ลูก อ้วน ทํา ไง ดี

ลูก อ้วน ทํา ไง ดี

ลูก อ้วน!! ทำยังไงดีค่ะ เข้าใจหัวอก คนเป็นพ่อ แม่ มักอยากให้ลูกทานได้เยอะๆ กินในของที่ลูกชอบ แต่รู้ไหมค่ะว่าคุณกำลังทำให้ลูก

ลำบาก เพราะตอนนี้โรคอ้วนในเด็กระบาดมาก จะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพเด็กในอนาคตด้วย วันนี้เราเอาวิธีปรับเปลี่ยนการกินของเด็กมาฝากกันค่ะ

5 เทคนิคปรับเด็กไทย ทานอย่างพอเพียง 

ปัจจุบัน ครอบครัวไทยเริ่มนิยมพาลูก ๆ ไปรับประทานอาหารนอกบ้านกันมากขึ้น สังเกตได้จากยามเย็นตามห้างสรรพสินค้า หรือสถานกวดวิชาชื่อดังมักมีภาพของครอบครัวมาร่วมรับประทานอาหารให้เห็นกันบ่อย ๆ ซึ่งในมุมมองของพ่อและแม่บางส่วนนั้น อาจเห็นว่า ไลฟ์สไตล์เช่นนี้สะดวกสบาย และไม่ต้องให้ลูกทนหิว แต่ในอีกด้านหนึ่ง การใช้ชีวิตในลักษณะดังกล่าวเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้ลูกที่คุณรักนั้น "รับประทานอาหารเกินพอดี"
สาเหตุเพราะการรับประทานอาหารนอกบ้านนั้น จานที่ใส่อาหารมักจะจานใหญ่ หรือหากสั่งเป็นเซ็ต ก็ยิ่งมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่เด็ก 1 คนจะสามารถรับประทานได้หมดนั่นเอง

เพื่อไม่ให้ลูกมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารในปริมาณมาก ๆ จนได้รับสารอาหารเกินความต้องการของร่างกาย เรามี 5 วิธีช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาฝากกันค่ะ

1. ตักแบ่งอาหารที่ลูกรับประทานใส่จานเล็กให้ลูก เพื่อให้ลูก ๆ รู้สึกว่า อาหารตรงหน้านั้นช่างเยอะเสียจริง (เพราะมันพูนจานเล็ก ๆ ของเขาเลย)

2. แทนการยื่นมันฝรั่งทอดทั้งถุงให้ลูกหยิบเอง หากจะให้รับประทานขนม ควรเลือกซื้อขนมที่แบ่งเป็นห่อเล็ก ๆ หรือมิเช่นนั้นคุณแม่ก็ควรแบ่งขนมจากห่อใหญ่ลงมาเป็นถ้วยเล็ก ๆ ให้ลูกรับประทาน

3. บรรจุอาหารที่รับประทานไม่หมดลงในกล่องขนาดพอเหมาะหลาย ๆ กล่อง ในปริมาณที่พอดีสำหรับการรับประทานเป็นมื้อ ๆ ในโอกาสต่อไป จะดีกว่าการใส่รวมในหม้อขนาดใหญ่ (เพราะเวลานำมาอุ่นแล้วตัก จะกะปริมาณได้ไม่แน่นอน)

4. รับประทานอาหารช้า ๆ และควรมีผัก-ผลไม้ร่วมโต๊ะด้วย

5. หากไปรับประทานอาหารขยะ แล้วพบว่ามีโปรโมชันบวกเงิน 5 - 10 บาท เพื่อให้ได้เซ็ตที่ใหญ่ขึ้น ขอให้คุณพ่อคุณแม่เลือกเก็บเงินเอาไว้ดีกว่าซื้อ "แป้ง-ไขมันเพิ่มขนาด" ให้ลูกรับประทาน

โรคอ้วนในเด็ก คือ เด็กที่มีน้ำหนักตัว และปริมาณไขมันมากกว่าปกติ เมื่อเทียบกับน้ำหนัก และความสูงในระดับมาตรฐานของช่วงอายุเดียวกันโดยดูได้จากหากเด็กมีน้ำหนักเกินกว่าร้อยละ 20 ถือว่าเป็นโรคอ้วนในเด็กค่ะ

