ความรู้สึก ที่มี ต่อ นาฏศิลป์

หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเชื่อ นิสัยใจคอของคนในท้องถิ่นนั้นๆหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความประณีตงดงาม เพื่อให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตามโดยอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย



ความรู้สึก ที่มี ต่อ นาฏศิลป์

ที่มาของรูป : http://thaigoodview.com  


ความสำคัญของนาฏศิลป์ไทย

                    -นาฏศิลป์แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ แสดงถึงอารยประเทศ ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่  ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาไทย จารีต ประเพณี และ วัฒนธรรมของประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และถือว่าเป็นมรดกที่สำคัญของชาติ จึงควรแก่การอนุรักษ์ และสืบทอดต่อไป

             -นาฏศิลป์เป็นแหล่งรวมของศิลปะแขนงต่างๆ เช่น การประพันธ์วรรณคดีต่างๆ สถาปัตยกรรม(ในการสร้างฉาก สถานที่ประกอบฉาก) ประติมากรรม(ศิลปะการทำอุปกรณ์การแสดง รูปปั้น รูปหล่อต่างๆ) จิตรกรรม(ศิลปะในการออกแบบเครื่องแต่งกาย การสร้างฉาก) ดุริยางคศิลป์ (ศิลปะในการขับร้อง บรรเลงดนตรี) หรือ อื่นๆ

             -นาฏศิลป์ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของผู้แสดง ให้ผู้แสดงมีความกล้าแสดงออก และมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ทำให้มีท่าทางการเคลื่อนไหวที่ดูสง่างาม ทำให้ความจำและปฏิภาณดี และหากได้ความรู้นาฎศิลป์จนเกิดความชำนาญ ก็จะสามารถปฏิบัติได้ดีมีชื่อเสียง หรือ ยึดเป็นอาชีพต่อไปได้

             -นาฏศิลป์ทำให้เกิดความสามัคคีกันในหมู่คณะ นาฏศิลป์ทำให้ผู้แสดงมีความสามัคคีกัน เพราะผู้แสดงต้องร่วมกันแสดงท่ารำทางนาฏศิลป์ เพื่อให้การแสดงนาฏศิลป์นั้นออกมาเรียบร้อยและงดงาม

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย

สาระสำคัญ นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ และเป็นมรดก

ทางวัฒนธรรม การศึกษานาฏศิลป์จึงเป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง
ซึ่งนอกจากแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้วนาฏศิลป์ยังเป็นแหล่ง
รวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน การศึกษาความรู้พื้นฐาน
เกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย คุณค่าของนาฏศิลป์ไทย สุนทรียภาพและการแต่งกาย
ของนาฏศิลป์ไทย จึงเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมให้บุคคลผู้นั้นเป็นเยาวชนที่ดี
ในอนาคต สามารถที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์และถ่ายทอดต่อไปได้

สาระการเรียนรู้

ความหมายและที่มาของนาฏศิลป์

นาฏศิลป์ เป็นคำสมาส แยกเป็น 2 คำ คือ “นาฏ” กับคำว่า “ศิลปะ”

        “นาฏ” หมายถึง การฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ
นับแต่การฟ้อนรำพื้นเมืองของชาวบ้าน เช่น รำโทน รำวง ตลอดจนขึ้นไป
ถึงการฟ้อนที่เรียกว่า ระบำของนางรำ ระบำเดี่ยว ระบำคู่ ระบำชุม

        “ศิลปะ” ได้แก่ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สร้างอย่างประณีต ดีงาม
และสำเร็จสมบูรณ์ ศิลปะเกิดขึ้นด้วยทักษะ คือ ความชำนาญในการปฏิบัติ

ความเป็นมาของนาฏศิลป์

นาฏศิลป์ก็มีวิวัฒนาการมาจาการเอาชนะธรรมชาติเช่นเดียวกับศิลปะอื่น ๆ
ซึ่งก็มีวิวัฒนาการเป็นขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์อย่างใดก็แสดงอารมณ์นั้นออกมา
เช่น ดีใจก็ตบมือ หัวเราะ เสียใจ ก็ร้องไห้

