แมวตัวเมีย ทําหมัน กี่วันตัดไหม

           การผ่าตัดทำหมันสัตว์เพศเมีย (Spay) เพื่อนำมดลูกและรังไข่ออก ปัจจุบันมีทางเลือกนอกเหนือจากการผ่าตัดเปิดผ่าหน้าท้องแบบปกติ เช่นการ ผ่าตัดแบบส่องกล้อง แต่การผ่าตัดที่นิยมที่สุดก็ยังคงเป็นการผ่าตัดเปิดผ่าหน้าท้อง ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะทำภายใต้การวางยาสลบ โดยทั่วไปสัตวแพทย์จะแนะนำให้ทำที่อายุประมาณ 6 เดือน แต่สามารถทำที่อายุเท่าไรก็ได้ โดยมีข้อบ่งชี้แตกต่างกันไป การผ่าตัดบางครั้งเป็นการรักษาร่วมกับโรคบางอย่าง เช่น มดลูกอักเสบ (Pyometra) เนื้องอกของมดลูกและรังไข่

เหตุผลที่ควรทำหมัน ได้แก่
                - ลดโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านม (ในกรณีทำก่อนเป็นสัดครั้งแรก)
                - ป้องกันการเกิดโรคมดลูกอักเสบ (รวมถึงเป็นวิธีการรักษาในกรณีที่เป็นแล้วอีกด้วย)
                - ป้องกันพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ และเลือดออกจากช่องคลอดขณะเป็นสัด
                - ป้องกันการตั้งครรภ์ และปัญหาคลอดยาก
                - ควบคุมประชากร

                ปรกติการทำหมันในสัตว์ตัวเมียจะทำในสัตว์สุขภาพดี แต่หากมีปัญหา เช่น มดลูกอักเสบ คลอดยาก หรือเนื้องอกที่มดลูก อาจต้องพิจารณาในการผ่าตัดทำหมันเช่นกัน

แมวตัวเมีย ทําหมัน กี่วันตัดไหม

การตรวจร่างกายก่อนผ่าตัดทำหมัน
                - ตรวจร่างกายพื้นฐานโดยสัตวแพทย์
                - ตรวจค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
                - ตรวจค่าเคมีในเลือด
                - ตรวจปัสสาวะ
                - ถ่ายภาพรังสีช่องท้อง (X-ray) และ/ หรือ ultrasound ช่องท้อง (ในกรณีคลอดยาก หรือมดลูกอักเสบ)
สัตวแพทย์สามารถเลือกใช้การตรวจให้เหมาะสมกับสัตว์แต่ละตัว โดยอาจไม่จำเป็นต้องตรวจทั้งหมด

การผ่าตัดทำหมัน

โดยทั่วไปมีอยู่ 2 วิธี คือ
                1. การผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic surgery) คือ กรีดรูเล็กๆ ขนาดประมาณ 2 cm จำนวน 2-3 รู เพื่อสอดกล้องและเครื่องมือเข้าไปในช่องท้อง และทำผ่าตัด โดยจะทำการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในช่องท้องเพื่อให้ช่องท้องขยายตัวและสะดวกในการทำงาน (สูบออกเมื่อผ่าตัดเสร็จ) และใช้กล้องสอดเข้าไปตามรูที่เจาะไว้เพื่อฉายภาพในช่องท้อง จากนั้นใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในรูเล็กๆ อีกสองรูในการจับ ตัด ผูก เย็บ ระบบสืบพันธุ์เหมือนการเปิดช่องท้องผ่าตัด  เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัด จึงมีการเย็บปิดรูที่ทำการสอดเครื่องมือและกล้องเข้าไป แต่วิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายนัก
                2. การผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องเป็นวิธีที่นิยมทำมากที่สุด โดยทั่วไปจะเปิดผ่านบริเวณกลางหน้าท้อง แต่สามารถเปิดผ่าจากบริเวณด้านข้างได้เช่นกัน ขนาดของแผลจะขึ้นกับขนาดของตัวสัตว์ และระบบสืบพันธุ์ การผ่าตัดทำโดยดึงมดลูกและรังไข่ขึ้นมาจากช่องท้อง ทำการผูกรอบรังไข่ มดลูก และเส้นเลือดที่มาเลี้ยง จากนั้นจึงตัด รังไข่ และมดลูกออก จึงทำการเย็บปิดแผล นอกจากนี้ยังมีทางเลือกการผ่าตัดทำหมัน เช่น การตัดเฉพาะรังไข่ (Ovariectomy)

การดูแลหลังผ่าตัด
                - การกักบริเวณ ไม่ให้วิ่ง กระโดด หรือ เล่นอย่างหนักหน่วง เป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
                - ป้อนยาที่สัตวแพทย์จ่ายให้
                - ใส่อุปกรณ์ป้องกันการเลียแผลไว้เสมอ เช่น เสื้อกันเลีย ปลอกคอกันเลีย (Elizabeth collar)

การรักษาเพิ่มเติม อาจจำเป็นในบางกรณีหลังการผ่าตัดทำหมัน เพื่อรักษาภาวะมดลูกอักเสบ หรือโรคอื่นๆ

