ตัวอย่างการเขียน skill ใน resume

Skills เป็นส่วนที่สั้นที่สุด แต่สร้าง impact ได้มากที่สุด

คนเราเห็นอะไรยาวๆ จะขี้เกียจอ่านค่ะ ยกเว้นแต่เราจะรู้สึกว่าไอ้ที่ยาวๆ นั่นมีความสำคัญสำหรับตัวเรา

ด้วยความที่ส่วน skills มันสั้น ตรงประเด็น มันเลยดึงดูดความสนใจได้ดี ถ้ามี skills ตรงตามที่บริษัทต้องการ ก็จะดึงดูดให้บริษัทอ่านส่วนอื่นๆ ต่อไป เพื่อทำความรู้จักเราให้มากขึ้น

เช่น ในส่วน skills เขียนว่า ทำ Photoshop เป็น คนก็เลยสนใจ เลยไปอ่านต่อใน experience ว่าเคยใช้ Photoshop ทำงานแบบไหนบ้าง

ด้วยเหตุนี้ จึงควรเอาไว้ส่วนบน หรือ ส่วนกลาง ของ Resume ค่ะ เอาให้เปิดมาแล้ว เห็นเป็นสิ่งแรกๆ อย่าเอาไปไว้หน้า 2 เด็ดขาด


⭐ รูปแบบการเขียนค่ะ สั้นๆ ง่ายๆ ประมาณนี้ จะแยกเป็นด้านๆ มากกว่านี้ก็ได้ค่ะ

ตัวอย่างการเขียน skill ใน resume

เขียนว่า skills อะไรและ ความสามารถระดับไหน หากสามารถระบุได้

  • ควรเน้นเขียน Hard skills หรือ ทักษะความรู้  (อ่านเกี่ยวกับ hard/soft skills ได้ที่นี่)
  • Soft skills จะเขียนก็ได้ค่ะ แต่ถ้าพื้นที่ไม่พอจริงๆ จะไม่เขียนก็ได้ เพราะเป็นอะไรที่วัดผล หรือ จับต้องได้ยาก เราจึงต้องการแสดงทักษะพวกนี้ link กับ Experience ที่เคยทำควบคู่ไปด้วย เช่น ถ้าในประสบการณ์เขียนว่าเคยทำกิจกรรมกับผู้คนมากมาย มันสามารถตีความได้เองว่า เราสามารถทำงานเป็นทีมได้

ใครทำ artwork เก่งๆ สามารถตกแต่งส่วนนี้เพิ่ม เอา infographic เข้ามาช่วย จะทำเป็นดาวๆ หรือ แถบ chart ก็ได้ แล้วแต่ชอบเลย

ถ้าพอมีพื้นที่เหลือ เขียนอธิบายความสามารถ skills ของเราได้ค่ะ เช่น แทนที่จะเขียนว่า Microsoft Excel เฉยๆ ก็อธิบายไปเพิ่มว่า

Microsoft Excel (Intermediate – Experienced in using pivot table and mathematical functions to analyze a set of data)

พอเขียนแบบนี้ ก็จะเห็นภาพทันที ว่าความสามารถอยู่ในระดับไหน ใช้โปรแกรมทำอะไรเป็นบ้าง ทำให้ดูน่าสนใจกว่าคนที่เขียนว่า Excel เฉยๆ


Checklist ที่เราได้ทำไว้ จะมีประโยชน์มากในขั้นตอนนี้แหละค่ะ

ตัวอย่างการเขียน skill ใน resume
อ่านเกี่ยวกับการทำ Checklist ได้ ที่นี่

เช็คให้แน่ใจว่าในส่วน skills ของเรา ได้ระบุ skills ใน checklist อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังสามารถใส่ skills อื่นๆ เพิ่มได้อีก เพื่อให้ดูเป็นคนมีความสามารถหลากหลาย