ขั้นที่ 2 เมื่อมนุษย์เจริญขึ้นรู้จักใช้กิริยาแทนคำพูดอย่างที่เรียกว่า
“ภาษาใบ้” เช่น กวักมือเข้า หมายถึง ให้เข้ามาหา โบกมือออก หมายถึง ให้ออกไป

ขั้นที่ 3 ต่อมาพวกนักปราชญ์ได้ดัดแปลงกิริยาเหล่านี้ ประดิษฐ์ท่าทาง
ใช้แทนคำพูดให้สวยงามแสดงความรื่นเริงสนุกสนาน โดยมีกฎเกณฑ์ส่วน
สัดงดงามตรึงตาตรึงใจเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นตามยุคตามสมัย
และความนิยม

ดังนั้นคำว่า “นาฏศิลป์” นอกจากจะหมายถึง การฟ้อนรำหรือระบำแล้ว
ยังต้องถือเอาความหมายของการร้องและการบรรเลงเข้าร่วมด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่า

 

ความรู้สึก ที่มี ต่อ นาฏศิลป์

   

                         “นาฏศิลป์” หมายถึง ศิลปะการละครและฟ้อนรำ

นาฏศิลป์ประจำชาติไทย ได้แก่ โขน ละคร และระบำ ทั้ง 3 ประเภท
นี้เป็นของที่มีมาแต่โบราณรักษาแบบแผนถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี
และได้ปรับปรุงให้ประณีตงดงามขึ้นตามลำดับ แม้ว่าแต่เดิมเราจะได้มาจากชาติ
อื่นก็ตามแต่ก็ได้รับการปรับปรุงจนเป็นรูปลักษณะของไทย และเข้ากับรสนิยมของ
คนไทยก็ถือว่าเป็นของไทย

ประโยชน์ในการศึกษาวิชานาฏศิลป์

ประโยชน์โดยทางตรง

ใช้เป็นวิชาชีพ ผู้ที่ศึกษาวิชานาฏศิลป์ อย่างจัดเจน ชำนิชำนาญ สามารถยึด
เป็นอาชีพได้ เพราะในกิจกรรมต่าง ๆ วิชานาฏศิลป์เข้าไปมีส่วนร่วมอยู่เสมอ

เป็นการบริหารร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะวิชานาฏศิลป์นั้น
ในขณะฝึกหัดนัยว่าเป็นการออกกำลังกายอย่างดีเยี่ยม ได้บริหารร่างกายทั่วทุกส่วน

ประโยชน์ทางอ้อม

         ได้ชื่อว่าเป็นชาวไทยที่สมบูรณ์ รู้จักวัฒนธรรมของชาติตน การเรียนรู้วิชานาฏ
ศิลป์ในปัจจุบัน ชาวต่างประเทศให้ความสนใจมาก ได้เข้ามาสนใจศึกษาค้นคว้า
แต่พวกเราชาวไทยถ้าหากไม่สนใจแล้ว วัฒนธรรมในแขนงนี้ก็จะตกไปอยู่ในมือ
ต่างชาติ ต่อไปเมื่อเราต้องการศึกษาก็คงจะต้องอาศัยข้อมูลจากพวกเขา แล้วอย่างนี้
จะได้ชื่อว่าเป็นวัฒนธรรมไทยได้อย่างไร พวกเราชาวไทยควรศึกษาศิลปวัฒนธรรมของ
เราเองไว้ให้ดี จะได้ชื่อว่าเป็นชาวไทยที่แท้จริง