ภาวะแทรกซ้อน
                ภาวะแทรกซ้อนจากการทำหมันสัตว์เพศเมียสามารถพบได้ โดยพบในสุนัข 7-19% และ 12% ในแมว โดยมักสอดคล้องกับระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด ได้แก่
                - รอยช้ำรอบแผลผ่าตัด
                - แผลบวม (8.5%)
                - แผลติดเชื้อ (5.6%)
                - เลือดซึมออกจากแผลหลังผ่าตัด (2.8%)

- แผลติดเชื้อ (5.6%)
                - เลือดซึมออกจากแผลหลังผ่าตัด (2.8%)

-  การเอารังไข่ออกไม่หมด (ovarian remnant syndrome)

- ภาวะฉี่กระปริดกระปรอย (4.5%)

- การเกิดการอักเสบของปลายมดลูกที่เหลือจากการทำหมัน (stump pyometra)

                ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่พบระหว่างและหลังผ่าตัดได้แก่ ภาวะเลือดออกภายใน ซึ่งอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในสุนัขที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัมหรือสุนักที่อกลึก  สำหรับในแมวมีความเสี่ยงเกิดภาวะนี้ขณะผ่าอยู่ที่ 0.2% และหลังผ่าตัด 0.05% นอกจากนี้พบว่าในสุนัขพันธุ์ Greyhound มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกภายในหลังผ่าตัดถึง 26% (จากกลุ่มศึกษา 88 ตัว)

                อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรง เช่น ระบบปัสสาวะอุดตัน เกิดขึ้นได้น้อย แต่สามารถทำให้สัตว์เสียชีวิตได้ รวมถึงภาวะฉี่กระปริดกระปรอยซึ่งอาจต้องทำการรักษาต่อเนื่อง การผ่าตัดทำหมันจะทำได้ยากขึ้นหากสัตว์มีขนาดใหญ่ หรือมีภาวะอ้วน และเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น  

                การพยาการณ์โรคสำหรับการทำหมันเพศเมียทั่วไป ถือว่าดีมาก แต่การผ่าตัดมดลูกอักเสบ และผ่าคลอด อาจมีความแตกต่างไป

เรียบเรียงโดย

น.สพ. พิทวัส ตันสกุล

อ.น.สพ. วรรณสิทธิ์ จันทรวงศ์ อว.สพ. ศัลยศาสตร์

"ธนาคารเลือด ดมยาสลบและผ่าตัดโดยสัตวแพทย์เฉพาะทาง"
ศูนย์ศัลยกรรมสัตว์เลี้ยงกรุงเทพตะวันออก
โรงพยาบาลสัตว์ปาริชาต สุวินทวงศ์

#ธนาคารเลือดสุนัข #ธนาคารเลือดแมว #ธนาคารเลือด #ดมยาสลบ#วิสัญญี #ศัลยกรรม #ศัลยกรรมครบวงจร #ผ่าตัด #สัตวแพทย์เฉพาะทาง#โรงพยาบาลสัตว์ #โรงพยาบาลสัตว์ปาริชาต #สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญฯ#สุวรรณภูมิ #มีนบุรี #หนองจอก #ลาดกระบัง #ฉะเชิงเทรา #ชลบุรี#นครนายก #ปราจีนบุรี #สระแก้ว

เปิดให้บริการทุกวัน-เวลา 09:00-20:00 น.
ตั้งอยู่ : 91 ถนน คุ้มเกล้า แขวง แสนแสบ เขต มีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-557-6608, 080-499-3265
Website: http://www.psahospital.com
Line: parichartsah
Instagram: parichartsah
GPS : 13.785278, 100.781278

แมวทําหมันได้ตอนไหน ตัวเมีย

แมวทุกตัวไม่ว่าเพศผู้หรือเพศเมียสามารถทำหมันได้ตั้งแต่อายุได้ 3 เดือน แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการทำหมันแมวจะอยู่ที่อายุ 6-8 เดือนขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงที่แมวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์และจะเริ่มมีอาการติดสัดเกิดขึ้น

ทําหมันแมว มีกี่แบบ

การทำหมันสัตว์เพศผู้ (Neuter) โดยทั่วไปทำเพื่อควบคุมประชากรหรือลดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ สามารถทำได้สองแบบ คือแบบฉีดยา (ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากอาจไม่ได้ผล และมีผลข้างเคียงรุนแรง) และแบบผ่าตัดนำอัณฑะออก (Gonadectomy) ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายกว่า ส่วนบางกรณีอาจเพื่อร่วมการรักษาหรือป้องกันโรคบางชนิด เช่น

ทำหมันแมว ทำยังไง

1. การทำหมันที่ถูกต้องและเหมาะสมคือการตัดรังไข่และมดลูกออกทั้งสองข้างในสัตว์เพศเมีย และตัดอัณฑะรวมถึงท่อนำอสุจิออกทั้งสองข้างในสัตว์เพศผู้ ซึ่งวิธีและขั้นตอนการผ่าตัดอาจต่างกันเล็กน้อยในสุนัขและแมว

แมวทำหมันกินอาหารได้ตอนไหน

♡ ซึ่งอาจกินได้เลยหลังผ่าตัด 1 - 2. ชั่วโมงเมื่อวางยาด้วยเครื่องดมยาสลบ ◇ วางยาสลบด้วยการฉีดยามักใช้เวลา 4 ชั่วโมงค่อยให้ #ทำหมันแมวตัวผู้