หัวใจสำคัญคือ skills ใน checklist ควรขึ้นก่อน ต้องดึงมาให้ครบ และจัดรูปแบบให้อ่านง่าย


Skills ประเภทต่างๆ ที่ใส่บน Resume ได้

กลุ่ม Hard skills

  • Computer/Software skills เช่น MS Excel, Photoshop และโปรแกรมอื่นๆ
  • Language skills ภาษาต่างๆ
  • Skills เฉพาะด้าน เช่น Programming, Accounting, Social Media Advertising ในกรณีนี้ ถ้าเป็นพวก coding ควรเขียนให้ชัดเจนไปเลยค่ะว่ารู้ coding language อะไรบ้าง

กลุ่ม Soft skills (แล้วแต่ว่าจะเขียนไหม และ ควรมี experience ที่แสดงว่ามีทักษะนี้จริงๆ)

  • Social: Team player, Adaptability, Take feedback, Conflict resolution
  • Communications: Effective listening, Business writing, Public speaking, Presentation, Negotiation, Persuasion
  • Management: Leadership, Time management, Project management, Problem-solving, Result-oriented

สำหรับ Certificate และ Awards ได้กล่าวไปในบทความก่อนแล้วว่าเป็นตัวเสริม ถ้ามีก็ดี แต่ไม่มีก็ไม่เป็นไรค่ะ

ตัวอย่างรูปแบบการเขียน

หน้าที่ของมัน คือ เป็นหลักฐานว่าเรามี skills นั้นจริงๆ เช่น เขียนว่า พูดภาษาญี่ปุ่นได้ การระบุว่ามี Certificate N2 ช่วยให้ดูน่าเชื่อถือขึ้นค่ะ ว่าเรามีความสามารถนั้นจริง

สาเหตุที่บอกว่า Certificate และ Awards ถ้ามีก็ดี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร เป็นเพราะว่า เราสามารถใช้ ส่วน Experience ทดแทนได้ค่ะ 🙂 เช่น ในตัวอย่างเดิม เราพูดภาษาญี่ปุ่นได้ ยังไม่เคยไปสอบวัดระดับ แต่เคยรับงานล่าม ก็เขียนในส่วน Experience ได้ค่ะ ว่าเคยทำงานเป็นล่ามญี่ปุ่น

  • Contact Information ข้อมูลสำหรับติดต่อ
  • Resume Summary เขียนแนะนำตัวเองสั้น ๆ
  • Education ประวัติการศึกษา
  • Work Experience ประวัติการทำงาน
  • Skills ทักษะการทำงาน

ปัจจุบัน Resume ภาษาอังกฤษมีความนิยมค่อนข้างมาก เพราะการทำ Resume ภาษาอังกฤษสามารถบ่งบอกได้ถึงทักษะภาษาของเราไปด้วยในตัว และ Resume ภาษาอังกฤษนี่แหละที่เป็นหนึ่งในตัวชี้ชะตาว่าเราจะถูกเรียกไปสัมภาษณ์หรือไม่ ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าการจะทำ Resume ภาษาอังกฤษให้ออกมาดีนั้นเป็นเรื่องยาก จ้างคนที่รับทำน่าจะง่ายกว่าเยอะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้ายังนึกไม่ออกว่าต้องเริ่มต้นยังไง วันนี้ JobThai จะพาทุกคนไปดูพร้อมกันเลย

ฝึกภาษาอังกฤษแบบสนุก ๆ ดาวน์โหลด JADOH Learning Application เลย

iOS

Android

การเริ่มต้นเขียน Resume ให้ถูกต้องและน่าสนใจ สามารถเพิ่มโอกาสให้เราถูกเรียกไปสัมภาษณ์งานได้มากยิ่งขึ้น โดยอย่างแรกที่ต้องทำคือให้ทุกคนสร้าง Resume ผ่าน Google Docs, Microsoft Word หรือโปรแกรมที่ถนัด จากนั้นลองลิสต์ข้อมูลสำคัญของตัวเอง 5 ข้อหลัก ๆ ดังนี้

