อธิบายความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ประเภท virtual worlds



1. ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์

อธิบายความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ประเภท virtual worlds



    สื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม (Social Tool) เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใดๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเน้นให้ผู้ใช้ทั้งที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารมีส่วนร่วม (Collaborative) อย่างสร้างสรรค์ ในการผลิตเนื้อหาขึ้นเอง (User-GenerateContent: UGC) ในรูปของข้อมูล ภาพ และเสียง

ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ มีด้วยกันหลายชนิด ขึ้นอยู่กับลักษณะของการนำมาใช้โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่ม หลักดังนี้

           1. Weblogs หรือเรียกสั้นๆ ว่า Blogs คือ สื่อส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อคิดเห็น บันทึกส่วนตัว โดยสามารถแบ่งปันให้บุคคลอื่นๆ โดยผู้รับสารสามารถเข้าไปอ่าน หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ ซึ่งการแสดงเนื้อหาของบล็อกนั้นจะเรียงลำดับจากเนื้อหาใหม่ไปสู่เนื้อหาเก่า ผู้เขียนและผู้อ่านสามารถค้นหาเนื้อหาย้อนหลังเพื่ออ่านและแก้ไขเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เช่น Exteen, Bloggang, Wordpress,Blogger, Okanation

          2. Social Networking หรือเครือข่ายทางสังคมในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายทางสังคมที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล เพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มสังคม (Social Community)  เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันทั้งด้านธุรกิจ การเมือง การศึกษา เช่น Facebook, Hi5, Ning, Linked in,MySpace, Youmeo, Friendste

          3. Micro Blogging และ Micro Sharing หรือที่เรียกกันว่า “บล็อกจิ๋ว” ซึ่งเป็นเว็บเซอร์วิสหรือเว็บไซต์ที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สำหรับให้ผู้ใช้บริการเขียนข้อความสั้นๆ ประมาณ 140 ตัวอักษร ที่เรียกว่า “Status” หรือ “Notice” เพื่อแสดงสถานะของตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ หรือแจ้งข่าวสารต่างๆ แก่กลุ่มเพื่อนในสังคมออนไลน์ (Online Social Network)  (Wikipedia,2010) ทั้งนี้การกำหนดให้ใช้ข้อมูลในรูปข้อความสั้นๆ ก็เพื่อให้ผู้ใช้ที่เป็นทั้งผู้เขียนและผู้อ่านเข้าใจง่าย ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ Twitter

          4. Online Video เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเนื้อหาที่นำเสนอในวิดีโอออนไลน์ไม่ถูกจำกัดโดยผังรายการที่แน่นอนและตายตัว ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามชมได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีโฆษณาคั่น รวมทั้งผู้ใช้สามารถเลือกชมเนื้อหาได้ตามความต้องการและยังสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บวิดีโออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้จำนวนมากอีกด้วย เช่น  Youtube, MSN, Yahoo

          5. Poto Sharing เป็นเว็บไซต์ที่เน้นให้บริการฝากรูปภาพโดยผู้ใช้บริการสามารถอัพโหลดและดาวน์โหลดรูปภาพเพื่อนำมาใช้งานได้ ที่สำคัญนอกเหนือจากผู้ใช้บริการจะมีโอกาสแบ่งปันรูปภาพแล้ว ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่เพื่อเสนอขายภาพที่ตนเองนำเข้าไปฝากได้อีกด้วย เช่น  Flickr, Photobucket, Photoshop,Express,  Zooom

          6. Wikis เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลหรือความรู้ (Data/Knowledge) ซึ่งผู้เขียนส่วนใหญ่อาจจะเป็นนักวิชาการ นักวิชาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ซึ่งผู้ใช้สามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลได้อย่างอิสระ เช่น Wikipedia, Google Earth,diggZy Favorites Online

          7. Virtual Worlds คือการสร้างโลกจินตนาการโดยจำลองส่วนหนึ่งของชีวิตลงไป จัดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่บรรดาผู้ท่องโลกไซเบอร์ใช้เพื่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตในลักษณะโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งผู้ที่จะเข้าไปใช้บริการอาจจะบริษัทหรือองค์การด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา รวมถึงองค์การด้านสื่อ เช่น สำนักข่าวรอยเตอร์  สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อพื้นที่เพื่อให้บุคคลในบริษัทหรือองค์กรได้มีช่องทางในการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ไปยังกลุ่มเครือข่ายผู้ใช้สื่อออนไลน์ ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่ม ลูกค้าทั้งหลัก และรองหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ของบริษัท หรือองค์การก็ได้ ปัจจุบันเว็บไซต์ที่ใช้หลัก Virtual Worlds ที่ประสบผลสำเร็จและมีชื่อเสียง คือ Second life

