การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่ออะไร

การจัดการสิ่งแวดล้อม

ความหมายและความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม

ความหมายของการจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง กระบวนการแผ่กระจายทรัพยากรที่สำคัญทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนองความพอใจในการนำไปใช้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ต้องเป็นการดำเนินการอย่างมีระบบในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อม เพื่อจะมีทรัพยากรใช้ได้ตลอดไป

ความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม
ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาเป็นแนวทางวางแผนการจัดการ และปฏิบัติโดยสามารถพยากรณ์สภาพปัญหาและวางแผนแก้ไขปัญหาก่อนการลงมือปฏิบัติดำเนินโครงการพัฒนาหรือเตรียมแผนไว้ใช้ระหว่างและหลังการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาระบบ โดยไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด ทั้งนี้สามารถคาดคะเนทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมได้ด้วย

หลักการและแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม
มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- มุ่งการใช้ทรัพยากรให้ยั่งยืนยาวนาน
- ใช้ทรัพยากรโดยเพิ่มจำนวน และรักษาจำนวนที่มีอยู่
- รู้จักการหมุนเวียนทรัพยากรนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
- ควบคุมของเสียและมลพิษที่เกิดขึ้น
- รักษา , สงวน , ปรับปรุง , ซ่อมแซม , พัฒนาการใช้ทรัพยากร
- ควบคุมระบบนิเวศให้อยู่ในสมดุลธรรมชาติ
- ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดี
หลักเกณฑ์ในการวางแผนการจัดการยึดหลักอนุรักษ์วิทยาโดยมีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
- การใช้อย่างสมเหตุสมผล ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่ามีผลเสียน้อยที่สุด
- การปรับปรุงซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือสูญหาย
- การประหยัดในส่วนที่ควรสงวนไว้
คำนึงถึงการใช้ เช่น กรณีการสร้างเขื่อนในพื้นที่ป่า
- ทรัพยากรที่นำออกจากระบบ คือ ทรัพยากรที่เป็นสิ่งนำออก (Output) หลังจากมีโครงสร้างการพัฒนาเข้าสู่ระบบ เช่น คน, ต้นไม้ ฯลฯ
- ทรัพยากรที่นำเข้ามาใช้ในระบบ คือ ทรัพยากรที่เป็นสิ่งนำเข้า (Input) นำเข้าสู่ระบบ เช่น เครื่องจักร ฯลฯ
- ทรัพยากรที่ใช้ในระบบ คือ ทรัพยากรที่มีใช้อยู่เดิมในระบบ เช่น คน, บ้านเรือน, ต้นไม้ ฯลฯ
- ทรัพยากรที่ใช้นอกระบบ คือ ทรัพยากรที่อยู่นอกระบบแต่มีความเกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบและการทำงานในระบบ เช่น ความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าของชุมชน

ขั้นตอนการจัดการสิ่งแวดล้อม
ตั้งจุดประสงค์สุดยอด (Goal)
3.1) วัตถุประสงค์ : ความต้องการ
3.2) เป้าหมาย : บอกขนาดและทิศทาง ให้เห็นรูปธรรม
3.3) นโยบาย : หลักการ แผนงาน แนวทางการดำเนินงาน
3.4) มาตรการ : แนวทางการควบคุม
3.5) แผนงาน : การกำหนดงานหรือสิ่งที่ต้องทำ
3.6) แผนปฏิบัติการหรือโครงการ : กำหนดกิจกรรมของงานและขั้นตอนการดำเนินงาน ระบุผู้รับผิดชอบงบประมาณ เวลา สถานที่ โดยละเอียด