1. Contact Information ข้อมูลส่วนตัวสำหรับติดต่อ

การเขียนข้อมูลสำหรับติดต่อ ให้ใส่ ชื่อจริง-นามสกุล, เบอร์โทรศัพท์ และ อีเมล ข้อมูลที่ใส่ควรสั้นและกระชับที่สุด ซึ่งที่อยู่บ้านอาจจะเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างกินพื้นที่ ดังนั้นเราอาจจะตัดส่วนของที่อยู่ออกก็ได้ สำหรับอีเมลควรใช้ชื่ออีเมลที่เป็นทางการเพื่อความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้อย่าลืมเน้น ชื่อจริง-นามสกุล ของคุณด้วยตัวหนาเพื่อเพิ่มความเด่นชัด จำไว้ว่าพาร์ทนี้ต้องชัดเจน อ่านง่าย ใช้ฟ้อนต์ตัวหนังสือให้ใหญ่กว่าส่วนอื่นใน Resume และทางที่ดีควรวางไว้ตำแหน่งบน ๆ

ตัวอย่าง

Cody Brown

Tel.: (+123) 456-789

Email:

2. Resume Summary เขียนแนะนำตัวเองสั้น ๆ

Resume Summary หรือ Summary Statement คือการเขียนแนะนำตัวเองสั้น ๆ ใส่ไว้ในส่วนบนของ Resume เปรียบเสมือนคำโปรยที่เรามักจะอ่านก่อนเลือกซื้อหนังสือสักเล่ม เรียกได้ว่าเป็นการสรุปข้อมูลทั้งหมดใน Resume แบบกระชับ ส่วนนี้จะเป็นตัวดึงความสนใจของ HR ให้อ่านเรซูเม่เราต่อจนจบ โดยจะพูดถึงจุดเด่นของเรา ประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา หรือบอกว่าเรากำลังมองหาประสบการณ์แบบไหนอยู่ ซึ่งจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่ถ้ามีไว้ก็จะช่วยให้ HR เข้าใจตัวตนเราได้ก่อนจะเริ่มอ่านรายละเอียดบน Resume

ตัวอย่าง

Digital Marketer with 5+ years experience in social media marketing who managed a ฿500,000 budget with a reduction of costs totaling 15% over two years. Certified Marketing Management Professional with excellent leadership skills. I’m currently looking to leverage my knowledge and experience into a role as a Project Manager.

สิ่งที่ควรใส่ในการเขียนแนะนำตัวเองสั้นๆ

  • ระยะเวลาและประสบการณ์ในการทำงาน ส่วนเด็กจบใหม่ให้ใส่ทักษะที่เป็นจุดเด่น หรืองานพิเศษ
    - Digital Marketer with 5+ years experience in social media marketing.
    เป็นนักการตลาดดิจิทัลที่มีประสบการณ์การทำการตลาดด้าน Social Media มากกว่า 5 ปี

  • ผลงานและความสำเร็จในงานที่ผ่านมา เขียนให้สอดคล้องกับความต้องการของบริษัทนั้น
    - Managed a ฿500,000 budget with a reduction of costs totaling 15% over two years.
    เคยบริหารงบประมาณ 500,000 บาท โดยสามารถลดต้นทุนรวมได้ถึง 15% ในระยะเวลา 2 ปี

  • ทักษะที่น่าจะเป็นประโยชน์ และสอดคล้องกับบริษัทนั้น ๆ
    - Excellent leadership skills.
    มีทักษะความเป็นผู้นำ

  • เป้าหมายในการทำงาน หรือตำแหน่งงานที่เรากำลังมองหา
    - Looking to leverage my knowledge and experience into a role as a Project Manager.
    อยากนำความรู้และความสามารถทั้งหมดที่มีมาใช้ในตำแหน่งผู้จัดการโครงการ