การเป็นโรคอ้วน ไม่ได้หมายความแค่ว่า เป็นโรคอ้วนอย่างเดียวแล้วจบนะคะ แต่โรคอ้วนนั้นเปรียบเสมือนประตูบานใหญ่ที่คอยเปิดรับโรคอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย อาทิ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความผิดปกติของกระดูกและข้อ โรคผิวหนัง โรคนอนกรนและอาจหยุดหายใจขณะหลับ ตับและถุงน้ำดีอักเสบเป็นต้น อย่าเพิ่งตกใจค่ะ นี่แค่บางส่วนนะคะ

น้ำหนักและส่วนสูงมาตรฐานของเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี

น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ของเด็ก

ปกติแล้วน้ำหนักของทารกจะอยู่ที่ 2.5 – 4.5 กิโลกรัม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3 กิโลกรัมโดยประมาณ พอเริ่มโตขึ้นมาในช่วง 2 – 3 ปีแรก น้ำหนักของเด็กจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมื่ออายุเข้า 4 – 7 ปี น้ำหนักตัวจะเพิ่มช้าลงจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น น้ำหนักของเด็กก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง

ส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก

ความสูงโดยทั่วไปของทารกแรกเกิดจะอยู่ที่ 50 เซนติเมตร โดยประมาณ

  • วัยแรกเกิด – 6 เดือน : เด็กชายควรสูงขึ้นอย่างน้อย 17 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้นอย่างน้อย 16 ซม.
  • วัย 6 – 12 เดือน : ทั้งเด็กชายและเด็กหญิง ควรสูงขึ้นอย่างน้อย 8 ซม.
  • วัย 1 – 2 ปี : เด็กชายควรสูงขึ้นอย่างน้อย 10 ซม. เด็กหญิงควรสูงขึ้นอย่างน้อย 11 ซม.
  • วัย 2 – 5 ปี : ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงควรสูงขึ้น 6 – 8 ซม. โดยประมาณ
  • วัย 5 ปี ขึ้นไป – วัยรุ่น : ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงถ้าสูงน้อยกว่า 5 ซม.ต่อปี ถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์ คุณพ่อคุณแม่ควรหาสาเหตุและแก้ไข

อายุเพศชายเพศหญิงปีเดือนน้ําหนัก (นน.)ส่วนสูง (ซม.)น้ําหนัก (นน.)ส่วนสูง (ชม.)–02.8-3.947.6-53.12.7-3.746.8-52.9–13.4-4.750.4-56.23.3-4.449.4-56.0–24.2-5.553.2-59.13.8-5.252.0-59.0–34.8-6.455.7-61.94.4-6.054.4-61.8–45.3-7.158.1-64.64.9-6.756.8-64.5–55.8-7.860.4-67.15.3-7.358.9-66.9–66.3-8.462.4-69.25.8-7.960.9-69.1–76.8-9.064.2-71.36.2-8.562.6-71.1–87.2-9.565.9-73.26.6-9.064.2-72.8–97.6-9.967.4-75.06.9-9.365.5-74.5–107.9-10.368.9-76.77.2-9.866.7-76.1–118.1-10.670.2-78.27.5-10.267.7-77.61–8.3-11.071.5-79.77.7-10.568.8-78.92–10.5-14.482.5-91.59.7-13.780.8-89.93–12.1-17.289.4-100.811.5-16.588.1-99.24–13.6-19.995.5-108.213.0-19.295.0-106.95–15.0-22.6102.0-115.114.4-21.7101.1-113.9

ข้อมูลอ้างอิง : th.theasianparent.com

ข้อเสียของการเป็นโรคอ้วน

ความอ้วนในเด็กหากปล่อยไว้นานจนอายุเกิน 6-7 ปี อาจเป็นอะไรทีแก้ยากเรามาไล่เรียงกันทีละข้อดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง

