ตัวอย่าง การตั้งสมมติฐาน IS1

งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การกำหนดประเด็นปัญหา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การกำหนดประเด็นปัญหา

2 การตั้งวัตถุประสงค์ในประเด็นปัญหาที่สนใจ
ทำอย่างไร

3 ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย เพื่อกำหนดแนวทางของการวิจัย เพื่อกำหนดของเขตของการวิจัย

4 หลักการเขียนวัตถุประสงค์
เขียนให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่จะทำ เขียนเป็นความบรรยาย ไม่เป็นประโยคคำถาม ใช้ภาษาที่กะทัดรัด สั้น ได้ใจความชัดเจน มักขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ....” เช่น - เพื่อสำรวจ เพื่อสร้าง - เพื่อทดลอง เพื่อเปรียบเทียบ... - เพื่อศึกษาปัญหา..... ฯลฯ

5 ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์
ชื่อเรื่อง :แผ่นกรองอากาศน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด วัตถุประสงค์: 1. เพื่อทดลองประสิทธิภาพในการลดกลิ่นอับของน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด 2. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการรักษากลิ่นของกระดาษแข็งและกระดาษชานอ้อย

6 การตั้งสมมติฐานประเด็นปัญหาที่สนใจ
มีวิธีการอย่างไร

7 การตั้งสมมติฐานคืออะไร
คือการคาดคะเนคำตอบที่อาจเป็นไปได้หรือคิดหาคำตอบล่วงหน้า บนฐานข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ทดลอง หรือศึกษาจากเอกสารต่างๆ คำตอบของปัญหาซึ่งคิดไว้นี้อาจถูกต้องแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ จนกว่าจะมีการทดลองเพื่อตรวจสอบ 

8 สมมติฐานแบ่งเป็น 2 ประเภท
สมมติฐานเชิงบรรยาย (Descriptive hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนคาดเดาคำตอบของการวิจัย อยู่ในรูปของการบรรยาย 2. สมมติฐานเชิงสถิติ (Statistical hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนคาดเดาคำตอบของการวิจัยอยู่ในรูปของความ สัมพันธ์หรือความแตกต่างของตัวแปรในรูปของโครงสร้างทางคณิตศาสตร์

9 สมมติฐานทางสถิติ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
สมมติฐานเป็นกลาง (Null hypothesis) มีลักษณะเป็นเงื่อนไขหรือข้อตกลงเบื้องต้นที่ยอมรับก่อน สมมติฐานไม่เป็นกลางหรือ สมมติฐานทางเลือก (Alternative hypothesis) ใช้เพื่อรองรับการสรุปผล

10 ประโยชน์ในการตั้งสมมติฐาน
ช่วยจำกัดขอบเขตของการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจนและตรงจุดที่ต้องการศึกษา ช่วยแนะแนวทางการวางแผนการวิจัยในการเลือกใช้กลุ่มตัวอย่าง ช่วยให้ผู้วิจัยเห็นภาพที่จะศึกษาได้ชัดเจน เป็นแนวทางในการลงสรุปผลการวิจัย

11 หลักการเขียนสมมติฐาน
ศึกษาวรรณคดี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เขียนข้อความ สมมติฐานให้กะทัดรัด ชัดเจน สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย ควรเขียนสมมติฐานให้อยู่ในรูปที่สามารถทดสอบได้ หากมีสิ่งที่ต้องการพิสูจน์หลายประเด็น ควรแยกเขียนเป็นข้อๆ

12 การตั้งสมมติฐานที่ดีมีหลักการดังนี้
1. เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย เป็นประโยคบอกเล่า 2. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการศึกษา สำรวจ ทดลอง 3. เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริง ที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหาที่ตั้งไว้ 4. เลือกใช้คำหรือข้อความ ที่รัดกุม ไม่ฟุ่มเฟือย

13 ตัวอย่างการตั้งสมมติฐาน
เรื่อง : การประดิษฐ์ถังดักไขมันเพื่อบำบัดน้ำเสีย วัตถุประสงค์ : เพื่อประดิษฐ์ถังดักไขมันสำหรับใช้ในการบำบัดน้ำเสีย สมมติฐาน : ถังดักไขมันที่ประดิษฐ์ขึ้นสามารถนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียได้ น้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียจากการใช้ถังดักไขมันมีคุณภาพ น้ำดีขึ้น

14 กิจกรรม ให้นักเรียนฝึกตั้งวัตถุประสงค์และสมมติฐานในประเด็นปัญหาที่นักเรียนตั้งไว้ในใบงานที่ 1 ทำลงในใบงานที่ 2 (10 คะแนน)

15 ตัวอย่าง สภาพปัญหา : กาบกล้วยจากลำต้น ที่ตัดเอาเครือกล้วย แล้วตัดต้นทิ้งไป ซึ่งมีจำนวนมาก ปัญหาวิจัย: ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ใช้โฟม พลาสติก ย่อยสลายทำลายยาก คำถามวิจัย: ถ้าจะนำกาบกล้วยจากลำต้นกล้วยที่ตัดทิ้ง มาทำเป็นภาชนะ บรรจุภัณฑ์จะได้หรือไม่ ชื่อเรื่อง: ศึกษาการทำบรรจุภัณฑ์จากกาบกล้วย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการทำบรรจุภัณฑ์จากกาบกล้วย สมมติฐาน: บรรจุภัณฑ์จากกาบกล้วยมีคุณภาพเทียบเท่ากับ ภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ใช้โฟม และพลาสติก

ตัวอย่าง การตั้งสมมติฐาน IS1

  • มัธยมปลาย
  • วิชาอื่น ๆ

ขอคำอธิบายอย่างละเอียดและรวดเร็วครับ

การใช้ผงชูรสของแม่ค้าเพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนติดใจรสชาติอาหาร


โซเชียลมิเดียทำให้นักเรียนติดโทรศัพท์​ใช้ในขณะเรียนหนังสือ

การสกัดสีจากธรรมชาติ​เพราะลดสารเคมีที่เราสูดดมเข้าไปในสมอง

สมุนไพรไทยช่วยดับกลิ่นเท้าและสุขภาพมากกว่าสารเคมีที่คิดค้นจากวิทยาศาสตร์​

นักเรียนดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมเป็นจำนวนมากมีผลต่อน้ำตาลและโรคอ้วนในวัยเด็ก

ผลกระทบจากน้ำมันแพงทำให้ค่าครองชีพสูงตามไปด้วย

การเล่นเกมส์ออนไลน์​มีผลทำให้เกิดพฤติกรรม​ความรุนแรงตามมา

นักเรียนไม่ให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานเพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว

บัญชีครัวเรือนทำให้รู้รายจ่ายที่จำเป็นและตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปได้เพื่อประหยัดเงินได้มากขึ้น