ออกกําลังกาย หน้ามืด คลื่นไส้

ออกกําลังกาย หน้ามืด คลื่นไส้

สาเหตุของการ "วูบ" ขณะออกกำลังกาย

อาการวูบ มักมีสาเหตุจากการที่เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในช่วงเวลาสั้นๆ หรืออาจเกิดจากมีเนื้องอกในสมอง ระบบการทรงตัวเกิดความผิดปกติ สมองทำงานผิดปกติ หรืออาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ ซึ่งอาการวูบ คือมักจะคลื่นไส้ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย มองเห็นผิดปกติ หรืออาจเห็นภาพเป็นสีขาว-สีดำก่อนจะวูบ นอกจากนั้นอุณหภูมิของร่างกายอาจจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ตัวเปียกชื้นไปด้วยเหงื่อโดยกะทันหัน ชีพจรเต้นอ่อน หัวใจเต้นเร็ว หรือเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ และล้มลงในที่สุด

ทั้งนี้ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการวูบมีด้วยกันทั้งหมด 10 ข้อได้แก่
1. อายุ
อายุเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้เกิดโรควูบโดยไม่รู้ตัว อวัยวะทุกอย่างจะเจริญเต็มที่เมื่ออายุ 30 ปี แต่หลังจากนั้นจะเริ่มเสื่อมไปเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้นเส้นเลือดจะตีบลง เลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจก็จะลดลงตามไปด้วย ฉะนั้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นแต่ยังออกกำลังกายหนักเท่าเดิม ก็จะทำให้เกิดอาการวูบขณะออกกำลังกาย และหากรุนแรงอาจเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ดังนั้นคนสูงอายุจะต้องออกกำลังกายให้เพียงแต่พอดี และอย่าหักโหมมากจนเกินไป

2. โรคประจำตัว
โรคประจำตัวเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เกิดอาการวูบขณะออกกำลังกายได้ นั่นก็คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน โลหิตจาง โรคอ้วน ลมบ้าหมู เป็นต้น โดยคนที่มีโรคประจำตัวหรืออาจไม่เคยทราบมาก่อนว่าเป็นโรคเหล่านี้ ความจริงแล้วคุณยังสามารถออกกำลังกายได้แต่ต้องไม่หนักเกินไป ยกตัวอย่างเช่น ออกกำลังกายด้วยวิธีแอโรบิกแบบถูกต้อง ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ยังช่วยในการรักษาโรคได้อีกด้วย ทั้งนี้หากอยากออกกำลังกายในรูปแบบอื่น ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดอาการวูบหรือเกิดความเสี่ยงต่อชีวิต

3. ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
การดื่มเหล้าในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ร่างกายทรุดโทรม และส่งผลต่ออวัยวะภายใน อันได้แก่ ตับ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อจะถูกทำลาย ผู้ที่ดื่มเหล้าก่อนไปออกกำลังกาย แอลกอฮอล์ที่เข้าไปในร่างกายนั้น จะทำให้เลือดสูบฉีดมากและระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง จนเกิดอาการหน้ามืดหรือวูบได้ ส่วนการสูบบุหรี่ที่มีสารพิษอยู่หลายชนิด ได้แก่ ทาร์ นิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์ สารเหล่านี้มีฤทธิ์กระตุ้นทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง จนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และร่างกายขาดออกซิเจนได้ ทั้งนี้หากสูบบุหรี่ก่อนออกกำลังกาย จะทำให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้นจนอาจขาดอากาศหายใจตาย หรือเป็นลมและวูบได้

4. อากาศ
มลพิษในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง ควันพิษ สารพิษ สามารถทำอันตรายกับคนที่ออกกำลังกายได้ ถ้าปริมาณมากพอก็อาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้ เวียนศรีษะ หน้ามืดและวูบในที่สุด รวมถึงถ้าออกกำลังกายในอากาศที่เย็นจัดหรือร้อนจัด ก็จะทำให้อุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปอย่างเฉียบพลัน จนทำให้เกิดอาการวูบได้เช่นกัน หรืออาจส่งผลร้ายแรงยิ่งกว่านั้นคือถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ฉะนั้นแล้วควรไปออกกำลังกายในที่ที่อุณหภูมิปกติและคงที่

5. การติดเชื้อ
การติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะในระบบหายใจ เช่น เป็นหวัด หลอดลมอักเสบ จนถึงปอดบวม จะทำให้การหายใจลดลง และร่างกายขาดออกซิเจน ในการออกกำลังกายจำเป็นต้องการออกซิเจนมากขึ้น แต่เมื่อมีอาการดังกล่าวข้างต้น ก็จะทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนจนถึงขั้นวูบได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นหากมีสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรง ควรดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยให้หายดีก่อนออกกำลังกาย หรือปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีออกกำลังกายในรูปแบบอื่นเพิ่มเติม