          8. Crowd Sourcing มาจากการรวมของคำสองคำคือ Crowd และ Outsourcing เป็นหลักการขอความร่วมมือจากบุคคลในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยสามารถจัดทำในรูปของเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหาคำตอบและวิธีการแก้ปัญหาต่างๆทั้งทางธุรกิจ การศึกษา  รวมทั้งการสื่อสาร  โดยอาจจะเป็นการดึงความร่วมมือจากเครือข่ายทางสังคมมาช่วยตรวจสอบข้อมูลเสนอความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะ  กลุ่มคนที่เข้ามาให้ข้อมูลอาจจะเป็นประชาชนทั่วไปหรือผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่อยู่ในภาคธุรกิจหรือแม้แต่ในสังคมนักข่าว ข้อดีของการใช้หลัก  Crowd souring  คือ  ทำให้เกิดความหลากหลายทางความคิดเพื่อนำ  ไปสู่การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ  ตลอดจนช่วยตรวจสอบหรือคัดกรองข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาสาธารณะร่วมกันได้ เช่น Idea storm, Mystarbucks Idea

          9. Podcasting หรือ Podcast มาจากการรวมตัวของสองคำ คือ “Pod” กับ “Broadcasting” ซึ่ง “POD” หรือ PersonalOn - Demand คือ อุปสงค์หรือความต้องการส่วนบุคคล ส่วน“Broadcasting” เป็นการนำสื่อต่างๆ มารวมกันในรูปของภาพและเสียง หรืออาจกล่าวง่ายๆ Podcast คือ การบันทึกภาพและเสียงแล้วนำมาไว้ในเว็บเพจ (Web Page) เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ที่สนใจดาวน์โหลดเพื่อนำไปใช้งาน เช่น Dual Geek Podcast, Wiggly Podcast

          10. Discuss / Review/ Opinion เป็นเว็บบอร์ดที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแสดงความคิดเห็น โดยอาจจะเกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการ ประเด็นสาธารณะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เช่น Epinions, Moutshut, Yahoo!Answer, Pantip,Yelp


2. การใช้อินเทอร์เน็ตในงานธุรกิจ

ความหมายเกี่ยวกับธุรกิจ
            ธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้การผลิตสินค้าและบริการ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนมีการจำหน่าย มีการกระจายสินค้า และมีประโยชน์ คือ ได้กำไรจากกิจการนั้น
การดำเนินธุรกิจ หมายถึง การทำกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้เกิดสินค้าหรือบริการ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงซื้อขายกัน และมีวัตถุประสงค์ที่จะได้ประโยชน์จากกิจกรรมนั้นๆ โดยผ่านช่องทางการจำหน่าย ในรูปแบบ ของร้านค้า ฝากขาย และดำเนินธุรกิจผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ ธุรกิจผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะเป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในงานธุรกิจ เพื่อทำให้เกิดผลกำไร และมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น ความสำคัญของการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้งานธุรกิจด้านต่างๆ

ความสำคัญของการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในงานทางด้านต่างๆ มีดังนี้
     1. การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในงานด้านธุรกิจการศึกษา (Education) เช่น
         1.1 การเรียนรู้ผ่ารนระบบอินเทอร์เน็ต
         1.2 การรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียน
         1.3 การดุผลการเรียน

    2. การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในทางด้านธุรกิจการเงินและการธนาคาร (Finance)  เช่น
        2.1 การให้บริการกับลูกค้าด้านการเงิน
        2.2 การฝากเงิน การโอนเงิน และการถอนเงิน
        2.3 การชำระค่าบริการต่างๆ เป็นต้น

    3. การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในงานทางด้านธุรกิจโรงแรม (Hotel) เช่น
        3.1 การเข้าไปดูรายละเอียดสถานที่่พัก
        3.2 การสั่งจองที่พัก
        3.3 การบันทึกข้อมูลการเข้าพัก และการแจ้งเตือนห้องพักของลูกค้า
        3.4 การชำระค่าห้อง เป็นต้น

    4. การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในงานทางด้านธุรกิจสายการบิน (Airway)
        4.1 การตรวจดูตารางการบิน
        4.2 การจองตั๋วเครื่องบิน
        4.3 การยกเลิกเที่ยวบิน
        4.5 การสำรองที่นั่งล่วงหน้าเป็นต้น

    5. การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในงานทางด้านธุรกิจการแพทย์ (Medical Profession) เช่น
        5.1 การให้บริการทางด้านการแพทย์
        5.2 การค้นหาประวัติของคนไข้
        5.3 การวินิจฉัยโลก
        5.4 การเอ็กซเรย์
        5.5 การชำระเงินค่ารักษา เป็นต้น

