ตัวอย่าง บทคัดย่อ โครงงานสิ่งประดิษฐ์

ชื่อโครงงาน ชุดเพาะถั่วงอก รุ่นประหยัดประเภทโครงงาน โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ผู้จัดทำโครงงาน1. เด็กหญิงนัทมล ใจกระจ่าง2. เด็กหญิงรุ่งไพลิน ศรีเต้ง3. เด็กชายสุทธิพร คงทองคำครูที่ปรึกษา นายอดุลย์ คำแหงสถานที่ศึกษา โรงเรียนวัดกะโสม ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชบทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์ ประดิษฐ์ชุดเพาะถั่วงอก รุ่นประหยัด ทำมาจากวัสดุที่หาได้ง่ายตามท้องตลาด เพื่อนำชุดเพาะถั่งงอกที่ประดิษฐ์ขึ้นมาหาประสิทธิภาพ การงอกของถั่ว และวิธีการรดน้ำตอลดเวลาจะได้ถั่วงอกที่มีคุณภาพอย่างไร โดยการนำถังพลาสติกเจาะรูด้านล่างเพื่อระบายน้ำ และฝาด้านบนเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ นำสปริงเกอร์มาติดที่ฝา พร้อมกับต่อท่อน้ำกับสปริงเกอร์ แล้วนำเมล็ดถั่วเขียว ถั่วเหลืองและถั่วลิงสง มาทำการทดสอบ โดยนำเมล็ดถั่วไปแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วนำไปวางในถังช้อนกัน 3 ชั้น นำน้ำใสลงในกะละมัง นำเก้าอี้มาวางในกะละมัง นำถังพลาสติกมาตั้งบนเก้าอี้ปิดฝา ต่อสายยางกับเครื่องปั้มน้ำ ต่อไฟฟ้ากับปั้มน้ำให้ปั้มทำงาน จากนั้นให้สังเกตการงอกของถั่วที่นำไปเพาะทุกๆ 12 ชั่วโมง จากการทดสอบชุดเพาะถั่วงอก พบว่าถั่วเขียวจะใช้เวลาในการงอกและนำมารับประทานได้ใช้เวลา 2 วัน ให้น้ำตลอดเวลาไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ ถั่วเหลืองใช้เวลาในการงอกเป็นถั่วงอก 3 วัน เปลี่ยนน้ำ 1 ครั้ง และถั่วลิสงใช้เวลาในการงอกเป็นถั่วงอก 4 วัน เปลี่ยนน้ำ 2 ครั้ง

บทที่ 1

บทนำ 

ที่มาและความสำคัญ

          การเพาะถั่วงอกโดยทั่วไปมีขั้นตอนง่ายๆ คือ นำโอ่งน้ำ หรือโอ่งลายมังกร ขนาดกลาง 1 ใบ มาเจาะรูที่ก้นโอ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร จำนวน 5 รู เพื่อให้น้ำไหลออก นำเมล็ดถั่วเขียวน้ำหนัก 1 กิโลกรัม แช่ในน้ำอุ่น 12 ชั่วโมง เมื่อแช่น้ำจนได้ที่แล้วให้ล้างเมล็ดถั่วเขียวให้สะอาด พร้อมกับช้อนเมล็ดถั่วที่ลอยน้ำทิ้ง เพราะเป็นเมล็ดเสียเพาะพันธุ์ไม่ได้ จากนั้นนำมาเทลงในโอ่ง   ปิดทับด้วยกระสอบข้าวสาร ใช้ระยะเวลาในการเพาะเลี้ยง 3 วัน โดยในแต่ละวันต้องรดน้ำวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น เมื่อครบ 3 วัน แล้วจะได้ถั่วงอกมีความยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ได้น้ำหนัก 7-8 กิโลกรัม ต่อเมล็ดถั่วเขียว 1 กิโลกรัม

