คณะเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่กำลังสนใจในคณะเศรษฐศาสตร์ แต่ยังไม่เข้าใจว่าคณะนี้ต่างกับบริหาร หรือบัญชียังไง วันนี้พี่จะมาแนะนำเรื่องเกี่ยวกับคณะเศรษฐศาสตร์ ตั้งแต่เศรษฐศาสตร์ คืออะไร คณะนี้เขาเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง แล้วจบมาสายงานที่รองรับเป็นแบบไหน แต่ต้องบอกไว้ก่อนเลย คณะเศรษฐศาสตร์เป็นอีกหนึ่งคณะที่รับทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์นั่นเอง ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจ วันนี้เราจะมาไขทุกข้อสงสัยให้น้อง ๆ กันแบบครบถ้วนจบในที่เดียว ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย!!

.
คณะเศรษฐศาสตร์ 

ในคณะนี้มีความแตกต่างกับคณะบริหาร และบัญชีตรงที่ คณะเศรษฐศาสตร์จะศึกษาตั้งแต่พฤติกรรมของมนุษย์ หน่วยเศรษฐกิจในสังคมทั้งหมด ตั้งแต่แบบครัวเรือน แบบธุรกิจ หรือบริษัท ไปจนถึงระดับต่างประเทศ ยังไม่หมดแค่นี้ ผู้เรียนจะต้องศึกษาเกี่ยวกับภาพรวมการตลาด การค้าขายต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นทุก ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับการตลาดทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่เลย เพื่อศึกษาในเรื่องของพฤติกรรม ว่าผู้คนเหล่านี้มีพฤติกรรมอย่างไร สิ่งเหล่านี้เราจะเรียกว่า เศรษฐกิจมหาภาค การเงิน การผลิต ศึกษาว่าทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันอย่างไร วิเคราะห์นโยบาย หาเหตุผล และคิดแนวทางการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด หรือสภาวะเศรษฐกิจต่าง ๆ นั่นเอง 

.
คุณสมบัติสำคัญของผู้เรียน
  • ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจของประเทศ และทั่วโลก
  • สามารถวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาล่วงหน้าได้อย่างมีหลักการ
  • มีการจัดความคิดได้อย่างเป็นระบบ
  • กล้าตัดสินใจ 
  • ควรมีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และภาษาอังกฤษ
.
เศรษฐศาสตร์ มีสาขาไหนบ้าง 
  • เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ / เศรษฐศาสตร์การจัดการ เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการพลิกแพลงเอาความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ไปใช้ในการบริหารจัดการในทุกๆ ด้านขององค์กร หรือธุรกิจต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ
  • เศรษฐศาสตร์การเงิน เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการจัดการด้านการเงินให้มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยทฤษฎี และความรู้ทางเศรษฐศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์การคลัง เรียนเกี่ยวกับนโยบาย และมาตรการการคลัง การหารายได้ และการใช้จ่ายของรัฐบาล รวมถึงผลกระทบของมาตรการการคลังที่มีต่อเศรษฐกิจ
  • เศรษฐศาสตร์การพัฒนา และวางแผน ศึกษานโยบาย และกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งยังศึกษาบทเรียนตัวอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ
  • เศรษฐศาสตร์แรงงาน และทรัพยากรมนุษย์ เน้นการเรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปแก้ปัญหาตลาดแรงงาน ปัญหาการว่างงาน และการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นสาขาที่ศึกษาเพื่อหาวิธีจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ที่ถูกนำไปใช้ในระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เศรษฐศาสตร์ทฤษฎี และการวิจัย / เศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ เน้นการเรียนด้านทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก ซึ่งบัณฑิตจากสาขานี้จะเป็นคนที่มีการตัดสินใจที่แม่นยำ เพราะจะมีมุมมอง การคิดวิเคราะห์ และการเชื่อมโยง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระดับภาพรวมได้เป็นอย่างดี
  • เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ สาขานี้จะผสมผสานความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เข้ากับความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้นักศึกษาเติบโตไปในโลกของการค้าระหว่างประเทศได้
  • เศรษฐศาสตร์เกษตร เรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการจัดการการเกษตร
  • เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ สาขานี้จะเน้นการจัดการสหกรณ์ ด้วยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์การพัฒนา เรียนเพื่อนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมในระดับประเทศ
  • เศรษฐศาสตร์สาธารณะ ศึกษาบทบาทของรัฐบาลที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งยังวิเคราะห์บทบาทของรัฐบาล ในการใช้จ่ายงบประมาณ ภาษีอากรของราษฎร และศึกษาถึงการใช้นโยบายการคลังในการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย
  • เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
.
การเรียนในแต่ละชั้นปี

ปี 1 น้อง ๆ จะได้เรียนในวิชาพื้นฐานทั้งหมด ทั้งวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ ภาษาอังกฤษ รวมถึงจะได้เรียนวิชาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นอีกด้วย

ปี 2 หลักจากที่เราได้เรียนวิชาพื้นฐานกันแล้ว ในปีนี้ น้อง ๆ จะได้ลงลึกในวิชาเศรษฐศาสตร์มากขึ้นในหลาย ๆ ระดับ เช่น เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหาภาค และการนำความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

ปี 3 ปีนี้จะมีความเข้นข้นขึ้นมาก น้อง ๆ จะได้เจอวิชาเฉพาะที่เจาะลึกมากขึ้น รวมถึงเนื้อหาที่มีความหลากหลาย เช่น  หมวดการเงิน หมวดทรัพยากรมนุษย์ หมวดสินค้าเกษตร หมวดนโยบาย หมวดการพัฒนา ถือว่าเป็นช่วงที่มีเนื้อหาที่เข้มข้นที่สุดก็ว่าได้

