พัฒนาการทางสังคมของทวีปยุโรป

ในวันนี้ StartDee เลยอยากชวนนั่งไทม์แมชชีน ไปดูพัฒนาการทางการเมืองของทวีปยุโรปกันบ้าง โดยเราจะขอเน้นกันที่ช่วงสมัยใหม่และสมัยปัจจุบันเป็นหลัก

แต่ถ้าเพื่อน ๆ อยากลงลึกไปที่พัฒนาการด้านการเมืองของยุโรปตั้งแต่สมัยโบราณและสมัยกลาง ก็ทำได้เช่นกัน แต่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee ก่อนนะ จากนั้นก็คลิกเข้าไปในวิชาประวัติศาสตร์ แล้วเลือกประวัติศาสตร์โลก ตามด้วยทวีปยุโรปได้เลย

พัฒนาการทางสังคมของทวีปยุโรป

พัฒนาการทางการเมืองของยุโรปในสมัยใหม่

เมื่อผ่านสมัยกลางที่มีระบบฟิวดัล (Feudal system) สู่สมัยใหม่ การเมืองการปกครองในยุโรปเริ่มมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาชนเริ่มรู้จักสิทธิเสรีภาพของตนเอง คู่ขนานกันไปกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์มีอำนาจ ไปเรียนรู้พัฒนาการทางประชาธิปไตยและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรปกันเลย

 

พัฒนาการของประชาธิปไตยในยุโรป :

ในช่วงที่มีระบบฟิวดัลนั้น ได้มีการออกมหากฎบัตร (Magna Carta) ใน ค.ศ. 1215 อันเกิดจากเหล่าขุนนางชาวอังกฤษ ได้กดดันพระเจ้าจอห์น (John, King of England) ให้ทรงลงนามในมหากฎบัตรนี้ เนื่องมาจากพระองค์ดูแลปกครองบ้านเมืองอย่างไม่เป็นธรรมนัก โดยทรงแต่งตั้งพระญาติเข้ามากุมอำนาจในตำแหน่งสำคัญ ขึ้นภาษี และยึดที่ดินจากบาทหลวงที่ขัดขืน

พัฒนาการทางสังคมของทวีปยุโรป

มหากฎบัตร (Magna Carta) ขอบคุณรูปภาพจาก The 101.World

แม้ว่ามหากฎบัตรจะช่วยให้พระเจ้าจอห์นยอมรับอำนาจของเหล่าขุนนางมากขึ้น แต่ก็แค่ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะมีขุนนางหลายคนที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงจึงไม่ยอมปฏิบัติตาม อีกทั้งพระเจ้าจอห์นยังได้ยื่นอุทธรณ์ต่อองค์พระสันตะปาปา จนเป็นเหตุทำให้เกิดสงครามกลางเมือง แต่ก็ถือว่ามหากฎบัตร (Magna Carta) เป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยในสมัยต่อมา

นอกจากนั้น การมีมหากฎบัตร (Magna Carta) ยังทำให้เกิดการก่อตั้งรัฐสภาอังกฤษขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยแบ่งออกเป็นสภาขุนนาง และสภาสามัญซึ่งมาจากตัวแทนประชาชน การมีรัฐสภานี้ ถือเป็นการท้าทายอำนาจของกษัตริย์เป็นอย่างมาก จนนำไปสู่เหตุการณ์ “การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ค.ศ. 1688” ที่รัฐสภามีชัยชนะเหนือกษัตริย์อังกฤษ ที่แม้ว่ากษัตริย์จะไม่ได้ถูกล้มล้าง แต่สถาบันกษัตริย์ก็จำต้องยอมรับอำนาจของรัฐสภาอังกฤษอย่างสมบูรณ์ โดยมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689 (Bill of Rights 1689) สำหรับเป็นตัวแทนของสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกหนึ่งประการ คือ การเชิญเจ้าชายวิลเลียม สมาชิกราชวงศ์ออเรนจ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (The House of Orange-Nassau) เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษ เป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ร่วมกับสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ถือเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของราชวงศ์อังกฤษภายใต้รัฐสภา ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับรูปแบบการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) 

 

พัฒนาการของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรป :

แม้ว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศอังกฤษนั้น ดูเหมือนจะอ่อนกำลังลง แต่ในประเทศอื่น ๆ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเฟื่องฟูมาก โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV) แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช แห่งปรัสเซีย (Frederick II Frederick the Great of Prussia) ซึ่งก็พัฒนามาเป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ความรุ่งเรืองของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยังแพร่กระจายสู่จักรวรรดิรัสเซีย โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Peter The Great) ซึ่งครองราชย์ในช่วงค.ศ. 1682-1725 และพระนางแคทเธอรีนมหาราชินี (Catherine The Great) ซึ่งครองราชย์ในช่วงค.ศ. 1762-1796 โดยพระองค์ถือเป็นผู้ปกครองหญิงที่มีอำนาจสุงสุดในประวัติศาสตร์รัสเซีย

 

พัฒนาการทางการเมืองของยุโรปที่ส่งผลต่อมาสู่ปัจจุบัน

พัฒนาการทางการเมืองของยุโรปนั้น ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติฝรั่งเศส  ค.ศ. 1789 ซึ่งเกิดจากการที่ประชาชนไม่พอใจที่สถาบันกษัตริย์ปกครองดูแลบ้านเมืองได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เรียกว่าเป็นยุคตกต่ำในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI) เลยก็ว่าได้

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ทำให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีอำนาจขึ้นมา ซึ่งนำพาฝรั่งเศสให้เป็นมหาอำนาจในเวลาต่อมา แต่หลังจากหมดยุคของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กลับเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นอีกครั้งใน ค.ศ. 1848 และในคราวนี้เกิดการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ลงไปอย่างสมบูรณ์ ฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบ “สาธารณรัฐ” จนถึงปัจจุบัน