มีจิตใจอ่านโยน นาฏศิลป์ช่วยให้ผู้เรียนมีจิตใจอ่อนโยน มีสติ และมีสมาธิที่ มั่นคง
ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งรอบข้าง ซึ่งทำให้ผู้นั้นมีความสามารถในขณะปฏิบัติงานต่าง ๆ
ได้ผลมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นช่วยผ่อนคลายและความเครียดของจิตใจ
ดังจะเห็นได้ว่า ศิลปินในแขนงนี้มีอายุยืนยาว มีสุขภาพดีเป็นส่วนมาก

ช่วยปรับปรุงบุคลิกภาพให้งดงามยิ่งขึ้น ผู้ที่เรียนนาฏศิลป์จะมีลักษณะพิเศษเห็นได้
เด่นชัด อาทิ ขณะเวลานั่ง หรือ ยืน จะสง่างาม เพราะได้รับการฝึกฝนวิธีการนั่งยืนมาเป็น
อย่างดี ในขณะเดียวกันเป็นผู้ที่รู้จักควบคุมอารมณ์ไม่ตื่นตระหนก และกล้าที่จะแสดงออก
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นผลจากประสบการณ์ในการแสดงทั้งสิ้น

ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนน้อย นาฏศิลป์ มีคุณประโยชน์ต่อผู้เรียนอเนกอนันต์
ประการไม่สามารถนำมาบรรยายได้หมด บางอย่างเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด บางอย่างเป็นสิ่งที่
ซ่อนอยู่ ผู้ที่ศึกษาเท่านั้นจึงจะเห็นประโยชน์ พวกเราเยาวชนไทยผู้ซึ่งในอนาคตจะเป็นผู้
ที่มีส่วนในการพัฒนาและบริหารประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง ควรจะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
ฟื้นฟูและศึกษา ศิลปวัฒนธรรมทางด้านนาฏศิลป์ดนตรีให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป

 สุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์

สุนทรียภาพ ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.2525 หมายถึง ความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ ที่แต่ละบุคคลสามารถเข้าใจ
และรู้สึกได้ หรือความเข้าใจและรู้สึกของแต่ละบุคคลที่มีต่อความงามในธรรมชาติหรือ
งานศิลปะซึ่งในที่นี้หมายถึง ความงามในงานศิลปะทางด้านการแสดงนาฏศิลป์

ในการศึกษาทางด้านสุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์นั้น เป็นไปตามหลักการ

ทางสุนทรียศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับความรู้สึกในการรับรู้ความงาม ได้แก่
หลักเกณฑ์ด้านความงาม ลักษณะต่าง ๆ ของความงาม คุณค่าต่าง ๆ ของความงามและ
รสนิยม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาความเป็นอยู่ พฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์ ในด้าน
ความรู้สึก การตอบสนองต่อสิ่งสวยงามและสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมวลชน โดยมีความ
สัมพันธ์กับประสบการณ์โดยตรงที่สร้างความพอใจและมีผลต่อความรู้สึกเฉพาะตน
ตลอดจนมีการสอบสวน และเปิดเผยหลักเกณฑ์ความงามให้เห็นเด่นชัด ได้ด้วย

ดังนั้น การศึกษาด้านสุนทรียภาพของงานนาฏศิลป์จึงหมายถึง การศึกษาและ
พิจารณาในเรื่องการแสดงท่าทาง อากัปกิริยา การร่ายรำของศิลปะแห่งการละคร
และการฟ้อนรำ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับดนตรีที่เป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้การแสดง
นาฏศิลป์มีความสมบูรณ์จึงต้องนำความงามทางด้านดนตรีในการแสดงนาฏศิลป์
มาพิจารณาร่วมกันด้วยทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาและประเมินค่าความงามของการ
แสดงนาฏศิลป์มีความถูกต้อง และครอบคลุมตามหลักการนาฏศิลป์ ตลอดจนเป็น
ไปตามหลักการทางสุนทรียศาสตร์ด้วย

ขอบคุณแหล่งข้อมูล https://kwenloveyou.wordpress.com/