3. Education ประวัติการศึกษา

ประวัติการศึกษาเป็นจุดสำคัญที่สุดบน Resume สำหรับเด็กจบใหม่ หากเราไม่มีประสบการณ์การทำงาน เราควรใส่เอาไว้ด้านบน เรียงลำดับบรรทัดบนสุดด้วยวุฒิการศึกษาล่าสุด และไล่ย้อนลงไป หากเราเคยไปเรียนแลกเปลี่ยน เข้าคอร์สอบรม สอบวัดความรู้ หรือได้รับใบประกาศนียบัตร ที่เกี่ยวข้องกับงานที่สมัคร ก็สามารถใส่ลงไปในช่องประวัติการศึกษาได้เลย โดยการเรียงลำดับไล่จาก สถาบัน > ระยะเวลาปีที่ศึกษา > สาขาที่จบ > เกรดเฉลี่ย ในส่วนเกรดเฉลี่ยนั้นอาจไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เราได้เกียรตินิยม หรือบริษัทระบุไว้ชัดเจนว่าต้องการพิจารณาเกรดเฉลี่ย

ตัวอย่าง

  • ABC University - AUG 2015-AUG 2019

       B.A. in Marketing, GPA 3.7

  • NNNN Analytics Individual Qualification (2018)

  • AAAA Digital Management Certification (2018)

4. Work Experience ประวัติการทำงาน

ประวัติการทำงานเป็นส่วนสำคัญที่ควรมีข้อมูลละเอียดแต่กระชับ เข้าใจง่าย และน่าสนใจ เพราะมันเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเรามีประสบการณ์การทำงานอะไรมาบ้าง หากมีประสบการณ์การทำงานหลายที่ ให้เอาบริษัทที่ทำล่าสุดขึ้นก่อน สำหรับวิธีการเขียน เริ่มต้นจาก ชื่อบริษัท > ตำแหน่งงานทำ > ระยะเวลาที่ทำ จากนั้นใส่รายละเอียดงานที่รับผิดชอบเป็นข้อ ๆ แบบกระชับ แต่หากเราเป็นเด็กจบใหม่ เราสามารถใส่งานพิเศษที่เคยทำ งานจิตอาสา หรือประสบการณ์ฝึกงานได้ โดยสามารถเขียนด้วยรูปแบบเดียวกันได้เลย

ตัวอย่าง

NNN Tech, Senior Customer Service Representative FEB 2015 – Current

- Responds to customer complaints and effectively deescalates altercations over the phone resulting in customer satisfaction improvement of 17%.

- Maintains a working knowledge of company products to assist with specific customer inquiries.

- Developed and implemented standard operating procedures to maintain a monthly quality service level of 90% and above.

5. Skills ทักษะการทำงาน

การใส่ข้อมูลส่วนนี้จะแสดงให้ HR เห็นว่าคุณมีทักษะอะไรบ้าง และตรงกับที่บริษัทกำลังมองหาไหม ดังนั้นจึงควรใส่ทักษะที่เราซึ่งสอดคล้องกับ Job Description ที่บริษัทระบุไว้ในประกาศงาน หรือสามารถเอามาปรับใช้ได้ โดยทักษะในการทำงาน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Hard Skills และ Soft Skills

Hard Skills คือ ทักษะเฉพาะทางที่ได้จากการเรียน หรือการปฏิบัติงานจริง ซึ่งเกี่ยวข้องกับสายงานโดยตรง เช่น ทักษะภาษาต่างประเทศ, ทักษะการใช้โปรแกรมต่าง ๆ เช่น Photoshop, AutoCAD หรือ การซื้อโฆษณาบน Social Media สำหรับทักษะการใช้ Microsoft Word, PowerPoint หรือ Excel อาจจะไม่จำเป็นต้องใส่ เว้นแต่เราจะทำได้ขั้นแอดวานซ์จริง ๆ ที่สำคัญอย่าลืมใส่ระดับความชำนาญลงไปด้วย เช่น ทักษะด้านภาษา ให้เลือกใส่เป็น Basic (ระดับพื้นฐาน), Conversational (ระดับสื่อสารเข้าใจ), Proficient (ระดับสูง), Fluent (ระดับเชี่ยวชาญ) หรือ Native (ระดับเจ้าของภาษา) นอกจากนั้นก็สามารถใส่ผลคะแนนการสอบวัดระดับทางภาษาลงไปได้ เช่น TOEIC Score 700, HSK 5 หรือ TOPIK 4