  1. เคลื่อนไหวตัวลำบาก ขาดความคล่องตัว หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มจะทำให้เจ็บมากกว่าเพื่อน
  2. กระดูกและข้อต่อเสื่อมาไวก่อนเวลาอันควร
  3. เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพราะเมื่อร่างกายไม่ตอบสนองกับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้เด็กมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและเป็นเบาหวานในที่สุด นอกจากนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต ระบบประสาท และหัวใจ
  4. ไขมันในเลือดจะสูง เหตุเพราะการทานของมัน ของทอด เช่น มันฝรั่งทอด ไก่ทอด และหมูสามชั้น เป็นต้น
  5. อาจมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ส่งผลให้เป็นความดันโลหิตสูงได้
  6. เป็นโรคนอนกรน เด็กที่อ้วนบางรายอาจมีภาวะอุดกั้น เนื่องจากกล้ามเนื้อทางเดินหายใจหย่อน ทำให้หายใจไม่สะดวก ออกซิเจนในเลือดน้อยลงขณะหลับ ในรายที่รุนแรงอาจมีภาวะหัวใจโตร่วมด้วย
  7. มีไขมันสะสมในตับ เสี่ยงเป็นโรคตับ
  8. ส่งผลต่อจิตใจ โดยเฉพาะการเข้าสังคม ถูกเพื่อนล้อ จิตใจหดหู่ ไม่อยากไปโรงเรียน

สาเหตุโรคอ้วนในเด็ก

พันธุกรรม

หากคุณพ่อคุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่ (คนใดคนนึง) อ้วน โอกาสที่ลูกจะอ้วนก็จะลดลงเหลือร้อยละ 40 แต่ถ้าผอมทั้งคุณพ่อคุณแม่ ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ร้อยละ 14

ครอบครัว

ครอบครัวมีพฤติกรรมการทานอาหารเช่นไร เด็กก็จะได้รับพฤติกรรมการทานอาหารเช่นนั้นมา เพราะนอกจากที่คุณพ่อคุณแม่จะทานในแบบฉบับของตัวเองแล้ว ก็ยังจัดหาให้ลูกทานแบบเดียวกันไปด้วย หากคุณพ่อคุณแม่อ้วน ส่วนใหญ่ลูกก็จะอ้วนไปด้วย

พฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่เหมาะสม

การทานขนมจุบจิบ การทานอาหารในปริมาณมาก และบ่อย แถมยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง อาทิ ไก่ชุบแป้งทอด ไอศกรีม น้ำอัดลม ขนมหวาน ลูกอมหรือแม้แต่ผลไม้ที่มีแป้ง และน้ำตาลสูง เป็นต้น

การออกกำลังกาย

เป็นเพราะเด็กใช้พลังงานน้อยลง โดยเฉพาะในวันหยุดหรือช่วงเย็นที่กลับจากโรงเรียน พบว่าส่วนใหญ่หลังทานอาหารเสร็จ เด็กๆ ก็มักจะใช้เวลาอยู่กับหน้าจอ (ทีวี, มือถือ หรือแทบเล็ต) มากเกินความจำเป็น คือ อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงต่อวัน จึงทำให้ไม่เหลือเวลาที่จะออกกำลังกายหรือไม่มีเวลาที่จะได้ใช้พลังงานเลย

สิ่งแวดล้อม

ปัจจัยที่ทำให้มีผลต่อน้ำหนักตัว อาทิ น้ำหนักเด็กทารกแรกคลอดที่มากอยู่แล้ว หรือแม้แต่อายุที่เริ่มให้อาหารผสม เป็นต้น

การป้องกันโรคอ้วนในเด็ก

  1. ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป ไม่ให้กินขนมมากเกินควร
  2. เพิ่มการออกกำลังกาย พาเด็กๆ ออกไปเดินหรือวิ่งเล่น ช่วยงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ หรือทำกิจกรรมรอบบ้าน อาทิ ช่วยกันลงดิน ปลูกต้นไม้ก็ได้ค่ะ
  3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    • ทานให้เป็นเวลา ในปริมาณที่พอเหมาะ
    • ควบคุมปัจจัยที่เอื้อต่อการทานอาหาร เช่น ทานข้าวไป ดูทีวีไป ไม่ซื้อขนมเก็บไว้ในบ้านมากๆ การปล่อยให้เด็กทาข้าวคนเดียว โดยที่ไม่ควบคุมเวลา เป็นต้น
    • การให้รางวัลหรือหารชมเชยตามสมควร เมื่อลูกสามารถควบคุมพฤติกรรมการทานอาหารหรือขนมได้