การจัดการสิ่งแวดล้อมในประเทสไทย
มีข้อจำกัดหลายประการดังรวบรวมได้เป็นปัญหาในการจัดการสิ่งแวดล้อมของรัฐดังนี้
1. ประชาชนขาดความรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. หน่วยงานขาดการประสานงานที่ดี
3. ขาดการวางแผนการใช้ทรัพยากรฯ แบบผสมผสาน
4. มีการใช้ทรัพยากรฯ มากเกินไป จนไม่สามารถฟื้นคืนสภาพได้
5. ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกันไม่ให้เกิดมลพิษ
6. ขาดแคลนบุคลากรและงบประมาณในการแก้ปัญหา
7. ระบบบริหารทรัพยากรฯ ในประเทศไทยขาดประสิทธิภาพ
8. ขาดความศักดิ์สิทธิทางกฎหมาย
ฯลฯ

หน่วยงานที่เกียวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม
ภาครัฐบาล ได้แก่
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ป่าไม้ คือ กรมอุทยานแห่งชาติ-สัตว์ป่า และพันธุ์พืชและกรมป่าไม้
- กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ภาคเอกชน ได้แก่
- สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
- มูลนิธิต่าง ๆ เช่น ตาวิเศษ , ช้าง , สัตว์ป่าพรรณพืช ฯลฯ
- ชมรมอนุรักษ์ ฯ ในสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นต้น
หน่วยงานและองค์กรทางสิ่งแวดล้อมต่างประเทศ
- UNEP หรือองค์กรสิ่งแวดล้อมโลก (UNITED NATIONS ENVIRONMENT PROGRAMME) ขึ้นกับ UNESCO มีประเทศสมาชิกทั่วโลกกว่า 150 ประเทศ มีการจัดประชุมสิ่งแวดล้อมโลกครั้งแรกที่กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล และกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี
- NETTLAP (NETWORD FOR ENVIRONMENTAL TRAINING AT TERITARY LEVEL IN ASIA AND THE PACIFIC) เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือในด้านทุนวิจัยสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง

ว่าที่ร้อยตรีหญิงยุวดี กวาตระกูล. สังคมกับสิ่งแวดล้อม.

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Posted by Biophysics at2:43 PM

การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่ออะไร

             การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นงานที่ค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องใช้ความรู้จากหลายสาขาวิชามา ทำงานร่วมกัน และต้องอาศัยการบริหารที่ดี มีการตรวจสอบ แก้ไขข้อบกพร่องอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนต้องใช้ กลยุทธ์และยุทธวิธีต่าง ๆ ตามหลักการบริหารงานมาใช้อย่างถูกต้องจึงจะทำให้งานสำเร็จได้

ความหมายของการจัดการสิ่งแวดล้อม

การจัดการสิ่งแวดล้อม  หมายถึง  กระบวนการกระจายทรัพยากรที่สำคัญ  ทั้งที่เกิดขึ้น          โดยธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น  เพื่อสนองความพอใจในการนำสิ่งแวดล้อมไปใช้อย่างเหมาะสม        ในการเป็นปัจจัยหลักและปัจจัยรองในอนาคต (Jolly, อ้างถึงในเกษม  จันทร์แก้ว, 2525: 202)

การจัดการสิ่งแวดล้อม  หมายถึง  กระบวนการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและ          เป็นระบบ  โดยการวางแผนดำเนินงาน  ติดตามประเมินผล  และปรับปรุงแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น         ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการใช้อย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ใช้ให้ได้ยั่งยืน  ยาวนานตลอดไป        และเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติให้มากที่สุด (วินัย  วีระวัฒนานนท์, 2540: 185)

การจัดการสิ่งแวดล้อม  หมายถึง  กระบวนการแผ่กระจายทรัพยากรที่สำคัญทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนองความพอใจในการนำไปใช้อย่างเหมาะสม  ทั้งนี้ต้องเป็น          การดำเนินการอย่างมีระบบในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์         โดยไม่มีผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อม  เพื่อจะมีทรัพยากรใช้ได้ตลอดไป

การจัดการสิ่งแวดล้อม  มีสาระสำคัญดังนี้

1.  การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ตอบสนองความต้องการ        ของมนุษย์

2.  การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ต้องมีการวางแผนการใช้ที่ดีและเหมาะสม

3.  การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ต้องมีผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมน้อยที่สุด