หลังจากนั้น ทั่วโลกต้องประสบกับภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) ระหว่าง ค.ศ. 1914-1918 ส่งผลให้เกิดการล่มสลายของราชวงศ์หลายแห่งในยุโรป และหลายประเทศปรับเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย

ในขณะเดียวกันแนวคิดคอมมิวนิสต์ของคาร์ล มากซ์ (Karl Marx) ก็แผ่ขยายอิทธิพลไปหลายประเทศ ที่สำคัญ คือ นำไปสู่การปฏิวัติในจักรวรรดิรัสเซียเมื่อปีค.ศ. 1917 ก่อให้เกิดการสถาปนาสหภาพโซเวียต (Soviet Union) ที่ปกครองในระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เป็นครั้งแรกของโลก ตั้งแต่ค.ศ. 1917-1991 

พัฒนาการทางสังคมของทวีปยุโรป
คาร์ล มากซ์ ขอบคุณรูปภาพจาก Britannica

ในช่วงเวลาที่ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เฟื่องฟู ยังมีอีกระบอบหนึ่งที่รุ่งเรืองไม่แพ้กัน นั่นคือระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ (Fascist) ที่มีแนวคิดสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่ และยึดถือตัวผู้นำเป็นศูนย์กลางในการปกครองประเทศ โดยผู้นำที่เพื่อน ๆ น่าจะรู้จักกันดีคือ เบนิโต มุสโสลินี (ฺBenito Mussolini) แห่งอิตาลี และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) แห่งเยอรมนี ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่นำประเทศในยุโรปเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ที่กินระยะเวลาตั้งแต่ค.ศ. 1939-1945 อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ระบอบการปกครองแบบฟาสซิสต์ก็ล่มสลายตามไปด้วย

หลังจากสงครามจบลงไป ทวีปยุโรปก็เข้าสู่สมัยปัจจุบัน เกิดการเดินหน้าเข้าสู่การรวมประเทศผ่าน “สหภาพยุโรป” (EU) ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญหน้าหนึ่งเลยทีเดียว

 

Did you know ? รู้จักกับประโยคดัง "ก็กินเค้กแทนสิ !"

ในบทความนี้ เราพูดถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสค.ศ. 1789 ที่เกิดจากการที่ประชาชนไม่พอใจการทำงานของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กันไปแล้ว StartDee จึงอยากให้เพื่อน ๆ ทำความรู้จักกับสมาชิกราชวงศ์ที่สำคัญอีกคนหนึ่งซึ่งก็คือ มารี อ็องตัวแน็ต ราชินีแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นภรรยาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 นั่นเอง (ดูรีวิวภาพยนตร์เรื่อง Marie Antoinette ได้ที่นี่)

พัฒนาการทางสังคมของทวีปยุโรป

จากซ้าย เจ้าหญิงมารี-เตแรซ, พระนางมารี อ็องตัวแน็ต, เจ้าชายหลุยส์-ชาร์ล, เจ้าชายหลุยส์-โฌแซ็ฟ (ขอบคุณรูปภาพจาก biography.com)

มารี อ็องตัวแน็ตถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของวลีเด็ด "Qu’ils mangent de la brioche" น่าจะมาจากเจ้าหญิงผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง (The Great Princess) ทำให้ประชาชนฝรั่งเศสที่ได้อ่านเอกสารฉบับนี้ ลือกันไปว่าเจ้าหญิงผู้ยิ่งใหญ่ ก็คือมารี อ็องตัวแน็ตนี่แหละ แต่แท้จริงแล้วในขณะที่ผู้เขียนเขียนหนังสือเล่มนี้ มารี อ็องตัวเน็ตเพิ่งจะอายุ 11 ปีเท่านั้น ยังไม่ได้แต่งงานเลยด้วยซ้ำ ดังนั้น จึงไม่สามารถยืนยันได้ว่ามารี อ็องตัวเน็ตเป็นผู้พูดประโยคดังกล่าวได้นั่นเอง

พัฒนาการด้านสังคมและวัฒนธรรมของทวีปยุโรปเป็นอย่างไร

- ทวีปยุโรปมีพัฒนาการทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ดังนี 1. การเกิดชนชั้นกลาง 2. การขยายตัวของเมืองจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม 3. การสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ ทั้งจิตรกรรม สถาปัตยกรรม และประติมากรรมที่เป็นธรรมชาติ สมจริง เกินจริง และศิลปะแนวใหม่

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจของทวีปยุโรปเป็นอย่างไร

ทวีปยุโรปมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจมาก ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาการและ เทคโนโลยี ประชากรมีคุณภาพ การเมืองมีความมั่นคง เป็นต้น

ทวีปยุโรปมีสภาพเป็นอย่างไร

ลักษณะทั่วไป ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กรองจากทวีปออสเตรเลีย ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด พื้นดินของทวีปยุโรปติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับทวีปเอเชีย จึงมีผู้เรียกทวีปทั้งสองนี้ว่า ยูเรเชีย เส้นกั้นพรมแดนธรรมชาติได้แก่ เทือกเขาอูราล แม่น้ำอูราล ทะเลสาบ แคสเปียน เทือกเขาคอเคซัส

สังคมของทวีปยุโรปเป็นแบบใด

1. เป็นสังคมที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการต่าง ๆ มาก 2. เป็นสังคมเมืองมากกว่าชนบท มีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว 3. มีความผูกพันกับเครือญาติไม่มากนัก ไม่แน่นแฟ้นเหมือนสังคมไทย