คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือ

คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เริ่มมาจากกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ภายใต้คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นไปตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2514 ต่อมากลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นภาควิชาคณิตศาสตร์และภาควิชาวิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ.2522 ภารกิจในขณะนั้นคือการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้กับนักศึกษาคณะต่างๆ

ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของคณาจารย์ในภาควิชาคณิตศาสตร์และภาควิชาวิทยาศาสตร์ ที่จะเสริมสร้างพัฒนากำลังคนให้มีขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการศึกษา การวิจัย และ การบริการวิชาการให้บรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2527 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือจึงได้แต่งตั้งคณะทำงานในการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และได้ดำเนินการมาเป็นระยะจนได้รับอนุมัติให้จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยแยกตัวออกจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

จากปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมาคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้ดำเนินการตามพันธกิจมาอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการผลิตบัณฑิตการผลิตองค์ความรู้ทางวิชาการ การผลิตงานวิจัย การผลิตบุคลากร โดยเน้นการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์ วิจัย การวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการให้กับภาครัฐและภาคธุรกิจอุตสาหกรรม

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) และวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ? มาดูกันว่าเค้ามีสาขาวิชาอะไรให้เลือกเรียนและสามารถไปทำอาชีพอะไรได้บ้าง ?

วิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์คืออะไร ?

วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหรือที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ธรรรมชาติ (Natural Science) ประกอบด้วย ข้อเท็จจริง หลักการ กฎ ทฤษฎี ได้แก่วิชาการต่างๆ เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เป็นการวิจัยที่ไม่ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ แต่มักจะใช้ตอบคำถามหรือปรากฎการณ์ต่างๆเสียมากกว่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะทำการศึกษาค้นคว้าอยู่ในห้องปฏิบัติการ (Laboratory)

วิทยาศาสตร์ประยุกต์เป็นการนำทฤษฎีและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์และอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น วิศวกรรมหรือเทคโนโลยีต่างๆ โดยส่วนมากจะเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) หรือที่เรียกกันว่า R&D ซึ่งโดยส่วนใหญ่งานของวิทยาศาสตร์ประยุกต์จะปฏิบัติงานด้านนอกห้องปฏิบัติการ

ทำไมถึงต้องเรียนวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ?

เราควรจะตั้งคำถามอยู่เสมอว่าเรารู้อะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีให้ดียิ่งขึ้น
หากเราไม่กระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เราจะพัฒนาตนเองได้อย่างไร ?
ลองคิดดูว่าเราจะพลาดอะไรดีๆไปบ้าง ถ้าเรายอมรับความคิดที่กล่าวไว้ว่าโลกของเราแบน ?

หากไม่มีการพัฒนาทฤษฎีต่างๆทางวิทยาศาสตร์ เราก็จะไม่มีคำอธิบายของปัญหาต่างๆมากมายบนโลก นอกจากนั้นเรายังนำคำตอบเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้อีก
ซึ่งก็มีหลากหลายตั้งแต่สิ่งที่อำนวยความสะดวกให้กับเรา เช่น วิศวกรรมยานยนต์ ไปจนถึงสิ่งที่รักษาชีวิตของเรา เช่น วิทยาศาสตร์การแพทย์

วิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เป็นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า STEM field  ซึ่งเป็นสาขาหลักที่เป็นที่ต้องการสูงมากทั่วโลก ความจริงแล้วในหลายๆประเทศก็ได้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนนักศึกษานานาชาติที่เรียนจบทางด้าน STEM Field ด้วยการเพิ่มทางเลือกของประเภทวีซ่า เพื่อให้นักศึกษาสามารถหางานทำในประเทศได้หลังจากจบการศึกษา  ดังนั้นถ้าคุณยังไม่อยากเดินทางกลับประเทศของคุณทันทีหลังเรียนจบ คุณควรลองพิจารณาทางเลือกนี้ดูนะคะ

บุคลิกแบบไหนถึงเหมาะที่จะเรียนวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ?

อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้ที่มีความต้องการที่จะก้าวข้ามอุปสรรคและสร้างการค้นพบใหม่ๆ เป็นคุณสมบัติที่เหมาะกับนักศึกษาที่จะเรียนในสาขานี้ เมื่อนักศึกษาต้องทำการวิจัยของตนเองก็อาจเกิดความรู้สึกท้อแท้ได้ เนื่องจากต้องทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยใช้ทฎษฎีต่างๆมากมายเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นการมีความชื่นชอบที่จะทำการทดลองและทำวิจัยรวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก็ถือเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นในการศึกษาเล่าเรียนสาขาวิทยาศาสตร์

หลักเกณฑ์การรับนักศึกษาของวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์คืออะไรบ้าง ?

นักศึกษาที่จะสมัครเข้าเรียนสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์จะต้องผ่านการเรียนชีววิทยา เคมี หรือ ฟิสิกส์ วิชาใดวิชาหนึ่งหรือทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีวิชาคณิตศาสตร์หรือวิชาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ก็จะช่วยส่งเสริมคุณสมบัติของคุณในการพิจารณาเข้าเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณจะสมัครเข้าเรียนสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์

นักศึกษาควรตรวจสอบกฎเกณฑ์ ข้อกำหนดในการสมัครเข้าเรียนโดยตรงกับทางมหาวิทยาลัย

มีสาขาอะไรให้เลือกเรียนบ้าง ?

เส้นทางอาชีพในอนาคต

นักศึกษาที่จบสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์มีสายอาชีพให้เลือกค่อนข้างกว้างและหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่คุณเลือกเรียน ถ้าคุณลองสังเกตสาขาวิชาที่กล่าวไว้ข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีวิชาที่ซับซ้อน ซึ่งครอบคลุมสิ่งต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมา ดังนั้นหลักสูตรของสาขาวิชานี้จะเป็นประโยชน์ในการเลือกประกอบอาชีพได้หลากหลายด้าน ผู้ที่จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ สามารถประกอบอาชีพเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือ นักวิชาการ ในขณะที่ผู้ที่จบทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์สามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้และปฏิบัติจริงในหน้าที่การงานได้เลย เช่น วิศวกร หรือ นักวิจัยและพัฒนา

วิทยาศาสตร์ประยุกต์มีคณะอะไรบ้าง

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) และวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ?.
สาขาดาราศาสตร์.
สาขาชีววิทยา.
สาขาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์.
สาขาเคมี.
สาขาธรณีศาสตร์.
สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม.
สาขาวิทยาศาสตร์อาหารและเทคโนโลยี.
สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป.

ข้อใดจัดเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์

วิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 แขนงใหญ่ ๆ คือ 1. วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) ได้แก่ชีวเคมี เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐานของวิทยาศาสตร์ ทุกสาขา 2. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ได้แก่วิทยาศาสตร์ทางด้านการแพทย์ ด้านการเกษตร ด้านวิศวกรรม ด้าน พันธุวิศวกรรม ฯลฯ ซึ่งน ามาประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้ ...

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือวิชาอะไร

วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (อังกฤษ: applied science) คือสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ที่นำความรู้จากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติไปใช้กับปัญหาในทางปฏิบัติ สาขาวิชาต่างของวิศวกรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์มีความสำคัญสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และในด้านอุตสาหกรรมเรียกวิทยาศาสตร์ประยุกต์ว่า การวิจัยและพัฒนา ( ...

ทำไมถึงเรียกว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์"

วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มุ่งนำไปใช้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในสังคม โดยนำความรู้ขั้นพื้นฐานหรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ไปคิดสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เราเรียกว่านักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Scientist) เช่น ทอมัส อัลวา เอดิสัน, ไมเคิล ฟาราเดย์