4.  การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ต้องยึดหลักการอนุรักษ์เสมอ

สาเหตุของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีดังนี้

1.  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่จําเป็นในการดํารงชีวิตของมนุษย์               มีจำนวนลดน้อยลง  ทําให้ไม่เพียงพอกับความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นสูงมาก

2.  ประชากรโลกเพิ่มขึ้น  การพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมโดยใช้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี  ทําให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมในการบริโภคสูงขึ้น  หรือเกิดค่านิยมในการบริโภคนิยมและวัตถุนิยม  ทําให้การบริโภคของมนุษย์เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลงและเกิดวิกฤตสิ่งแวดล้อม  เช่น  เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น  ภัยพิบัติเพิ่มความรุนแรง  พิษภัยจากสารพิษเพิ่มมากขึ้น เกิดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ  ดินเสื่อมคุณภาพ  และป่าไม้ถูกทําลายมากขึ้น  เป็นต้น

3.  ทัศนคติ  ความเชื่อ  และขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างของมนุษย์ทําลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  เช่น  การถางป่า  เผาป่า  การเล่นกีฬาบางประเภท  เช่น  การสร้างถนน  สร้างสนามกอล์ฟ   สร้างรีสอร์ท  การทําสงคราม  การคมนาคมขนส่ง  การค้าและบริการ  การเกษตรและอุตสาหกรรม   เป็นต้น

4.  นโยบายของรัฐบาลบางครั้งมีส่วนทําลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  เช่น  การให้สัมปทานแหล่งแร่  การสร้างเขื่อน  รวมถึงการพัฒนาโดยไม่คํานึงถึงการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ    ที่เพิ่มมากขึ้น

ความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม

ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาเป็นแนวทางวางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม   โดยสามารถพยากรณ์สภาพปัญหา  และวางแผนแก้ไขปัญหาก่อนการลงมือปฏิบัติดำเนินโครงการพัฒนาหรือเตรียมแผนไว้ใช้ระหว่างและหลังการดำเนินโครงการ  เพื่อพัฒนาระบบ  โดยไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด  ทั้งนี้สามารถคาดคะเนทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมได้ด้วย

หลักการและแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม  มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1.  มุ่งการใช้ทรัพยากรให้ยั่งยืนยาวนาน

2.  ใช้ทรัพยากรโดยเพิ่มจำนวนและรักษาจำนวนที่มีอยู่

3.  รู้จักการหมุนเวียนทรัพยากรนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)

4.  ควบคุมของเสียและมลพิษที่เกิดขึ้น

5.  รักษา  สงวนปรับปรุง  ซ่อมแซม  พัฒนาการใช้ทรัพยากร

6.  ควบคุมระบบนิเวศให้อยู่ในสมดุลธรรมชาติ

7.  ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดี

ขั้นตอนการจัดการสิ่งแวดล้อม  ดังนี้

1.  การศึกษาปัญหาและขอบเขต

2.  การวิเคราะห์ขั้นตอนของการดําเนินการ

3.  การเตรียมแผนงาน

4.  การดําเนินการตามแผน

5.  การประเมินผลและปรับปรุงการดําเนินการ

ในการดําเนินกิจกรรมทุกประเภทซึ่งรวมทั้งการบริหารงานสิ่งแวดล้อม  จะต้องประกอบด้วยการจัดการซึ่งเป็นกระบวนการที่สําคัญ  เพราะการจัดการที่ดีจะช่วยลดปัญหาต่างๆ ลงได้  การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นการจัดการที่มีความจําเป็นอย่างเร่งด่วน  ซึ่งเราทุกคนต้องช่วยกันศึกษาหาความรู้  วิธีการนํามาใช้ปฏิบัติ  เพราะการจัดการที่ไม่ดีพอ  โดยเฉพาะการจัดการสิ่งแวดล้อมจะก่อให้เกิดปัญหาและผลเสียหายต่างๆ ติดตามมาอย่างมากมายได้