6. แรงฮึดสอง
จริงๆ แล้วแรงฮึดสอง จะเกิดขึ้นในระยะแรกของการออกกำลังกาย กล่าวคือ พอเริ่มออกกำลังกายจะมีการใช้พลังงาน ชนิดไม่ต้องอาศัยออกซิเจนประมาณ 2-3 นาที แต่ถ้ายังออกกำลังกายต่อไป จะต้องเปลี่ยนมาใช้พลังงานที่ต้องอาศัยออกซิเจนแทน ฉะนั้นในช่วงเวลานั้นเองคนที่ออกกำลังกาย จะรู้สึกเหมือนหมดแรงถึงขั้นวูบหรือเป็นลมได้ ซึ่งสำหรับคนที่ไม่เป็นลมนั้น เมื่อระบบพลังงานที่ใช้ออกซิเจนเริ่มกลับมาทำงาน ก็จะหายเหนื่อยและออกกำลังกายต่อไปได้
7. แพ้เหงื่อ
โรคภูมิแพ้ต่อการออกกำลังกาย บางคนไม่เคยรู้ตัวมาก่อนว่าแพ้เหงื่อ แพ้สารที่เกิดในร่างกายจากการออกกำลังกาย ซึ่งเมื่อออกกำลังกายไปพักหนึ่งก็จะทำให้เกิดอาการแพ้ จนถึงขั้นวูบเป็นลมหรือเกิดหอบหืดขึ้นได้ ซึ่งในผู้ที่แพ้เหงื่อตัวเอง ควรออกกำลังกายแค่แต่พอดีและควรหยุดออกกำลังกายทันที หากเริ่มมีผื่นลมพิษขึ้นตามผิวหนัง หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่อุณหภูมิสูง สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หรือออกกำลังกายใชุดออกกำลังกาย

8. ชุดออกกำลังกาย
ชุดออกกำลังกายถ้าไม่เหมาะสมกับภูมิอากาศ อาจจะทำให้วูบได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง ในภูมิประเทศที่อากาศร้อน กลับใส่เสื้อวอร์มหนาออกกำลังกาย ทำให้ความร้อนในร่างกายที่เกิดจากการออกกำลังกายระบายออกไม่ได้ อุณหภูมิของร่างกายจึงสูงขึ้นมาก หรือในมุมกลับกันอากาศเย็นจัด แต่ใส่เสื้อผ้าไม่เพียงพอไปออกกำลังกาย จึงไม่สามารถป้องกันความเย็นจากภายนอกได้ จนทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเส้นเลือดในสมองแตกเสียชีวิตได้

9. การใช้ยาบางชนิด
การใช้ยาบางชนิดโดยเฉพาะยาโด๊ป หากยาหมดฤทธิ์ขณะออกกำลังกาย ก็จะทำให้หมดแรงตรงนั้นทันที จนเกิดอาการวูบและเพลียจนหลับได้ ในยาบางชนิดจะมีฤทธิ์ที่ไปกดผลของการออกกำลังกายต่ออุณหภูมิและความดันโลหิตไว้ ฉะนั้นอาจจะทำให้อุณหภูมิสูงมากเกินไปจนความดันโลหิตไม่เพิ่ม ในขณะที่ร่างกายต้องการเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขณะออกกำลังกาย จึงเป็นผลทำให้สมองหรือหัวใจขาดเลือดและทำให้วูบได้

10. ที่สูง
บนพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 3,000 เมตร ออกซิเจนในอากาศจะน้อยลงมาก ถึงขนาดทำให้คนมึนงง เวียนหัว และสติฟั่นเฟือนหมดสติได้ ถ้าความสูงน้อยกว่านี้จะมีผลให้การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ทำได้น้อยลงตามปริมาณออกซิเจนที่น้อยลง สำหรับผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ไปพักตากอากาศบนภูเขา แล้วเช้าๆ ไปวิ่งออกกำลังกายอาจจะวูบไปได้โดยง่ายเช่นกัน

ที่มา : 
www.sanook.com/health

ออกกําลังกายแล้วหน้ามืดเกิดจากอะไร

ขณะออกกำลังกาย หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น เพื่อเพิ่มการสูบฉีดของเลือด การหยุดออกกำลังกายอย่างกะทันหันจะทำให้เลือดที่ไหลมาเลี้ยงหัวใจ ลดน้อยลงแต่หัวใจยังคงสูบฉีดเลือดได้ ในปริมาณเท่าเดิมอยู่ จึงส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด หรือในบางคนอาจจะวูบหมดสติไปเลยก็ได้ ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการของเราได้ หากมีอาการเหล่านี้ แปลว่า เรา ...

อาการมึนหัวคลื่นไส้ เกิดจากอะไร

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ผู้ป่วยจะมีอาการบ้านหมุนอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน และสูญเสียการทรงตัว โรคนี้จะเกิดขึ้นเป็นเวลานาน โรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดไม่เพียงพอต่อการไปเลี้ยงสมอง ทำให้มีอาการหน้ามืด หรือเป็นลมตามมา

สัญญาณเตือนว่าควรหยุดออกกําลังกายคืออะไร

เหนื่อยมากผิดปกติ รับรู้ได้ว่ากำลังฝืนขีดจำกัดของร่างกายมากเกินไป ใจเต้นรัวผิดปกติ รู้สึกถึงใจที่เต้นแรง และเร็ว มากกว่าการออกกำลังกายครั้งไหนๆ หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจขัดเป็นช่วงๆ เวียนศีรษะ หรือตาเริ่มพร่าลาย

เพราะเหตุใดเมื่อออกกําลังกายอย่างหนัก จะมีอาการหน้าแดง

เมื่อออกกำ ลังกายอย่างหนักเซลล์ในร่างกายจะต้องใช้พลังงานอย่างมาก จึงเกิดกระบวนการ เมแทบอลิซึมเพิ่มขึ้น ทำ ให้เกิดความร้อนในร่างกายมากกว่าปกติศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ ที่สมองส่วนไฮโพทาลามัสจะส่งสัญญาณไปกระตุ้นให้หลอดเลือดฝอยที่ผิวหนัง ขยายตัว เลือดหมุนเวียนได้เร็วขึ้น ทำ ให้มีอาการหน้าแดง ขณะเดียวกันต่อมเหงื่อมี