จะเห็นได้ว่าโรคอ้วนในเด็กอันตรายกว่าที่คิดนะคะ เพราะส่งผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็กเลยทีเดียว เป็นจุดกำเนิดหลายโรค เมื่อทราบอย่างนี้แล้วอย่าปล่อยให้ลูกเป็นเด็กแก้มยุ้ยแบบมีโรคนะคะ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซะตั้งแต่วันนี้ดีกว่า เป็นกำลังใจนะคะ

หากครอบครัวไหนกำลังเผชิญปัญหาลูกอ้วน ลูกน้ำหนักเกินอยู่แล้วอยากให้ลูกลดน้ำหนัก สามารถติดตามอ่านเพิ่มได้จากบทความนี้ค่ะ


ลูกน้ำหนักเกินทำไงดี? แวะทางนี้เลยค่ะ ถ้าอยากลดน้ำหนักให้ทำตามสิ่งนี้ ถ้าทำได้รับรองน้ำหนักลงชัวร์ คลิกที่นี่ค่ะ

ลูก อ้วน ทํา ไง ดี

บทความที่อยากให้อ่านเพิ่มเติม

ลูกน้ำหนักเกินทำไงดี อยากลดน้ำหนักต้องทำสิ่งนี้การันตีได้ผลชัวร์



ลูก อ้วน ทํา ไง ดี

แม่โน้ต

3,364,223 views

Mommy Blogger ที่มียอดวิวในเว็บไซต์ simplymommynote.net มากกว่า 200,000 วิว ต่อเดือน ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบ Tradigital รักการเขียน มีลูกสาว และครอบครัวเป็นแรงบันดาลใจในการถ่ายทอดเรื่องราว ชอบเรียนรู้เรื่องจิตวิทยา และสิ่งใหม่ ๆ IG : notepatsita Facebook

ทำยังไงให้ลูกอ้วนๆ

ให้เด็กรู้สึกหิวก่อนถึงมื้ออาหารโดยงดอาหารหรือขนมจุบจิบระหว่างมื้อ เพราะเมื่อเด็กอายุเกิน 1 ปี ควรรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก ไม่ควรให้เด็กรับประทานขนมกรุบกรอบ ลูกอมทอฟฟี่ หรือนม ก่อนมื้ออาหาร เพราะเด็กจะอิ่มทำให้เด็กรับประทานอาหารได้น้อย หากจะให้ควรให้หลังอาหารหากเด็กรับประทานได้เหมาะสม

กินอะไรให้ลูกอ้วน

7 เคล็ดลับการกินให้น้ำหนักลงที่ลูกในครรภ์.
1. กินเพิ่มแคลอรี ... .
2. เพิ่มปริมาณข้าวแป้งขัดสีน้อย ... .
3. เพิ่มปริมาณเนื้อสัตว์ ... .
4. เลือกแหล่งของไขมันที่ดี ... .
5. ดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว ... .
6. เสริมวิตามินตามคำแนะนำของแพทย์ ... .
7. เพิ่มมื้อว่างอย่างมีคุณค่า.

ทำไมลูกกินแล้วไม่อ้วน

เนื่องจากระบบการย่อยของลูกวัยนี้ยังพัฒนาไม่เต็มที่ อีกทั้งฟันยังไม่ขึ้น จึงยังไม่สามารถเคี้ยวกลืนได้ ทำได้เพียงดูดกลืนเท่านั้น โดยเด็กมีพัฒนาการการดูดกลืนน้ำคร่ำตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เมื่อคลอดออกมาเด็กจะสามารถดูดกลืนนมแม่ได้ตามสัญชาตญาณ ทันทีที่มีอะไรมาสัมผัสมุมปาก เด็กก็จะงับ และดูดกลืนทันที ธรรมชาติจึงสร้างน้ำนมแม่มา ...

เลี้ยงลูกยังไงให้ผอม

5 เคล็ดลับลดน้ำหนักหลังคลอด กู้หุ่นพังให้กลับมาปังอีกครั้ง.
ให้ลูกดื่มนมแม่ ... .
ทำกิจกรรม เคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ ... .
ออกกำลังกาย ... .
ควบคุมการกินอาหาร ... .
ดื่มน้ำเยอะๆ.