ตัวอย่าง Hard Skills

- Workflow Development

- UX Design

- Data Visualization

- Content Creation and Storytelling

- Database Management

- Fluent in English

Soft Skills คือ ทักษะที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสายงานโดยตรง แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกสายงาน เช่น การทำงานเป็นทีม, การนำเสนอ, ความเป็นผู้นำ หรือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า สำหรับคนที่จะสมัครงานไม่ตรงกับสายที่เรียนมา หรืออยากเปลี่ยนสายงาน Soft Skills จะเป็นส่วนสำคัญที่อาจเพิ่มโอกาสในการถูกเรียกไปสัมภาษณ์ได้

ตัวอย่าง Soft Skills

- Conflict Management

- Time Management

- Life-Long Learning

- Communication

- Complex Problem Solving

- Critical Thinking and Decision-making

- Creativity & Innovation

นอกจากนั้น Soft Skills อาจจะเขียนอยู่ในส่วน Work Experience ที่เราอธิบายถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่เคยได้รับในตำแหน่งงานนั้น ๆ ก็ได้

ตัวอย่าง

- Communicated with customers daily, updating them about new products and upselling promotional merchandise.

- Collaborated with a team of 4 interns to develop a redesigned UI for the company’s flagship products.

- Quickly adapted our marketing approach after a major algorithm update, recouping 70% of lost traffic in under 4 months.

นอกจากการใส่ข้อมูลสำคัญใน Resume ให้ครบถ้วนแล้ว การดีไซน์ Resume ให้ออกมาดึงดูด น่าอ่าน รวมถึงเหมาะกับตำแหน่งงานที่เราสมัครก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยการดีไซน์ Resume ของแต่ละสายงานจะแบ่งกว้าง ๆ ได้ดังนี้

งานทั่วไป: โชว์จุดเด่นของตัวเอง มีลูกเล่นและสีสันที่แสดงตัวตนได้บ้าง แต่ไม่ควรมากเกินไปจนอ่านยาก

งานสายอาร์ต: โชว์เซนส์ด้านศิลปะของเราให้มากที่สุด หรือถ้าจะดีไซน์ออกมาแบบเรียบ ๆ ก็ควรจะต้องเรียบแบบดูดีมีสไตล์ และบ่งบอกความเป็นตัวเอง

งานบริการ: ดีไซน์แบบเรียบง่าย คลาสสิค รูปภาพของเราสำคัญมาก เพราะเขาจะได้เห็นบุคลิกภาพของเราจากรูป

งานราชการ: ดีไซน์แบบเป็นทางการ เรียบร้อย ใช้สีโทนสุภาพ

การทำ Resume ให้ออกมาน่าสนใจนั้นไม่ยาก เราทุกคนมีจุดเด่นจุดขายของตัวเองอยู่แล้ว อย่ากังวลหรือไม่กล้าที่จะเขียนความรู้ ความสามารถ หรือประสบการณ์ของตัวเองลงไปบน Resume ถ้าคุณสามารถทำให้ Resume ของคุณกระชับ อ่านง่าย ข้อมูลครบถ้วน ไม่มีคำสะกดผิด การถูกเรียกไปสัมภาษณ์งานก็ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน

หางานที่ต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษได้ ที่นี่

JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน

ที่มา:

JADOH Learning