          ในการเพาะถัวงอกต้องใช้เวลาเพาะ  3  วัน  และจะต้องรดน้ำวันละ 3 เวลา ผู้จัดทำโครงงานจึงคิดหาวิธีที่จะลดระยะเวลาการเพาะ และ การรดน้ำ จึงจัดทำชุดเพาะถั่วงอก รุ่นประหยัดขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อประดิษฐ์ชุดเพาะถั่วงอก โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น
  2. เพื่อนำชุดเพาะถั่งงอกที่ประดิษฐ์ขึ้นมาหาประสิทธิภาพ  การงอกของถั่ว  โดยการรดน้ำตลอดเวลา
  3. เพื่อฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  4. เพื่อนำหลักการนี้ไปเผยแพร่และนำไปใช้ในท้องถิ่น

สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า

          การนำชุดเพาะถั่วงอก ไปเพาะถั่วให้งอกช่วยลดระยะเวลาในการเพาะ และการให้น้ำตลอดเวลาไม่ต้องรดน้ำวันละ 3 เวลา และได้คุณภาพถั่วงอกเหมือนการเพาะโดยทั่วไป

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

  1. เป็นการหาประสิทธิภาพของชุดเพาะถั่วงอก รุ่นประหยัด ที่ประดิษฐ์ขึ้น
  2. เป็นการทดสอบเมล็ดถั่วที่ในมาเพาะ  3  ชนิด คือ  ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

  1. ตัวแปรต้น           

      - ชนิดของถั่ว

   2. ตัวแปรตาม  

       - ระยะเวลาในการงอก

  3.ตัวแปรควบคุม      

      - ปริมาณของถั่ว  ปริมาณของน้ำ  ภาชนะที่ใส่ 

ข้อตกลงเบื้องต้นและศัพท์เทคนิค

          1.  การเพาะถั่งงอกหมายถึง การนำเมล็ดถั่วชนิดต่างๆ มาแช่น้ำอุ่นประมาณ  12 ชั่วโมง แล้วนำไปใส่ในภาชนะที่อากาศถ่านเทได้สะดวก การระบายน้ำได้ดี รดน้ำทุกๆ 3-4 ชั่งโมง ประมาณ 3-4 วัน ก็จะได้ถั่วงอกนำมารับประทานได้

         2.  การหาประสิทธิภาพหมายถึง การหาคุณภาพของชุดเพาะถั่วงอกตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยไปวัด

    จากผลจากการทดลองของกลุ่มตัวอย่าง คือ ชนิดของเมล็ดถั่วต่างๆ

  1. ตัวแปรต้น หมายถึง  สิ่งที่เป็นสาเหตุหรือสิ่งที่ศึกษา คือ ชนิดของเมล็ดถั่ว
  2. ตัวแปรตาม  หมายถึง สิงที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้น ระยะเวลาในการงอก
  3. ตัวแปรควบคุม หมายถึง สิ่งที่จัดให้เหมือนกันในการทอลอง
  4. สมมติฐาน หมายถึง  การคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง คำตอบนั้นจะถูกหรือผิดก็ได้

ตัวอย่าง บทคัดย่อ โครงงานสิ่งประดิษฐ์

บทคัดย่อ

                       โครงงานประดิษฐ์นี้เป็นการศึกษาค้นคว้าและประดิษฐ์ เรื่อง  ทำตะกร้าจากขวดน้ำพลาสติก  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประดิษฐ์ ตะกร้าที่เกิดจากการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น   และเพื่อศึกษาถึงวิธีการใช้ตะกร้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย                                        วิธีดำเนินงาน    มีการประชุม  ไปศึกษาเรียนรู้   เรื่อง  ทำตะกร้าจากขวดน้ำพลาสติก  จากวิทยากรท้องถิ่น   และลงมือปฏิบัติประดิษฐ์ตะกร้า  สรุปผลและรายงานโครงงาน                                        
                         ผลการดำเนินการ  จากผลการตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิภาพการใช้งาน  โดยการนำเสื้อผ้ามาใส่ในตะกร้า ผลปรากฏว่า  สามารถ บรรจุเสื้อผ้าได้ดี   และการศึกษาเรียนรู้ เรื่องตะกร้าจากการรีไซเคิลและสามารถนำมาประดิษฐ์  ตะกร้าอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพในการใส่เสื้อผ้า