ปี 4 ในปีสุดท้ายนี้ ในเรื่องของเนื้อหาการเรียน น้อง ๆ จะได้เลือกเรียนเฉพาะหมวด แต่จริง ๆ แล้วเวลาส่วนใหญ่อาจหมดไปกับการทำ Thesis หรือสัมนาต่างๆ แทนด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้น การเรียนในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับทางคณะ มหาวิทยาลัย และสาขาต่าง ๆ ด้วย พี่ขอแนะนำว่า ถ้าน้อง ๆ คนไหนมีเป้าหมายทั้งด้านคณะ และมหาวิทยาลัยแล้ว สามารถเข้าไปดูระเบียบการ หรือแผนการเรียนในแต่ละที่ได้เลย สามารถหาได้ตามตามเว็บไซต์คณะ หรืออีกช่องทาง คือ TCASter App นั่นเอง

.
จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง
  • นักวิเคราะห์สินเชื่อ
  • เจ้าหน้าที่บริหารกองทุน
  • นักวิเคราะห์แผนงานธนาคาร 
  • นักวิเคราะห์ตลาด
  • นักวิเคราะห์การลงทุน
  • นักวิเคราะห์ราคาสินค้า 
  • นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ 
  • นักวิเคราะห์โครงการ 
  • เจ้าหน้าที่บริษัทประกัน
  • เจ้าหน้าที่ธนาคาร
  • พนักงานการเงินบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ 
  • ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ 
  • ที่ปรึกษาด้านการเงิน-การลงทุน
  • ครูและอาจารย์ เศรษฐศาสตร์ 
  • นักวิจัยประจำสถาบันวิจัย 
  • พนักงานราชการ ในกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การค้า เช่น กระทรวงการคลัง, กระทรวงพาณิชย์, กรมการค้าภายใน, ธนาคารแห่งประเทศไทย, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • พนักงานหน่วยงานเอกชนในบริษัทต่าง ๆ 
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว

ในส่วนของสายงาน จะเห็นว่าเป็นคณะที่ไม่มีสายงานที่ตายตัว น้อง ๆ สามารถเลือกทำงานได้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าหลังจากที่ได้เรียนแล้ว น้อง ๆ ชื่นชอบในแนวทางไหน หลังจบมาน้อง ๆ ก็สามารถใช้ทักษะเหล่านั้นในการสมัครงานได้

.

เป็นยังไงบ้างสำหรับข้อมูลคณะเศรษฐศาสตร์ที่พี่ได้นำมาฝากในวันนี้ และอย่าลืมว่าการเรียนในแต่ละที่อาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการจัดการเรียนการสอนของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วย รวมถึงด้านสายงาน จริง ๆ นอกจากการเรียน และจบมาทำงานตรงสายแล้ว น้อง ๆ สามารถเลือกที่จะทำงานไม่ตรงสายได้ เพียงแค่น้อง ๆ มีทักษะที่สายงานนั้น ๆ ต้องการ ดังนั้น ขึ้นอยู่กับว่าน้อง ๆ ได้เอาทักษะที่เรียนมาแล้วเอามาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน อย่าลืมว่าหลังจากมีเป้าหมายแล้ว ระหว่างทางเดินไปถึงเป้าหมายเป็นส่วนที่สำคัญมาก ๆ ดังนั้น น้อง ๆ อย่าลืมที่จะวางแผนอย่างเป็นระบบกันนะเหล่าเด็กเศรษฐศาสตร์

และครั้งนี้ พี่มีคลิปแนะนำเกี่ยวกับคณะเศรษฐศาสตร์มาแชร์ให้น้อง ๆ ที่สนใจในคณะนี้ ห้ามพลาดกลับรายการ “ณุกน็อตออนทัวร์ EP25 : เศรษฐศษสตร์ อินเตอร์ มธ.” มาดูกันเลย!!

เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศจบมาทำงานอะไร

เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ซึ่งหากผู้ที่จบมามีความสามารถทางภาษาที่ดีในระดับสื่อสารด้วยจะถือว่าได้เปรียบมาก เพราะสามารถทำงานประสานงานระหว่างประเทศ หรือสามารถสมัครงานเป็นนักวิเคราะห์สินเชื่อ ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักลงทุน นายธนาคาร เจ้าหน้าที่บริหารกองทุน หรือที่ปรึกษาด้านการเงิน

เศรษฐศาสตร์ ระหว่างประเทศ เรียน เกี่ยวกับ อะไร

เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคหรืออาณาเขตทางเศรษฐกิจตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป ประเภทต่างๆ ของการแลกเปลี่ยนในเชิงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การซื้อขายสินค้าและบริการ การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต การเคลื่อนย้ายธุรกิจการประกอบการ การถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีต่างๆ

สาขา วิชา เศรษฐศาสตร์ มี อะไร บ้าง

การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ สามารถแบ่งตามเนื้อหาได้เป็น 2 สาขาหลักๆ คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหาภาค โดยเศรษฐศาสตร์จุลภาคจะมุ่งเน้นศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับบุคคล โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจนั้นๆ และบุคคลหรือหน่วยงานสำคัญๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง ส่วนเศรษฐศาสตร์มหภาค จะศึกษาเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระดับชาติและระดับ ...

Econ คือคณะอะไร

คณะ/สาขา เศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นอีกหนึ่งคณะที่เกี่ยวกับด้านธุรกิจและการบริหาร ในคณะนี้น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับวิธีการจัดสรรทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน ที่ไม่ได้เน้นเฉพาะด้านเศรษฐกิจพื้นฐานเพียงอย่างเดียว แต่เน้นการเรียนรู้เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ด้วย