ในระดับคงที่ที่ 6% (NOx), คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) 3% และสารก่อมลภาวะ 2% โดยเป็นไปตามฐานข้อมูลการปล่อยมลภาวะทางอากาศล่าสุดที่เผยแพร่ในปี 2007

กล่าวโดยรวมคือ อุตสาหกรรมการบินส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศของท้องถิ่นน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับแหล่งที่มาประเภทอื่น เช่น การคมนาคมทางบก เป็นตัน เราได้ดำเนินการริเริ่มในเรื่องการดูแลคุณภาพอากาศทั้งในอากาศ และบนพื้นดิน เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน

อุตสาหกรรมการบินส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านใดบ้าง

จะเห็นได้ว่าก๊าซที่ปล่อยออกมาจากเครื่องบินนั้น นอกจากจะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน หรือก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันแล้ว ผลตามมาจากการเกิดภาวะโลกร้อนหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก็คือ อากาศแปรปรวนไปจากเดิม เกิดสภาพอากาศปั่นป่วนไปทั่วโลก หลายประเทศเกิดอุทกภัยบ่อยครั้ง

เครื่องบินมีประโยชน์อะไรบ้าง

ข้อดีของการขนส่งของทางเครื่องบิน.
ใช้เวลาน้อย.
ตารางการบินที่แน่นอน ทำให้ส่งของได้ค่อนข้างตรงเวลา.
ทำให้การขนส่งระหว่างประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว.
ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสร้างคลังเก็บสินค้านำเข้า – ส่งออก.
นำเนินเอกสารการขนส่งรวดเร็ว.
สามารถเข้าไปในที่ที่อยู่ไกลได้.

การขนส่งทางอากาศส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ทั้งนี้ มีข้อมูลว่าการขนส่งทางอากาศส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนอยู่ประมาณ 5% จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงสารอื่นๆ เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ และไอน้ำ ด้านสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศประเมินว่า จำนวนผู้โดยสารทางอากาศอาจเพิ่มเป็น 2 เท่า ภายในปี พ.ศ.2579 ซึ่งผลกระทบจากการบินก็จะเพิ่มขึ้นด้วย จึงจำเป็นต้องมีวิธีรับมือ ...

ไอเสียจากเครื่องยนต์อากาศยานก่อให้เกิดผลกระทบใดต่อไปนี้

2. ผลกระทบอันเกิดจากไอเสียของเครื่องบิน (Aircraft Engine Emissions) โดยไอเสียที่เครื่องบินปล่อยออกมาส่วนใหญ่ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และทำให้คุณภาพของอากาศเปลี่ยนไป (Climate Change)