    6. การนำอินเทอรืเน็ตมาใช้ในงานทางด้านธุรกิจบันเทิง เช่น
        6.1 การดูตารางการฉายภาพยนต์
        6.2 การจองตั๋วชมภาพยนต์ล่วงหน้า
        6.3 การฉายภาพยนต์ตัวอย่าง
        6.4 การฟังเพลงและการดูละครย้อนหลัง

    7. การนำอินเทอร์เน้ตมาใช้ในงานทางด้านธุรกิจการสื่อสาร (Communication) เช่น
        7.1 การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
        7.2 การเชื่อต่ออินเทอร์เน็ตในการสื่อสาร
    
    8. การนำอินเทอร์เน็ตมาในงานทางด้านธุรกิจตลาดหลักทรัพย์ (Stock Exchange) เช่น
        8.1 การดูข้อมูลการซื้อ-ขายหุ้น
        8.2 การดูสถิติการขึ้น-ลงของหุ้น

    9. การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในงานทางด้านธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ (Printing Media) เช่น
        9.1 การดูข้อมูลข่าวสารประจำวัน
        9.2 การส่งรูปภาพหรือข่าวสารให้สำนักงานข่าว


ลักษณะของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

        ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)  คือ ธุรกิจที่ดำเนินการซื้อขายบนอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นระบบและเป้นการดำเนินธุรกิจที่น่าเชื่อถือมาก ซึ่งวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจภานิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีดังนี้
        1. เพื่อเพิ่มช่องทางในการทำการตลาดเเละขยายช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าหรืบริการให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพราะลูกค้าในต่างประเทศ
        2. เป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ ให้เป็นที่รุ้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
        3. เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคโดยไม่ต้องเสียเวลา
    
ประโยชน์ของพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
          การดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อาจจะมีทั้งข้อดีเเละข้อเสีย แต่การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า พาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์มีหลายด้าน ทั้งผู้บริโภค ผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายคือ
        1. ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
        2. ประโยชน์ต้่อผู้ผลิต
        3. ประโยชน์ต่อผู้จัดจำหน่าย

วัตถุประสงค์ของการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในงานธุรกิจ

        1. เพื่อให้ธุรกิจของตนเองพร้อมให้บริการเเก่ลูกค้าทางอินเทอร์เน็ต
        2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเครือข่ายของธุรกิจ
        3. เพื่อให้ข้อมูลของธุรกิจพร้อมให้ลูกค้าเข้ามาค้นหาได้
        4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า
        5. เพื่อขยายผลและขอบเขตของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น
        6. เพื่อขจัดปัญหาด้านเวลาดำเนินการของธุรกิจ
        7. เพื่อขายสินค้าหรือบริการ
        8. เพื่อนำเสนอข้อมูลของธุรกิจแบบมัลติมีเดีย (Multimedia)
        9. เพื่อเข้าสู่ตลาดที่ลูกค้ามีความต้องการบริโภคสินค้าสูง

3. การสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine 
          เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหาและคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ(คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิลจะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป
 
ตัวอย่าง Web Search Engine
          1. http://www.google.co.th/
          2. http://www.youtube.com/
          3. http://dict.longdo.com
 
การสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
          ขั้นตอนการสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
               1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
               2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “เว็บ”
               3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
               4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา”
               5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบ
 

อธิบายความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ประเภท virtual worlds

4.การรับ-ส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ความหมายของเครือข่ายของอินเตอร์เน็ต

คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น

อธิบายความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ประเภท virtual worlds


การสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

         หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสาร จากผู้ส่งต้นทางไปยังผู้รับปลายทางที่อยู่ห่างไกล โดยผ่านช่องทางการสื่อสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นแบบใช้สาย หรือไม่ใช้สายก็ได้ ส่วนข้อมูลหรือข่าวสารนั้นอาจจะเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียก็ได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเน้นการส่งผ่านข้อมูล โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นหลัก 

โปรโตคอล

คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้ 
โปรโตคอลช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์สองระบบ ที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้  คือข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยว กับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโปรโตคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย หากไม่มีโปรโตคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ชุดของโพรโทคอล

คือชุดโพรโทคอลสำคัญ ซึ่งเป็นใช้เป็นต้นแบบ ในการใช้งานต่างๆ แบ่งได้เป็น 2 มาตรฐานดังนี้ คือ

  1. มาตรฐานเปิด
    • Internet protocol suite
    • Open Systems Interconnection (OSI)
  2. มาตรฐานปิด
    • AppleTalk
    • DECnet
    • IPX/SPX
    • SMB
    • Systems Network Architecture (SNA)
    • Distributed Systems Architecture (DSA)