ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

เจ้าของและผู้บริหารสินทรัพย์กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย


บทบาทของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในการให้บริการทางพิเศษและแก้ไขปัญหาการจราจร

01

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่รถติดที่สุดในทวีปเอเชีย(1)
  • รถยนต์ในกรุงเทพฯ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ยต่ำกว่า 20 กม./ชม (2)

02

ปริมาณยานพาหนะส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • อัตราการเติบโตในกรุงเทพฯ เฉลี่ย ร้อยละ 6.1 ต่อปีจากปี 2554 ถึง 2560(3)

ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

03

การขยายถนนหรือสร้างทางพิเศษเพิ่มเติมสามารถทำได้ยาก
  • การขยายถนนหรือสร้างทางพิเศษใหม่ต้องดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐเท่านั้น
  • มีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการก่อสร้างและลักษณะทางกายภาพของเมือง

04

ความต้องการในการเดินทางคาดว่าจะเพิ่มขึ้นด้วยปัจจัยต่างๆ
  • แนวโน้มการมีที่อยู่อาศัยในแถบชานเมืองเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งมีการจ้างงานในพื้นที่ที่ทำการศึกษาที่เพิ่มขึ้นด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.9 ต่อปีจากปี 2554 ถึง 2560(4)
  • การขยายตัวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
  • การพัฒนาของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

หมายเหตุ:

  1. ข้อมูลจาก INRIX Global Traffic Scorecard (http://inrix.com/resources/inrix-2017-global-traffic-scorecard)
  2. ข้อมูลจากกรุงเทพมหานคร (https://www.unescap.org/sites/default/files/Country%20Report_Thailand-1_SUTI.pdf)
  3. ข้อมูลจากบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน)
  4. ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยพื้นที่ที่ทำการศึกษาประกอบด้วย จังหวัดกรุงเทพมหานคร, จังหวัดสมุทรปราการ, จังหวัดชลบุรี, จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา


การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมีผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการให้บริการทางพิเศษ

ก่อตั้งขึ้นในปี 2515 ปัจจุบันให้บริการทางพิเศษ 8 สายทาง มีระยะทางรวม

224.6 กิโลเมตร

และทางเชื่อมต่อ 3 ทางเชื่อมในกรุงเทพฯ

ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารจัดการทางพิเศษ

มีความเข้าใจและความชำนาญในการพัฒนาและบำรุงรักษาทางพิเศษ

อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ กทพ. ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากกระทรวงและหน่วยงานรัฐต่างๆ

ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

ดำเนินโครงการปรับปรุงและก่อสร้างทางพิเศษโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

ขยายทางพิเศษไปยังบริเวณที่มีความต้องการใช้บริการสูง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด

ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

ดำเนินโครงการบำรุงรักษาทางพิเศษของ กทพ. ที่สำคัญเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพของทางพิเศษ

ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

พัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด และเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ

ที่มา: การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

Expressway Authority of Thailand
ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 (49 ปี)
สำนักงานใหญ่อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ. 111 ถนนริมคลองบางกะปิ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
งบประมาณประจำปี550 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
หน่วยงานฝ่ายบริหาร

  • สุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข, ผู้ว่าการ
  • ดำเกิง ปานขำ, รองผู้ว่าการ
  • ทศานุช ธรรมโชติ, รองผู้ว่าการ
  • ชาตรี ตันศิริ, รองผู้ว่าการ
  • กาจผจญ อุดมธรรมภักดี, รองผู้ว่าการ
  • ประมวลรัตน์ จินณรงค์, รองผู้ว่าการ

เว็บไซต์www.exat.co.th
แผนที่
ผู้บริหารการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. (อังกฤษ: Expressway Authority of Thailand ย่อว่า EXAT) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งขึ้นตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้าง หรือจัดให้มีทางพิเศษด้วยวิธีการใดๆ ตลอดจนบำรุงรักษาทางพิเศษและดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[2][3]

ประวัติ[แก้]

ในช่วงปี พ.ศ. 2512 รัฐบาลของ จอมพลถนอม กิตติขจร ได้มีการเตรียมเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการก่อตั้งหน่วยงานที่ดูแลการก่อสร้างทางพิเศษและรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน[4]ซึ่งทางรัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นศึกษาผลกระทบในการก่อสร้างทางพิเศษแต่ด้วยอุปสรรคหลายอย่างทำให้รัฐบาลไม่สามารถเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่ สภาผู้แทนราษฎร ได้จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติตัวเองของจอมพลถนอมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

กระทั่งวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 จอมพลถนอมในฐานะประธาน สภาบริหารคณะปฏิวัติ จึงได้ลงนามในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 เรื่องจัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งได้ลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 แต่ทางการทางพิเศษได้ถือเอาวันที่ 27 พฤศจิกายน เป็นวันก่อตั้งองค์กรโดยในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติแต่งตั้งนายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ เป็นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยคนแรก

ในปี พ.ศ. 2530 คณะรัฐมนตรีและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ซึ่งมีสาระสำคัญคือให้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต่อ สภาผู้แทนราษฎร และได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2530 [5]

ในปี พ.ศ. 2535 มีการจัดตั้ง องค์การรถไฟฟ้ามหานคร เพื่อเป็นหน่วยงานที่ดูแลรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนโดยเฉพาะอันเนื่องมาจากการจราจรที่ติดขัดอย่างหนักในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเพื่อความคล่องตัวในการจัดการการก่อสร้างและการบริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

ต่อมาในปี 2550 คณะรัฐมนตรีและการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยสาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2515 และ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 พ.ศ. 2530 รวมถึงการแก้ไขวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งซึ่งไม่เข้ากับยุคสมัย

สายทางพิเศษ[แก้]

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ปัจจุบันได้เปิดให้บริการทางพิเศษ 8 สายทาง คือ

  • ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ 1)
  • ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2)
  • ทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายอาจณรงค์-รามอินทรา-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร)
  • ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางด่วนสายบางนา-ชลบุรี)
  • ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด)
  • ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (ระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ ตอน S1)
  • ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (ทางด่วนวงแหวนใต้)
  • ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร

ศูนย์ควบคุม[แก้]

  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษเฉลิมมหานคร (CCB1)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษศรีรัช (CCB2)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษฉลองรัช (CCB3)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษบูรพาวิถี (CCB4)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษอุดรรัถยา (CCB5)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษบางพลี-สุขสวัสดิ์ (CCB6)
  • ศูนย์ควบคุมทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก (CCB7)

ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์[แก้]

การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เปิดให้บริการระบบจัดเก็บค่าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Toll Collection System: ETCs) โดยเรียกว่า Easy Pass เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553 ในสายทางพิเศษเฉลิมมหานคร, ทางพิเศษฉลองรัช และทางพิเศษวงแหวนรอบนอกด้านใต้ (บางพลี-บางขุนเทียน) และวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ในสายทางพิเศษศรีรัช กทพ. ได้นำ Easy Pass เข้ามาใช้แทนระบบ Tag ของเดิมที่ได้ถูกยกเลิกการใช้งานแล้ว เพื่อขยายปริมาณการรองรับการจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง โดยสามารถทำได้สูงสุด 1200 คันต่อชั่วโมงต่อช่องทาง

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๙๑ ก วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘
  2. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๐ เพื่อกำหนดให้จัดตั้ง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการสร้างทางพิเศษ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ), ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๘๙, ตอน ๑๘๒ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖, ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕.
  3. พระราชบัญญัติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๐, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔ ก, ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑.
  4. ข้อมูลทั่วไปของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  5. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๙๐ ลงวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ พ.ศ. ๒๕๓๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๔ ตอน ๑๖๔ ก พิเศษ หน้า ๓๖ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๐

ดูเพิ่ม[แก้]

  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย